สวัสดีผู้อ่านทุกคนนะคะ วันนี้เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับวิทยาลัยนาฏศิลป
อย่างลึกซึ้งกันเลยทีเดียวค่ะ ผู้ใหญ่ส่วนมากชอบตั้งคำถามเกี่ยวกับการเรียนนาฏศิลป์ว่า "เรียนแล้วได้อะไร?" "จบไปแล้วจะไปทำงานที่ไหน?" "จบไปแล้วต้องไปรำหน้าศาลพระภูมิหรอ?" - - ไม่ใช่อย่างที่ทุกท่านคิดหรอกนะคะ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนการสอนใรรั้ววิทยาลัยนาฏศิลป โ
ดยเด็กนาฏศิลปโดยตรงค่ะ ถ้าพร้อมแล้วก็มาเริ่มกันเลยดีกว่า
วิทยาลัยนาฏศิลปนั้น มีหลากหลายสาขาด้วยกัน ไม่ได้มีแค่สาขานาฏศิลปไทยอย่างเดียว มีทั้งโขน , คีตศิลป์ไทย (ร้องเพลงไทย) , คีตศิลป์สากล (ร้องเพลงสากล) , ดุริยางค์ไทย (ดนตรีไทย) , ดุริยางค์สากล (ดนตรีสากล) , และสาขานาฏศิลป์สากล (บัลเลย์) แต่ละสาขามีวิธีการเรียนอย่างไร ไว้เราจะมาอธิบายในตอนท้ายนะคะ
แต่ละสาขานั้น ล้วนมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง แต่ที่วิทยาลัยนาฏศิลปก็ใช่ว่าจะเป็นสถานที่ท่เรียนแค่เรื่องวิชาชีพเท่านั้น พวกเราชาวนาฏศิลปก็เรียนวิชาสามัญเหมือนกันกับพวกนัดเรียนข้างนอกนั่นแหละค่ะ ไม่ได้แตกต่างอะไรกับโรงเรียนสามัญทั่วๆไปเลย แต่วิชาสามัญของเราก็อาจจะได้เรียนน้อยกว่าโรงเรียนที่เรียนวิชาสามัญทั่วไป อาจจะไม่ได้เรียนลงลึกมาก เรียนแค่ที่เป็นพื้นฐาน แต่ก็ถือว่าได้เรียนล่ะนะ^^' อาจจะมีคนสงสัย "แล้วเรียนสามัญกับเรียนรำพร้อมกันยังไง?" "สลับกันเรียนคนละวันหรอ?" ไม่ใช่ค่ะ!!! สำหรับวิชาสามัญ ถ้าเป็นน้องม.ต้น (นั่นก็คือ น้องม.1 - ม.3) ก็จะเรียนวิชาสามัญในตอนบ่าย ส่วนพี่ๆม.ปลาย (ม.4 - ม.6) ก็จะเรียนวิชาสามัญในตอนเช้าค่ะ ส่วนวิชาเอกนั้นม.ต้นก็เรียนตอนเช้า ม.ปลายเรียนบ่ายนั่นเองค่ะ จะสลับกันเรียนแบบนี้
กิจกรรม
ที่วิทยาลัยนาฏศิลปเราก็มีกิจกรรมค่ะ หลักๆคือ การไหว้ครูบูชาครูประจำปี ในทุกๆปีเราจะไหว้ครูคำนับครูบาอาจารย์กันในแต่ละสาขา (สำหรับวันไหว้ครูก็อีกเรื่องนึกนะ) สำหรับการไหว้ครูของสาขานาฏศิลปไทยละคร ก็จะมีการครอบครู เพื่อที่ครูบาอาจารย์จะได้คุ้มครองเรา และสามารถต่อเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงได้ (เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงนั้น เป็นเพลงที่สำคัญอย่างมาก สามารถนำไปใช้ในโอกาสต่างๆได้ เมื่อเริ่มรำเพลงหน้าพาทย์แล้ว ห้ามหยุดรำกลางคัน ต้องรำให้จบเพลง และห้ามรำผิด ถ้าเกิดรำผิดขึ้นมา เมื่อรำเสร็จเรียบร้อยให้รีบไปขอขมาท่านครูบาอาจารย์โดยเร็ว) การที่จะครอบครูได้นั้น ต้องเป็นนักเรียนในระดับชั้น ม.3 กับ ม.6 เท่านั้น ชั้นอื่นๆไม่สาราถครอบครูได้ และในพิธีครอบครูนั้นเราก็จะได้ต่อเพลงหน้าพาทย์กันตรงนั้นเลย ส่วนกิจกรรมทั่วๆไปเราก็มีค่ะ เช่น กิจกรรมสายรหัสน้องรหัส ชมรม กีฬาสี วันภาษาไทย วันสำคัญต่างๆเราจัดหมดค่ะ จนบางวันแทบจะไม่ได้เรียนกันเลยที่เดียวเพราะมีแต่กิจกรรม5555
เรื่องระเบียบวินัย
ในรั้ววิทยาลัยนาฏศิลปนั้น ก็ไม่ค่อยแตกต่างจากโรงเรียนสามัญสักเท่าไหร่ แต่เรื่องสำคัญๆก็คือเรื่องกระเป๋า ใช่ค่ะ!! มันคือเรื่องการใช้กระเป๋า ที่วิทยาลัยนาฏศิลปจะมีกระเป๋าให้นักเรียนใช้อยู่ทั้งหมด 3 แบบ คือ กระเป๋านักเรียนทั่วๆไป , กระเป๋าสะพายข้าง , และกระเป๋าที่เป็นปัญหามากที่สุดคือกระเป๋าเคียงค่ะ "ทำไมกระเป๋าเคียงถึงเป็นปัญหามากที่สุด?" คืออย่างงี้ค่ะ ที่โรงเรียนมีกฎอยู่ว่า
ห้ามนักเรียนใช้กระเป๋าเคียงอย่างเดียวมาโรงเรียน!!!! ต้องใช้กระเป๋านักเรียนหรือกระเป๋าสะพายข้างคู่กัน ถามว่า "แล้วมันเป็นปัญหายังไง?" คือบางครั้งในบางวันของวันนึง อาจจะเป็นวันที่เรามีวิชาเรียนน้อย หรือไม่ก็เป็นวันที่ไม่ค่อยได้ใช้หนังสือ บางทีเราก็ไม่ชอบแบกของกันมาเยอะๆใช้ไหมล่ะคะ เราก็เลยอยากจะใส่มาในกระเป๋าใบที่สะดวกที่สุด เล็กที่สุด แต่ก็อย่างว่า กฎก็คือกฎค่ะ เฮ้อ!
วิชาโทและวิชาเลือกเสรี
สำหรับหัวข้อนี้นะคะ วิชาโทเป็นวิชาที่เราสามารถเลือกท่จะเรียนอะไรก็ได้ในสาขาอื่นๆที่ไม่ใช่สาขาที่เราเรียนเป็นหลัก อย่างเช่น คุณเรียนเอกนาฏศิลปไทย แต่อยากเรียนขับร้องเพลงสากลด้วย ก็ย่อมได้ค่ะ เพราะวิชาโทนั้นจะเปิดให้นักเรียนระดับชั้นตั้งแต่ม.4 ขึ้นไปได้เลือกเรียน มันก็คล้ายๆกับในรั้วมหาลัยนั่นแหละค่ะ ที่มีวิชาโทให้เลือก ส่วนวิชาเลือกเสรีนั้น มีลักษณะคล้ายกับการเลือกวิชาโทเลยค่ะ เปิดรับตั้งแต่ม.4 เป็นต้นไปเช่นกัน เราสามารถเลือกเรียนอะไรก็ได้ที่ไม่ซำ้กับวิชาเอกและวิชาโท แต่วิชานี้จะได้เรียนแค่ช่วงเทอม 2 เท่านั้นค่ะ
รายได้ระหว่างเรียน
ใช่แล้วค่ะ เด็กที่วิทยาลัยนาฏศิลปสามารถหารายได้เลี้ยงตนเองได้ตั้งแต่ม.ต้นเลยค่ะ!!!! เพราะอะไรน่ะหรอคะ เพราะว่าโรงเรียนนี้จะคอยหางานให้เด็กได้แสดงฝีมือของตนเอง เด็กๆจะได้ออกงาน ได้แสดงบนเวที บางงานก็จะได้รับเบี้ยเลี้ยง หรือค่าขนมเล็กๆน้อยๆ หรือบางครั้งก็จะมีงานนอกเข้ามาบ้าง เด็กก็จะได้รับรายได้ในส่วนตรงนี้ค่ะ ไม่ต้องดูที่ไหนค่ะ ดูอย่างโขนพระราชทานนะคะ ในแต่ละครั้งที่แสดง ก่อนจะเกิดการแสดงนั้น ก็จะมีการคัดเลือกนางรำ โขน และตัวละครต่างๆมากมาย ใครที่มีฝีมือในการรำหรือการแสดง คุณครูท่านก็จะมาคัดเลือกให้ไปแสดงค่ะ และงานโขนพระราชทานนั้น ใครที่ได้แสดงถือว่าเป็นเกียรติมากเลยค่ะ ค่าตัวในการแสดงนั้นก็ถือว่าดีพอสมควร โดยเฉพาะตัวละครหลัก ตัวอย่างเช่น เพื่อนของเราเคยได้เล่นเป็นทศกัณฐ์ เราก็ถามนางว่าเล่นครั้งนึงได้ประมาณเท่าไหร่ นางก็บอกว่า "ประมาณหลักร้อยถึงหลักพัน แล้วแต่" คิดดูสิคะ เล่นโขนพระราชทานครั้งนึงก็เล่นเป็นเดือน วันเดียวได้ขนาดนี้ แล้วถ้าเล่นทั้งเดือนจะขนาดไหน!!! ส่วนใครที่ไม่ค่อยได้ออกงาน หรือไม่ค่อยได้โดนงาน ไม่ต้องกังวลค่ะ ในทุกๆปีเราจะมีการแสดงผลสัมฤทธิ์กันค่ะ ให้พี่ม.3 และ ม.6 ได้แสดง เพื่อเป็นการจบการศึกษาอย่างสมบูรณ์
ระดับชั้นปริญญา
หลายๆคนอาจคิดว่าวิทยาลัยนาฏศิลปมีถึงแค่ระดับชั้นมัธยมศึกษา แต่เปล่าค่ะ วิทยาลัยนาฏศิลปนั้นมีถึงระดับปริญญาโทเลยทีเดียว แล้วอีกไม่นานนี้กำลังจะมีการเรียนการสอนในระดับชั้นปริญญาเอกด้วยค่ะ (จบดร.กันไปเล้ยยย) ในระดับปริญญาตรีนั้น แต่ก่อนจะมีแค่สาขาวิชานาฏศิลปไทยละครเท่านั้น แต่ในปี 2563 เป็นต้นไป จะเป็นปีแรกค่ะ ที่จะมีทุกสาขาเปิดสอนในหลักสูตรปริญญาตรี ไม่ว่าจะเป็นดนตรีสากล ดนตรีไทย ขับร้อง ฯลฯ
จบไปแล้วทำอะไรได้?
เป็นคำถามที่ตะเตือนใจมากTT นั่นสิ จบไปแล้วทำอะไรได้
สามารถทำได้หลายอย่างเลยล่ะค่ะ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพครู อาชีพนักแสดง อาชีพนักร้อง นักดนตรี เป็นได้หมดแหละค่ะ หรือว่าจะเป็นศิลปินแห่งชาติก็สามารถเป็นได้ค่ะ (คิดไกลไปไหมเนี่ย 0-0) หรือถ้ามีฝีมือมาก เผลอๆเราอาจจะได้ไปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมหรือได้ไปทำงานที่ต่างประเทศเลยก็ได้นะเอ้อ!! ยกตัวอย่างคนดังที่จบจากวิทยาลัยนาฏศิลปนะคะ เช่น พี่หนึ่งจักรวาล พี่นาวทิสานาฏ หรือว่าพี่นุ่นวรนุช ล้วนก็จบจากวิทยาลัยนาฏศิลปมาทั้งนั้นแหละค้า>< เห็นมั้ยคะว่าจบนาฏศิลปไม่จำเป็นต้องไปรำหรือไปร้องหน้าศาลพระภูมิอย่างเดียว- -
เรื่องเด่นเรื่องดังในวิทยาลัยนาฏศิลป
พอพูดถึงวิทยาลัยนาฏศิลป ก็ต้องนึกถึงคนสวยคนหล่อเป็นอันดับแรกเลยใช่ไหมล่ะคะ>< วิทยาลัยนาฏศิลปนั้น ขึ้นชื่อเรื่องการร้อง เต้น รำ และเรื่องที่ขึ้นชื่ออีกเรื่องก็คือเรื่องหน้าตาที่น่ารัก ความมีเสน่ห์ในตัว แล้วก็เรื่องกิริยามารยาท ถ้าทุกคนได้ลองเข้าไปเยี่ยมชมในรั้วของวิทยาลัยนาฏศิลปแล้วล่ะกื จะพบว่าวิทยาลัยนาฏศิลปนั้นเหมือนกับเป็นโลกอีกโลกนึงเลยก็ว่าได้ เค้าจะมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองมากเมื่ออยู่ในรั้วโรงเรียน เด็กนาฏศิลปนั้นจะใส่ผ้าสีแดงนุ่งโจงกระเบน เดินรำไปมากันทั้งวันค่ะ ถ้าที่อื่นเห็นก็คงจะแปลก แต่สำหรับที่นี่แล้วถือเป็นเรื่องปกติมากค่ะ555 ยิ่งเมื่อถึงวันที่ต้องสอบปฏิบัติแล้วล่ะก็ ทั้งโรงเรียนจะเต็มไปด้วยเสียงเพลงของเพลงที่จะใช้สอบ และการเดินรำไปมาทั่วทั้งโรงเรียนกันเลยทีเดียวค่ะ5555
วิถีการเรียนในแต่ละสาขา
อย่างที่เราได้บอกไปเมื่อช่วงตอนแรกนะคะ ว่าจะมาอธิบายให้ฟังเกี่ยวกับวิถีการเรียนในแต่ละสาขาวิชา มีทั้งหมด 7 สาขาด้วยกันดังนี้
- สาขาวิชานาฏศิลปไทยละคร = มีทั้งหมด 2 ประเภท คือ ละครนาง และละครพระ ตัวนางจะคัดเด็กนักเรียนไปในทางลักษณะหน้ากลม ตัวเล็ก หน้าหวานส่วนตัวพระนั้นจะคัดเด้กนักเรียนไปในทางลักษณะหน้าเรียว ตัวสูง หน้าคม เด็กนักเรียนทุกคนจะต้องนุ่งผ้าแดงทุกครั้งเมื่อมีการเรียน ใส่คู่กับเสื้อนักเรียนหรือเสื้อตามตารางสอนของวันนั้นๆ ก่อนเร่ิมเรียนจะต้องมีการดัดมือ ดัดแขน ดัดขา เพื่อให้ร่างกายอ่อนช้อยในการรำ ในการเรียนนั้นเราจะมีเพลงต่างๆให้คุณครูคอยต่อท่ารำให้ เมื่อต่อจบเพลงก็จะต้องมาสอบเก็บคะแนน ถ้าเป็นเพลงที่มีเนื้อร้องก็ต้องมาสอบร้องเพลงด้วย อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยคือ สมุดจดท่ารำ จะต้องจดบันทึกท่ารำทุกครั้งเมื่อต่อท่ารำเสร็จ แล้วนำสมุดจดท่ารำไปให้คุณครูตรวจทุกครั้ง
- สาขาวิชานาฏศิลปสากล หรือ บัลเลย์ = ก่อนจะเรียนต้องมีการวอมร่างกายก่อน มือจับราวแล้วยกขาขึ้นลง ย่อยืด พร้อมกับมืออีกข้างที่ไม่ได้จับราว ในการเรียนบัลเลย์ จะต้องสวมชุดที่เหมาะสม พร้อมกับใส่ถุงน่องและรองเท้าบัลเลย์ เกล้าผมให้เรียบร้อย ลักษณะในการเรียน คล้ายกับของนาฏศิลปไทยเลย จะมีเพลงตามในหลักสูตร และคุณครูจะต่อท่าให้ เมื่อต่อจบก็ต้องมาสอบเก็บคะแนน และมีการจดบันทึกท่าเต้นไว้เช่นกัน
- สาขานาฏศิลปไทยโขน = มีทั้งหมด 3 ประเภท คือ โขรพระ โขนยักษ์ โขนลิง โขนพระนั้น จะคัดนักเรียนไปในทางหน้าหล่อ รูปร่างสมส่วน ความสูงพอดี โขนยักษ์จะเน้นไปในทางรูปร่างใหญ่ กำยำ บึกบึน และแข็งแรง ส่วนโขนลิงจะเน้นไปในทางตัวเล็ก คล่องแคล่วว่องไว สามารถโลดโผนได้ดี เช่นกันกับนาฏศิลปไทยละคร จะต้องนุ่งผ้าแดงทุกครั้งที่เรียน แต่เด็กโขนนั้นจะใส่เสื้อสีขาวแทน ไม่ใส่เสื้อนักเรียนเรียน ก่อนเรียนจะต้องมีการวอมขานั่นก็คือการเต้นเสา ไม่ต้องมานั่งดัดมือเหมือนเด็กละคร หลักสูตรของโขนส่วนใหญ่จะเป็นการเรียนตีบทความเรื่องราวในการแสดงมากกว่า เพลงระบำ รำ ฟ้อน แบบของละครไม่ค่อยมี เมื่อต่อท่าเสร็จก็ต้องสอบเก็บคะแนนเช่นกัน แต่สำหรับเด็กโขนไม่ต้องมีการจดบันทึกท่ารำ
- สาขาคีตศิลป์ไทย หรือ ขับร้องเพลงไทย = เด็กคีตไทยต้องเรียนร้องเพลงเพลงที่เด็กละครและโขนต้องใช้แสดง เช่น เพลงแม่บทเล็ก เพลงฟ้อนภูไท เป็นต้น (ในการแสดง เมื่อมีนางรำก็ต้องมีนักร้องนะ) เด็กคีตศิลป์ต้องจดเนื้อร้องของตนเอง และนำกลับไปซ้อมทุกครั้ง เมื่อคุณครูต่อเพลงให้จบแล้ว ก็ต้องมาสอบเก็บคะแนนเช่นกัน คีตศิลป์ไทยกับคีตศลิป์สากลจะต่างกันตรงที่ว่า คีตศลิป์ไทยจะเน้นร้องไปทางเพลงไทยเดิม เพลงลูกทุ่ง เพลงที่มีลูกเอื้อน แต่คีตศิลป์สากลจะเน้นร้องไปทางเพลงคลาสสิค
- สาขาคีตศลิป์สากล หรือ ขับร้องสากล = ก่อนจะเริ่มเรียนต้องมีการวอมเสียง ร้องไล่ระดับเสียงขึ้นลง ใช้เวลาในการวอม 2 - 3 นาที เมื่อวอมเสร็จก็จะเริ่มเรียนร้องเพลง สำหรับหลักสูตรในการเรียนก็ค่อนข้างไปในทางคลาสสิค ในบางครั้งก็เป็นเพลงที่ต้องในเสียงประสาน หรือก็คือการคอรัส จะต้องอ่านโน๊ตให้ถูกต้อง และเปล่งเสียงให้ชัดเจน ถูกคีย์ ต้องมีการจดบันทึกโน๊ตเพลง และเมื่อต่อเพลงจบก็ต้องไปสอบเก็บคะแนนเช่นกัน แต่สำหรับคีตศิลป์สากลนักเรียนจะต้องเล่นเปียโนเป็น เพราะมันเป็นหนึ่งในการสอบร้องเพลงด้วย
- สาขาดุริยางค์ไทย หรือ ดนตรีไทย = พวกเราเรียกกันอีกชื่อนึงว่า "เด็กปี่พาทย์" ก่อนเริ่มเรียนก็ต้องมีการเช็คเครื่องดนตรี เช็คเสียงความดังเบา เป็นต้น มีการสอบเก็บคะแนนเหมือนกัน และต้องจดบันทึกโน๊ตเพลงเช่นกัน
- สาขาดุริยางค์สากล หรือ ดนตรีสากล = เหมือนกันกับดนตรีไทยเลยค่ะ ต้องเช็คเครื่องดนตรี เช็คเสียง เมื่อต่อเพลงจบก็ต้องมาสอบเก็บคะแนนเหมือนกัน ต้องจนบันทึกโน๊ตเพลงด้วยเหมือนกัน แต่จะมีสิ่งที่แตกต่างคือ หลังเลิกเรียนเด้กสากลจะมีการรวมตัวกันเพื่อซ้อมวงดนตรี เราเรียกวงนั้นกันว่า "วงออเคสตร้า"
เป็นยังไงบ้างคะ หวังว่าท่านจะเข้าใจเราๆชาวเด็กนาฏศิลปมากขึ้นนะคะ ถ้ามีผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วยนะคะ ถ้าใครมีคำถามอยากทราบอะไรเพิ่มเติมก็ถามได้เลยนะคะ ขอบคุณทุกๆท่านที่เข้ามาอ่านนะคะ
CDA 80
มาทำความรู้จักวิทยานาฏศิลปในมุมที่คนอื่นมองไม่เห็นกัน
วิทยาลัยนาฏศิลปนั้น มีหลากหลายสาขาด้วยกัน ไม่ได้มีแค่สาขานาฏศิลปไทยอย่างเดียว มีทั้งโขน , คีตศิลป์ไทย (ร้องเพลงไทย) , คีตศิลป์สากล (ร้องเพลงสากล) , ดุริยางค์ไทย (ดนตรีไทย) , ดุริยางค์สากล (ดนตรีสากล) , และสาขานาฏศิลป์สากล (บัลเลย์) แต่ละสาขามีวิธีการเรียนอย่างไร ไว้เราจะมาอธิบายในตอนท้ายนะคะ
แต่ละสาขานั้น ล้วนมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง แต่ที่วิทยาลัยนาฏศิลปก็ใช่ว่าจะเป็นสถานที่ท่เรียนแค่เรื่องวิชาชีพเท่านั้น พวกเราชาวนาฏศิลปก็เรียนวิชาสามัญเหมือนกันกับพวกนัดเรียนข้างนอกนั่นแหละค่ะ ไม่ได้แตกต่างอะไรกับโรงเรียนสามัญทั่วๆไปเลย แต่วิชาสามัญของเราก็อาจจะได้เรียนน้อยกว่าโรงเรียนที่เรียนวิชาสามัญทั่วไป อาจจะไม่ได้เรียนลงลึกมาก เรียนแค่ที่เป็นพื้นฐาน แต่ก็ถือว่าได้เรียนล่ะนะ^^' อาจจะมีคนสงสัย "แล้วเรียนสามัญกับเรียนรำพร้อมกันยังไง?" "สลับกันเรียนคนละวันหรอ?" ไม่ใช่ค่ะ!!! สำหรับวิชาสามัญ ถ้าเป็นน้องม.ต้น (นั่นก็คือ น้องม.1 - ม.3) ก็จะเรียนวิชาสามัญในตอนบ่าย ส่วนพี่ๆม.ปลาย (ม.4 - ม.6) ก็จะเรียนวิชาสามัญในตอนเช้าค่ะ ส่วนวิชาเอกนั้นม.ต้นก็เรียนตอนเช้า ม.ปลายเรียนบ่ายนั่นเองค่ะ จะสลับกันเรียนแบบนี้
กิจกรรม
ที่วิทยาลัยนาฏศิลปเราก็มีกิจกรรมค่ะ หลักๆคือ การไหว้ครูบูชาครูประจำปี ในทุกๆปีเราจะไหว้ครูคำนับครูบาอาจารย์กันในแต่ละสาขา (สำหรับวันไหว้ครูก็อีกเรื่องนึกนะ) สำหรับการไหว้ครูของสาขานาฏศิลปไทยละคร ก็จะมีการครอบครู เพื่อที่ครูบาอาจารย์จะได้คุ้มครองเรา และสามารถต่อเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงได้ (เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงนั้น เป็นเพลงที่สำคัญอย่างมาก สามารถนำไปใช้ในโอกาสต่างๆได้ เมื่อเริ่มรำเพลงหน้าพาทย์แล้ว ห้ามหยุดรำกลางคัน ต้องรำให้จบเพลง และห้ามรำผิด ถ้าเกิดรำผิดขึ้นมา เมื่อรำเสร็จเรียบร้อยให้รีบไปขอขมาท่านครูบาอาจารย์โดยเร็ว) การที่จะครอบครูได้นั้น ต้องเป็นนักเรียนในระดับชั้น ม.3 กับ ม.6 เท่านั้น ชั้นอื่นๆไม่สาราถครอบครูได้ และในพิธีครอบครูนั้นเราก็จะได้ต่อเพลงหน้าพาทย์กันตรงนั้นเลย ส่วนกิจกรรมทั่วๆไปเราก็มีค่ะ เช่น กิจกรรมสายรหัสน้องรหัส ชมรม กีฬาสี วันภาษาไทย วันสำคัญต่างๆเราจัดหมดค่ะ จนบางวันแทบจะไม่ได้เรียนกันเลยที่เดียวเพราะมีแต่กิจกรรม5555
เรื่องระเบียบวินัย
ในรั้ววิทยาลัยนาฏศิลปนั้น ก็ไม่ค่อยแตกต่างจากโรงเรียนสามัญสักเท่าไหร่ แต่เรื่องสำคัญๆก็คือเรื่องกระเป๋า ใช่ค่ะ!! มันคือเรื่องการใช้กระเป๋า ที่วิทยาลัยนาฏศิลปจะมีกระเป๋าให้นักเรียนใช้อยู่ทั้งหมด 3 แบบ คือ กระเป๋านักเรียนทั่วๆไป , กระเป๋าสะพายข้าง , และกระเป๋าที่เป็นปัญหามากที่สุดคือกระเป๋าเคียงค่ะ "ทำไมกระเป๋าเคียงถึงเป็นปัญหามากที่สุด?" คืออย่างงี้ค่ะ ที่โรงเรียนมีกฎอยู่ว่า ห้ามนักเรียนใช้กระเป๋าเคียงอย่างเดียวมาโรงเรียน!!!! ต้องใช้กระเป๋านักเรียนหรือกระเป๋าสะพายข้างคู่กัน ถามว่า "แล้วมันเป็นปัญหายังไง?" คือบางครั้งในบางวันของวันนึง อาจจะเป็นวันที่เรามีวิชาเรียนน้อย หรือไม่ก็เป็นวันที่ไม่ค่อยได้ใช้หนังสือ บางทีเราก็ไม่ชอบแบกของกันมาเยอะๆใช้ไหมล่ะคะ เราก็เลยอยากจะใส่มาในกระเป๋าใบที่สะดวกที่สุด เล็กที่สุด แต่ก็อย่างว่า กฎก็คือกฎค่ะ เฮ้อ!
วิชาโทและวิชาเลือกเสรี
สำหรับหัวข้อนี้นะคะ วิชาโทเป็นวิชาที่เราสามารถเลือกท่จะเรียนอะไรก็ได้ในสาขาอื่นๆที่ไม่ใช่สาขาที่เราเรียนเป็นหลัก อย่างเช่น คุณเรียนเอกนาฏศิลปไทย แต่อยากเรียนขับร้องเพลงสากลด้วย ก็ย่อมได้ค่ะ เพราะวิชาโทนั้นจะเปิดให้นักเรียนระดับชั้นตั้งแต่ม.4 ขึ้นไปได้เลือกเรียน มันก็คล้ายๆกับในรั้วมหาลัยนั่นแหละค่ะ ที่มีวิชาโทให้เลือก ส่วนวิชาเลือกเสรีนั้น มีลักษณะคล้ายกับการเลือกวิชาโทเลยค่ะ เปิดรับตั้งแต่ม.4 เป็นต้นไปเช่นกัน เราสามารถเลือกเรียนอะไรก็ได้ที่ไม่ซำ้กับวิชาเอกและวิชาโท แต่วิชานี้จะได้เรียนแค่ช่วงเทอม 2 เท่านั้นค่ะ
รายได้ระหว่างเรียน
ใช่แล้วค่ะ เด็กที่วิทยาลัยนาฏศิลปสามารถหารายได้เลี้ยงตนเองได้ตั้งแต่ม.ต้นเลยค่ะ!!!! เพราะอะไรน่ะหรอคะ เพราะว่าโรงเรียนนี้จะคอยหางานให้เด็กได้แสดงฝีมือของตนเอง เด็กๆจะได้ออกงาน ได้แสดงบนเวที บางงานก็จะได้รับเบี้ยเลี้ยง หรือค่าขนมเล็กๆน้อยๆ หรือบางครั้งก็จะมีงานนอกเข้ามาบ้าง เด็กก็จะได้รับรายได้ในส่วนตรงนี้ค่ะ ไม่ต้องดูที่ไหนค่ะ ดูอย่างโขนพระราชทานนะคะ ในแต่ละครั้งที่แสดง ก่อนจะเกิดการแสดงนั้น ก็จะมีการคัดเลือกนางรำ โขน และตัวละครต่างๆมากมาย ใครที่มีฝีมือในการรำหรือการแสดง คุณครูท่านก็จะมาคัดเลือกให้ไปแสดงค่ะ และงานโขนพระราชทานนั้น ใครที่ได้แสดงถือว่าเป็นเกียรติมากเลยค่ะ ค่าตัวในการแสดงนั้นก็ถือว่าดีพอสมควร โดยเฉพาะตัวละครหลัก ตัวอย่างเช่น เพื่อนของเราเคยได้เล่นเป็นทศกัณฐ์ เราก็ถามนางว่าเล่นครั้งนึงได้ประมาณเท่าไหร่ นางก็บอกว่า "ประมาณหลักร้อยถึงหลักพัน แล้วแต่" คิดดูสิคะ เล่นโขนพระราชทานครั้งนึงก็เล่นเป็นเดือน วันเดียวได้ขนาดนี้ แล้วถ้าเล่นทั้งเดือนจะขนาดไหน!!! ส่วนใครที่ไม่ค่อยได้ออกงาน หรือไม่ค่อยได้โดนงาน ไม่ต้องกังวลค่ะ ในทุกๆปีเราจะมีการแสดงผลสัมฤทธิ์กันค่ะ ให้พี่ม.3 และ ม.6 ได้แสดง เพื่อเป็นการจบการศึกษาอย่างสมบูรณ์
ระดับชั้นปริญญา
หลายๆคนอาจคิดว่าวิทยาลัยนาฏศิลปมีถึงแค่ระดับชั้นมัธยมศึกษา แต่เปล่าค่ะ วิทยาลัยนาฏศิลปนั้นมีถึงระดับปริญญาโทเลยทีเดียว แล้วอีกไม่นานนี้กำลังจะมีการเรียนการสอนในระดับชั้นปริญญาเอกด้วยค่ะ (จบดร.กันไปเล้ยยย) ในระดับปริญญาตรีนั้น แต่ก่อนจะมีแค่สาขาวิชานาฏศิลปไทยละครเท่านั้น แต่ในปี 2563 เป็นต้นไป จะเป็นปีแรกค่ะ ที่จะมีทุกสาขาเปิดสอนในหลักสูตรปริญญาตรี ไม่ว่าจะเป็นดนตรีสากล ดนตรีไทย ขับร้อง ฯลฯ
จบไปแล้วทำอะไรได้?
เป็นคำถามที่ตะเตือนใจมากTT นั่นสิ จบไปแล้วทำอะไรได้ สามารถทำได้หลายอย่างเลยล่ะค่ะ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพครู อาชีพนักแสดง อาชีพนักร้อง นักดนตรี เป็นได้หมดแหละค่ะ หรือว่าจะเป็นศิลปินแห่งชาติก็สามารถเป็นได้ค่ะ (คิดไกลไปไหมเนี่ย 0-0) หรือถ้ามีฝีมือมาก เผลอๆเราอาจจะได้ไปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมหรือได้ไปทำงานที่ต่างประเทศเลยก็ได้นะเอ้อ!! ยกตัวอย่างคนดังที่จบจากวิทยาลัยนาฏศิลปนะคะ เช่น พี่หนึ่งจักรวาล พี่นาวทิสานาฏ หรือว่าพี่นุ่นวรนุช ล้วนก็จบจากวิทยาลัยนาฏศิลปมาทั้งนั้นแหละค้า>< เห็นมั้ยคะว่าจบนาฏศิลปไม่จำเป็นต้องไปรำหรือไปร้องหน้าศาลพระภูมิอย่างเดียว- -
เรื่องเด่นเรื่องดังในวิทยาลัยนาฏศิลป
พอพูดถึงวิทยาลัยนาฏศิลป ก็ต้องนึกถึงคนสวยคนหล่อเป็นอันดับแรกเลยใช่ไหมล่ะคะ>< วิทยาลัยนาฏศิลปนั้น ขึ้นชื่อเรื่องการร้อง เต้น รำ และเรื่องที่ขึ้นชื่ออีกเรื่องก็คือเรื่องหน้าตาที่น่ารัก ความมีเสน่ห์ในตัว แล้วก็เรื่องกิริยามารยาท ถ้าทุกคนได้ลองเข้าไปเยี่ยมชมในรั้วของวิทยาลัยนาฏศิลปแล้วล่ะกื จะพบว่าวิทยาลัยนาฏศิลปนั้นเหมือนกับเป็นโลกอีกโลกนึงเลยก็ว่าได้ เค้าจะมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองมากเมื่ออยู่ในรั้วโรงเรียน เด็กนาฏศิลปนั้นจะใส่ผ้าสีแดงนุ่งโจงกระเบน เดินรำไปมากันทั้งวันค่ะ ถ้าที่อื่นเห็นก็คงจะแปลก แต่สำหรับที่นี่แล้วถือเป็นเรื่องปกติมากค่ะ555 ยิ่งเมื่อถึงวันที่ต้องสอบปฏิบัติแล้วล่ะก็ ทั้งโรงเรียนจะเต็มไปด้วยเสียงเพลงของเพลงที่จะใช้สอบ และการเดินรำไปมาทั่วทั้งโรงเรียนกันเลยทีเดียวค่ะ5555
วิถีการเรียนในแต่ละสาขา
อย่างที่เราได้บอกไปเมื่อช่วงตอนแรกนะคะ ว่าจะมาอธิบายให้ฟังเกี่ยวกับวิถีการเรียนในแต่ละสาขาวิชา มีทั้งหมด 7 สาขาด้วยกันดังนี้
- สาขาวิชานาฏศิลปไทยละคร = มีทั้งหมด 2 ประเภท คือ ละครนาง และละครพระ ตัวนางจะคัดเด็กนักเรียนไปในทางลักษณะหน้ากลม ตัวเล็ก หน้าหวานส่วนตัวพระนั้นจะคัดเด้กนักเรียนไปในทางลักษณะหน้าเรียว ตัวสูง หน้าคม เด็กนักเรียนทุกคนจะต้องนุ่งผ้าแดงทุกครั้งเมื่อมีการเรียน ใส่คู่กับเสื้อนักเรียนหรือเสื้อตามตารางสอนของวันนั้นๆ ก่อนเร่ิมเรียนจะต้องมีการดัดมือ ดัดแขน ดัดขา เพื่อให้ร่างกายอ่อนช้อยในการรำ ในการเรียนนั้นเราจะมีเพลงต่างๆให้คุณครูคอยต่อท่ารำให้ เมื่อต่อจบเพลงก็จะต้องมาสอบเก็บคะแนน ถ้าเป็นเพลงที่มีเนื้อร้องก็ต้องมาสอบร้องเพลงด้วย อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยคือ สมุดจดท่ารำ จะต้องจดบันทึกท่ารำทุกครั้งเมื่อต่อท่ารำเสร็จ แล้วนำสมุดจดท่ารำไปให้คุณครูตรวจทุกครั้ง
- สาขาวิชานาฏศิลปสากล หรือ บัลเลย์ = ก่อนจะเรียนต้องมีการวอมร่างกายก่อน มือจับราวแล้วยกขาขึ้นลง ย่อยืด พร้อมกับมืออีกข้างที่ไม่ได้จับราว ในการเรียนบัลเลย์ จะต้องสวมชุดที่เหมาะสม พร้อมกับใส่ถุงน่องและรองเท้าบัลเลย์ เกล้าผมให้เรียบร้อย ลักษณะในการเรียน คล้ายกับของนาฏศิลปไทยเลย จะมีเพลงตามในหลักสูตร และคุณครูจะต่อท่าให้ เมื่อต่อจบก็ต้องมาสอบเก็บคะแนน และมีการจดบันทึกท่าเต้นไว้เช่นกัน
- สาขานาฏศิลปไทยโขน = มีทั้งหมด 3 ประเภท คือ โขรพระ โขนยักษ์ โขนลิง โขนพระนั้น จะคัดนักเรียนไปในทางหน้าหล่อ รูปร่างสมส่วน ความสูงพอดี โขนยักษ์จะเน้นไปในทางรูปร่างใหญ่ กำยำ บึกบึน และแข็งแรง ส่วนโขนลิงจะเน้นไปในทางตัวเล็ก คล่องแคล่วว่องไว สามารถโลดโผนได้ดี เช่นกันกับนาฏศิลปไทยละคร จะต้องนุ่งผ้าแดงทุกครั้งที่เรียน แต่เด็กโขนนั้นจะใส่เสื้อสีขาวแทน ไม่ใส่เสื้อนักเรียนเรียน ก่อนเรียนจะต้องมีการวอมขานั่นก็คือการเต้นเสา ไม่ต้องมานั่งดัดมือเหมือนเด็กละคร หลักสูตรของโขนส่วนใหญ่จะเป็นการเรียนตีบทความเรื่องราวในการแสดงมากกว่า เพลงระบำ รำ ฟ้อน แบบของละครไม่ค่อยมี เมื่อต่อท่าเสร็จก็ต้องสอบเก็บคะแนนเช่นกัน แต่สำหรับเด็กโขนไม่ต้องมีการจดบันทึกท่ารำ
- สาขาคีตศิลป์ไทย หรือ ขับร้องเพลงไทย = เด็กคีตไทยต้องเรียนร้องเพลงเพลงที่เด็กละครและโขนต้องใช้แสดง เช่น เพลงแม่บทเล็ก เพลงฟ้อนภูไท เป็นต้น (ในการแสดง เมื่อมีนางรำก็ต้องมีนักร้องนะ) เด็กคีตศิลป์ต้องจดเนื้อร้องของตนเอง และนำกลับไปซ้อมทุกครั้ง เมื่อคุณครูต่อเพลงให้จบแล้ว ก็ต้องมาสอบเก็บคะแนนเช่นกัน คีตศิลป์ไทยกับคีตศลิป์สากลจะต่างกันตรงที่ว่า คีตศลิป์ไทยจะเน้นร้องไปทางเพลงไทยเดิม เพลงลูกทุ่ง เพลงที่มีลูกเอื้อน แต่คีตศิลป์สากลจะเน้นร้องไปทางเพลงคลาสสิค
- สาขาคีตศลิป์สากล หรือ ขับร้องสากล = ก่อนจะเริ่มเรียนต้องมีการวอมเสียง ร้องไล่ระดับเสียงขึ้นลง ใช้เวลาในการวอม 2 - 3 นาที เมื่อวอมเสร็จก็จะเริ่มเรียนร้องเพลง สำหรับหลักสูตรในการเรียนก็ค่อนข้างไปในทางคลาสสิค ในบางครั้งก็เป็นเพลงที่ต้องในเสียงประสาน หรือก็คือการคอรัส จะต้องอ่านโน๊ตให้ถูกต้อง และเปล่งเสียงให้ชัดเจน ถูกคีย์ ต้องมีการจดบันทึกโน๊ตเพลง และเมื่อต่อเพลงจบก็ต้องไปสอบเก็บคะแนนเช่นกัน แต่สำหรับคีตศิลป์สากลนักเรียนจะต้องเล่นเปียโนเป็น เพราะมันเป็นหนึ่งในการสอบร้องเพลงด้วย
- สาขาดุริยางค์ไทย หรือ ดนตรีไทย = พวกเราเรียกกันอีกชื่อนึงว่า "เด็กปี่พาทย์" ก่อนเริ่มเรียนก็ต้องมีการเช็คเครื่องดนตรี เช็คเสียงความดังเบา เป็นต้น มีการสอบเก็บคะแนนเหมือนกัน และต้องจดบันทึกโน๊ตเพลงเช่นกัน
- สาขาดุริยางค์สากล หรือ ดนตรีสากล = เหมือนกันกับดนตรีไทยเลยค่ะ ต้องเช็คเครื่องดนตรี เช็คเสียง เมื่อต่อเพลงจบก็ต้องมาสอบเก็บคะแนนเหมือนกัน ต้องจนบันทึกโน๊ตเพลงด้วยเหมือนกัน แต่จะมีสิ่งที่แตกต่างคือ หลังเลิกเรียนเด้กสากลจะมีการรวมตัวกันเพื่อซ้อมวงดนตรี เราเรียกวงนั้นกันว่า "วงออเคสตร้า"