ถ้าทำการทุจริตจริง...ต้องเอาให้หนัก
เล่นกันแบบนี้...มีงบเท่าไรก็ไม่เหลือ
รัฐบาลไหนมาก็เจ๊ง...
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
●● งานงอก!ป.ป.ท.พบพิรุธ 52 อปท.ใน 30 จังหวัด...ส่อทุจริตจัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 ●●
( 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เวลา 16:10 น. )
พ.ต.ท.วันนพ สมจินตนากุล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.)
เปิดเผยความคืบหน้าผลการตรวจสอบการใช้งบประมาณการจัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันเชื้อโควิด 19 ขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น(อปท.)ว่าถูกต้องตามพ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างฯหรือเข้าข่ายผิดการฮั้วประมูลหรือไม่
โดยทางกอ.รมน.จังหวัดและและป.ป.ท.ได้บูรณาการทำงานร่วมกันจากตรวจสอบพบว่า...
มีพฤติการณ์ที่อาจจะส่อไปในทางทุจริตจำนวน 52 อปท.ใน 30 จังหวัด
และพบพฤติการณ์ผิดปกติในการจัดซื้อจัดจ้าง 19 แห่ง
และขณะนี้ได้ส่งเรื่องไปยังป.ป.ช.ให้พิจารณาแล้ว 3 แห่ง และมีการยกเลิกการจัดซื้อจำนวน 5 แห่ง
เลขาธิการป.ป.ท.กล่าวอีกว่า กล่าวว่าสำหรับพฤติการณ์ที่เป็นข้อสังเกตว่าอาจจะส่อไปในทางทุจริต มี 16 รูปแบบ คือ
- ราคาจัดซื้อสูงเกินจริงเมื่อเทียบกับราคาหรือคุณสมบัติของพัสดุในสถานการณ์ขณะนั้น
- ไม่ปรากฏหลักฐานการสืบราคาให้ตรวจสอบ
- ร้านคู่เทียบยืนยันว่าไม่ได้เป็นผู้เสนอราคาตามเอกสารจัดซื้อจัดจ้าง
- นำพัสดุชิ้นใหม่มาสับเปลี่ยนกับที่ได้ตรวจรับไปแล้ว
- ยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างในราคาที่ผ่านการต่อรองแล้วและไปจัดซื้อใหม่ในราคาที่สูงกว่าเดิม
- ผู้รับจ้างและคู่เทียบไม่ใช่ผู้ประกอบการที่มีอาชีพขายหรือรับจ้างโดยตรง
- จัดซื้อกับผู้ประกอบการต่างท้องที่ ทั้ง ๆ ที่ราคาสูงกว่าผู้ประกอบการในท้องที่
- จัดซื้อเกินวงเงินที่มีอำนาจอนุมัติ
- จัดซื้อในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น
- มีชื่อร้านคู่เทียบเพื่อสืบราคา แต่ไม่มีราคาในการนำเสนอ
- คู่สัญญาและร้านคู่เทียบ มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน
- เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้จัดหาสินค้าเอง โดยจ่ายเงินให้กับบริษัท/ร้านค้า เพื่อขอนำชื่อบริษัท/ร้านค้านั้น
มาเป็นคู่สัญญาแทนตน
- คณะกรรมการตรวจรับ ไม่ได้ทำการตรวจรับจริง แต่มีเจ้าหน้าที่นำเอกสารการตรวจรับมาให้ลงลายมือชื่อ
- มีการซื้อขายกับรัฐวิสาหกิจบางแห่งที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางจัดหาสินค้า ทั้งที่หน่วยงานดังกล่าวไม่มีวัตถุประสงค์
ในการขายสินค้าประเภทที่มีการจัดซื้อ เพื่อหลีกเลี่ยงการสืบราคาผู้บริหารท้องถิ่น
- มีการจ่ายเงินค่าซื้อพัสดุอุปกรณ์ป้องกันโควิด โดยสั่งจ่ายเป็นเช็คเข้าบัญชีตนเอง
นอกจากนี้ยังพบอีกว่า อปท. จำนวน 5 แห่ง ทำการยกเลิกการจัดซื้อเมื่อถูกหน่วยงานของรัฐตรวจสอบ
อย่างไรก็ตามปัจจุบัน องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น หลายแห่ง ได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการให้ความช่วยเหลือ
ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดจากการจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์ป้องกัน ควบคุม หรือรักษา
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มาเป็นการแจกเงินช่วยเหลือกรณีได้รับผลกระทบจากโรคโควิด ตามระเบียบ
กระทรวงมหาดไทย ที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ระเบียบ และกฎหมายแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ภายใต้ความร่วมมือกับ กอ.รมน. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
Cr. :
https://www.thaipost.net/main/detail/67278
●● งานงอก!ป.ป.ท.พบพิรุธ 52 อปท.ใน 30 จังหวัด...ส่อทุจริตจัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 ●●
เล่นกันแบบนี้...มีงบเท่าไรก็ไม่เหลือ
รัฐบาลไหนมาก็เจ๊ง...
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
●● งานงอก!ป.ป.ท.พบพิรุธ 52 อปท.ใน 30 จังหวัด...ส่อทุจริตจัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 ●●
( 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เวลา 16:10 น. )
พ.ต.ท.วันนพ สมจินตนากุล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.)
เปิดเผยความคืบหน้าผลการตรวจสอบการใช้งบประมาณการจัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันเชื้อโควิด 19 ขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น(อปท.)ว่าถูกต้องตามพ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างฯหรือเข้าข่ายผิดการฮั้วประมูลหรือไม่
โดยทางกอ.รมน.จังหวัดและและป.ป.ท.ได้บูรณาการทำงานร่วมกันจากตรวจสอบพบว่า...
มีพฤติการณ์ที่อาจจะส่อไปในทางทุจริตจำนวน 52 อปท.ใน 30 จังหวัด
และพบพฤติการณ์ผิดปกติในการจัดซื้อจัดจ้าง 19 แห่ง
และขณะนี้ได้ส่งเรื่องไปยังป.ป.ช.ให้พิจารณาแล้ว 3 แห่ง และมีการยกเลิกการจัดซื้อจำนวน 5 แห่ง
เลขาธิการป.ป.ท.กล่าวอีกว่า กล่าวว่าสำหรับพฤติการณ์ที่เป็นข้อสังเกตว่าอาจจะส่อไปในทางทุจริต มี 16 รูปแบบ คือ
- ราคาจัดซื้อสูงเกินจริงเมื่อเทียบกับราคาหรือคุณสมบัติของพัสดุในสถานการณ์ขณะนั้น
- ไม่ปรากฏหลักฐานการสืบราคาให้ตรวจสอบ
- ร้านคู่เทียบยืนยันว่าไม่ได้เป็นผู้เสนอราคาตามเอกสารจัดซื้อจัดจ้าง
- นำพัสดุชิ้นใหม่มาสับเปลี่ยนกับที่ได้ตรวจรับไปแล้ว
- ยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างในราคาที่ผ่านการต่อรองแล้วและไปจัดซื้อใหม่ในราคาที่สูงกว่าเดิม
- ผู้รับจ้างและคู่เทียบไม่ใช่ผู้ประกอบการที่มีอาชีพขายหรือรับจ้างโดยตรง
- จัดซื้อกับผู้ประกอบการต่างท้องที่ ทั้ง ๆ ที่ราคาสูงกว่าผู้ประกอบการในท้องที่
- จัดซื้อเกินวงเงินที่มีอำนาจอนุมัติ
- จัดซื้อในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น
- มีชื่อร้านคู่เทียบเพื่อสืบราคา แต่ไม่มีราคาในการนำเสนอ
- คู่สัญญาและร้านคู่เทียบ มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน
- เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้จัดหาสินค้าเอง โดยจ่ายเงินให้กับบริษัท/ร้านค้า เพื่อขอนำชื่อบริษัท/ร้านค้านั้น
มาเป็นคู่สัญญาแทนตน
- คณะกรรมการตรวจรับ ไม่ได้ทำการตรวจรับจริง แต่มีเจ้าหน้าที่นำเอกสารการตรวจรับมาให้ลงลายมือชื่อ
- มีการซื้อขายกับรัฐวิสาหกิจบางแห่งที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางจัดหาสินค้า ทั้งที่หน่วยงานดังกล่าวไม่มีวัตถุประสงค์
ในการขายสินค้าประเภทที่มีการจัดซื้อ เพื่อหลีกเลี่ยงการสืบราคาผู้บริหารท้องถิ่น
- มีการจ่ายเงินค่าซื้อพัสดุอุปกรณ์ป้องกันโควิด โดยสั่งจ่ายเป็นเช็คเข้าบัญชีตนเอง
นอกจากนี้ยังพบอีกว่า อปท. จำนวน 5 แห่ง ทำการยกเลิกการจัดซื้อเมื่อถูกหน่วยงานของรัฐตรวจสอบ
อย่างไรก็ตามปัจจุบัน องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น หลายแห่ง ได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการให้ความช่วยเหลือ
ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดจากการจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์ป้องกัน ควบคุม หรือรักษา
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มาเป็นการแจกเงินช่วยเหลือกรณีได้รับผลกระทบจากโรคโควิด ตามระเบียบ
กระทรวงมหาดไทย ที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ระเบียบ และกฎหมายแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ภายใต้ความร่วมมือกับ กอ.รมน. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
Cr. : https://www.thaipost.net/main/detail/67278