ป่าหินที่น่ามหัศจรรย์และโดดเด่น

ป่าหินยูนนาน



ป่าหิน (Stone Forest) หรือ สือหลิน (Shilin) อยู่ห่างจากตัวเมืองคุนหมิง 78 กิโลเมตร ภายในพื้นที่ 350 ตารางกิโลเมตรแห่งนี้ มียอดหินและเสาหินใหญ่ น้อยตั้งเรียงรายกระจัดกระจายอยู่ตามเนินเขา หุบเขา และพื้นที่ราบ แบ่งเป็นป่าหินใหญ่กับป่าหินน้อย

ภายในป่าหินมีทางแยกมากกว่า 400 สาย มีจุดท่องเที่ยวกว่า 200 จุด จึงได้สมญานามว่า วังวนใต้ทะเล ไม่ว่าจะเป็นป่าหินใหญ่หรือป่าหินน้อย ป่าหินแต่ละแห่งต่างมีจุดที่น่าสนใจแตกต่างกัน 
บริเวณป่าหินเต็มไปด้วยหินที่มีรูปลักษณ์หลากหลาย นับเป็นเขตทัศนียภาพที่มีลักษณะเฉพาะตัว ภายในบริเวณป่าหินใหญ่ มีจุดท่องเที่ยวหลายแห่งเป็น ที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งหลาย เช่น "ยอดดอกบัว" "สระคมดาบ" "ภูเขามีดและทะเลไฟ"
     
ป่าหินใหญ่ประกอบด้วยยอดหินที่หนาทึบ ยอดหินและเสาหินในเขตป่าหินใหญ่มีรูปลักษณ์ที่หลากหลาย  เช่น "จี๋เสียงซันเป่า" ที่ข้างล่างเป็นช้าง ตอนกลางเป็นเต่าและข้างบนเป็นกบ ก้อนหินที่นี่นอกจากจะจับต้องและชื่นชมได้แล้ว เมื่อเอามือไปเคาะ หินบางก้อนยังสามารถเปล่งเสียงวิเศษออกมาได้อีกด้วย 
"อาซือหม่า" เป็นจุดท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดของป่าหินน้อย เพราะว่ารูปลักษณ์ของเสาหินกลุ่มนี้คล้ายหญิงสาวสวยงาม ของชนชาติอี๋คนหนึ่งที่ชื่อว่า "อาซือหม่า" ตามนิทานเรื่องเล่าในท้องถิ่น
 



    
ยอดหินและเสาหินในอุทยานแห่งนี้ยังจะเปลี่ยนสีตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ยามฝนตก ป่าหินที่เป็นสีเทาอมขาวจะกลายเป็นสีดำทันที เมื่อฝนหยุดอีกครึ่งชั่วโมงให้หลัง ยอดหินและเสาหินเหล่านี้ก็เปลี่ยนเป็นสีต่าง ๆ ที่น้ำฝนแทรกซึมอยู่และจะกลายเป็นสีเทาอมขาวเหมือนเดิมในที่สุด 
เนื่องจากมีมูลค่าทางวิทยาศาสตร์ ทางวัฒนธรรมและสุนทรียศาสตร์ เมื่อปี 2004 องค์การยูเนสโกของสหประชาชาติจัดให้ป่าหินยูนนานเป็นอุทยานทางธรณีวิทยาของโลก และเมื่อปี 2007 ป่าหินยูนนานได้เข้าสู่รายชื่อมรดกโลกทางธรรมชาติ
เรียบเรียงบทความโดย Travel.Thaiza.com / แหล่งข้อมูล....China Radio International.CRI.
Cr.https://travel.thaiza.com/foreign/306507/





ป่าหินเบมาราห์ 


 
ป่าหินเบมาราห์ (Bemaraha) ตั้งอยู่ใน Tsingy de Bemaraha ถือว่าเป็นอุทยานแห่งชาติและเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ ที่อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะมาดากัสการ์  โดยป่าหินปูนสูงใหญ่แห่งนี้นิยมเรียกกันว่า ซิงงี (tsingy) ลักษณะส่วนใหญ่ของพื้นที่มักขะเป็นป่าหินและหุบเหวปลายแหลมคม บางแห่งก็มีความแคบชันสร้างความหวาดเสียวได้ไม่น้อย
     
ต่อมา เบมาราห์ ได้รับการรับรองให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติในปี ค.ศ. 1990 ซึ่งประกอบด้วย ซิงงี่เล็กที่หมู่บ้านเบโกพาก้า และซิงงี่ใหญ่อยู่ห่างออกไป 17 กิโลเมตร 

สายพันธุ์ที่ไม่ได้รับการยืนยันที่บันทึกไว้ได้ในระหว่างการสำรวจอุทยานแห่งชาติ Bemaraha ทางตะวันตกของมาดากัสการ์: (A) Trachylepis elegans, (B) Furcifer cf. Petteri, (C) Zonosaurus karsteni, (D) Leioheterodon modestus (ถ่ายภาพโดย C. Randrianantoandro)  
Cr.researchgate.net/

 


ตุ๊กแกกลางคืนสามสายพันธุ์ใหม่ในเทือกเขาหินปูนของ Tsingy de Bemaraha 
Cr.researchgate.net/
นอกจากความน่ากลัวขิงหุบเหวอันแหลมคมแล้วนั้น เบมาราห์ยังได้พลิกวิกฤษให้เป็นโอกาสสำหรับสัตว์ต่างๆ ที่ได้มาการเข้ามาจับจองช่องว่างที่เกิดขึ้นระหว่างหุบเขาเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยที่ค่อนข้างปลอดภัยจากการคุกคามของมนุษย์เป็นอย่างดี
Cr.https://travel.thaiza.com/amaze/185072/





ป่าหิน ในไซบีเรีย



นักชีววิทยาผู้เชี่ยวชาญ และช่างภาพได้นั่งเฮลิคอปเตอร์ บินสำรวจทางตะวันออกเฉียงเหนือของไซบีเรียประเทศรัสเซีย พบป่าหินแกรนิต ซึ่งมีเสาหินอยู่เป็นจำนวนมาก มีขนาดตั้งแต่ 10-20 เมตร ถือเป็นแหล่งธรณีวิทยาที่ยังไม่ถูกเปิดเผยมาก่อน โดยมีลักษณะคล้ายกับแคปพาโดเชียในประเทศตุรกี

ขอบคุณที่มา:https://www.facebook.com/samrujlok/photos/pcb.10154421939182226/10154421919147226/?type=3&theater
Cr. https://board.postjung.com/987396 / โพสท์โดย ิทาสแมว




ป่าหินลีน่า



ในเมื่องยาคุตสค์ ประเทศรัสเซีย มีป่าหินลีน่า (Lena’s Stone Forest) โครงสร้างกลุ่มเสาหินที่ก่อตัวขึ้นจากธรรมชาติ วางตัวยาวริมแม่น้ำไปกว่า 60 กิโลเมตร ลักษณะของหินมีรูปร่างเหมือนเสาสีขาวเทายาวกว่า 150 เมตร เรียงตัวเป็นกลุ่มอยู่ริมแม่น้ำดูน่าตืนตื่นใจเหมือนกับอาณาจักรหินที่ดูแข็งแรงและแข็งแกร่ง

ป่าหินลีน่า (Lena’s Stone Forest) มีอีกชื่อหนึ่งที่เป็นที่รู้จักรคือ Lena’s Pillars แปลว่า กลุ่มเสาลีน่า ซึ่งกลุ่มเสาหินป่าหินแห่งนี้เป็นที่หน้าหลงไหลของนักท่องเที่ยวตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 แม้การเดินทางเข้าไปถึงที่นี่จะยากเย็นก็ตาม เริ่มต้นการเดินทาง นักท่องเที่ยวจะต้องเดินทางจากกรุงมอสโกในเวลา 3-4 วัน เพื่อไปถึงป่าไซบีเรียของเมืองยาคุตสค์ จากนั้นต้องเดินทางด้วยเรือเพื่อเข้าถึงป่าหินแห่งนี้ เป็นการเดินทางที่ยากลำบากและใช้เวลานาน แต่นักท่องเที่ยวที่รักการผจญภัยและรักธรรมชาติก็ยอมที่จะทุ่มเทเพื่อมาเห็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ
    
ป่าหินลีน่าเป็นหลักฐานสำคัญที่โดดเด่นของประวัติศาสตร์ธรมชาติ เพราะนอกจากจะเป็นกลุ่มเสาหินขนาดใหญ่เรียงตัวติดริมแม่น้ำทั้งสองด้านแล้ว ยังเป็นที่อยู่ที่สะสมของเหล่าฟอสซิลจำนวนมากของสิ่งมีชีวิตโบราณ ซึ่งมีการขุดพบฟอสซิลเก่าแก่สำคัญ ณ ที่นี่ ทั้งซากแมมมอธ กระทิงและแรกโบราณ แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ทางอินทรีย์และความหลายหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศ ที่เกิดขึ้นไม่กี่ที่บนโลก
Source: amusingplanet.com
Cr.https://travel.thaiza.com/amaze/349908/



ป่าหินอาตุนมาไช


อาตุนมาไช ป่าหินมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติ ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเทือกเขา Cordillera Negra ในแคว้นอันกัช (Ancash) ประเทศเปรู เป็นจุดปีนหน้าผาหินที่มีมากกว่า 300 เส้นทาง
ป่าหินอาตุนมาไช เป็นหินภูเขาไฟที่เกิดขึ้นเมื่อหลายล้านปีที่แล้วโดนกัดเซาะจนมีลักษณะเป็นแท่งหินตั้งตรงในแนวดิ่ง และดูเหมือนป่าหิน ซึ่งหน้าผาหินแต่ละแห่งมีความสูงและวิธีการปีนที่แตกต่างกัน 

ป่าหินนี้ตั้งอยู่บนความสูง 4,200 เมตร โดดเด่นอยู่กลางทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ ระหว่างทางที่เดินไปป่าหินจะได้เจอกับภาพวาดโบราณตั้งแต่ 10,000 ปีก่อนคริสตศักราช และกระท่อมเล็กๆข้างต้นไม้ เป็นวิวที่สวยงามแปลกตามาก
Cr.https://www.blesstraveler.com/post/hatun-machay / By Bless Wish




ป่าหินฟอซซิล



นักวิทยาศาสตร์ค้นพบพื้นที่ป่าหินฟอซซิลเก่าแก่ที่สุดในโลกในรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐฯ โดยเชื่อว่ามีอายุมากถึงเกือบ 400 ล้านปี


ป่าหินฟอซซิลดังกล่าวพบที่เหมืองหินร้าง ในเมืองไคโร รัฐนิวยอร์ก ในจุดที่โอบล้อมด้วยแนวเขาแคทสกิล โดย ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยของอังกฤษและสหรัฐฯใช้เวลาถึง 10 ปี สำรวจพื้นที่ 3,000 ตารางเมตร ของจุดดังกล่าว และสรุปว่าป่าฟอซซิลแห่งนี้มีความเก่าแก่มากที่สุดในโลกเท่าที่สามารถจัดทำแผนที่ได้ โดยมีอายุย้อนหลังไปถึง 385 ล้านปี ซึ่งเป็นเวลาที่คาบเกี่ยวกันระหว่างช่วงที่โลกยังไม่มีป่าไม้เกิดขึ้น กับ ยุคที่โลกเต็มไปด้วยต้นไม้
  
ทีมนักวิจัยระบุว่าได้พบฟอซซิลรากไม้ทอดตัวเป็นแนวยาว ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบในการที่พืชและดินดูดซับน้ำ ส่วนสาเหตุทีทำให้ป่าแห่งนี้หายไปเป็นเพราะถูกน้ำท่วม เพราะนอกจากฟอซซิลของต้นไม้แล้ว ยังพบกับฟอซซิลของปลาด้วย 
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการค้นพบดังกล่าวจะเพิ่มความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของต้นไม้ และ วิธีการที่ต้นไม้ใช้ในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากชั้นบรรยากาศ
โดย PPTV Online
Cr.ภาพ https://www.theguardian.com/
Cr.https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/116293




ลานหินหน่อและป่าหินงาม


สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่เป็นจุดเด่นของอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ตำบลบ้านไร่ อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ก็คือลานหินที่มีรูปร่างแปลกประหลาดที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของธรรมชาติอย่างน่าอัศจรรย์ สามารถมองเห็นเป็นรูปทรงต่างๆ และเป็นที่มาของชื่อหินนั้นๆ โดย ลานหินหน่อ เป็นจุดแรกที่ได้ชม
ลักษณะของลานหินหน่อนั้นเป็นลานหินราบ มีพื้นที่ประมาณ 200 ไร่ มีก้อนหินเล็กใหญ่เป็นปุ่มอยู่ทั่วไป สูงประมาณ 1-2 เมตร บริเวณใกล้เคียงพบต้นกระเจียว ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง ต้นหยาดน้ำค้าง กระจายอยู่ทั่วไป
     
ลานหินหน่อมีลักษณะเป็นเสาหินและกำแพงหินทราย อายุประมาณ 100 ล้านปี จากโครงสร้างของหินนั้นเกิดจากการตกตะกอน แล้วถูกกร่อนไปจากธารน้ำที่ไหลเชี่ยวในอดีต เกิดการกัดเซาะตามรอยแตกในแนวดิ่ง ทำให้เกิดแท่งหินขนาดใหญ่รูปร่างโดดเด่น  จากนั้นก็ไปต่อที่  “ลานหินงาม”

 ลานหินงามประกอบด้วยหินเล็กใหญ่ที่มีขนาดแตกต่างกันและรูปร่างไม่เหมือนกันอยู่ในพื้นที่กว่า 10 ไร่ เกิดจากการกัดเซาะหินทรายจากลมและน้ำจนจับตัวกันเป็นเวลานานหลายล้านปี เกิดเป็นโขดหินรูปร่างสวยงามอย่างน่าอัศจรรย์ บริเวณโดยรอบเป็นพุ่มไม้เตี้ยๆ สวยงาม บ้างก็เป็นพืชหายากเช่น ไลเคนส์ ข้าวดอก ฤาษีและเฟิร์นอยู่ตามลานหิน นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมหินรูปทรงต่างๆ และชมความงามของโขดหินท่ามกลางพุ่มหญ้าจากด้านบนลงมาด้านล่างได้ทั่วบริเวณ 



ดอกกระเจียวขาว (Curcuma parviflora)และ ทุ่งดอกปทุมมา
ที่สามารถพบได้ในอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม

Cr. https://th.wikipedia.org/wiki/ อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
Cr.https://travel.thaiza.com/nationpark/444416/


(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่