ไทยเหมาะเป็นที่ตั้งของห่วงโซ่อุปทานที่ปลอดภัย เชื่อถือได้ มั่นคง และคุ้มค่าการลงทุน
โดย เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนชื่อดัง เคยกล่าวไว้ว่า “เราจะรู้ว่าใครเปลือยกายว่ายน้ำก็ต่อเมื่อน้ำลงแล้วเท่านั้น” โชคร้ายที่ต้นปี 2563 เป็นช่วงน้ำลงสำหรับบรรดาบริษัทระดับโลกที่ถูกถาโถมด้วยการล็อกดาวน์เนื่องจากเชื้อไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นที่จีนและลุกลามไปสู่การปิดหรือจำกัดการดำเนินกิจการของบริษัทในประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก วิกฤตการณ์นี้เผยให้เห็นจุดอ่อนของห่วงโซ่อุปทานในบริษัทระดับโลกจำนวนมาก
อย่างไรก็ดี วิกฤตการณ์มักกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในโลกธุรกิจ หลายกิจการในสหรัฐอเมริกา ไทย และทั่วโลกกำลังมองไปยังอนาคตที่สดใสยิ่งขึ้น และวางแผนเพื่อฟื้นฟูธุรกิจและกลับมาแข็งแกร่งยิ่งกว่าเดิมหลังช่วงวิกฤตนี้ผ่านพ้นไป ส่วนสำคัญของกระบวนการดังกล่าวคือ บริษัทต่าง ๆ กำลังทบทวนการดำเนินธุรกิจ การลงทุน และการจัดการห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก เพื่อให้มั่นใจว่ามีความปลอดภัย เชื่อถือได้ และมั่นคง รวมทั้งคุ้มทุนในเวลาเดียวกัน
ห่วงโซ่อุปทานที่ปลอดภัยมีอยู่ในนานาประเทศที่เป็นมิตรและพันธมิตรซึ่งต่างยึดมั่นในความโปร่งใส โอกาสที่เป็นเอกเทศ และตลาดเสรีที่ปราศจากการครอบงำของรัฐ ห่วงโซ่อุปทานที่เชื่อถือได้มีอยู่ในนานาประเทศที่สื่อมีเสรีภาพและความเข้มแข็ง พร้อมทั้งมีระบบศาลยุติธรรมที่เป็นอิสระ ซึ่งต่างยึดถือหลักนิติธรรมและหลักความศักดิ์สิทธิ์ของสัญญา และห่วงโซ่อุปทานที่มั่นคงมีอยู่ในนานาประเทศที่บริษัทต่าง ๆ ปลอดภัยจากการโจรกรรมทางไซเบอร์หรือการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา
ความยึดมั่นในเสรีภาพ หลักนิติธรรม และระบบตุลาการที่เป็นอิสระทำให้สหรัฐอเมริกามีบรรยากาศการลงทุนที่ดีและน่าสนใจ ซึ่งดึงดูดบริษัทจากทั่วโลก ทว่าบริษัทที่ต้องการเข้าถึงตลาดต่างประเทศให้มากขึ้นมีตัวเลือกที่เด่นชัดเพื่อขยายการลงทุนในภูมิภาค ทั้งนี้ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก บริษัทอเมริกันกำลังให้ความสนใจประเทศสมาชิกอาเซียนมากกว่าที่อื่น ๆ เนื่องด้วยตำแหน่งที่ตั้งของอาเซียนที่ทำให้ห่วงโซ่อุปทานมีความคุ้มทุน โอกาสในอนาคตดูสดใสยิ่งขึ้นไปอีก เนื่องจากอาเซียนจะกลายเป็นตลาดระดับภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เพราะร้อยละ 50 ของประชากรทั้งหมดมีอายุต่ำกว่า 30 ปี ใจกลางของอาเซียนคือประเทศไทย อันเป็นศูนย์กลางการคมนาคมและโลจิสติกส์ที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป ตลอดจนเป็นพันธมิตรด้านสนธิสัญญาที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐฯ ในเอเชีย และเป็นพันธมิตรหลักนอกสนธิสัญญานาโตเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป
ในปีนี้นับเป็นวาระครบรอบ 187 ปีที่ราชอาณาจักรไทยลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ของสหรัฐฯ อันเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างเราสองประเทศ ซึ่งงอกงามมาจนถึงทุกวันนี้ บริษัทอเมริกันหลายร้อยบริษัทได้ลงทุนในไทย โดยสร้างงานให้คนไทยหลายหมื่นคนและยังประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับทั้งสหรัฐฯ และไทย ธุรกิจของเราที่ชื่อคุ้นหูมีมากมาย ทั้งซิตี้แบงก์ เชฟรอน และฟอร์ด ซึ่งต่างก็ดำเนินการในไทยมาหลายทศวรรษและยังคงเชื่อมั่นว่าไทยเป็นที่ตั้งที่เหมาะสม
ในขณะเดียวกัน มีธุรกิจอื่น ๆ อีกมากที่เพิ่งจะเข้ามาหรือเพิ่งจะขยายการดำเนินงานในไทย ไม่นานมานี้ บริษัทอเมริกันด้านการผลิตวัสดุขั้นสูงแห่งหนึ่งได้เลือกที่จะตั้งโรงงานผลิตแห่งใหม่ที่ประเทศไทยหลังจากวิเคราะห์ตัวเลือกทั้งหมด 24 แห่งในภูมิภาคนี้ บริษัทการ์เดียน กลาส ธุรกิจชั้นแนวหน้าด้านการผลิตกระจกประหยัดพลังงานที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างอาคาร อุตสาหกรรมยานยนต์ และอื่น ๆ ดำเนินการผลิตในไทยมาตั้งแต่ปี 2534 และในปีที่แล้ว ได้เลือกกรุงเทพมหานครเป็นสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ประจำเอเชีย-แปซิฟิก เนื่องจากไทยมีชื่อเสียงที่ดีทั้งในด้านการต้อนรับนักลงทุนต่างชาติ มีเศรษฐกิจในประเทศที่กำลังขยายตัว และเป็นสถานีการส่งออกไปยังทั่วโลก นอกจากนี้ บริษัทอลิอันซ์ ลอนดรี้ ยังได้เปิดโรงงานในต่างประเทศแห่งล่าสุดที่ไทยเมื่อปีที่แล้ว โดยพิจารณาจากโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมที่ก้าวหน้าของไทยในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ตลอดจนสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนที่น่าสนใจ และผลงานด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ผ่านมาซึ่งทำให้ไทยได้เปรียบประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค บริษัทซีเกท ซึ่งดำเนินการในไทยมากว่า 30 ปี ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง ทุกวันนี้บริษัทได้ร่วมงานกับมหาวิทยาลัยไทยหลายแห่งในการพัฒนาทักษะด้านวิศวกรรมและวิชาการในท้องถิ่น ซึ่งช่วยให้บริษัทซีเกท คงตำแหน่งผู้นำระดับโลกด้านการผลิตฮาร์ดไดร์ฟไฮเทคและอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ล้ำสมัยอื่น ๆ
เมื่อผมสอบถามบริษัทเหล่านี้ว่าเหตุใดจึงเลือกประเทศไทย พวกเขาต่างตอบว่า ลักษณะการผลิตในไทยมีความปลอดภัย เชื่อถือได้ และมั่นคง ในขณะเดียวกันก็ยังมีความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย ทั้งด้านต้นทุนที่ดิน ค่าแรง และค่าครองชีพ ตัวอย่างเช่น ค่าแรงเฉลี่ยรายเดือนสำหรับภาคการผลิตในไทยต่ำกว่าจีนมากกว่าร้อยละ 50 โดยอ้างอิงจากข้อมูลล่าสุดที่มีอยู่ นอกจากนี้ การเริ่มต้นการดำเนินธุรกิจในไทยยังไม่ซับซ้อนอีกด้วย ในเดือนกุมภาพันธ์ U.S. News and World Report จัดให้ไทยอยู่ในอันดับที่ 1 ของประเทศที่เหมาะกับการเริ่มต้นธุรกิจมากที่สุดจากการสำรวจประจำปี 2563 โดยมีเกณฑ์การตัดสิน 5 ประการ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผล ระเบียบราชการ ต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ความเชื่อมโยง และการเข้าถึงเงินทุน นอกจากนี้ ไทยเป็นที่รู้จักดีในด้านคุณภาพของระบบการสาธารณสุข ซึ่งรับมือกับการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ได้อย่างน่ายกย่อง เช่นเดียวกับโรงเรียนนานาชาติระดับแนวหน้าของโลกที่มีให้เลือกมากมาย ทั้งยังมีสถานที่ทางวัฒนธรรมและท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายและงดงามที่สุดในโลกหลายแห่ง ตลอดจนมีอาหารที่ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าเลิศรส ไทยเป็นประเทศที่น่าอยู่อย่างยิ่ง ไม่ว่าจะอยู่แบบเพียงคนเดียวหรือเป็นครอบครัว
ประเทศไทยได้แสดงให้เห็นถึงกฎระเบียบที่เป็นมิตรกับธุรกิจผ่านการรับมือการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 กิจการของสหรัฐฯ ในไทยชื่นชมรัฐบาลไทยเป็นเสียงเดียวกันว่ามีความยืดหยุ่นในการอนุญาตให้โรงงานผลิตสามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างราบรื่น ในขณะที่อีกด้านก็บังคับใช้มาตรการสาธารณสุขที่เข้มข้นเพื่อชะลออัตราการติดเชื้อ ธุรกิจอเมริกันยังแสดงความประทับใจที่รัฐบาลไทยได้แจ้งข้อบังคับใหม่ล่วงหน้า ส่งผลให้สามารถวางแผนสำรองได้อย่างเหมาะสม ราชอาณาจักรไทยดำเนินการในแง่มุมเหล่านี้ได้อย่างโดดเด่นเมื่อเทียบกับชาติอื่นในเอเชีย
นอกจากนี้ ผมขอชมเชยรัฐบาลไทยที่ให้ความช่วยเหลือและการสนับสนุนต่าง ๆ ผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ทั้งยังมอบสิทธิประโยชน์ที่สร้างแรงจูงใจสำคัญให้บริษัทต่าง ๆ เข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทยภายใต้โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ทั้งนี้บรรดาบริษัทในโครงการดังกล่าวมีข้อได้เปรียบในการส่งออกสินค้าไปยังตลาดในภูมิภาคอาเซียนและทั่วโลก เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้กับท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของทวีปเอเชีย
นับตั้งแต่ที่ผมได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยที่มาจากภาคเอกชนเป็นคนแรก ผมได้หารืออย่างกว้างขวางกับธุรกิจทั้งของสหรัฐฯ และไทย เพื่อหาวิธีที่เราจะสามารถกระชับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจของสองประเทศได้ ณ ช่วงเวลาสำคัญในประวัติศาสตร์นี้ ขณะที่ทั่วโลกต่อสู้กับผลที่เกิดจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 สหรัฐฯ ต้องการเห็นไทยคว้าโอกาสที่จะได้ส่วนแบ่งในห่วงโซ่อุปทานโลกที่ไทยสมควรจะได้รับ
ประเทศไทยสามารถช่วยให้บรรลุเป้าหมายนั้นได้ด้วยการประกาศให้กลุ่มธุรกิจระหว่างประเทศรับทราบทั่วกันว่าไทยยังคงยึดมั่นในวิสาหกิจเสรี การค้าที่เป็นธรรม ตลาดที่เปิดกว้าง ความโปร่งใส ตลอดจนแนวปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจที่สุจริต นอกจากนี้ ไทยยังสามารถส่งเสริมให้กำลังแรงงานในประเทศมีความน่าสนใจมากขึ้น ด้วยการดำเนินการหลายประการเฉกเช่นที่เรากำลังพยายามทำในสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับหลักสูตรของวิทยาลัยอาชีวศึกษา ปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาเพื่อเน้นทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (สะเต็ม) รวมถึงเสนอให้มีการฝึกอบรมการทำงานใหม่ และ “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” เพื่อพัฒนาทักษะให้กับแรงงานที่มีอยู่
สำหรับงานที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ โดยอาจมีผู้เชี่ยวชาญไม่เพียงพอภายในประเทศ ไทยควรอนุญาตให้บริษัทต่าง ๆ ว่าจ้างชาวต่างชาติที่มีความชำนาญ เพื่อช่วยให้เกิดการถ่ายโอนองค์ความรู้ขั้นสูงให้แก่พลเมืองไทย และเพิ่มจำนวนคนไทยที่มีทักษะซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมาก อันจะทำให้ชาวไทยสามารถประกอบอาชีพเหล่านั้นได้ในอนาคต แทนที่จะต้องว่าจ้างชาวต่างชาติ
ประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์จากจุดพลิกผันไปสู่การทำงานทางไกลและธุรกิจดิจิทัลที่เลี่ยงไม่ได้ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงการรับมือกับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ไทยควรสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการยกระดับธุรกิจดิจิทัลในทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจ ตั้งแต่การเงินไปจนถึงการเกษตร รวมทั้งคุ้มครองธุรกิจเหล่านั้นให้มีความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วยข้อปฏิบัติต่าง ๆ การปกป้องบริษัทจากการโจรกรรมทางไซเบอร์ยังจะเน้นย้ำถึงข้อได้เปรียบที่ไทยมีมากกว่าประเทศอื่นที่เป็นแหล่งของการโจมตีในลักษณะดังกล่าว นอกจากนี้ ไทยยังสามารถแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจดิจิทัล โดยการเข้าร่วมในระบบภายใต้กรอบการควบคุมความเป็นส่วนตัวข้ามพรมแดนของเอเปค (APEC Cross-Border Privacy Rules) ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลสามารถไหลเวียนได้อย่างเสรีและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ท้ายสุดนี้ ไทยสามารถรักษาและพัฒนาแหล่งพลังงานที่มีอยู่หลากหลาย ตลอดจนใช้ศักยภาพในการส่งพลังงานได้อย่างคุ้มทุนและเต็มกำลัง เพื่อจำหน่ายพลังงานที่เชื่อถือได้และราคาไม่แพงภายในประเทศ ไทยมีโอกาสอันยอดเยี่ยมเพราะมีแหล่งก๊าซธรรมชาติที่ยังไม่ได้พัฒนาขนาดใหญ่ที่สุดแหล่งหนึ่งในอ่าวไทย จึงสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติราคาไม่แพงได้ไปอีกหลายชั่วอายุคน นอกจากนี้แล้ว ในระยะสั้น การดำเนินการเพื่อพัฒนาให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางในการค้าขายและขนส่งพลังงานในภูมิภาค จะมีส่วนอย่างมากต่อการทำให้เศรษฐกิจไทยมีอุปทานพลังงานที่มีเสถียรภาพและราคาไม่แพงในระยะยาว
ประธานาธิบดี แคลวิน คูลิดจ์ ได้กล่าวไว้ว่า “ภารกิจของอเมริกาคือธุรกิจ” ทุกวันนี้ที่วิสาหกิจเสรีต้องต่อสู้กับเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยภาครัฐอีกครั้ง เราจะต้องระลึกถึงอำนาจแห่งวิสาหกิจเสรีแบบอเมริกัน ผมขอปิดท้ายด้วยคำกล่าวของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ท่านแรกที่เดินทางมาเมืองไทย ประธานาธิบดี ยูลิสิส เอส. แกรนต์ ได้กล่าวไว้เมื่อครั้งมาเยือนไทยในปี 2422 ว่า “ผมไม่เคยเห็นที่ไหนน่าสนใจเท่า [ประเทศไทย] มาก่อน” ผมเห็นด้วยกับถ้อยคำของประธานาธิบดีแกรนต์และขอย้ำว่า ราชอาณาจักรไทยยังคงเปิดกว้างสำหรับธุรกิจในช่วงเวลาที่ท้าทายเหล่านี้ และเป็นสถานที่ซึ่งปลอดภัย เชื่อถือได้ และมั่นคงสำหรับการดำเนินธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานของบริษัท ผมหวังว่าจะได้ร่วมมือกับรัฐบาลไทยและบริษัทสัญชาติไทยเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งยิ่งขึ้นให้กับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและพาณิชย์ระหว่างสหรัฐฯ และไทย อันเฟื่องฟูเป็นอย่างดีนับตั้งแต่จุดเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19
(บทความแสดงความคิดเห็นนี้เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2563)
สถานทูตUS ออกแถลงการณ์ ไทยเหมาะเป็นที่ตั้งของห่วงโซ่อุปทานที่ปลอดภัย เชื่อถือได้ มั่นคง และคุ้มค่าการลงทุน
อย่างไรก็ดี วิกฤตการณ์มักกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในโลกธุรกิจ หลายกิจการในสหรัฐอเมริกา ไทย และทั่วโลกกำลังมองไปยังอนาคตที่สดใสยิ่งขึ้น และวางแผนเพื่อฟื้นฟูธุรกิจและกลับมาแข็งแกร่งยิ่งกว่าเดิมหลังช่วงวิกฤตนี้ผ่านพ้นไป ส่วนสำคัญของกระบวนการดังกล่าวคือ บริษัทต่าง ๆ กำลังทบทวนการดำเนินธุรกิจ การลงทุน และการจัดการห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก เพื่อให้มั่นใจว่ามีความปลอดภัย เชื่อถือได้ และมั่นคง รวมทั้งคุ้มทุนในเวลาเดียวกัน
ห่วงโซ่อุปทานที่ปลอดภัยมีอยู่ในนานาประเทศที่เป็นมิตรและพันธมิตรซึ่งต่างยึดมั่นในความโปร่งใส โอกาสที่เป็นเอกเทศ และตลาดเสรีที่ปราศจากการครอบงำของรัฐ ห่วงโซ่อุปทานที่เชื่อถือได้มีอยู่ในนานาประเทศที่สื่อมีเสรีภาพและความเข้มแข็ง พร้อมทั้งมีระบบศาลยุติธรรมที่เป็นอิสระ ซึ่งต่างยึดถือหลักนิติธรรมและหลักความศักดิ์สิทธิ์ของสัญญา และห่วงโซ่อุปทานที่มั่นคงมีอยู่ในนานาประเทศที่บริษัทต่าง ๆ ปลอดภัยจากการโจรกรรมทางไซเบอร์หรือการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา
ความยึดมั่นในเสรีภาพ หลักนิติธรรม และระบบตุลาการที่เป็นอิสระทำให้สหรัฐอเมริกามีบรรยากาศการลงทุนที่ดีและน่าสนใจ ซึ่งดึงดูดบริษัทจากทั่วโลก ทว่าบริษัทที่ต้องการเข้าถึงตลาดต่างประเทศให้มากขึ้นมีตัวเลือกที่เด่นชัดเพื่อขยายการลงทุนในภูมิภาค ทั้งนี้ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก บริษัทอเมริกันกำลังให้ความสนใจประเทศสมาชิกอาเซียนมากกว่าที่อื่น ๆ เนื่องด้วยตำแหน่งที่ตั้งของอาเซียนที่ทำให้ห่วงโซ่อุปทานมีความคุ้มทุน โอกาสในอนาคตดูสดใสยิ่งขึ้นไปอีก เนื่องจากอาเซียนจะกลายเป็นตลาดระดับภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เพราะร้อยละ 50 ของประชากรทั้งหมดมีอายุต่ำกว่า 30 ปี ใจกลางของอาเซียนคือประเทศไทย อันเป็นศูนย์กลางการคมนาคมและโลจิสติกส์ที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป ตลอดจนเป็นพันธมิตรด้านสนธิสัญญาที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐฯ ในเอเชีย และเป็นพันธมิตรหลักนอกสนธิสัญญานาโตเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป
ในปีนี้นับเป็นวาระครบรอบ 187 ปีที่ราชอาณาจักรไทยลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ของสหรัฐฯ อันเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างเราสองประเทศ ซึ่งงอกงามมาจนถึงทุกวันนี้ บริษัทอเมริกันหลายร้อยบริษัทได้ลงทุนในไทย โดยสร้างงานให้คนไทยหลายหมื่นคนและยังประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับทั้งสหรัฐฯ และไทย ธุรกิจของเราที่ชื่อคุ้นหูมีมากมาย ทั้งซิตี้แบงก์ เชฟรอน และฟอร์ด ซึ่งต่างก็ดำเนินการในไทยมาหลายทศวรรษและยังคงเชื่อมั่นว่าไทยเป็นที่ตั้งที่เหมาะสม
ในขณะเดียวกัน มีธุรกิจอื่น ๆ อีกมากที่เพิ่งจะเข้ามาหรือเพิ่งจะขยายการดำเนินงานในไทย ไม่นานมานี้ บริษัทอเมริกันด้านการผลิตวัสดุขั้นสูงแห่งหนึ่งได้เลือกที่จะตั้งโรงงานผลิตแห่งใหม่ที่ประเทศไทยหลังจากวิเคราะห์ตัวเลือกทั้งหมด 24 แห่งในภูมิภาคนี้ บริษัทการ์เดียน กลาส ธุรกิจชั้นแนวหน้าด้านการผลิตกระจกประหยัดพลังงานที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างอาคาร อุตสาหกรรมยานยนต์ และอื่น ๆ ดำเนินการผลิตในไทยมาตั้งแต่ปี 2534 และในปีที่แล้ว ได้เลือกกรุงเทพมหานครเป็นสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ประจำเอเชีย-แปซิฟิก เนื่องจากไทยมีชื่อเสียงที่ดีทั้งในด้านการต้อนรับนักลงทุนต่างชาติ มีเศรษฐกิจในประเทศที่กำลังขยายตัว และเป็นสถานีการส่งออกไปยังทั่วโลก นอกจากนี้ บริษัทอลิอันซ์ ลอนดรี้ ยังได้เปิดโรงงานในต่างประเทศแห่งล่าสุดที่ไทยเมื่อปีที่แล้ว โดยพิจารณาจากโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมที่ก้าวหน้าของไทยในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ตลอดจนสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนที่น่าสนใจ และผลงานด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ผ่านมาซึ่งทำให้ไทยได้เปรียบประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค บริษัทซีเกท ซึ่งดำเนินการในไทยมากว่า 30 ปี ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง ทุกวันนี้บริษัทได้ร่วมงานกับมหาวิทยาลัยไทยหลายแห่งในการพัฒนาทักษะด้านวิศวกรรมและวิชาการในท้องถิ่น ซึ่งช่วยให้บริษัทซีเกท คงตำแหน่งผู้นำระดับโลกด้านการผลิตฮาร์ดไดร์ฟไฮเทคและอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ล้ำสมัยอื่น ๆ
เมื่อผมสอบถามบริษัทเหล่านี้ว่าเหตุใดจึงเลือกประเทศไทย พวกเขาต่างตอบว่า ลักษณะการผลิตในไทยมีความปลอดภัย เชื่อถือได้ และมั่นคง ในขณะเดียวกันก็ยังมีความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย ทั้งด้านต้นทุนที่ดิน ค่าแรง และค่าครองชีพ ตัวอย่างเช่น ค่าแรงเฉลี่ยรายเดือนสำหรับภาคการผลิตในไทยต่ำกว่าจีนมากกว่าร้อยละ 50 โดยอ้างอิงจากข้อมูลล่าสุดที่มีอยู่ นอกจากนี้ การเริ่มต้นการดำเนินธุรกิจในไทยยังไม่ซับซ้อนอีกด้วย ในเดือนกุมภาพันธ์ U.S. News and World Report จัดให้ไทยอยู่ในอันดับที่ 1 ของประเทศที่เหมาะกับการเริ่มต้นธุรกิจมากที่สุดจากการสำรวจประจำปี 2563 โดยมีเกณฑ์การตัดสิน 5 ประการ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผล ระเบียบราชการ ต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ความเชื่อมโยง และการเข้าถึงเงินทุน นอกจากนี้ ไทยเป็นที่รู้จักดีในด้านคุณภาพของระบบการสาธารณสุข ซึ่งรับมือกับการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ได้อย่างน่ายกย่อง เช่นเดียวกับโรงเรียนนานาชาติระดับแนวหน้าของโลกที่มีให้เลือกมากมาย ทั้งยังมีสถานที่ทางวัฒนธรรมและท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายและงดงามที่สุดในโลกหลายแห่ง ตลอดจนมีอาหารที่ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าเลิศรส ไทยเป็นประเทศที่น่าอยู่อย่างยิ่ง ไม่ว่าจะอยู่แบบเพียงคนเดียวหรือเป็นครอบครัว
ประเทศไทยได้แสดงให้เห็นถึงกฎระเบียบที่เป็นมิตรกับธุรกิจผ่านการรับมือการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 กิจการของสหรัฐฯ ในไทยชื่นชมรัฐบาลไทยเป็นเสียงเดียวกันว่ามีความยืดหยุ่นในการอนุญาตให้โรงงานผลิตสามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างราบรื่น ในขณะที่อีกด้านก็บังคับใช้มาตรการสาธารณสุขที่เข้มข้นเพื่อชะลออัตราการติดเชื้อ ธุรกิจอเมริกันยังแสดงความประทับใจที่รัฐบาลไทยได้แจ้งข้อบังคับใหม่ล่วงหน้า ส่งผลให้สามารถวางแผนสำรองได้อย่างเหมาะสม ราชอาณาจักรไทยดำเนินการในแง่มุมเหล่านี้ได้อย่างโดดเด่นเมื่อเทียบกับชาติอื่นในเอเชีย
นอกจากนี้ ผมขอชมเชยรัฐบาลไทยที่ให้ความช่วยเหลือและการสนับสนุนต่าง ๆ ผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ทั้งยังมอบสิทธิประโยชน์ที่สร้างแรงจูงใจสำคัญให้บริษัทต่าง ๆ เข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทยภายใต้โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ทั้งนี้บรรดาบริษัทในโครงการดังกล่าวมีข้อได้เปรียบในการส่งออกสินค้าไปยังตลาดในภูมิภาคอาเซียนและทั่วโลก เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้กับท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของทวีปเอเชีย
นับตั้งแต่ที่ผมได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยที่มาจากภาคเอกชนเป็นคนแรก ผมได้หารืออย่างกว้างขวางกับธุรกิจทั้งของสหรัฐฯ และไทย เพื่อหาวิธีที่เราจะสามารถกระชับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจของสองประเทศได้ ณ ช่วงเวลาสำคัญในประวัติศาสตร์นี้ ขณะที่ทั่วโลกต่อสู้กับผลที่เกิดจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 สหรัฐฯ ต้องการเห็นไทยคว้าโอกาสที่จะได้ส่วนแบ่งในห่วงโซ่อุปทานโลกที่ไทยสมควรจะได้รับ
ประเทศไทยสามารถช่วยให้บรรลุเป้าหมายนั้นได้ด้วยการประกาศให้กลุ่มธุรกิจระหว่างประเทศรับทราบทั่วกันว่าไทยยังคงยึดมั่นในวิสาหกิจเสรี การค้าที่เป็นธรรม ตลาดที่เปิดกว้าง ความโปร่งใส ตลอดจนแนวปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจที่สุจริต นอกจากนี้ ไทยยังสามารถส่งเสริมให้กำลังแรงงานในประเทศมีความน่าสนใจมากขึ้น ด้วยการดำเนินการหลายประการเฉกเช่นที่เรากำลังพยายามทำในสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับหลักสูตรของวิทยาลัยอาชีวศึกษา ปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาเพื่อเน้นทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (สะเต็ม) รวมถึงเสนอให้มีการฝึกอบรมการทำงานใหม่ และ “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” เพื่อพัฒนาทักษะให้กับแรงงานที่มีอยู่
สำหรับงานที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ โดยอาจมีผู้เชี่ยวชาญไม่เพียงพอภายในประเทศ ไทยควรอนุญาตให้บริษัทต่าง ๆ ว่าจ้างชาวต่างชาติที่มีความชำนาญ เพื่อช่วยให้เกิดการถ่ายโอนองค์ความรู้ขั้นสูงให้แก่พลเมืองไทย และเพิ่มจำนวนคนไทยที่มีทักษะซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมาก อันจะทำให้ชาวไทยสามารถประกอบอาชีพเหล่านั้นได้ในอนาคต แทนที่จะต้องว่าจ้างชาวต่างชาติ
ประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์จากจุดพลิกผันไปสู่การทำงานทางไกลและธุรกิจดิจิทัลที่เลี่ยงไม่ได้ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงการรับมือกับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ไทยควรสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการยกระดับธุรกิจดิจิทัลในทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจ ตั้งแต่การเงินไปจนถึงการเกษตร รวมทั้งคุ้มครองธุรกิจเหล่านั้นให้มีความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วยข้อปฏิบัติต่าง ๆ การปกป้องบริษัทจากการโจรกรรมทางไซเบอร์ยังจะเน้นย้ำถึงข้อได้เปรียบที่ไทยมีมากกว่าประเทศอื่นที่เป็นแหล่งของการโจมตีในลักษณะดังกล่าว นอกจากนี้ ไทยยังสามารถแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจดิจิทัล โดยการเข้าร่วมในระบบภายใต้กรอบการควบคุมความเป็นส่วนตัวข้ามพรมแดนของเอเปค (APEC Cross-Border Privacy Rules) ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลสามารถไหลเวียนได้อย่างเสรีและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ท้ายสุดนี้ ไทยสามารถรักษาและพัฒนาแหล่งพลังงานที่มีอยู่หลากหลาย ตลอดจนใช้ศักยภาพในการส่งพลังงานได้อย่างคุ้มทุนและเต็มกำลัง เพื่อจำหน่ายพลังงานที่เชื่อถือได้และราคาไม่แพงภายในประเทศ ไทยมีโอกาสอันยอดเยี่ยมเพราะมีแหล่งก๊าซธรรมชาติที่ยังไม่ได้พัฒนาขนาดใหญ่ที่สุดแหล่งหนึ่งในอ่าวไทย จึงสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติราคาไม่แพงได้ไปอีกหลายชั่วอายุคน นอกจากนี้แล้ว ในระยะสั้น การดำเนินการเพื่อพัฒนาให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางในการค้าขายและขนส่งพลังงานในภูมิภาค จะมีส่วนอย่างมากต่อการทำให้เศรษฐกิจไทยมีอุปทานพลังงานที่มีเสถียรภาพและราคาไม่แพงในระยะยาว
ประธานาธิบดี แคลวิน คูลิดจ์ ได้กล่าวไว้ว่า “ภารกิจของอเมริกาคือธุรกิจ” ทุกวันนี้ที่วิสาหกิจเสรีต้องต่อสู้กับเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยภาครัฐอีกครั้ง เราจะต้องระลึกถึงอำนาจแห่งวิสาหกิจเสรีแบบอเมริกัน ผมขอปิดท้ายด้วยคำกล่าวของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ท่านแรกที่เดินทางมาเมืองไทย ประธานาธิบดี ยูลิสิส เอส. แกรนต์ ได้กล่าวไว้เมื่อครั้งมาเยือนไทยในปี 2422 ว่า “ผมไม่เคยเห็นที่ไหนน่าสนใจเท่า [ประเทศไทย] มาก่อน” ผมเห็นด้วยกับถ้อยคำของประธานาธิบดีแกรนต์และขอย้ำว่า ราชอาณาจักรไทยยังคงเปิดกว้างสำหรับธุรกิจในช่วงเวลาที่ท้าทายเหล่านี้ และเป็นสถานที่ซึ่งปลอดภัย เชื่อถือได้ และมั่นคงสำหรับการดำเนินธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานของบริษัท ผมหวังว่าจะได้ร่วมมือกับรัฐบาลไทยและบริษัทสัญชาติไทยเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งยิ่งขึ้นให้กับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและพาณิชย์ระหว่างสหรัฐฯ และไทย อันเฟื่องฟูเป็นอย่างดีนับตั้งแต่จุดเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19
(บทความแสดงความคิดเห็นนี้เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2563)