สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
เอาตามที่เห็นมาคือคนทำงานเอกชนจะไม่ค่อยอดทนกับบริษัทเดิมมาตั้งแต่หลังวิกฤติ 2540 แล้วครับ เพราะก่อนหน้านั้นคนทำงานบริษัทเอกชนกันก็เชื่อมั่นว่ามีความมั่นคงในระดับหนึ่ง บวกกับทางบริษัทเองก็ชอบประกาศว่าพนักงานเป็นบุคลากรที่มีค่าที่บริษัทจะทิ้งไปง่ายๆไม่ได้ ยิ่งบริษัทญี่ปุ่นก็มักจะเอาแบบอย่างบริษัทที่ญี่ปุ่นเรื่องจ้างงานกันไปตลอดชีวิตมาพูดจึงทำกันยาวๆ แต่พอวิกฤติเศรษฐกิจ 2540 มาสิ่งแรกที่บริษัททำคือปลดพนักงานจำนวนมากทันที ทำให้คนทำงานได้รู้ความจริงว่าที่บริษัทบอกพนักงานเป็นทรัพยากรที่มีค่านั้นมันก็แค่ผายลม ถึงเวลาบริษัทก็พร้อมจะถีบพนักงานออกไปเพื่อเอาตัวรอดก่อน เมื่อคนทำงานรู้ดังนี้จึงไม่ได้มีความจงรักภักดีต่อบริษัทเท่าแต่เดิมแล้ว เพราะทำงานดีทุ่มเทแค่ไหนถึงเวลาเกิดวิกฤติก็ตกงานได้ง่ายๆ ทำให้ไม่มีความคิดยึดติดกับบริษัทเท่าไหร่ มีโอกาสดีกว่าก็พร้อมจะไปได้ทุกเมื่อ
ความคิดเห็นที่ 47
แอบอมยิ้มอยู่หลังซอกตึก
คือมันขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นคนมองน่ะค่ะ
ถ้าเป็นคนรุ่นก่อน บริษัทที่ตั้งขึ้นมาก็เป็นของคนรุ่นที่แล้ว (เกิดทันสงครามโลกครั้งที่สอง เศรษฐกิจประเทศเละเทะ ข้าวยากหมากแพง อดมื้อกินมื้อ ) ซึ่งเป็นรุ่นโคตรทน ทนสารพัดกว่าจะตั้งตัวได้ เขาก็ถนอมบริษัทที่สร้างขึ้นมาให้อยู่ยั้งยืนยงเป็นอันดับแรกและคาดหวังว่าลูกจ้างจะทนได้เท่าตัวเอง คนรุ่นก่อนก็ถูกมองว่าไม่อดทนในสายตาของคนรุ่นก่อนหน้าเหมือนกัน พวกเขาทันยุคเศรษฐกิจรุ่งเรือง ไทยคือว่าที่เสือตัวที่ห้าของเอเชียตะวันออก จึงคาดหวังว่าจะได้เข้าบริษัทดีๆ แล้วทำอยู่ที่เดียวไปทั้งชีวิต เขารักความมั่นคง ยิ่งทุ่มให้บริษัทก็เหมือนตัวเองยิ่งมั่นคงมากขึ้นด้วย โดนกดขี่ข่มเหงก็ทนไป ความก้าวหน้าไม่มีก็รับได้ ตอนได้รับข้อเสนอเออรี่รีไทร์นี่แทบช็อค ไม่เคยคิดเตรียมใจย้ายบริษัท แค่ต่างแผนกยังคิดหนัก
แต่ถ้าเป็นเด็กเดี๋ยวนี้ บริษัทก็ไม่ได้คิดจะเลี้ยงจนเป็นคนเก่าคนแก่ อยากได้พวกแรงเยอะหัวไวค่าตัวถูก พวกชำนาญการเงินเดือนสูงมีแค่แผนกละคนสองคนก็พอ แถมบีบบดกดขยี้เงินเดือน พวกรุ่นนี้ไม่ทันยุคเศรษฐกิจรุ่งเรือง เคยเจอแต่บริษัท (คนรุ่นก่อน) ที่รักการประหยัดต้นทุน สวัสดิการเท่าที่รัฐกำหนดว่าต้องมี คนเดียวทำได้ทุกอย่าง และถวายหัวให้บริษัทเหมือนตัวเองเคยทำ ลูกจ้างแบกรับหลายงานแลกกับเงินเดือนที่บริษัทเห็นว่าควร
คนรุ่นก่อนเติบโตมาแบบนั้น มีสังคมแบบนั้น เขาก็รับได้
ส่วนคนรุ่นนี้...ก็ออกสิคะ จะเหลือเหรอ (หัวเราะ)
ในสายตาคนรุ่นนี้ มันไม่มีเหตุผลให้ต้องอึดทนขนาดคนรุ่นที่แล้ว บริษัทไม่ได้ให้ความมั่นคงกับลูกจ้างอีกต่อไป แล้วทำไมจะต้องทำงานถวายหัวให้ด้วย คนรุ่นนี้อยากได้อะไรที่มันคุ้มค่าแรงกับเวลาและสุขภาพจิต เวิร์ก-ไลฟ์-บาลานซ์ ทำงานที่ก่อกำไรให้บริษัทได้แค่ไหนก็ควรได้ค่าตอบแทนเท่าเทียมกัน ตัวเองอัตคัดแต่เจ้าของรวยเอาๆ มันไม่เมกเซ้นซ์ (แล้วก็จะไม่เข้าใจว่าทำไมคนรุ่นก่อนถึงโอเค ตัวเองเงินเดือนเท่าเห็บหมา อยู่แบบเจียมเนื้อเจียมตัวจนกระทั่งบริษัทเติบโตก็ภาคภูมิใจว่าได้ทำงานในบริษัทใหญ่มีชื่อเสียง...แล้วไงอะ บริษัทโตแต่ตัวเองอยู่กับที่ เด็กคนไหนจะเข้าใจ สงสัยซะมากกว่าว่าไม่รู้ตัวเลยเหรอว่าที่บริษัทมันโตได้ก็เพราะสูบเลือดจากลูกจ้างเงินเดือนถูกๆ อัตราเพิ่มเงินเดือนต่ำๆ นี่แหละ)
ดังนั้น ก่อนจะตัดสินว่าคนรุ่นใหม่ชอบเปลี่ยนงานหรือไม่ ควรมองสภาพสังคมและเนเจอร์ของบริษัทโดยรวมในยุคนั้นประกอบไปด้วยค่ะ
ไม่ว่าใครหรือเป็นคนรุ่นไหน ล้วนไม่อยากเปลี่ยนที่ทำงานบ่อยๆ เหมือนกัน ก็อยากจะอยู่มันบริษัทเดียวแล้วอยู่ได้ไปทั้งชีวิต จะได้ไม่ต้องคิดมากเรื่องที่อยู่หรือการสร้างครอบครัว
ตอนนี้จะหาบริษัทที่มีคุณสมบัติประมาณนี้ได้อีกเหรอ?
จะโดนลดเงินเดือนหรือเชิญออกเมื่อไรก็ไม่รู้ พัฒนาความสามารถไปแต่จะได้ขึ้นเงินเดือนเมื่อไรก็ไม่รู้ อยู่ไปอยู่มาเงินเดือนโตไม่ทันอัตราเงินเฟ้อเสียแล้ว แปลกตรงไหนที่ต้องเปลี่ยนบริษัทเพื่อเพิ่มฐานเงินเดือน ทางเลือกมีตั้งเยอะแยะ จะเลือกที่ไกลออกไปกว่าบริษัทเก่ายังได้เลย ขนส่งสาธาณะ รถ คอนโด มีพร้อมให้เปลี่ยนอยู่แล้ว (อะ...แล้วคนรุ่นก่อนก็ไม่เข้าใจอีกว่าทำไมคนรุ่นนี้ถึงชอบคอนโดมากกว่าบ้านเดี่ยว)
คนรุ่นก่อนมองว่าคนรุ่นใหม่เปลี่ยนงานบ่อยเพราะเทียบกับยุคของตัวเอง ตัวเองไม่เคยเปลี่ยนบ่อยขนาดนี้ก็เท่านั้น
แต่ถ้ามองด้วยสายตาคนรุ่นนี้ การเปลี่ยนงานเพื่อหาความก้าวหน้าในทางใดทางหนึ่ง นับเป็นเรื่องปกติค่ะ
ถ้าถามว่าคนรุ่นนี้มองหาอะไรกันอยู่
ก็หาของธรรมดาเหมือนๆ กับคนรุ่นก่อนและก่อนหน้านั้นนั่นแหละ งานที่ทำเงินเลี้ยงชีพได้ อยากได้อะไรก็เอื้อมถึง และไม่ต้องทำงานอย่างทรมานใจเกินไปนัก มีคุณสมบัติพอจะเอื้อมขนาดไหนก็อยากได้ระดับนั้นแหละ เอื้อมให้สูงขึ้นอีกเรื่อยๆ แก่แล้วค่อยเฉื่อยชาไม่ต่างจากคนรุ่นก่อนๆ
ก็ทำนองนี้แหละค่ะ ลองพิจารณาดูนะ ^^
คือมันขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นคนมองน่ะค่ะ
ถ้าเป็นคนรุ่นก่อน บริษัทที่ตั้งขึ้นมาก็เป็นของคนรุ่นที่แล้ว (เกิดทันสงครามโลกครั้งที่สอง เศรษฐกิจประเทศเละเทะ ข้าวยากหมากแพง อดมื้อกินมื้อ ) ซึ่งเป็นรุ่นโคตรทน ทนสารพัดกว่าจะตั้งตัวได้ เขาก็ถนอมบริษัทที่สร้างขึ้นมาให้อยู่ยั้งยืนยงเป็นอันดับแรกและคาดหวังว่าลูกจ้างจะทนได้เท่าตัวเอง คนรุ่นก่อนก็ถูกมองว่าไม่อดทนในสายตาของคนรุ่นก่อนหน้าเหมือนกัน พวกเขาทันยุคเศรษฐกิจรุ่งเรือง ไทยคือว่าที่เสือตัวที่ห้าของเอเชียตะวันออก จึงคาดหวังว่าจะได้เข้าบริษัทดีๆ แล้วทำอยู่ที่เดียวไปทั้งชีวิต เขารักความมั่นคง ยิ่งทุ่มให้บริษัทก็เหมือนตัวเองยิ่งมั่นคงมากขึ้นด้วย โดนกดขี่ข่มเหงก็ทนไป ความก้าวหน้าไม่มีก็รับได้ ตอนได้รับข้อเสนอเออรี่รีไทร์นี่แทบช็อค ไม่เคยคิดเตรียมใจย้ายบริษัท แค่ต่างแผนกยังคิดหนัก
แต่ถ้าเป็นเด็กเดี๋ยวนี้ บริษัทก็ไม่ได้คิดจะเลี้ยงจนเป็นคนเก่าคนแก่ อยากได้พวกแรงเยอะหัวไวค่าตัวถูก พวกชำนาญการเงินเดือนสูงมีแค่แผนกละคนสองคนก็พอ แถมบีบบดกดขยี้เงินเดือน พวกรุ่นนี้ไม่ทันยุคเศรษฐกิจรุ่งเรือง เคยเจอแต่บริษัท (คนรุ่นก่อน) ที่รักการประหยัดต้นทุน สวัสดิการเท่าที่รัฐกำหนดว่าต้องมี คนเดียวทำได้ทุกอย่าง และถวายหัวให้บริษัทเหมือนตัวเองเคยทำ ลูกจ้างแบกรับหลายงานแลกกับเงินเดือนที่บริษัทเห็นว่าควร
คนรุ่นก่อนเติบโตมาแบบนั้น มีสังคมแบบนั้น เขาก็รับได้
ส่วนคนรุ่นนี้...ก็ออกสิคะ จะเหลือเหรอ (หัวเราะ)
ในสายตาคนรุ่นนี้ มันไม่มีเหตุผลให้ต้องอึดทนขนาดคนรุ่นที่แล้ว บริษัทไม่ได้ให้ความมั่นคงกับลูกจ้างอีกต่อไป แล้วทำไมจะต้องทำงานถวายหัวให้ด้วย คนรุ่นนี้อยากได้อะไรที่มันคุ้มค่าแรงกับเวลาและสุขภาพจิต เวิร์ก-ไลฟ์-บาลานซ์ ทำงานที่ก่อกำไรให้บริษัทได้แค่ไหนก็ควรได้ค่าตอบแทนเท่าเทียมกัน ตัวเองอัตคัดแต่เจ้าของรวยเอาๆ มันไม่เมกเซ้นซ์ (แล้วก็จะไม่เข้าใจว่าทำไมคนรุ่นก่อนถึงโอเค ตัวเองเงินเดือนเท่าเห็บหมา อยู่แบบเจียมเนื้อเจียมตัวจนกระทั่งบริษัทเติบโตก็ภาคภูมิใจว่าได้ทำงานในบริษัทใหญ่มีชื่อเสียง...แล้วไงอะ บริษัทโตแต่ตัวเองอยู่กับที่ เด็กคนไหนจะเข้าใจ สงสัยซะมากกว่าว่าไม่รู้ตัวเลยเหรอว่าที่บริษัทมันโตได้ก็เพราะสูบเลือดจากลูกจ้างเงินเดือนถูกๆ อัตราเพิ่มเงินเดือนต่ำๆ นี่แหละ)
ดังนั้น ก่อนจะตัดสินว่าคนรุ่นใหม่ชอบเปลี่ยนงานหรือไม่ ควรมองสภาพสังคมและเนเจอร์ของบริษัทโดยรวมในยุคนั้นประกอบไปด้วยค่ะ
ไม่ว่าใครหรือเป็นคนรุ่นไหน ล้วนไม่อยากเปลี่ยนที่ทำงานบ่อยๆ เหมือนกัน ก็อยากจะอยู่มันบริษัทเดียวแล้วอยู่ได้ไปทั้งชีวิต จะได้ไม่ต้องคิดมากเรื่องที่อยู่หรือการสร้างครอบครัว
ตอนนี้จะหาบริษัทที่มีคุณสมบัติประมาณนี้ได้อีกเหรอ?
จะโดนลดเงินเดือนหรือเชิญออกเมื่อไรก็ไม่รู้ พัฒนาความสามารถไปแต่จะได้ขึ้นเงินเดือนเมื่อไรก็ไม่รู้ อยู่ไปอยู่มาเงินเดือนโตไม่ทันอัตราเงินเฟ้อเสียแล้ว แปลกตรงไหนที่ต้องเปลี่ยนบริษัทเพื่อเพิ่มฐานเงินเดือน ทางเลือกมีตั้งเยอะแยะ จะเลือกที่ไกลออกไปกว่าบริษัทเก่ายังได้เลย ขนส่งสาธาณะ รถ คอนโด มีพร้อมให้เปลี่ยนอยู่แล้ว (อะ...แล้วคนรุ่นก่อนก็ไม่เข้าใจอีกว่าทำไมคนรุ่นนี้ถึงชอบคอนโดมากกว่าบ้านเดี่ยว)
คนรุ่นก่อนมองว่าคนรุ่นใหม่เปลี่ยนงานบ่อยเพราะเทียบกับยุคของตัวเอง ตัวเองไม่เคยเปลี่ยนบ่อยขนาดนี้ก็เท่านั้น
แต่ถ้ามองด้วยสายตาคนรุ่นนี้ การเปลี่ยนงานเพื่อหาความก้าวหน้าในทางใดทางหนึ่ง นับเป็นเรื่องปกติค่ะ
ถ้าถามว่าคนรุ่นนี้มองหาอะไรกันอยู่
ก็หาของธรรมดาเหมือนๆ กับคนรุ่นก่อนและก่อนหน้านั้นนั่นแหละ งานที่ทำเงินเลี้ยงชีพได้ อยากได้อะไรก็เอื้อมถึง และไม่ต้องทำงานอย่างทรมานใจเกินไปนัก มีคุณสมบัติพอจะเอื้อมขนาดไหนก็อยากได้ระดับนั้นแหละ เอื้อมให้สูงขึ้นอีกเรื่อยๆ แก่แล้วค่อยเฉื่อยชาไม่ต่างจากคนรุ่นก่อนๆ
ก็ทำนองนี้แหละค่ะ ลองพิจารณาดูนะ ^^
แสดงความคิดเห็น
ทำไมคนรุ่นใหม่ชอบเปลี่ยนงานบ่อยกันจัง พวกเขากำลังมองหาอะไรกันอยู่หรอ?
.
เลยสงสัยว่าสิ่งที่พวกเขากำลังมองหาจากการทำงานกันอยู่นะ เเละเหตุผลส่วนใหญ่ที่ทำให้พวกเขาออกจากงานคืออะไร
.
กำลังรอฟังอยู่นะ 😃