Crosby Beach ชายหาดที่ยังตำนาน


 © pshab/Flickr
ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2
ทำให้เกิดซากปรักหักพังจำนวนมากบนชายหาด Crosby Beach ใน Liverpool 
ถัดจากหน่วยยามชายฝั่งที่ปลายทาง
มีหาดทรายที่ทอดยาวไปร่วม 2 กิโลเมตร
เต็มไปด้วยก้อนอิฐ ก้อนหิน ก้อนกรวด
เศษปูน เศษกระเบื้อง เศษหินอ่อนและอื่น ๆ
ที่กลายเป็นแนวป้องกันคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง

หลายทศวรรษที่ผ่านมา
บริเวณนี้ดูเหมือนสถานที่เต็มไปด้วยซากปรักหักพัง
แต่ที่นี่มีตำนาน/ประวัติศาสตร์ยาวนานจากเศษซากปรักหักพังนี้

ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 1940 ถึงพฤษภาคม 1941
เมือง Livepool  ถูกโจมตีด้วยการทิ้งระเบิดจำนวนมาก
จาก Luftwaffe กองทัพอากาศนาซีเยอรมนี
ทั้งนี้เพราะที่นี่เป็นส่วนหนึ่งของยุทธการ The Blitz
ที่มีเป้าหมายทำลายโรงงานอุตสาหกรรม
บ้านเรือนและหน่วยงานทหารที่สำคัญทั่วทั้งอังกฤษ

Liverpool ถูกเล็งไว้อยู่ในกลุ่มที่มีความสำคัญ
เพราะมีท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดบนชายฝั่งตะวันตก
มีความสำคัญอย่างมากับอังกฤษในการทำสงคราม
Liverpool  จึงถูกโจมตีอย่างหนักมาก
รองจากมหานคร London ในช่วง The Blitz
ในเมือง Liverpool มีผู้เสียชีวิต 4,000 คนและ 70,000 คนไร้ที่อยู่อาศัย
ผลการทิ้งระเเบิดทำลายบ้านเรือนกว่า 6,500 หลังคาเรือน
มีทั้งร้านค้า สำนักงาน โรงพยาบาลและโรงงานหลายพันแห่ง

หลังจากสงครามสิ้นสุดลง
เมือง Liverpool ก็เริ่มทำการกวาดล้างซากปรักหักพัง
โดยนำก้อนอิฐ ก้อนหิน ก้อนกรวด เศษปูน เศษกระเบื้อง เศษหินอ่อนและอื่น ๆ
ไปทิ้งที่ชายหาด Crosby เพื่อทำเป็นแนวป้องกันคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง
ถ้าเดินไปตามแนวชายฝั่งยาว 2  กิโลเมตรแห่งนี้
ถ้าสังเกตดีดีจะสามารถเลือกก้อนอิฐ ก้อนหิน หินอ่อน
ที่แกะสลักอย่างสวยงามมาก
ซึ่งในอดีตเคยประดับประดาอาคาร ธนาคาร สำนักงาน โรงแรม
และอาคารที่พักอาศัยของเมือง Liverpool 

“ หินทุกก้อนมาจากตึกที่ถูกทิ้งระเบิด
อิฐทุกก้อนมาจากบ้านที่ถูกทิ้งระเบิด
บางทีอาจเป็นบ้านที่มีคนตาย
ดังนั้นสนามหินและอิฐที่ยาวเหยียดนี้
จึงเป็นอนุสรณ์สถานสงคราม ”
David Lewis นักประวัติศาสตร์/นักเขียนชาว Liverpool กล่าว

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา Emma Marsh  นักศึกษาโบราณคดี
มหาวิทยาลัย University of Durham 
ได้พยายามค้นหาต้นกำเนิดของ
เศษซากหลายพันชิ้นบนชายหาด Crosby

“ ฉันสามารถเห็นชีวิตของผู้คน
บ้านของผู้คนท่ามกลางซากปรักหักพังนี้ ”
Emma Marsh ให้สัมภาษณ์กับ BBC

เมื่อใดก็ตาม ที่เธอพบสิ่งที่น่าสนใจ
เช่น งานก่อสร้างอย่างประณีต หรือตัวอักษร
เธอจะใช้ photogrammetry
เพื่อจัดทำเอกสารวัตถุในแบบ 3 มิติ
จากนั้นเธอใช้ Twitter เพื่อประกาศการค้นพบของเธอ
และภายในไม่กี่นาที ผู้คนที่อาศัยอยู่ใน Liverpool  มาตลอดชีวิต
และจำได้ว่ารูปแบบของสถาปัตยกรรมชิ้นนั้น
เคยติดตั้งและอยู่ที่ไหนบ้างในเมืองนี้
ต่างให้ความช่วยเหลือและให้ข้อมูลกับเธอ

งานวิจัยของเธอมีการอ้างถึงข้อมูล
ผสานกับคลังเก็บภาพถ่ายทางอากาศ
ร่วมกับมุมมองถนน StreetView 
ผสมกับเครื่องมือค้นหาและรูปถ่ายเก่า ๆ
ทำให้ Emma Marsh สามารถจำลองสร้างอาคาร
ที่สูญหายไปในอดีตของ Liverpool 
ขึ้นมาได้อีกครั้งจากเศษซากปรักหักพัง

แม้ว่าชายหาด Crosby แห่งนี้ 
จะมีซากปรักหักพังที่มีความสำคัญมาก
แต่ผู้เยี่ยมชมจำนวนมากยังไม่รู้ประวัติความเป็นมา
บางคนก็มักจะเก็บชิ้นส่วนเหล่านี้ไปเป็นของที่ระลึก

“  ฉันต้องการให้มีป้ายบอกความเป็นมาของชายหาดจริง ๆ
ถ้าคุณไม่รู้ว่าเศษซากปรักหักพังอยู่ที่ไหนมาก่อน
คุณก็ไม่รู้อะไรเลย(จึงหยิบฉวยไป) ”  Emma Marsh กล่าวสรุป

เรียบเรียง/ที่มา

https://twitter.com/ArchaeoBeach
https://bit.ly/2XBRQD9
https://bit.ly/2zWchSj
https://bbc.in/3eSSdPm
https://bit.ly/3eWpR70



© Sarah Thomo/Flickr


Liverpool หลังระเบิดลง

© Allan Rostron / Flickr

© Sarah Thomo / Flickr


© pshab / Flickr


© pshab / Flickr


© milknosugar / Flickr





Low altitude aerial photograph for use in photogrammetry. Location: Three Arch Bay, Laguna Beach, CA.

















Liverpool, shown here in 1930, was a prime target for Nazi Germany 
because of its docks. © HULTON ARCHIVE/GETTY IMAGE

A suburban Liverpool neighborhood after a 1940 bombing. 
The Blitz killed nearly 4,000 and left 70,000 homeless in the city. 
© LIVERPOOL ECHO/MIRRORPIX VIA GETTY IMAGES









ถ้าลองส่องอิฐดูจะพบวัสดุประสาน
ที่ทำให้อิฐเป็นก้อน ที่เห็นได้ชัด ๆ คือ 
แกลบข้าว เถ้าถ่าน แหล่งดินที่มาทำอิฐ
ตามพระราชดำรัสนี้มิใช่คำที่กล่าวเกินจริงเลย 
เพราะก้อนอิฐก้อนเดียว ทำให้เห็นร่องรอย
ข้าวของ/ข้าวที่คนโบราณปลูกกินได้ 
หากใช้วิชาความรู้เทคนิควิธีการวิทยาศาสตร์
ทางโบราณคดีเข้าช่วยสืบจากข้าว 
อาจจะสร้างภาพอดีตจากอิฐพวกนี้ได้




แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่