ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้รายได้ของประชาชนและธุรกิจปรับลดลง หลายธุรกิจต้องปิดกิจการ คนจำนวนไม่น้อย ตกงาน ขาดรายได้ แต่กลุ่มที่เดือดร้อนที่สุดคงหนีไม่พ้น "ลูกหนี้" ไม่ว่าจะเป็นหนี้บ้าน หนี้บัตรเครดิต หรือหนี้สินเชื่ออื่น ๆ เพราะมีรายได้ลดลง ในขณะที่ยังมีค่างวดที่ยังต้องผ่อนทุกเดือน
ด้วยเหตุนี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. จึงได้ร่วมกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ออกมาตรการผ่อนปรนการชำระหนี้เพื่อช่วยเหลือและลดภาระให้ประชาชนและธุรกิจในหลายรูปแบบ
มาตรการต่าง ๆ ที่ออกมามีหลายอย่าง เช่น พักชำระเงินต้น หรือพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ซึ่งแต่ละมาตรการมีข้อดีต่างกัน จะเลือกใช้มาตรการไหน หรือไม่ใช้ดี ลองมาดูผลของแต่ละมาตรการว่าหลังจากเหตุการณ์ผ่านไป 6 เดือน ภายใต้ทางเลือกต่าง ๆ ภาระทางการเงินในแต่ละกรณีจะเป็นอย่างไร
1. กรณีผ่อนชำระหนี้ตามปรกติ
กรณีแรก ผ่อนชำระหนี้ตามปรกติ สมมติว่า หากคุณเป็นหนี้บ้าน 1,000,000 บาท และมีงวดชำระหนี้จากการกู้ซื้อบ้านเดือนละ 10,000 บาท ซึ่งประกอบด้วย เงินต้น 4,000 บาท และดอกเบี้ย 6,000 บาท เรายังจ่ายชำระหนี้ตามปกติ เดือนละ 10,000 บาท เหมือนเดิม ก็จะช่วยลดเงินต้น ผ่านไป 6 เดือน ยอดหนี้ก็จะเหลือแค่ 976,000 บาท
2. กรณีพักชำระเงินต้น
หากสถาบันการเงินผ่อนปรนให้ไม่ต้องชำระคืนเงินต้นตามเวลาที่กำหนดไว้ จากตัวอย่างเดิม สมมติเราเลือกพักชำระเงินต้น 6 เดือน จากปรกติจ่ายเดือนละ 10,000 บาท จะเหลือจ่ายแค่ดอกเบี้ยเดือนละ 6,000 บาท และเนื่องจากเราจ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน ทำให้ยอดหนี้ไม่เพิ่มขึ้น ยังมีหนี้เหลือ 1,000,000 บาทเท่าเดิม
ข้อดีของการพักชำระเงินต้น
แม้ว่าคุณไม่สามารถจ่ายค่างวดได้ครบในช่วง 6 เดือนนี้ ธนาคารจะไม่ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ ประวัติการผ่อนจ่ายชำระหนี้จะไม่เสีย และในช่วง 6 เดือนที่อาจจะยังมีความไม่แน่นอนว่าปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะจบลงเมื่อใด คุณจะมีเงินเหลือ 4,000 บาทเพิ่มเติมในแต่ละเดือน จากที่ยังไม่ต้องชำระคืนธนาคาร ไว้ใช้สำหรับดำรงชีพเพิ่มเติม
3. กรณีพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย
หากไม่ต้องจ่ายทั้งส่วนเงินต้นและดอกเบี้ยให้ธนาคารในช่วงที่ผ่อนปรน จากตัวอย่างเดิมที่ต้องจ่าย 10,000 บาท ก็ไม่ต้องจ่ายธนาคารเลย เพราะธนาคารผ่อนปรนให้คุณ “ยังไม่ต้องชำระคืนค่างวด” ทั้งส่วนที่ชำระคืนเงินต้นและส่วนของดอกเบี้ย แต่ดอกเบี้ยเดือนละ 6,000 บาท ที่ไม่ได้จ่ายตลอด 6 เดือน ยังคงเดินอยู่ และไปเพิ่มยอดหนี้รวมเป็น 1,036,000 บาท
ข้อดีของวิธีพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย
แม้คุณจะไม่สามารถจ่ายค่างวดได้เลย ธนาคารก็จะไม่ถือเป็นการผิดนัดชำระหนี้ และประวัติการผ่อนชำระของคุณในฐานข้อมูลเครดิตบูโรจะไม่เสีย นอกจากนี้ ในช่วง 6 เดือนนี้ที่สถานการณ์ยังไม่แน่นอน ไม่รู้ว่ารายได้จะดีเหมือนเดิมหรือไม่ ทุกเดือนคุณจะมีเงินสดที่เหลือจากการไม่ต้องชำระค่างวด 10,000 บาท ไว้เป็นสภาพคล่องใช้สำหรับดำรงชีพ
อย่างไรก็ตาม การที่ธนาคารผ่อนปรนให้ยังไม่ต้องชำระคืนค่างวด เป็นเพียงการเลื่อนกำหนดชำระหนี้ออกไป ดังนั้น ภาระหนี้ของคุณยังเหลืออยู่และในช่วงผ่อนปรนนี้ ดอกเบี้ยก็ยังคงเดินอยู่
ยื่นเช็กเครดิตบูโรด้วยตัวเองที่ไหนได้บ้างในช่วงโควิด-19
สรุปมาตรการผ่อนปรนพักชำระหนี้
มาตรการผ่อนปรนให้สามารถเลื่อนหรือพักชำระหนี้เพื่อช่วยเหลือประชาชน ซึ่งได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ธนาคารผ่อนปรนให้ประชาชนที่ไม่สามารถชำระงวดได้เต็มตามสัญญา ยังไม่ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ รวมทั้ง จะช่วยให้ประวัติการผ่อนชำระของท่านในฐานข้อมูลเครดิตไม่เสีย นอกจากนี้ ในช่วงที่ผ่อนปรนประชาชนจะมีสภาพคล่องไว้สำหรับใช้จ่ายเพิ่มเติม
แต่สิ่งที่คุณจะต้องตระหนักคือ ภาระหนี้ยังอยู่และในช่วงที่ผ่อนปรนดอกเบี้ยยังเดินอยู่
ไขข้อข้องใจดอกเบี้ยที่พักไว้ไปจ่ายตอนไหน
ทั้งนี้ อาจมีการเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า สถาบันการเงินจะมีการคิดดอกเบี้ยบนดอกเบี้ยกับผู้กู้จากการชะลอการชำระหนี้ ซึ่งไม่เป็นความจริง
ข้อเท็จจริงคือ สถาบันการเงินจะไม่มีการคิดดอกเบี้ยบนดอกเบี้ย โดยผู้กู้สามารถทำการตกลงกับสถาบันการเงินว่าจะเลือกชำระดอกเบี้ยค้างจ่าย ได้ดังนี้
1. จ่ายในงวดสุดท้ายคราวเดียว
2. กระจายจ่ายในแต่ละงวดเท่า ๆ กัน
3. ยืดจำนวนงวดชำระหนี้ออกไปเท่ากับช่วงของการชะลอการชำระหนี้ก็ได้
ย้ำว่า จะไม่มีการเอาดอกเบี้ยมาทบต้นคิดดอกเบี้ย หรือที่เรียกกันว่าคิดดอกเบี้ยบนดอกเบี้ย
แน่นอนว่ามาตรการที่ออกมาเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ซึ่งแต่ละคนอาจได้รับผลกระทบแตกต่างกัน ก็สามารถเลือกวิธีพักชำระหนี้ที่เหมาะสมกับรายได้ของแต่ละคน
แต่หากคุณอยู่ในกลุ่มที่ยังพอมีศักยภาพก็ควรเลือกจ่ายตามปรกติ ช่วยให้ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มเติมภายหลัง หนี้ลดลง และบางธนาคารให้สิทธิพิเศษปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติม แต่สำหรับท่านที่ได้รับผลกระทบ มีสภาพคล่องไม่พอ แนวทางการเลื่อนหรือพักชำระหนี้ก็จะเป็นทางออกหนึ่งสำหรับช่วงนี้
ขอบคุณข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่มา :
ชำระหนี้แบบไหนดีในช่วงโควิด-19
ชำระหนี้แบบไหนดีในช่วงโควิด-19
ด้วยเหตุนี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. จึงได้ร่วมกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ออกมาตรการผ่อนปรนการชำระหนี้เพื่อช่วยเหลือและลดภาระให้ประชาชนและธุรกิจในหลายรูปแบบ
มาตรการต่าง ๆ ที่ออกมามีหลายอย่าง เช่น พักชำระเงินต้น หรือพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ซึ่งแต่ละมาตรการมีข้อดีต่างกัน จะเลือกใช้มาตรการไหน หรือไม่ใช้ดี ลองมาดูผลของแต่ละมาตรการว่าหลังจากเหตุการณ์ผ่านไป 6 เดือน ภายใต้ทางเลือกต่าง ๆ ภาระทางการเงินในแต่ละกรณีจะเป็นอย่างไร
1. กรณีผ่อนชำระหนี้ตามปรกติ
กรณีแรก ผ่อนชำระหนี้ตามปรกติ สมมติว่า หากคุณเป็นหนี้บ้าน 1,000,000 บาท และมีงวดชำระหนี้จากการกู้ซื้อบ้านเดือนละ 10,000 บาท ซึ่งประกอบด้วย เงินต้น 4,000 บาท และดอกเบี้ย 6,000 บาท เรายังจ่ายชำระหนี้ตามปกติ เดือนละ 10,000 บาท เหมือนเดิม ก็จะช่วยลดเงินต้น ผ่านไป 6 เดือน ยอดหนี้ก็จะเหลือแค่ 976,000 บาท
2. กรณีพักชำระเงินต้น
หากสถาบันการเงินผ่อนปรนให้ไม่ต้องชำระคืนเงินต้นตามเวลาที่กำหนดไว้ จากตัวอย่างเดิม สมมติเราเลือกพักชำระเงินต้น 6 เดือน จากปรกติจ่ายเดือนละ 10,000 บาท จะเหลือจ่ายแค่ดอกเบี้ยเดือนละ 6,000 บาท และเนื่องจากเราจ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน ทำให้ยอดหนี้ไม่เพิ่มขึ้น ยังมีหนี้เหลือ 1,000,000 บาทเท่าเดิม
ข้อดีของการพักชำระเงินต้น
แม้ว่าคุณไม่สามารถจ่ายค่างวดได้ครบในช่วง 6 เดือนนี้ ธนาคารจะไม่ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ ประวัติการผ่อนจ่ายชำระหนี้จะไม่เสีย และในช่วง 6 เดือนที่อาจจะยังมีความไม่แน่นอนว่าปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะจบลงเมื่อใด คุณจะมีเงินเหลือ 4,000 บาทเพิ่มเติมในแต่ละเดือน จากที่ยังไม่ต้องชำระคืนธนาคาร ไว้ใช้สำหรับดำรงชีพเพิ่มเติม
3. กรณีพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย
หากไม่ต้องจ่ายทั้งส่วนเงินต้นและดอกเบี้ยให้ธนาคารในช่วงที่ผ่อนปรน จากตัวอย่างเดิมที่ต้องจ่าย 10,000 บาท ก็ไม่ต้องจ่ายธนาคารเลย เพราะธนาคารผ่อนปรนให้คุณ “ยังไม่ต้องชำระคืนค่างวด” ทั้งส่วนที่ชำระคืนเงินต้นและส่วนของดอกเบี้ย แต่ดอกเบี้ยเดือนละ 6,000 บาท ที่ไม่ได้จ่ายตลอด 6 เดือน ยังคงเดินอยู่ และไปเพิ่มยอดหนี้รวมเป็น 1,036,000 บาท
ข้อดีของวิธีพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย
แม้คุณจะไม่สามารถจ่ายค่างวดได้เลย ธนาคารก็จะไม่ถือเป็นการผิดนัดชำระหนี้ และประวัติการผ่อนชำระของคุณในฐานข้อมูลเครดิตบูโรจะไม่เสีย นอกจากนี้ ในช่วง 6 เดือนนี้ที่สถานการณ์ยังไม่แน่นอน ไม่รู้ว่ารายได้จะดีเหมือนเดิมหรือไม่ ทุกเดือนคุณจะมีเงินสดที่เหลือจากการไม่ต้องชำระค่างวด 10,000 บาท ไว้เป็นสภาพคล่องใช้สำหรับดำรงชีพ
อย่างไรก็ตาม การที่ธนาคารผ่อนปรนให้ยังไม่ต้องชำระคืนค่างวด เป็นเพียงการเลื่อนกำหนดชำระหนี้ออกไป ดังนั้น ภาระหนี้ของคุณยังเหลืออยู่และในช่วงผ่อนปรนนี้ ดอกเบี้ยก็ยังคงเดินอยู่
ยื่นเช็กเครดิตบูโรด้วยตัวเองที่ไหนได้บ้างในช่วงโควิด-19
สรุปมาตรการผ่อนปรนพักชำระหนี้
มาตรการผ่อนปรนให้สามารถเลื่อนหรือพักชำระหนี้เพื่อช่วยเหลือประชาชน ซึ่งได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ธนาคารผ่อนปรนให้ประชาชนที่ไม่สามารถชำระงวดได้เต็มตามสัญญา ยังไม่ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ รวมทั้ง จะช่วยให้ประวัติการผ่อนชำระของท่านในฐานข้อมูลเครดิตไม่เสีย นอกจากนี้ ในช่วงที่ผ่อนปรนประชาชนจะมีสภาพคล่องไว้สำหรับใช้จ่ายเพิ่มเติม
แต่สิ่งที่คุณจะต้องตระหนักคือ ภาระหนี้ยังอยู่และในช่วงที่ผ่อนปรนดอกเบี้ยยังเดินอยู่
ไขข้อข้องใจดอกเบี้ยที่พักไว้ไปจ่ายตอนไหน
ทั้งนี้ อาจมีการเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า สถาบันการเงินจะมีการคิดดอกเบี้ยบนดอกเบี้ยกับผู้กู้จากการชะลอการชำระหนี้ ซึ่งไม่เป็นความจริง
ข้อเท็จจริงคือ สถาบันการเงินจะไม่มีการคิดดอกเบี้ยบนดอกเบี้ย โดยผู้กู้สามารถทำการตกลงกับสถาบันการเงินว่าจะเลือกชำระดอกเบี้ยค้างจ่าย ได้ดังนี้
1. จ่ายในงวดสุดท้ายคราวเดียว
2. กระจายจ่ายในแต่ละงวดเท่า ๆ กัน
3. ยืดจำนวนงวดชำระหนี้ออกไปเท่ากับช่วงของการชะลอการชำระหนี้ก็ได้
ย้ำว่า จะไม่มีการเอาดอกเบี้ยมาทบต้นคิดดอกเบี้ย หรือที่เรียกกันว่าคิดดอกเบี้ยบนดอกเบี้ย
แน่นอนว่ามาตรการที่ออกมาเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ซึ่งแต่ละคนอาจได้รับผลกระทบแตกต่างกัน ก็สามารถเลือกวิธีพักชำระหนี้ที่เหมาะสมกับรายได้ของแต่ละคน
แต่หากคุณอยู่ในกลุ่มที่ยังพอมีศักยภาพก็ควรเลือกจ่ายตามปรกติ ช่วยให้ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มเติมภายหลัง หนี้ลดลง และบางธนาคารให้สิทธิพิเศษปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติม แต่สำหรับท่านที่ได้รับผลกระทบ มีสภาพคล่องไม่พอ แนวทางการเลื่อนหรือพักชำระหนี้ก็จะเป็นทางออกหนึ่งสำหรับช่วงนี้
ขอบคุณข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่มา : ชำระหนี้แบบไหนดีในช่วงโควิด-19