ผมสงสัย ไอ้เจ้า กตัตตากรรม(กรรมสักแต่ว่าทำ)มันขัดแย้งกับพุทธพจน์หตือเปล่าครับ?

กตัตตากรรม กรรมสักแต่ว่าทำ คือ เจตนาไม่สมบูรณ์ อาจจะทำด้วยความประมาทหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ก็อาจส่งผลดีร้ายให้ได้เหมือนกัน ในเมื่อไม่มีกรรมอื่นจะให้ผลแล้ว

https://www.baanjomyut.com/library_2/fate/03.html

พุทธพจน์

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวซึ่งเจตนาว่าเป็นกรรม เพราะว่าบุคคลเจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ.

เคยอ่านเจอในพระไตรปิฎก แต่จำไม่ได้ว่าตรงไหน อย่างที่กรณีคนนำที่เกี่ยวหญ้าทิ่มเข้าไปในหญ้า แต่ในกองหญ้ามีพ่อของคนผู้นั้นอยู่ คนนี้ไม่รู้ก็ทิ่มเข้าไป ถูกพ่อตาย  ด้วยเจตนาเกี่ยวหญ้าไม่ได้เจตนาฆ่า คนนี้ถือว่าไม่ได้อนันตริยกรรม ข้อฆ่าบิดา เพราะไม่ได้มีเจตนา

ดังนี้กตัตตากรรมตรงนี้โผล่มาได้อย่างไร ถ้าไม่มีเจตนาก็ไม่น่าเป็นกรรมตามพุทธพจน์ด้านบนแล้ว

ผมค่อนข้างงงทีเดียว

ใครมีคำตอบก็มาสนทนากันครับผม
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่