ทีมนักวิทยาศาสตร์ออสเตรเลีย ใช้โดรนช่วยนับจำนวนเต่าตนุเป็นครั้งแรก ซึ่งชี้ให้เห็นว่านักวิทยาศาสตร์คาดการณ์จำนวนเต่าสายพันธุ์นี้
ต่ำกว่าความเป็นจริงไปมาก
วันนี้ (11 มิ.ย.2563) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า กระทรวงสิ่งแวดล้อมและวิทยาศาสตร์ รัฐควีนสแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ระบุว่า
ภาพนี้ถ่ายจากโดรน แสดงให้เห็นฝูงเต่าตนุจำนวนกว่าหกหมื่นตัวที่กำลังว่ายน้ำ เพื่อไปวางไข่บนเกาะเรน ที่อยู่ใกล้กับเกรท แบร์ริเออร์ รีฟ
แนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 348,000 ตารางกิโลเมตร
ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้เปลี่ยนมาใช้โดรนสำรวจฝูงเต่าตนุ ที่มีจำนวนมากถึง 64,000 ตัว เมื่อเดือน ธ.ค.2562
เนื่องจากการใช้โดรน ทำให้การนับจำนวนเต่ามีความแม่นยำ โดยใช้การวิเคราะห์จากภาพแต่ละเฟรม
ในขณะที่วิธีเดิม คือการทาสีขาวลงบนกระดองเต่า ซึ่งไม่มีสารพิษ และให้เจ้าหน้าที่ล่องเรือออกไปนับเต่ากลางทะเล
ทั้งเต่าที่ถูกพ่นสี และไม่มีสี โดยพบว่าวิธีนี้มีโอกาสคลาดเคลื่อนสูง
ด้านนายแอนดริว ดันสแตน หัวหน้านักวิจัยที่เขียนรายงาน บอกว่าการทาสีและลบสีบนกระดองเต่าโดยที่เจ้าหน้าที่อยู่บนเรือลำเล็ก
ท่ามกลางอากาศแปรปรวนเป็นงานที่ยาก ส่วนการใช้โดรนง่ายกว่าและปลอดภัยกว่าเยอะ
อีกทั้ง นับจำนวนถูกต้องแม่นยำ รวมถึงส่งข้อมูลได้ทันทีและเก็บข้อมูลได้ถาวร
การนับจำนวนเต่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการค้นพบเกาะเรน รวมทั้ง ฟื้นฟูชายหาดเคย์
ซึ่งเป็นแหล่งที่เต่ามาวางไข่และกำลังสร้างรั้วเพื่อป้องกันเต่าตาย สำหรับแนวปะการัง แบร์ริเออร์ รีฟ ของออสเตรเลีย
ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์และพืชหลากหลายสายพันธุ์ ได้รับการขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ เมื่อปี 2524
รับชมคลิปวีดีโอทั้งหมด ได้ที่นี่
ตื่นตาตื่นใจ การบันทึกภาพ เต่าตนุ จำนวนมากที่สุดในโลก
ต่ำกว่าความเป็นจริงไปมาก
วันนี้ (11 มิ.ย.2563) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า กระทรวงสิ่งแวดล้อมและวิทยาศาสตร์ รัฐควีนสแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ระบุว่า
ภาพนี้ถ่ายจากโดรน แสดงให้เห็นฝูงเต่าตนุจำนวนกว่าหกหมื่นตัวที่กำลังว่ายน้ำ เพื่อไปวางไข่บนเกาะเรน ที่อยู่ใกล้กับเกรท แบร์ริเออร์ รีฟ
แนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 348,000 ตารางกิโลเมตร
ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้เปลี่ยนมาใช้โดรนสำรวจฝูงเต่าตนุ ที่มีจำนวนมากถึง 64,000 ตัว เมื่อเดือน ธ.ค.2562
เนื่องจากการใช้โดรน ทำให้การนับจำนวนเต่ามีความแม่นยำ โดยใช้การวิเคราะห์จากภาพแต่ละเฟรม
ในขณะที่วิธีเดิม คือการทาสีขาวลงบนกระดองเต่า ซึ่งไม่มีสารพิษ และให้เจ้าหน้าที่ล่องเรือออกไปนับเต่ากลางทะเล
ทั้งเต่าที่ถูกพ่นสี และไม่มีสี โดยพบว่าวิธีนี้มีโอกาสคลาดเคลื่อนสูง
ด้านนายแอนดริว ดันสแตน หัวหน้านักวิจัยที่เขียนรายงาน บอกว่าการทาสีและลบสีบนกระดองเต่าโดยที่เจ้าหน้าที่อยู่บนเรือลำเล็ก
ท่ามกลางอากาศแปรปรวนเป็นงานที่ยาก ส่วนการใช้โดรนง่ายกว่าและปลอดภัยกว่าเยอะ
อีกทั้ง นับจำนวนถูกต้องแม่นยำ รวมถึงส่งข้อมูลได้ทันทีและเก็บข้อมูลได้ถาวร
การนับจำนวนเต่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการค้นพบเกาะเรน รวมทั้ง ฟื้นฟูชายหาดเคย์
ซึ่งเป็นแหล่งที่เต่ามาวางไข่และกำลังสร้างรั้วเพื่อป้องกันเต่าตาย สำหรับแนวปะการัง แบร์ริเออร์ รีฟ ของออสเตรเลีย
ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์และพืชหลากหลายสายพันธุ์ ได้รับการขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ เมื่อปี 2524
รับชมคลิปวีดีโอทั้งหมด ได้ที่นี่