ปัญหาผนังแตกร้าวเกิดจากอะไร?
วัสดุหลักบนผนังปูนทั่วไปคือปูนซีเมนต์และทราย ซึ่งเป็นวัสดุที่มีรูพรุน ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ จึงทำให้ปูนมีการขยายตัวหรือหดตัวได้ตามสภาพอากาศ และเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดรอยร้าวบนผนัง โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นรอยต่อระหว่างกัน เช่น ขอบวงกบหน้าต่าง-ประตู รอยเชื่อมระหว่างผนังพรีคาสท์ รอยต่อระหว่างขอบบัวไม้และผนัง
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การเคลื่อนตัวของจุดที่เป็นรอยต่อระหว่างผนังและวัสดุอื่น การต่อเติมบ้าน ห้องพัก ซึ่งหากไม่มีการเสริมฐานรากที่เหมาะสม และการทำจุดเชื่อมต่อโครงสร้างที่ดีแล้ว อาจเป็นสาเหตุให้เกิด รอยร้าว รอยแยกขนาดใหญ่ หรือแม้กระทั่งรอยต่อระหว่างผนังกับฝ้าเพดานได้ หนำซ้ำยังมีโอากาสขยายตัวใหญ่ขึ้นได้ และมีปัญหาอื่นๆตามมาอีกในอนาคต
หากรอยร้าวมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ วิศวกร เพื่อแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ และป้องกันปัญหาในระยะยาวดีกว่าครับ เพราะต้องแก้ ไขที่โครงสร้างของอาคารเป็นหลัก
การแก้ไขปัญหาผนังแตกร้าวในกรณีที่ไม่ได้เกิดจากโครงสร้างหลัก และรอยร้าวไม่ได้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องแล้ว สามารถแก้ไขง่ายๆ ด้วยตนเอง
ก่อนอื่นต้องเลือกตัวช่วยซีลแล้นท์ที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหารอยร้าว รอยแตกบนผนังเสียก่อนครับ
1. อะคริลิค หรือพี่ช่างมักเรียกกันติดปากว่า แด๊ป เหมาะกับการใช้งานภายในเท่านั้น เมื่อแห้งแล้วจะแข็งตัว สามารถใช้กระดาษทรายขัดแต่ง แล้วทาสีทับได้ เพื่อเก็บความสวยงาม
2. พียู ซึ่งรู้จักกันดี และใช้กันเยอะมากในงานก่อสร้าง โดยเฉพาะการซีล รอยต่อผนังพรีคาสท์ ซึ่งเป็นผนังสำเร็จรูปที่นิยมใช้เพื่อประหยัดเวลาในการก่อสร้างในปัจจุบัน เมื่อต้องเชื่อมต่อแผ่นผนัง จำเป็นต้องใช้ซีลแล้นท์ที่มีความยืดหยุ่นสูงและใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกบ้าน มีข้อเสียอย่างเดียวคือ เมื่อตากแดดแรงๆ นานๆ จะมีรอยแตกลายงาที่ผิวจึงแนะนำให้ทาสีทับอีกชั้นหนึ่ง เพื่อยืดอายุการใช้งานครับ พียู เมื่อแห้งตัวแล้ว จะยังคงมีความยืดหยุ่น ไม่แข็งเหมือนอะคริลิคนะครับ นี่เป็นสาเหตุว่าการเชื่อมรอยต่อที่มีการเคลื่อนตัวอยู่ ทำไมต้องใช้พียู ไม่ใช่อะคริลิค เพราะอย่าลืมว่า บ้านและอาคารของเราเคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลา แม้เราจะไม่รู้สึกก็ตาม อย่างน้อยก็มีการยืด หดตัวตามอุณหภูมิ ร้อน เย็น
3.โมดิฟาย ซิลิโคน หรือ เอ็มเอส น่าจะเป็นซีลแล้นท์เกรดที่ดีที่สุดในตอนนี้แล้ว คุณสมบัติจะครอบคลุมการใช้งานได้ทุกพื้นผิว ซึ่งถ้าใครขี้เกียจซื้อซีลแล้นท์แยกตามพื้นที่การใช้งาน ก็ลงทุนซื้ออันนี้หลอดเดียวไปเลยครับใช้ได้หมด ทีนี้ชื่อก็น่าจะพอเดาว่ามีคุณสมบัติของซิลิโคนอยู่ ใช่ครับ เจ้าตัวนี้เป็นลูกครึ่ง Hybrid ระหว่าง พียู และ ซิลิโคน แต่ถูกปรับสูตรให้มีคุณสมบัติที่เหนือกว่า คือ เพื่อให้ลบข้อจำกัดของเจ้า 2 ตัวที่กล่าวไป นั่นคือ พียู จะไม่ทนแดดและความร้อนมากๆ และอาจคายคราบน้ำมันออกมาด้วย แต่ โมดิฟาย ซิลิโคน สามารถทนแดดและความร้อนได้ดีกว่า แข็งแรงทนทานและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า ในขณะเดียวกัน ข้อเสียของ ซิลิโคน คือ ทาสีไม่ติด ต้องปล่อยเปลือยเท่านั้น แต่ โมดิฟาย ซิลิโคน หรือ เอ็มเอส สามารถทาสีทับได้ ทำให้เก็บงาน เก็บความสวยงามได้ตามที่ต้องการ
วิธีการใช้งาน
1.เมื่อเลือกซีลแล้นท์ที่เหมาะกับปัญหา พื้นผิวที่จะใช้งาน และพิจารณาพื้นที่ภายนอก ภายในแล้ว ก็ซื้อปืนยิงซีลแล้นท์ และเตรียมเกรียงเล็กๆ สำหรับปาดเก็บเนื้อซีลแล้นท์ มาด้วยนะครับ
2.ประกอบหลอดซีลแล้นท์เข้ากับปืนยิงเรียบร้อย ก็ทำการตัดปลายหลอดออก แนะนำให้ตัดทำมุม 45 องศา เพื่อให้ตอนยิงบนผนัง หรือซอกต่างๆ ทำได้ง่ายขึ้น ใช้มีดคัทเตอร์ตัดปลายจุกหลอดออก และอย่าลืมดูด้วยว่าบางยี่ห้อจะมีฟลอยด์ปิดอีก 1 ชั้น ด้านในปากหลอด เพื่อไม่ให้ซีลแล้นท์ แห้งตัว เหมือนหลอดยาสีฟัน ก็อย่าลืมเจาะฟลอยด์ให้ทะลุก่อนนะครับ
3.ทำความสะอาดพื้นผิว และหากเป็นรอยร้าวขนาดเล็ก อาจจะต้องเซาะร่องเป็นตัว V เพิ่มเติมนิดนึง เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้ซีลแล้นท์สามารถยึดเกาะกับพื้นผิวได้
4.หากต้องการความเนี้ยบ ก็ปิดกระดาษกาวหนังไก่ตามแนวที่ยิงซีลแลนท์ กันรอยเปื้อน หรือรอยเลอะจากซีลแล้นท์ด้วยก็ได้ครับ แต่ถ้าไม่ซีเรียสก็ยิงซีลแล้นท์กันเลย ทดลองน้ำหนักมือของตัวเองนิดนึงก็ดีนะครับ ก่อนลงพื้นที่จริง จะได้รู้แรงกดว่าต้องมากน้อยแค่ไหน เวลาใช้ปืนยิง
5.ใช้เกรียงปาดซีลแล้นท์ให้เรียบ เก็บส่วนเกินที่นูนๆ ออกไป แล้วใช้น้ำยาล้างจานผสมน้ำนิดหน่อย ลูบซ้ำเพื่อเก็บความเรียบร้อย เนื่องจากซีลแล้นท์จะได้ไม่ติดมือเราด้วยครับ
6.รอให้แห้ง แล้วจะทาสีทับอีกที เพื่อเก็บความเรียบร้อยก็ได้ครับ
รอยแตกร้าวบนผนัง เกิดขึ้นจากอะไร และมีวิธีซ่อมแซมอย่างไรบ้าง สามารถทำได้ด้วยตนเองหรือไม่ มาดูคำตอบกันครับ
วัสดุหลักบนผนังปูนทั่วไปคือปูนซีเมนต์และทราย ซึ่งเป็นวัสดุที่มีรูพรุน ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ จึงทำให้ปูนมีการขยายตัวหรือหดตัวได้ตามสภาพอากาศ และเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดรอยร้าวบนผนัง โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นรอยต่อระหว่างกัน เช่น ขอบวงกบหน้าต่าง-ประตู รอยเชื่อมระหว่างผนังพรีคาสท์ รอยต่อระหว่างขอบบัวไม้และผนัง
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การเคลื่อนตัวของจุดที่เป็นรอยต่อระหว่างผนังและวัสดุอื่น การต่อเติมบ้าน ห้องพัก ซึ่งหากไม่มีการเสริมฐานรากที่เหมาะสม และการทำจุดเชื่อมต่อโครงสร้างที่ดีแล้ว อาจเป็นสาเหตุให้เกิด รอยร้าว รอยแยกขนาดใหญ่ หรือแม้กระทั่งรอยต่อระหว่างผนังกับฝ้าเพดานได้ หนำซ้ำยังมีโอากาสขยายตัวใหญ่ขึ้นได้ และมีปัญหาอื่นๆตามมาอีกในอนาคต
หากรอยร้าวมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ วิศวกร เพื่อแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ และป้องกันปัญหาในระยะยาวดีกว่าครับ เพราะต้องแก้ ไขที่โครงสร้างของอาคารเป็นหลัก
การแก้ไขปัญหาผนังแตกร้าวในกรณีที่ไม่ได้เกิดจากโครงสร้างหลัก และรอยร้าวไม่ได้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องแล้ว สามารถแก้ไขง่ายๆ ด้วยตนเอง
ก่อนอื่นต้องเลือกตัวช่วยซีลแล้นท์ที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหารอยร้าว รอยแตกบนผนังเสียก่อนครับ
1. อะคริลิค หรือพี่ช่างมักเรียกกันติดปากว่า แด๊ป เหมาะกับการใช้งานภายในเท่านั้น เมื่อแห้งแล้วจะแข็งตัว สามารถใช้กระดาษทรายขัดแต่ง แล้วทาสีทับได้ เพื่อเก็บความสวยงาม
2. พียู ซึ่งรู้จักกันดี และใช้กันเยอะมากในงานก่อสร้าง โดยเฉพาะการซีล รอยต่อผนังพรีคาสท์ ซึ่งเป็นผนังสำเร็จรูปที่นิยมใช้เพื่อประหยัดเวลาในการก่อสร้างในปัจจุบัน เมื่อต้องเชื่อมต่อแผ่นผนัง จำเป็นต้องใช้ซีลแล้นท์ที่มีความยืดหยุ่นสูงและใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกบ้าน มีข้อเสียอย่างเดียวคือ เมื่อตากแดดแรงๆ นานๆ จะมีรอยแตกลายงาที่ผิวจึงแนะนำให้ทาสีทับอีกชั้นหนึ่ง เพื่อยืดอายุการใช้งานครับ พียู เมื่อแห้งตัวแล้ว จะยังคงมีความยืดหยุ่น ไม่แข็งเหมือนอะคริลิคนะครับ นี่เป็นสาเหตุว่าการเชื่อมรอยต่อที่มีการเคลื่อนตัวอยู่ ทำไมต้องใช้พียู ไม่ใช่อะคริลิค เพราะอย่าลืมว่า บ้านและอาคารของเราเคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลา แม้เราจะไม่รู้สึกก็ตาม อย่างน้อยก็มีการยืด หดตัวตามอุณหภูมิ ร้อน เย็น
3.โมดิฟาย ซิลิโคน หรือ เอ็มเอส น่าจะเป็นซีลแล้นท์เกรดที่ดีที่สุดในตอนนี้แล้ว คุณสมบัติจะครอบคลุมการใช้งานได้ทุกพื้นผิว ซึ่งถ้าใครขี้เกียจซื้อซีลแล้นท์แยกตามพื้นที่การใช้งาน ก็ลงทุนซื้ออันนี้หลอดเดียวไปเลยครับใช้ได้หมด ทีนี้ชื่อก็น่าจะพอเดาว่ามีคุณสมบัติของซิลิโคนอยู่ ใช่ครับ เจ้าตัวนี้เป็นลูกครึ่ง Hybrid ระหว่าง พียู และ ซิลิโคน แต่ถูกปรับสูตรให้มีคุณสมบัติที่เหนือกว่า คือ เพื่อให้ลบข้อจำกัดของเจ้า 2 ตัวที่กล่าวไป นั่นคือ พียู จะไม่ทนแดดและความร้อนมากๆ และอาจคายคราบน้ำมันออกมาด้วย แต่ โมดิฟาย ซิลิโคน สามารถทนแดดและความร้อนได้ดีกว่า แข็งแรงทนทานและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า ในขณะเดียวกัน ข้อเสียของ ซิลิโคน คือ ทาสีไม่ติด ต้องปล่อยเปลือยเท่านั้น แต่ โมดิฟาย ซิลิโคน หรือ เอ็มเอส สามารถทาสีทับได้ ทำให้เก็บงาน เก็บความสวยงามได้ตามที่ต้องการ
วิธีการใช้งาน
1.เมื่อเลือกซีลแล้นท์ที่เหมาะกับปัญหา พื้นผิวที่จะใช้งาน และพิจารณาพื้นที่ภายนอก ภายในแล้ว ก็ซื้อปืนยิงซีลแล้นท์ และเตรียมเกรียงเล็กๆ สำหรับปาดเก็บเนื้อซีลแล้นท์ มาด้วยนะครับ
2.ประกอบหลอดซีลแล้นท์เข้ากับปืนยิงเรียบร้อย ก็ทำการตัดปลายหลอดออก แนะนำให้ตัดทำมุม 45 องศา เพื่อให้ตอนยิงบนผนัง หรือซอกต่างๆ ทำได้ง่ายขึ้น ใช้มีดคัทเตอร์ตัดปลายจุกหลอดออก และอย่าลืมดูด้วยว่าบางยี่ห้อจะมีฟลอยด์ปิดอีก 1 ชั้น ด้านในปากหลอด เพื่อไม่ให้ซีลแล้นท์ แห้งตัว เหมือนหลอดยาสีฟัน ก็อย่าลืมเจาะฟลอยด์ให้ทะลุก่อนนะครับ
3.ทำความสะอาดพื้นผิว และหากเป็นรอยร้าวขนาดเล็ก อาจจะต้องเซาะร่องเป็นตัว V เพิ่มเติมนิดนึง เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้ซีลแล้นท์สามารถยึดเกาะกับพื้นผิวได้
4.หากต้องการความเนี้ยบ ก็ปิดกระดาษกาวหนังไก่ตามแนวที่ยิงซีลแลนท์ กันรอยเปื้อน หรือรอยเลอะจากซีลแล้นท์ด้วยก็ได้ครับ แต่ถ้าไม่ซีเรียสก็ยิงซีลแล้นท์กันเลย ทดลองน้ำหนักมือของตัวเองนิดนึงก็ดีนะครับ ก่อนลงพื้นที่จริง จะได้รู้แรงกดว่าต้องมากน้อยแค่ไหน เวลาใช้ปืนยิง
5.ใช้เกรียงปาดซีลแล้นท์ให้เรียบ เก็บส่วนเกินที่นูนๆ ออกไป แล้วใช้น้ำยาล้างจานผสมน้ำนิดหน่อย ลูบซ้ำเพื่อเก็บความเรียบร้อย เนื่องจากซีลแล้นท์จะได้ไม่ติดมือเราด้วยครับ
6.รอให้แห้ง แล้วจะทาสีทับอีกที เพื่อเก็บความเรียบร้อยก็ได้ครับ