สวิตเซอร์แลนด์ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพัฒนาภาคเทคโนโลยีการเกษตร (Agri-tech sector) ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์ด้านการเกษตรฉบับใหม่ ระหว่างปี 2565 – 2568 ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงาน Agroscope ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยด้านการเกษตรระดับสหพันธรัฐ เพื่อส่งเสริมให้สวิตฯ เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ (smart farming) โดยเฉพาะการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเกษตร และตั้งเป้าหมายในการเป็นผู้นำการให้บริการคำปรึกษาในสาขา smart farming ของโลกต่อไป ทั้งนี้ มีนวัตกรรมด้านการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเกษตรต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท Start-up ในสวิตฯ เช่น
1. การใช้เทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะของบริษัท Gamaya
1.1 บริษัท Gamaya ซึ่งเป็นบริษัท Start-up ของสวิตฯ ตั้งอยู่ในเมือง Morges รัฐโว ก่อตั้งขึ้นใน ปี 2558 โดยเป็นหนึ่งในบริษัท Spin-off ของสถาบันเทคโนโลยี EPFL เมืองโลซาน ซึ่งในปี 2554 – 2558 บริษัทฯ ได้จัดทำ โครงการค้นคว้าวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมในระดับนานาชาติ รวมทั้งเข้าร่วมในโครงการ Leman-Balikal ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสวิตฯ – รัสเซีย (a multi-year Swiss-Russian initiative) ในการศึกษาและอนุรักษ์แหล่งน้ำโดยใช้เครื่องบินที่มีน้ำหนักเบาพิเศษและการใช้เทคโนโลยี Hyperspectral remote sensing (การนำเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียม (imaging) และเทคโนโลยี spectroscopy มารวมเป็นระบบเดียวกัน) เข้ามาช่วยศึกษาในโครงการดังกล่าว
1.2 ปัจจุบันบริษัท Gamaya เน้นการพัฒนาและให้บริการการเก็บข้อมูลภาพที่มีความแม่นยำสูงโดยใช้เทคโนโลยีเก็บภาพแบบ Hyperspectral (Hyperspectral imaging technology) รวมทั้งการใช้ซอฟท์แวร์ที่มีลักษณะเฉพาะในการวิเคราะห์ โดยมี 3 ขั้นตอน คือ
(1) การเก็บภาพโดยใช้กล้องแบบ Hyperspectral ที่มีขนาดเล็ก (ultracompact) (ได้รับการจดสิทธิบัตรแล้ว) ซึ่งสามารถจับแสงได้ถึง 40 แถบแสง ทำให้สามารถเก็บข้อมูลความสมบูรณ์ของพื้นที่เพาะปลูกเพื่อนำไปบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตต่อไป
(2) การใช้เครื่องจักรเพื่อการเรียนรู้ (machine learning) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลด้านการเกษตรที่มีความแม่นยำสูงโดยใช้ซอฟท์แวร์ในการแปลข้อมูลดิบที่เก็บจากภาพถ่ายไปวิเคราะห์/ตรวจสอบเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
(3) ฐานข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเพาะปลูกและข้อมูลแนวทางการเพาะปลูกในระดับท้องถิ่น เพื่อพัฒนาสู่ฐานข้อมูลการเกษตรระดับโลก
1.3 เทคโนโลยีการเก็บภาพของบริษัท Gamaya มีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่ทำการเกษตรเป็นหลัก อาทิ การใช้โดรนติดกล้องที่สามารถถ่ายภาพที่แสดงแถบสีต่าง ๆ ตามสภาพของพืชผลและพื้นที่เพาะปลูกจากการสะท้อนของแสง ซึ่งแต่ละแถบสีจะสามารถตรวจสอบและบ่งบอกถึงสภาวะต่าง ๆ อาทิ การตรวจหาศัตรูพืช การติดโรคของพืช และการขาดโภชนาการของพืช โดยปัจจุบันบริษัทฯ ได้จำหน่ายเทคโนโลยีดังกล่าวในบราซิล ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายรวมทั้งสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเป็นประเทศที่ทำการเพาะปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่และให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี Smart farming โดยเฉพาะการใช้โดรนและการเก็บภาพจากดาวเทียม นอกจากนี้ ในปี 2562 บริษัทฯ ได้ร่วมงานกับบริษัท Mahindra & Mahindra’s Farm Equipment Sector (FES) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์และเครื่องมือการเกษตรขนาดใหญ่ของอินเดีย ในการพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลด้านเกษตรซึ่งใช้เงินลงทุนจำนวน 4.3 ล้านฟรังก์สวิส
2. การเก็บข้อมูลจาก biosignal โดยการติดเซนเซอร์ของบริษัท Vivent SARL
บริษัท Vivent SARL ซึ่งเป็นบริษัท Start-up ของสวิตฯ ตั้งอยู่ในรัฐโว ก่อตั้งขึ้นในปี 2555 ได้ริเริ่มพัฒนาการ เก็บข้อมูลโดยการติดเซ็นเซอร์กับลำต้นของพืช (เช่น มะเขือเทศในห้องเรือนกระจก) เพื่อจับสัญญาณ bio-signal ของพืช โดยคลื่นสัญญาณไฟฟ้าความถี่สูง (high frequency electrical signals) เพื่อเก็บข้อมูลสัญญาณต่าง ๆ ในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งสามารถจับสัญญาณได้ความตึงเครียดหรือความสุขของพืชที่ได้รับสิ่งกระตุ้นที่ทำให้พืชออกผลิตผลได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ เซนเซอร์ที่นำไปติดบนพืชเพื่อตรวจจับและบันทึกคลื่นสัญญาณ biosignals (คล้ายกับระบบซอฟท์แวร์การจดจำเสียงอัตโนมัติ – automatic voice recognition) จากนั้นจะแปลคลื่นสัญญาณดังกล่าวด้วยระบบ AI ซึ่งการวิเคราะห์คลื่นสัญญาณจากพืชจะช่วยให้สามารถตรวจสอบสภาพการเพาะปลูกต่าง ๆ อาทิ พืชกำลังถูกรุกรานหรือถูกกินโดยแมลงต่าง ๆ การติดเชื้อราและการขาดโภชนาการของพืช โดยข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้ผู้เพาะปลูกหรือเกษตรกรสามารถดำเนินการดูแลและจัดการกับพืชและพื้นที่เพาะปลูกของตนได้อย่างเหมาะสมต่อไป
3. การพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อตรวจหาและทำลายศัตรูพืชของสถาบันเทคโนโลยี ETH
นักวิทยาศาสตร์และนักศึกษาวิศวกรรมจากสถาบันเทคโนโลยี ETH นครซูริก อยู่ระหว่างดำเนินการประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อช่วยในการเพาะปลูก โดยหุ่นยนต์ดังกล่าวจะสามารถเข้าไปตรวจพื้นที่เพาะปลูกเพื่อตรวจหาและทำลายศัตรูพืช เช่น วัชพืชและแมลงต่าง ๆ ทั้งนี้ จะมีการทดลองใช้หุ่นยนต์ดังกล่าว ณ สถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ด้านพืชของสถาบันฯ เมือง Eschikon (ตั้งอยู่นอกเมืองซูริก) โดยคาดว่าจะมีการสร้างหุ่นยนต์ต้นแบบเสร็จในช่วงเดือน พ.ค. หรือ มิ.ย. 2563
เครดิตที่มาของข่าว
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น
https://globthailand.com/switzerland-26052020
ติดตามพัฒนาการด้านนวัตกรรม smart farming สุดล้ำของสวิตเซอร์แลนด์
1. การใช้เทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะของบริษัท Gamaya
1.1 บริษัท Gamaya ซึ่งเป็นบริษัท Start-up ของสวิตฯ ตั้งอยู่ในเมือง Morges รัฐโว ก่อตั้งขึ้นใน ปี 2558 โดยเป็นหนึ่งในบริษัท Spin-off ของสถาบันเทคโนโลยี EPFL เมืองโลซาน ซึ่งในปี 2554 – 2558 บริษัทฯ ได้จัดทำ โครงการค้นคว้าวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมในระดับนานาชาติ รวมทั้งเข้าร่วมในโครงการ Leman-Balikal ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสวิตฯ – รัสเซีย (a multi-year Swiss-Russian initiative) ในการศึกษาและอนุรักษ์แหล่งน้ำโดยใช้เครื่องบินที่มีน้ำหนักเบาพิเศษและการใช้เทคโนโลยี Hyperspectral remote sensing (การนำเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียม (imaging) และเทคโนโลยี spectroscopy มารวมเป็นระบบเดียวกัน) เข้ามาช่วยศึกษาในโครงการดังกล่าว
1.2 ปัจจุบันบริษัท Gamaya เน้นการพัฒนาและให้บริการการเก็บข้อมูลภาพที่มีความแม่นยำสูงโดยใช้เทคโนโลยีเก็บภาพแบบ Hyperspectral (Hyperspectral imaging technology) รวมทั้งการใช้ซอฟท์แวร์ที่มีลักษณะเฉพาะในการวิเคราะห์ โดยมี 3 ขั้นตอน คือ
(1) การเก็บภาพโดยใช้กล้องแบบ Hyperspectral ที่มีขนาดเล็ก (ultracompact) (ได้รับการจดสิทธิบัตรแล้ว) ซึ่งสามารถจับแสงได้ถึง 40 แถบแสง ทำให้สามารถเก็บข้อมูลความสมบูรณ์ของพื้นที่เพาะปลูกเพื่อนำไปบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตต่อไป
(2) การใช้เครื่องจักรเพื่อการเรียนรู้ (machine learning) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลด้านการเกษตรที่มีความแม่นยำสูงโดยใช้ซอฟท์แวร์ในการแปลข้อมูลดิบที่เก็บจากภาพถ่ายไปวิเคราะห์/ตรวจสอบเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
(3) ฐานข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเพาะปลูกและข้อมูลแนวทางการเพาะปลูกในระดับท้องถิ่น เพื่อพัฒนาสู่ฐานข้อมูลการเกษตรระดับโลก
1.3 เทคโนโลยีการเก็บภาพของบริษัท Gamaya มีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่ทำการเกษตรเป็นหลัก อาทิ การใช้โดรนติดกล้องที่สามารถถ่ายภาพที่แสดงแถบสีต่าง ๆ ตามสภาพของพืชผลและพื้นที่เพาะปลูกจากการสะท้อนของแสง ซึ่งแต่ละแถบสีจะสามารถตรวจสอบและบ่งบอกถึงสภาวะต่าง ๆ อาทิ การตรวจหาศัตรูพืช การติดโรคของพืช และการขาดโภชนาการของพืช โดยปัจจุบันบริษัทฯ ได้จำหน่ายเทคโนโลยีดังกล่าวในบราซิล ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายรวมทั้งสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเป็นประเทศที่ทำการเพาะปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่และให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี Smart farming โดยเฉพาะการใช้โดรนและการเก็บภาพจากดาวเทียม นอกจากนี้ ในปี 2562 บริษัทฯ ได้ร่วมงานกับบริษัท Mahindra & Mahindra’s Farm Equipment Sector (FES) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์และเครื่องมือการเกษตรขนาดใหญ่ของอินเดีย ในการพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลด้านเกษตรซึ่งใช้เงินลงทุนจำนวน 4.3 ล้านฟรังก์สวิส
2. การเก็บข้อมูลจาก biosignal โดยการติดเซนเซอร์ของบริษัท Vivent SARL
บริษัท Vivent SARL ซึ่งเป็นบริษัท Start-up ของสวิตฯ ตั้งอยู่ในรัฐโว ก่อตั้งขึ้นในปี 2555 ได้ริเริ่มพัฒนาการ เก็บข้อมูลโดยการติดเซ็นเซอร์กับลำต้นของพืช (เช่น มะเขือเทศในห้องเรือนกระจก) เพื่อจับสัญญาณ bio-signal ของพืช โดยคลื่นสัญญาณไฟฟ้าความถี่สูง (high frequency electrical signals) เพื่อเก็บข้อมูลสัญญาณต่าง ๆ ในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งสามารถจับสัญญาณได้ความตึงเครียดหรือความสุขของพืชที่ได้รับสิ่งกระตุ้นที่ทำให้พืชออกผลิตผลได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ เซนเซอร์ที่นำไปติดบนพืชเพื่อตรวจจับและบันทึกคลื่นสัญญาณ biosignals (คล้ายกับระบบซอฟท์แวร์การจดจำเสียงอัตโนมัติ – automatic voice recognition) จากนั้นจะแปลคลื่นสัญญาณดังกล่าวด้วยระบบ AI ซึ่งการวิเคราะห์คลื่นสัญญาณจากพืชจะช่วยให้สามารถตรวจสอบสภาพการเพาะปลูกต่าง ๆ อาทิ พืชกำลังถูกรุกรานหรือถูกกินโดยแมลงต่าง ๆ การติดเชื้อราและการขาดโภชนาการของพืช โดยข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้ผู้เพาะปลูกหรือเกษตรกรสามารถดำเนินการดูแลและจัดการกับพืชและพื้นที่เพาะปลูกของตนได้อย่างเหมาะสมต่อไป
3. การพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อตรวจหาและทำลายศัตรูพืชของสถาบันเทคโนโลยี ETH
นักวิทยาศาสตร์และนักศึกษาวิศวกรรมจากสถาบันเทคโนโลยี ETH นครซูริก อยู่ระหว่างดำเนินการประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อช่วยในการเพาะปลูก โดยหุ่นยนต์ดังกล่าวจะสามารถเข้าไปตรวจพื้นที่เพาะปลูกเพื่อตรวจหาและทำลายศัตรูพืช เช่น วัชพืชและแมลงต่าง ๆ ทั้งนี้ จะมีการทดลองใช้หุ่นยนต์ดังกล่าว ณ สถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ด้านพืชของสถาบันฯ เมือง Eschikon (ตั้งอยู่นอกเมืองซูริก) โดยคาดว่าจะมีการสร้างหุ่นยนต์ต้นแบบเสร็จในช่วงเดือน พ.ค. หรือ มิ.ย. 2563
เครดิตที่มาของข่าว
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น
https://globthailand.com/switzerland-26052020