ผู้ว่า กกท. เผยหลังการประชุมแผนเสนอตัวจัดยูธ โอลิมปิก 2026 โดยเตรียมผลักดันกีฬาเอกลักษณ์ของชาติอย่าง ตะกร้อและมวยไทย เข้าเป็นหนึ่งในตัวเลือกของการแข่งขัน
ผู้ว่า กกท. เผยหลังการประชุมแผนเสนอตัวจัดยูธ โอลิมปิก 2026 โดยเตรียมผลักดันกีฬาเอกลักษณ์ของชาติอย่าง ตะกร้อและมวยไทย เข้าเป็นหนึ่งในตัวเลือกของการแข่งขัน
วันที่ 5 มิ.ย.63 พลเอกวิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการ ดำเนินการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพยูธ โอลิมปิก 2026 ครั้งที่ 2/2563 โดยมีพลตรี จารึก อารีราชการัณย์ เลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย, ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย และกรรมการที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม
โดยที่ประชุมได้สรุปแนวทางจากคณะกรรมการทั้ง 5 ฝ่าย ซึ่งที่ประชุมได้หารือในการนำเสนอชนิดกีฬาที่จะทำการจัดการแข่งขันทั้งหมด โดยจะอ้างอิงจากการจัดการแข่งขันในครั้งก่อน และเพิ่มเติมกีฬาที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทยคือ มวยไทย และเซปักตะกร้อ โดยสนามที่จะทำการจัดแข่งขันกีฬาจะกระจายไปตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในจังหวัดกรุงเทพฯ และจังหวัดชลบุรี
ผู้ว่า กกท. เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ในวันนี้ได้หารือเรื่องการวางระบบการทำงาน เพราะว่าตอนนี้ประเทศไทยต้องเร่งดำเนินการ ในเรื่องของการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ ซึ่งเราได้รับการยืนยันจากทางคณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือว่า IOC ว่า ประเทศไทยได้เข้าสู่ขั้นตอนแรกของการเสนอตัว สิ่งที่วันนี้ได้มีมติเรียบร้อยแล้วก็คือ เรื่องของการมอบหมายให้แต่ละฝ่ายไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะมีฝ่ายจัดการแข่งขันและสนับสนุนการดำเนินการ ฝ่ายอำนวยการ ฝ่ายเลขานุการและประชาสัมพันธ์ ฝ่ายงบประมาณและการเงิน และฝ่ายกำกับดูแลและติดตาม
นอกจากนี้ ยังได้มีการเพิ่มเติมคณะอนุกรรมการด้านวัฒนธรรม การศึกษา และมรดกโอลิมปิก และอีกคณะที่ได้มอบหมายเข้ามาใหม่ก็คือเป็นคณะที่เสนอตัวในฐานะเมืองเจ้าภาพ โดยมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีเป็นแกนนำในคณะนี้ และในที่สุดแล้วทุกคณะจะต้องผ่านคณะกรรมการชุดสุดท้ายก็คือ คณะกำกับดูแลและติดตามประเมินผล โดยในระบบการทำงานก็คือเร่งรัดให้มีการเปิดสำนักงาน ที่การกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งได้มีการเตรียมพื้นที่เอาไว้แล้วที่บริเวณชั้น 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา การกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งจะเป็นศูนย์ประสานงานทั้งหมด ในการที่จะสื่อสารกับทางไอโอซี
อีกเรื่องคือการพิจารณาโลโก้ของการเสนอตัว ได้มีการเสนอรูปแบบต่างๆ และปรับให้เข้ากับความเป็นไทย เพื่อที่จะใช้เป็นโลโก้ในการเสนอตัว ส่วนเรื่องของการแข่งขันก็ได้มีการสรุปแล้วว่า จะยึดกีฬาตามประเภทที่เคยจัดในยูธโอลิมปิกเกมส์ครั้งก่อน ๆ โดยเพิ่มเติมคัดเลือกกีฬาที่มีความนิยมมา 1 กลุ่ม ซึ่งสามารถเป็นแม่เหล็กดึงดูดให้คนสนใจมากยิ่งขึ้น และในขณะเดียวกันก็เพิ่มกีฬาที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทยเข้าไปคือ มวยไทย และ เซปักตะกร้อ เพราะเราต้องการเผยแพร่ในมิติของกีฬา และวัฒนธรรมเข้าไปด้วย
ส่วนสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน โดยได้มีการนำเสนอแนวคิดสำหรับเด็กและเยาวชนในเรื่องของการควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา รณรงค์สร้างความเข้าใจในเรื่องของอันตรายจากการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา และรณรงค์เรื่องของ Clean Sport หรือการเล่นกีฬาที่ปราศจากสารต้องห้ามต่าง ๆ.
https://www.thairath.co.th/sport/others/1861993
กกท.วางแผนดันมวยไทย-ตะกร้อ เข้ายูธโอลิมปิก 2026
ผู้ว่า กกท. เผยหลังการประชุมแผนเสนอตัวจัดยูธ โอลิมปิก 2026 โดยเตรียมผลักดันกีฬาเอกลักษณ์ของชาติอย่าง ตะกร้อและมวยไทย เข้าเป็นหนึ่งในตัวเลือกของการแข่งขัน
วันที่ 5 มิ.ย.63 พลเอกวิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการ ดำเนินการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพยูธ โอลิมปิก 2026 ครั้งที่ 2/2563 โดยมีพลตรี จารึก อารีราชการัณย์ เลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย, ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย และกรรมการที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม
โดยที่ประชุมได้สรุปแนวทางจากคณะกรรมการทั้ง 5 ฝ่าย ซึ่งที่ประชุมได้หารือในการนำเสนอชนิดกีฬาที่จะทำการจัดการแข่งขันทั้งหมด โดยจะอ้างอิงจากการจัดการแข่งขันในครั้งก่อน และเพิ่มเติมกีฬาที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทยคือ มวยไทย และเซปักตะกร้อ โดยสนามที่จะทำการจัดแข่งขันกีฬาจะกระจายไปตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในจังหวัดกรุงเทพฯ และจังหวัดชลบุรี
ผู้ว่า กกท. เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ในวันนี้ได้หารือเรื่องการวางระบบการทำงาน เพราะว่าตอนนี้ประเทศไทยต้องเร่งดำเนินการ ในเรื่องของการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ ซึ่งเราได้รับการยืนยันจากทางคณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือว่า IOC ว่า ประเทศไทยได้เข้าสู่ขั้นตอนแรกของการเสนอตัว สิ่งที่วันนี้ได้มีมติเรียบร้อยแล้วก็คือ เรื่องของการมอบหมายให้แต่ละฝ่ายไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะมีฝ่ายจัดการแข่งขันและสนับสนุนการดำเนินการ ฝ่ายอำนวยการ ฝ่ายเลขานุการและประชาสัมพันธ์ ฝ่ายงบประมาณและการเงิน และฝ่ายกำกับดูแลและติดตาม
นอกจากนี้ ยังได้มีการเพิ่มเติมคณะอนุกรรมการด้านวัฒนธรรม การศึกษา และมรดกโอลิมปิก และอีกคณะที่ได้มอบหมายเข้ามาใหม่ก็คือเป็นคณะที่เสนอตัวในฐานะเมืองเจ้าภาพ โดยมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีเป็นแกนนำในคณะนี้ และในที่สุดแล้วทุกคณะจะต้องผ่านคณะกรรมการชุดสุดท้ายก็คือ คณะกำกับดูแลและติดตามประเมินผล โดยในระบบการทำงานก็คือเร่งรัดให้มีการเปิดสำนักงาน ที่การกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งได้มีการเตรียมพื้นที่เอาไว้แล้วที่บริเวณชั้น 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา การกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งจะเป็นศูนย์ประสานงานทั้งหมด ในการที่จะสื่อสารกับทางไอโอซี
อีกเรื่องคือการพิจารณาโลโก้ของการเสนอตัว ได้มีการเสนอรูปแบบต่างๆ และปรับให้เข้ากับความเป็นไทย เพื่อที่จะใช้เป็นโลโก้ในการเสนอตัว ส่วนเรื่องของการแข่งขันก็ได้มีการสรุปแล้วว่า จะยึดกีฬาตามประเภทที่เคยจัดในยูธโอลิมปิกเกมส์ครั้งก่อน ๆ โดยเพิ่มเติมคัดเลือกกีฬาที่มีความนิยมมา 1 กลุ่ม ซึ่งสามารถเป็นแม่เหล็กดึงดูดให้คนสนใจมากยิ่งขึ้น และในขณะเดียวกันก็เพิ่มกีฬาที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทยเข้าไปคือ มวยไทย และ เซปักตะกร้อ เพราะเราต้องการเผยแพร่ในมิติของกีฬา และวัฒนธรรมเข้าไปด้วย
ส่วนสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน โดยได้มีการนำเสนอแนวคิดสำหรับเด็กและเยาวชนในเรื่องของการควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา รณรงค์สร้างความเข้าใจในเรื่องของอันตรายจากการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา และรณรงค์เรื่องของ Clean Sport หรือการเล่นกีฬาที่ปราศจากสารต้องห้ามต่าง ๆ.
https://www.thairath.co.th/sport/others/1861993