. ย้อนไปเมื่อ 2 ปีก่อน ผมเคยเชิญอาจารย์แมน ผศ.เธียรชัย พันธ์คง มาเป็นวิทยากรบรรยายที่บริษัท และได้มีโอกาสทานข้าวร่วมกันกับอาจารย์ คำหนึ่งที่อาจารย์พูดกับผม และยังจำขึ้นใจอยู่จนถึงวันนี้คือ “ไม่มีงานไหนที่มั่นคง มีแต่เราทำตัวเราเองให้มั่นคง”
.
.
. ผมนั่งทบทวนคำที่อาจารย์พูดไว้เสมอ ก็พบความจริงว่า ถึงแม้เราจะอยู่ในบริษัทที่มั่นคงที่สุด แน่ละบริษัทไม่ล้ม แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเขาจะมั่นคงกับเราได้ตลอด ในวันหนึ่งถ้าเราทำประโยชน์ไม่ได้มากพอ เขาก็คงไม่อยากจะเอาเราไว้ให้เสียค่าใช้จ่ายองค์กรรึเปล่า เห็นจากวิกฤตปี 2020 นี้ ไม่มีองค์กรไหนที่จะมั่นคงถาวร ทุกองค์กรล้วนแต่เป็นกังวล และต่างไม่รู้อนาคตกันด้วยซ้ำว่าวิกฤตจะยืดยาวไปถึงเมื่อไหร่ พร้อมกับได้ยินเสมอว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งที่องค์กรไปต่อไหว การ Layout คงเป็นตัวเลือกสุดท้าย แต่คนแรกที่จะถูก Layout คงเป็นคนที่ทำประโยชน์ได้น้อยที่สุด
.
.
. แต่ถ้าเราหันกลับมาเปลี่ยนมุมมองเราใหม่ โดยไม่จำเป็นต้องไปยึดให้ความสำคัญในการทำงานกับบริษัทที่มั่นคงละ แต่เป็นตัวเราที่ทำตัวเองให้มั่นคงเสียเอง ผ่านการฝึกฝน ทักษะต่างๆ ผมเลยอยากสรุปการทำตัวเราให้มั่นคง จากการวางแผนชีวิตตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาความมั่นคงจากองค์กรดังนี้
.
.
1.เชี่ยวชาญในงานที่ทำ
ผมไม่ค่อยมีความเชื่อว่าบางตำแหน่งงานจะมี AI หรือถูกเข้ามาแทนที่ 100 เปอร์เซ็นต์ ผมเชื่อว่าทุกตำแหน่งงานมีที่ว่าง สำหรับคนเก่งเชี่ยวชาญจริงๆอยู่ หากเราฝึกฝนความเชี่ยวชาญในสายงานของเรา จนเข้าใจถึงแก่นแท้จริงๆ ผมว่ามันก็เป็นจุดขายอย่างหนึ่ง ที่ถึงแม้ว่าเราจะตกงาน แต่ผมเชื่อว่าก็ยังมีที่อื่น ที่เขาพร้อมรับผู้เชี่ยวชาญจริงๆ ในงานนั้นให้เราเข้าไปทำ ผมว่าตลาดแรงงานมีการแข่งขันสูงทุกตำแหน่ง แต่ความเชี่ยวชาญจะเป็นตัว ทำให้เราไม่ต้องลงไปแข่งขันอย่างเหน็ดเหนื่อยในการหางาน
.
.
2.การมีทักษะอื่นๆ
ผมคิดว่ายิ่งเรามีทักษะติดตัวเยอะเท่าไหร่ ตัวเลือกในการทำงานเราก็มีมากขึ้นเท่านั้น เช่น คนพูดได้หลายภาษา กับคนพูดได้แค่ภาษาไทย โอกาสในการหางานก็ต่างกันครึ่งต่อครึ่งแล้ว ผมเคยสมัครงานพบว่า งานดีๆเกือบทั้งหมด ต้องอาศัยภาษาอังกฤษ และยิ่งมีภาษาที่ 3 ยิ่งทำให้เรามีโอกาสมากขึ้นไปอีก หลายๆครั้งที่เราพลาดโอกาสงานดีๆ ที่เรามีทักษะอื่นๆครบถ้วน แต่ก็มาตกม้าตายที่ภาษา
. แต่ทักษะคงไม่ได้มีแค่ภาษา ผมว่ามันมีอีกตั้งหลายๆอย่าง สำหรับผมทักษะอื่นๆ ควรมาจากความชอบด้วย เพราะมันจะทำให้เราสนุกในการเรียนรู้กับมันเช่น ชอบเขียน ชอบถ่ายรูป ชอบตัดต่อวิดิโอ ชอบพูด เป็นต้น ผมว่าทักษะเหล่านี้ ล้วนเพิ่มคุณค่า และเพิ่มความมั่นคงให้ชีวิตเรา มากกว่าที่จะมารอความมั่นคงจากองค์กรเสียอีก อีกทั้งวันหนึ่งถ้าเราตั้งใจฝึกฝนมากๆ บางทีเราอาจจะได้รายได้จากทักษะพวกนี้ กลายเป็นอาชีพที่สองก็ได้
.
.
3.การมีแผนสำรอง
การเอาชีวิตไปฝากไว้กับองค์กร ผมว่าเป็นสิ่งที่เสี่ยงสุดๆ เพราะเราไม่สามารถควบคุมอะไรได้เลย เราไม่รู้หรอกว่าผู้บริหารที่วันนี้เขาทำดีกับเรา ในอีกไม่กี่ปีต่อมา เขาอาจจะเปลี่ยนคน และเปลี่ยนรูปแบบการทำงานก็ได้
. ดังนั้นเราควรมีแผนสำรองให้ตัวเอง การมีแผนสำรองก็คงเหมือนมีเสื้อชูชีพล่องไปในเรือ ที่กระแสน้ำเชี่ยวกราด เรือก็เหมือนองค์กร เราไม่รู้หรอกว่าวันไหนเรือจะล่ม แต่ถ้าเรามีเสื้อชูชีพ อย่างน้อยๆเราก็พออุ่นใจได้ว่า เราจะไม่จมน้ำตาย
.
. แผนสำรองสำหรับผมมีหลายสิ่ง เช่น 1.แผนการเงินที่ทำให้เรามีชีวิตไปได้อย่างน้อยๆ 6 เดือน 2.การมีหนี้สินให้น้อยที่สุด 3. การมีอาชีพที่สองรองรับ 4.การมีคอนเนคชั่น ผมว่าการมีเครือข่ายสังคมเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญ ผมเคยโพสหางานในเฟสบุ๊ค ปรากฎว่าได้รับโอกาสจากเพื่อนๆ พี่ๆ ที่รู้จักหลายคน เสนองานมาให้ เพราะเขาเหล่านั้นต่างรู้จักเราดี และมันก็ทำให้เรามีโอกาสได้งานมากกว่าการสมัครงานผ่าน WWW. อย่างเดียว
.
.
. ผมเขียนบทความนี้ขึ้นมา เพียงแต่มีความคิดว่า หากวันหนึ่งที่เรามีอายุเยอะ การฝากชีวิตไว้กับบริษัทคงเป็นความเสี่ยงระดับสูง มันคงทำให้เราขาดอิสระอะไรหลายๆอย่างในชีวิต อย่างน้อยๆก็อิสระในการทำงานเพราะ หากเราหมดที่ไป และหวังพึ่งเพียงแต่ความมั่นคงจากองค์กร เราก็คงแต่ทำได้เพียงรับคำสั่งจากองค์กรแล้วทำตาม ถึงแม้บางครั้งเราอาจจะไม่เห็นด้วยก็ตาม
"ความมั่นคงจากองค์กรอาจนำมาซึ่งความปลอดภัยให้กับชีวิต แต่อาจจะต้องแลกมาด้วยความสุข และอิสระที่เราไม่ได้เป็นผู้เลือก แต่เราคือผู้ที่ถูกเลือก"
ถ้าตัวเรามั่นคง ความมั่นคงจากบริษัทยังจำเป็นอยู่ไหม?
.
.
. ผมนั่งทบทวนคำที่อาจารย์พูดไว้เสมอ ก็พบความจริงว่า ถึงแม้เราจะอยู่ในบริษัทที่มั่นคงที่สุด แน่ละบริษัทไม่ล้ม แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเขาจะมั่นคงกับเราได้ตลอด ในวันหนึ่งถ้าเราทำประโยชน์ไม่ได้มากพอ เขาก็คงไม่อยากจะเอาเราไว้ให้เสียค่าใช้จ่ายองค์กรรึเปล่า เห็นจากวิกฤตปี 2020 นี้ ไม่มีองค์กรไหนที่จะมั่นคงถาวร ทุกองค์กรล้วนแต่เป็นกังวล และต่างไม่รู้อนาคตกันด้วยซ้ำว่าวิกฤตจะยืดยาวไปถึงเมื่อไหร่ พร้อมกับได้ยินเสมอว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งที่องค์กรไปต่อไหว การ Layout คงเป็นตัวเลือกสุดท้าย แต่คนแรกที่จะถูก Layout คงเป็นคนที่ทำประโยชน์ได้น้อยที่สุด
.
.
. แต่ถ้าเราหันกลับมาเปลี่ยนมุมมองเราใหม่ โดยไม่จำเป็นต้องไปยึดให้ความสำคัญในการทำงานกับบริษัทที่มั่นคงละ แต่เป็นตัวเราที่ทำตัวเองให้มั่นคงเสียเอง ผ่านการฝึกฝน ทักษะต่างๆ ผมเลยอยากสรุปการทำตัวเราให้มั่นคง จากการวางแผนชีวิตตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาความมั่นคงจากองค์กรดังนี้
.
.
1.เชี่ยวชาญในงานที่ทำ
ผมไม่ค่อยมีความเชื่อว่าบางตำแหน่งงานจะมี AI หรือถูกเข้ามาแทนที่ 100 เปอร์เซ็นต์ ผมเชื่อว่าทุกตำแหน่งงานมีที่ว่าง สำหรับคนเก่งเชี่ยวชาญจริงๆอยู่ หากเราฝึกฝนความเชี่ยวชาญในสายงานของเรา จนเข้าใจถึงแก่นแท้จริงๆ ผมว่ามันก็เป็นจุดขายอย่างหนึ่ง ที่ถึงแม้ว่าเราจะตกงาน แต่ผมเชื่อว่าก็ยังมีที่อื่น ที่เขาพร้อมรับผู้เชี่ยวชาญจริงๆ ในงานนั้นให้เราเข้าไปทำ ผมว่าตลาดแรงงานมีการแข่งขันสูงทุกตำแหน่ง แต่ความเชี่ยวชาญจะเป็นตัว ทำให้เราไม่ต้องลงไปแข่งขันอย่างเหน็ดเหนื่อยในการหางาน
.
.
2.การมีทักษะอื่นๆ
ผมคิดว่ายิ่งเรามีทักษะติดตัวเยอะเท่าไหร่ ตัวเลือกในการทำงานเราก็มีมากขึ้นเท่านั้น เช่น คนพูดได้หลายภาษา กับคนพูดได้แค่ภาษาไทย โอกาสในการหางานก็ต่างกันครึ่งต่อครึ่งแล้ว ผมเคยสมัครงานพบว่า งานดีๆเกือบทั้งหมด ต้องอาศัยภาษาอังกฤษ และยิ่งมีภาษาที่ 3 ยิ่งทำให้เรามีโอกาสมากขึ้นไปอีก หลายๆครั้งที่เราพลาดโอกาสงานดีๆ ที่เรามีทักษะอื่นๆครบถ้วน แต่ก็มาตกม้าตายที่ภาษา
. แต่ทักษะคงไม่ได้มีแค่ภาษา ผมว่ามันมีอีกตั้งหลายๆอย่าง สำหรับผมทักษะอื่นๆ ควรมาจากความชอบด้วย เพราะมันจะทำให้เราสนุกในการเรียนรู้กับมันเช่น ชอบเขียน ชอบถ่ายรูป ชอบตัดต่อวิดิโอ ชอบพูด เป็นต้น ผมว่าทักษะเหล่านี้ ล้วนเพิ่มคุณค่า และเพิ่มความมั่นคงให้ชีวิตเรา มากกว่าที่จะมารอความมั่นคงจากองค์กรเสียอีก อีกทั้งวันหนึ่งถ้าเราตั้งใจฝึกฝนมากๆ บางทีเราอาจจะได้รายได้จากทักษะพวกนี้ กลายเป็นอาชีพที่สองก็ได้
.
.
3.การมีแผนสำรอง
การเอาชีวิตไปฝากไว้กับองค์กร ผมว่าเป็นสิ่งที่เสี่ยงสุดๆ เพราะเราไม่สามารถควบคุมอะไรได้เลย เราไม่รู้หรอกว่าผู้บริหารที่วันนี้เขาทำดีกับเรา ในอีกไม่กี่ปีต่อมา เขาอาจจะเปลี่ยนคน และเปลี่ยนรูปแบบการทำงานก็ได้
. ดังนั้นเราควรมีแผนสำรองให้ตัวเอง การมีแผนสำรองก็คงเหมือนมีเสื้อชูชีพล่องไปในเรือ ที่กระแสน้ำเชี่ยวกราด เรือก็เหมือนองค์กร เราไม่รู้หรอกว่าวันไหนเรือจะล่ม แต่ถ้าเรามีเสื้อชูชีพ อย่างน้อยๆเราก็พออุ่นใจได้ว่า เราจะไม่จมน้ำตาย
.
. แผนสำรองสำหรับผมมีหลายสิ่ง เช่น 1.แผนการเงินที่ทำให้เรามีชีวิตไปได้อย่างน้อยๆ 6 เดือน 2.การมีหนี้สินให้น้อยที่สุด 3. การมีอาชีพที่สองรองรับ 4.การมีคอนเนคชั่น ผมว่าการมีเครือข่ายสังคมเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญ ผมเคยโพสหางานในเฟสบุ๊ค ปรากฎว่าได้รับโอกาสจากเพื่อนๆ พี่ๆ ที่รู้จักหลายคน เสนองานมาให้ เพราะเขาเหล่านั้นต่างรู้จักเราดี และมันก็ทำให้เรามีโอกาสได้งานมากกว่าการสมัครงานผ่าน WWW. อย่างเดียว
.
.
. ผมเขียนบทความนี้ขึ้นมา เพียงแต่มีความคิดว่า หากวันหนึ่งที่เรามีอายุเยอะ การฝากชีวิตไว้กับบริษัทคงเป็นความเสี่ยงระดับสูง มันคงทำให้เราขาดอิสระอะไรหลายๆอย่างในชีวิต อย่างน้อยๆก็อิสระในการทำงานเพราะ หากเราหมดที่ไป และหวังพึ่งเพียงแต่ความมั่นคงจากองค์กร เราก็คงแต่ทำได้เพียงรับคำสั่งจากองค์กรแล้วทำตาม ถึงแม้บางครั้งเราอาจจะไม่เห็นด้วยก็ตาม
"ความมั่นคงจากองค์กรอาจนำมาซึ่งความปลอดภัยให้กับชีวิต แต่อาจจะต้องแลกมาด้วยความสุข และอิสระที่เราไม่ได้เป็นผู้เลือก แต่เราคือผู้ที่ถูกเลือก"