สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
เพื่อนเราที่เรียนวิศวะ ในหลาย ๆ มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จบตามเกณฑ์หมดเลย มี 1-2 คนที่จบ 5 ปี ส่วนตัวเราคิดว่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ในบางที่คะแนนสอบเข้าไม่ได้สูง ทำให้คนที่เก่งในระดับกลาง ๆ ถึงอ่อนเข้าไปเรียนได้ แต่การจัดการเรียนการสอนในคณะก็จะมีมาตรฐานตามมหาวิทยาลัย คนที่พื้นฐานดีก็รอด คนที่พื้นฐานไม่ดีก็ร่วง จบช้า ไม่ก็ออกไป
ส่วนพวกแพทย์ เภสัช อันนี้ต้องยอมรับว่าคะแนนสอบเข้าสูงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงทำให้มีแต่คนเก่งเข้าไปเรียน เวลาเรียนมักเอาตัวรอดได้เกือบ 100%
ส่วนพวกแพทย์ เภสัช อันนี้ต้องยอมรับว่าคะแนนสอบเข้าสูงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงทำให้มีแต่คนเก่งเข้าไปเรียน เวลาเรียนมักเอาตัวรอดได้เกือบ 100%
ความคิดเห็นที่ 9
ผมจะไม่เปรียบเทียบว่าอะไรยากกว่า เพราะมันเอาไม้บรรทัดมาวัดตรงๆ ไม่ได้ แต่จะเทียบตามสถิติ
( ตอบในฐานะที่ผมเรียนอยู่ 1 ในสาขานี้และมีข้อมูลที่มีแหล่งอ้างอิง )
แพทย์จบปีละ 3,000 คน
ทันตะจบปีละ 700 กว่าคน
เภสัชจบปีละ 2,000 คน
สัตวแพทย์จบปีละ 400 กว่าคน
เอาทั้ง 4 คณะมารวมกันแล้วทั้งหมด จะจบปีละประมาณ 6,000 คน
ในขณะที่วิศวะจบถึงปีละ 14,000 คน ( เอาแค่วิศวะ จุฬา เกษตร 3 พระจอม มารวมกัน ก็มีจำนวนนักศึกษาเยอะกว่าแพทย์ทุกสถาบันรวมกัน ถึง 2 เท่า ) และเป็นหนึ่งใน 10 อาชีพที่มีจำนวนบัณฑิตจบออกมาเยอะที่สุด
คนเรียนวิศวะส่วนใหญ่เป็นเพศชาย
แพทย์ ทันตะ เภสัช เกินครึ่งเป็นเพศหญิง. และจากสถิติ ค่าเฉลี่ย ผู้หญิงเรียนเก่งกว่าผู้ชาย ( ได้เกียรตินิยมมีจำนวนมากกว่า )
คะแนนสอบเข้าเฉลี่ย แพทย์ ทันตะ เภสัช . สูงกว่าวิศวะ ( ข่าวเด็กเตรียม มหิดลวิทย์ ที่ติดแพทย์ยกห้อง ออกทุกปี เด็กห้องกิฟโรงเรียนใน กทม. ต่างจังหวัดส่วนใหญ่ รวมถึงเด็กที่ได้เหรียญโอลิมปิกส่วนใหญ่ก็เรียนอยู่ในคณะเหล่านี้ )
เปรียบเทียบง่ายๆ แบบนี้ พอจะเห็นภาพชัดไหมครับ ?
ปล. แพทย์ ทันตะ มีคนเรียนซ้ำชั้น จบช้าทุกปี ไม่ได้จบพร้อมกันยกรุ่นแบบที่เข้าใจไปเอง
ปล.2 ด้วยความเยอะของเนื้อหาและสภาพบังคับ ทำให้นักกศึกษาแพทย์ส่วนใหญ่อ่านหนังสือกันยันตี 1-2 เกือบทุกคืน ( ซึ่งก็ยังอ่านไม่ทันกันอยู่ดี )
ปล.3 ไม่ว่าจะคณะไหนก็ตาม ถ้าคุณจะเรียนเป็นระดับ Top ของรุ่น เรียนแบบรู้ลึก รู้จริง. ไม่รู้แบบงูๆ ปลาๆ มันก็ยากทั้งนั้นแหละครับ
เพียงแต่พวกอาชีพสายวิทย์สุขภาพ เขาเรียนเพื่อไปรับผิดชอบชีวิตคน มันเลยดูกดดันมากกว่าคณะทั่วไป เรื่องนี้ต้องยอมรับ
ตอบแบบเป็นกลางสุดแล้วนะครับ
( ตอบในฐานะที่ผมเรียนอยู่ 1 ในสาขานี้และมีข้อมูลที่มีแหล่งอ้างอิง )
แพทย์จบปีละ 3,000 คน
ทันตะจบปีละ 700 กว่าคน
เภสัชจบปีละ 2,000 คน
สัตวแพทย์จบปีละ 400 กว่าคน
เอาทั้ง 4 คณะมารวมกันแล้วทั้งหมด จะจบปีละประมาณ 6,000 คน
ในขณะที่วิศวะจบถึงปีละ 14,000 คน ( เอาแค่วิศวะ จุฬา เกษตร 3 พระจอม มารวมกัน ก็มีจำนวนนักศึกษาเยอะกว่าแพทย์ทุกสถาบันรวมกัน ถึง 2 เท่า ) และเป็นหนึ่งใน 10 อาชีพที่มีจำนวนบัณฑิตจบออกมาเยอะที่สุด
คนเรียนวิศวะส่วนใหญ่เป็นเพศชาย
แพทย์ ทันตะ เภสัช เกินครึ่งเป็นเพศหญิง. และจากสถิติ ค่าเฉลี่ย ผู้หญิงเรียนเก่งกว่าผู้ชาย ( ได้เกียรตินิยมมีจำนวนมากกว่า )
คะแนนสอบเข้าเฉลี่ย แพทย์ ทันตะ เภสัช . สูงกว่าวิศวะ ( ข่าวเด็กเตรียม มหิดลวิทย์ ที่ติดแพทย์ยกห้อง ออกทุกปี เด็กห้องกิฟโรงเรียนใน กทม. ต่างจังหวัดส่วนใหญ่ รวมถึงเด็กที่ได้เหรียญโอลิมปิกส่วนใหญ่ก็เรียนอยู่ในคณะเหล่านี้ )
เปรียบเทียบง่ายๆ แบบนี้ พอจะเห็นภาพชัดไหมครับ ?
ปล. แพทย์ ทันตะ มีคนเรียนซ้ำชั้น จบช้าทุกปี ไม่ได้จบพร้อมกันยกรุ่นแบบที่เข้าใจไปเอง
ปล.2 ด้วยความเยอะของเนื้อหาและสภาพบังคับ ทำให้นักกศึกษาแพทย์ส่วนใหญ่อ่านหนังสือกันยันตี 1-2 เกือบทุกคืน ( ซึ่งก็ยังอ่านไม่ทันกันอยู่ดี )
ปล.3 ไม่ว่าจะคณะไหนก็ตาม ถ้าคุณจะเรียนเป็นระดับ Top ของรุ่น เรียนแบบรู้ลึก รู้จริง. ไม่รู้แบบงูๆ ปลาๆ มันก็ยากทั้งนั้นแหละครับ
เพียงแต่พวกอาชีพสายวิทย์สุขภาพ เขาเรียนเพื่อไปรับผิดชอบชีวิตคน มันเลยดูกดดันมากกว่าคณะทั่วไป เรื่องนี้ต้องยอมรับ
ตอบแบบเป็นกลางสุดแล้วนะครับ
แสดงความคิดเห็น
อะไรคือสาเหตุที่ทำให้คณะวิศวะ คือคณะที่เรียนจบยากที่สุดในประเทศครับ เพราะถามใครๆ ที่ไหนเขาก็ว่า จบยาก
สรุปที่วิศวะคนจบน้อยนี่ มันคือคณะที่เรียนยาก จบยากที่สุดในประเทศแล้วใช่ไหมครับ