** ขอคำแนะนำ ** สอบบรรจุ "ข้าราชการ" ได้ 2 ตำแหน่ง คือ "นักทรัพยากรบุคคลฯ" และ "นักจัดการทั่วไปฯ" จะเลือกทำตำแหน่งไหนดี?

เพี้ยนสวัสดีสวัสดีครับเพื่อนๆ 
คือตอนนี้ ชีวิตมาถึงทางแยก 2 ทาง ครับ กำลังคิดอยู่ว่าจะเดินไปทางไหนดี? เกี่ยวกับการเลือกทำงานเป็นข้าราชการ

ผมพักอยู่แถวๆหลักสี่ กรุงเทพฯ (บ้านตนเองอยู่กับพ่อแม่)  ปัจจุบันทำงาน อยู่ที่รัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งเกี่ยวกับการเดินทาง (ที่ขาดทุน)  ครับ แถวๆ จ.ปทุมธานี ทำในตำแหน่งด้าน HRD (ฝึกอบรม) แต่เนื่องจากอยากเป็นข้าราชการ เพราะมีความมั่นคงมากกว่ารัฐวิสาหกิจที่ทำอยู่ เลยลงสนามสอบ แล้ว.........พอดีสอบได้ "ข้าราชการ" 2 ที่ ครับ คือ

   1.1) กระทรวงหนึ่งที่ศูนย์กลางอยู่แถวๆ สะพานขาว กรุงเทพ เลือกลงหน่วยงานแถวๆคลองห้า อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี ทำในตำแหน่ง "นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ" การเดินทางถือว่าไกลกว่า รัฐวิสาหกิจที่จะลาออกไปหน่อยนึง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงจากบ้าน : หน้าที่จะต้องรับผิดชอบ คืองานด้านฝึกอบรม จะคล้ายๆงานที่เคยทำมา
** แต่ถนัด คุ้นเคย ในตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคลฯนี้ มากกว่า **

   1.2) สำนักงาน...เพื่อสันติ กระทรวง...เทคโนโลยี อยู่ติดกับบ้านมากๆครับ แถวๆหลักสี่ กรุงเทพ ใช้เวลาเดินทางไม่ถึง 10 นาทีจากบ้าน ทำในตำแหน่ง "นักจัดการทั่วไปปฏิบัติการ" : หน้าที่ๆรับผิดชอบ น่าเป็นงานด้านเอกสารเสนอนาย
**แต่ความถนัด ความคุ้นเคย จะน้อยกว่านักทรัพยากรบุคคลฯ อยู่หน่อยนึงแต่ก็ไม่ได้มาก**

เลยเกิดความลังเล + มีข้อสงสัยครับเพี้ยนจริงจัง

   1.) ผมควรที่จะเลือกทำงานในตำแน่งที่ถนัดมากกว่า แต่ไกลบ้าน (นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ คลอง 5 ปทุมธานี) หรือ ทำงานที่ถนัดรองลงมา แต่ใกล้บ้านมากกว่า  (นักจัดการทั่วไปปฏิบัติการ หลักสี่ กรุงเทพ)?

   2.) ความก้าวหน้า สำหรับข้าราชการ ในตำแหน่ง "นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ" กับ "นักจัดการทั่วไปปฏิบัติการ" นั้น มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ตำแหน่งใดมีโอกาสที่สามารถขยับขยายต่อไปในอนาคตมากกว่ากัน?

   3.) การเป็นข้าราขการ เมื่อบรรจุ มีอายุงาน 1-2 ปี สามารถที่จะขอโอนย้ายหน่วยงานไปกระทรวงอื่น กรม สำนักงานอื่นที่ใกล้ๆบ้าน ได้ (ถ้ามีตำแหน่ง) ถูกมั้ยครับ?

   4.) ทำในตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล เพื่อดูไปก่อน แล้ว ถ้าไม่ชอบ ก็มาทำนักจัดการทั่วไป ใกล้ๆบ้าน จะดีกว่ามั้ยครับ? (ยังมีเวลาช่วงต่างที่สามารถจัดสรรได้อยู่หน่อยนึง) 

   5.) ถ้าเป็นเพื่อนๆ เพื่อนๆจะเลือกทำงานที่ไหน ตำแหน่งอะไร ด้วยเหตุผลอะไรครับ?

   6.) ใครเคยมีประสบการณ์ใกล้เคียงแบบนี้บ้างครับ มาเล่าสู่กันฟังหน่อย

สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ครับ ขอบคุณครับพาพันขอบคุณ 
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 10
1.) ผมควรที่จะเลือกทำงานในตำแน่งที่ถนัดมากกว่า แต่ไกลบ้าน (นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ คลอง 5 ปทุมธานี) หรือ ทำงานที่ถนัดรองลงมา แต่ใกล้บ้านมากกว่า  (นักจัดการทั่วไปปฏิบัติการ หลักสี่ กรุงเทพ)?
- ความเห็นส่วนตัวผมนะ เพราะผมคลุกคลีในสายงานสนับสนุนมาทั้งหมด (นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักทรัพยากรบุคคล นักจัดการงานทั่วไป) มันไม่ใช่ว่าถนัดหลักหรือถนัดรองครับ แต่ JD ก็ไม่ต่างกันมากครับ หลักๆเลยคือเรื่องของหนังสือราชการ การเดินหนังสือ แต่ในส่วนเฉพาะเจาะจงตามตำแหน่ง เช่น นักทรัพย์ฯ อยู่ฝ่ายอบรม ก็อาจจะได้เขียนโครงการเสนอผู้ใหญ่ หาสถานที่จัดอบรม ประสานกับวิทยากร หรือถ้าเป็นนักจัดก็จะเป็นในส่วนของการจดรายงานการประชุม การเกษียณหนังสือ หรือระบบงานสารบรรณ ประมาณนี้ครับ
อยากให้ จขกท มองในส่วนของ Work Life Balance ด้วยครับ ไฟแรงก็เป็นเรื่องดี แต่ก็ต้องให้เวลากับตัวเองบ้างครับ ถ้าให้ผมเลือกผมก็เลือกใกล้บ้านครับ ไหนจะค่าใช้จ่าย หรือเวลาที่มากขึ้น พักผ่อน ไปเที่ยว หารายได้เพิ่มขึ้น ได้อยู่กับพ่อแม่มากขึ้นครับ
   2.) ความก้าวหน้า สำหรับข้าราชการ ในตำแหน่ง "นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ" กับ "นักจัดการทั่วไปปฏิบัติการ" นั้น มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ตำแหน่งใดมีโอกาสที่สามารถขยับขยายต่อไปในอนาคตมากกว่ากัน?
ถ้าดูมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง นักทรัพย์โตได้ถึงระดับ c10 เดิม (ทรงคุณวุฒิ) ซึ่งถ้าจะเป็นสายงานหลักก็ต้องไปอยู่ สำนักงาน ก.พ. ครับ โตแน่นอน แต่ถ้าหน่วยงานทั่วไปก็คือสายงานสนับสนุนครับ ถ้าอยู่ระดับกรม ตัวปีระมิดเราก็สูงสุดแค่ c8 เดิมครับ (ชำนาญการพิเศษ) ในเรื่องความก้าวหน้ามันมีหลายปัจจัยครับ เช่น การบูรณาการงานระหว่างหน่วยงานราชการด้วยกัน ผลงานดีถูกใจผู้ใหญ่ (ยากเพราะเป็นงานรูทีน ไม่ใช่งานระดับหน่วยงาน) หรืออายุราชการ ประสบการณ์ ความชำนาญ เรามาคำนวณคิดตอนสอบเลื่อนระดับ ที่มีคณะกรรมการ ฯ กลั่นกรองอีกครับ
ส่วนนักจัดการงานทั่วไป โตได้ถึงระดับ c8 เดิม (ชำนาญการพิเศษ) ครับ ตำแหน่งนี้ไม่ใช่สายงานหลักทุกหน่วยครับ สนับสนุน 100% ตัวปีระมิดก็เช่นกัน ถ้าเคยอยู่งานอัตรากำลังจะรู้ว่าตำแหน่งเลขที่นักจัดระดับ c8 เดิมมันมีน้อยมากครับ เมื่อเทียบกับตำแหน่งเลขที่ของสายงานหลักแต่ละกรม ดังนั้นถ้ามองในความก้าวหน้า ก็ไม่ต่างกันมากครับ
   3.) การเป็นข้าราขการ เมื่อบรรจุ มีอายุงาน 1-2 ปี สามารถที่จะขอโอนย้ายหน่วยงานไปกระทรวงอื่น กรม สำนักงานอื่นที่ใกล้ๆบ้าน ได้ (ถ้ามีตำแหน่ง) ถูกมั้ยครับ?
ขึ้นอยู่กับประกาศหน่วยงาน เรื่อง ขึ้นบัญชีเลือกสรรครับ ว่ามีข้อที่ห้ามโอนย้ายภายในกี่ปีหรือไม่ ถ้าไม่มี 6 เดือนมีคำสั่งให้รับราชการต่อ ก็ติดต่อหน่วยงานปลายทางเพื่อขอโอนย้ายไปได้เลยครับ
   4.) ทำในตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล เพื่อดูไปก่อน แล้ว ถ้าไม่ชอบ ก็มาทำนักจัดการทั่วไป ใกล้ๆบ้าน จะดีกว่ามั้ยครับ? (ยังมีเวลาช่วงต่างที่สามารถจัดสรรได้อยู่หน่อยนึง)
ตอบเหมือนข้อ 1 ครับ อยู่ใกล้บ้านดีกว่าครับ
   5.) ถ้าเป็นเพื่อนๆ เพื่อนๆจะเลือกทำงานที่ไหน ตำแหน่งอะไร ด้วยเหตุผลอะไรครับ?
ตอบไปแล้วครับจากเหตุผลข้างต้น
   6.) ใครเคยมีประสบการณ์ใกล้เคียงแบบนี้บ้างครับ มาเล่าสู่กันฟังหน่อย
ตอบไปแล้วครับจากคำอธิบายข้างต้น

สุดท้ายแล้วอยู่ที่เราเลือกครับ ตัวผมเองบรรจุตำแหน่งนักทรัพย์ฯ แห่งนึงใจกลาง กทม. แล้วก็ทำเรื่องโอนย้ายไปตำแหน่งนักจัดฯ ที่จังหวัดบ้านเกิดครับ (บรรจุสิงหา 60 เรื่องทำเรื่องโอนย้ายพฤษภา 61 มีเหตุยังไม่ได้ไปกันยา 61 ทำเรื่องโอนไปอีกที่กันยา 61 ปล่อยให้เวลาทำงานไป มีคำสั่งรับโอนกุมภา 62 ย้ายมาเมษา 62 ครับ)

เรื่องเงินเดือนและค่าตอบแทน ผมมองว่า ณ ตอนนี้เรามี ว347 (ลองเสิชหาดู) เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ให้ข้าราชการพลเรือนได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง ง่ายๆคือ ถ้าตำแหน่งที่เราครองอยู่ตันแค่ c7 เดิม (ชำนาญการ) เราจะได้เงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของตัวเอง (เดิมตันที่ 43,600 บาท ไปตันอีกขั้นสูงของเราคือ c8 เดิม (ชำนาญการพิเศษ) คือ 58,390 บาทครับ แล้วในอนาคตอาจจะมีปรับอะไรกันอีกตามเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อของโลกครับ อยากให้มองกว่าเราจะอยู่ถึงปีที่เงินเดือนเราจะตันหรือเปล่านะครับ เพราะหน่วยงานบางที่ก็เลื่อนเงินเดือนกันรอบละ 2% กว่าๆเท่านั้น เต็มที่ก็ 3% นิดๆ ซึ่งถ้าให้ทำคำนวณแล้วกว่าเงินเดือนเราจะตัน ก็อาจจะใกล้เกษียณแล้วครับ

ยังไงก็ฝากไว้ให้คิดครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่