👛👛👛👛มาลาริน/เลิกบ่นรัฐบาลกันได้แล้ว..พระปกเกล้าโพล"ชี้ปชช.พอใจรัฐบาลแก้โควิด

"พระปกเกล้าโพล"ชี้ปชช.พอใจรัฐบาลแก้โควิด-เชื่อมั่น"แพทย์-ผู้เชี่ยวชาญ"มาเป็นผู้นำ ห่วงสถานการณ์ศก.หลังไวรัส



วันที่ 15 พ.ค.63 สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า เปิดเผยโพลล์การสำรวจความคิดเห็นในหัวข้อเกี่ยวกับสภาพสังคม เศรษฐกิจและการใช้ชีวิตของประชาชนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ผ่านช่องทางการสื่อสารออนไลน์ โดยเก็บผลการสารวจ ระหว่างวันที่ 3 ถึง 13 พ.ค.63 สรุปจานวนผู้ตอบทั้งสิ้น 1,338 คน จาแนกเป็นเพศชาย ร้อยละ 41.9 เพศหญิง ร้อยละ 57.1 ที่เหลือเป็นกลุ่มเพศทางเลือก เมื่อจาแนกตามอายุ พบว่าเป็นกลุ่มผู้มีอายุ 46-60 ปี ร้อยละ 44.5 อายุ 26-45 ปี ร้อยละ 37.8 อายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 13.6 และกลุ่มอายุ 18-25 ปี ร้อยละ 4.1 ผลการสำรวจพบว่า......👇

1.ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 จากสื่อโทรทัศน์ มากที่สุด (ร้อยละ 33.6) รองลงมาคือ ทาง Facebook (ร้อยละ 23.9) และ จากบุคลากรสาธารณสุข (ร้อยละ 15.7)

2. ด้านรูปแบบการทำงาน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีการปรับเปลี่ยนวิธีทำงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยพบว่า ไปทำงานทั้งที่ทำงานและที่บ้านสลับกันมากที่สุด (ร้อยละ 44.2) รองลงมา คือ ไปทำงานที่ทำงานทุกวัน (ร้อยละ 32.1) และทำงานที่บ้านทุกวัน (ร้อยละ 23.7)

3. ด้านสถานภาพการทำงาน รายได้ การออมเงิน และสถานภาพเศรษฐกิจของครอบครัว ด้านสถานภาพการทางานและรายได้: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ระบุว่า ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังคงทำงานเดิม และยังคงรับเงินเดือน/มีรายได้เท่าเดิม (ร้อยละ 64.7) รองลงมา คือ ยังคงทำงานเดิม แต่เงินเดือน/รายได้ลดลง (ร้อยละ 17.6) แต่เมื่อนำกลุ่มตัวอย่าง ที่ระบุว่า ต้องหยุดงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างและไม่มีรายได้ กับกลุ่มที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้/ถูกเลิกจ้างและไม่มีรายได้ ไปรวมแล้ว พบว่า มีผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านการทำงานและรายได้จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ถึงร้อยละ 27.1

ด้านการออมเงิน: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ระบุว่า ยังออมเงินได้ตามปกติ (ร้อยละ 30.6) รองลงมา คือ มีเงินพออยู่ได้แต่ไม่มีเงินออม (ร้อยละ 28.8) และ ที่น่าสนใจคือ ต้องใช้เงินออมบางส่วนแต่ยังไม่ได้กู้ยืมเงิน (ร้อยละ 24.3) ไม่มีเงินออมและต้องกู้ยืมเงิน (ร้อยละ 8.2) และ ต้องใช้เงินออมบางส่วนและมีการกู้ยืม (ร้อยละ8.1) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบที่มีต่อเงินออมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

จากข้อมูลด้านรายจ่ายยังพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 90.6 ต้องจ่ายเงินซื้อหน้ากากอนามัย ร้อยละ 88.5 ต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อเจล/แอลกอฮอล์ นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 47.9 มีการจัดการอาหารการกินของครอบครัว โดยมีการกักตุนวัตถุดิบไว้ล่วงหน้า ขณะที่ร้อยละ 12.3 สั่งอาหารสาเร็จให้มาส่งที่บ้าน สถานภาพเศรษฐกิจของครอบครัว: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ระบุว่า หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สถานภาพทางด้านเศรษฐกิจของครอบครัวก็จะกลับสู่สภาพเดิม (ร้อยละ 62.2) รองลงมา ระบุว่า แย่ลงกว่าเดิม (ร้อยละ 31.8) และ กลุ่มตัวอย่างส่วนน้อย ระบุว่า น่าจะดีขึ้นกว่าเดิม (ร้อยละ 6)

4. ด้านความไว้วางใจผู้นำในการแก้ไขปัญหา เมื่อสอบถามว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 นี้ ท่านไว้วางใจผู้ใดมากที่สุดเพื่อให้เข้ามาเป็นผู้นำในการแก้ปัญหา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ระบุว่า ไว้วางใจให้ผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นเข้ามาเป็นผู้นำในการแก้ปัญหา (ร้อยละ 86.4) โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนน้อย ระบุว่า ไว้วางใจนักการเมืองให้เข้ามาเป็นผู้นำในการแก้ปัญหา (ร้อยละ 4.3) ใครก็ได้ (ร้อยละ 2.7) นักวิชาการ (ร้อยละ 2.6) และ ข้าราชการ (ร้อยละ 2.2)

5. ด้านการบริจาคและช่วยเหลือ กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 46.0 เห็นว่า แม้จะประสบปัญหาความยุ่งยากเดือดร้อนก็ยังมีความช่วยเหลือจากรัฐมาทันท่วงที ขณะที่ กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 92.6 เห็นด้วยกับความคิดที่ว่า เมื่อประสบปัญหาคนไทยก็ยังช่วยเหลือเอื้ออาทรกันและกัน ร้อยละ 87.5 ระบุว่า เมื่อประสบปัญหาพวกเขาก็มีความเข้มแข็งและเอาตัวรอดได้เสมอ
นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 76.1 ระบุว่า ในภาวะวิกฤติสามารถไว้วางใจคนในชุมชนของตนเองได้ว่า ยังมีความเอื้ออาทรกันและกัน ดูแลกันเป็นอย่างดี นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 50 ระบุว่า พวกเขาได้ บริจาค เงินสิ่งของให้กับโรงพยาบาล องค์กรการกุศล และบริจาคโดยตรง อีกทั้งยังเชิญชวนให้ผู้อื่นมาร่วมบริจาคด้วย และยังพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 1 ใน 3 ระบุว่า ตนไปเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือสังคม

6. เมื่อเกิดภาวะวิกฤต จะฝากอนาคตไว้กับใคร ? กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 41.8 ระบุว่า สามารถฝากอนาคตไว้กับผู้นาประเทศได้ ร้อยละ 45.7 ระบุว่า ฝากอนาคตไว้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของตนเองได้ ร้อยละ 34.3 ระบุว่า ฝากอนาคตไว้กับผู้นำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ โดยยังพบอีกว่า เมื่อประสบปัญหา ประชาชนเชื่อว่าพวกเขาจะช่วยเหลือกันเองได้ ประชาชนไทยยังมีทัศนคติที่ดีต่อสังคมไทยคนไทยด้วยกันและยังคิดว่าคนไทยก็ยังมีความเอื้ออาทรช่วยเหลือกัน รวมทั้ง ยังมีแนวคิดเชิงบวกที่เชื่อว่าตัวเองก็สามารถที่จะผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ด้วยดี

7. ด้านการดำรงชีวิตกับสิทธิเสรีภาพ สาหรับทัศนคติในการดำรงชีวิตภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นั้น กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 70 ระบุว่า ควรใช้การจัดการศึกษาแบบออนไลน์แทนการศึกษาในโรงเรียน ในขณะที่ ร้อยละ 89.4 ระบุว่า คนไทยต้องมีวินัยมากขึ้นเพื่อรองรับสถานการณ์ เมื่อสอบถามว่า ในภาวะวิกฤตที่มีการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งทำให้ประชาชนต้องถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพนั้นเป็นสิ่งที่ต้องทำนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เห็นด้วย ถึงร้อยละ 80.8 (โดยจาแนกเป็น ผู้ที่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 43 และ ผู้ที่เห็นด้วย ร้อยละ 37.8)

8. การตัดสินใจในชีวิต เมื่อให้กลุ่มตัวอย่างเลือกระหว่าง “ปากท้องกับปัญหาสุขภาพในภาวะวิกฤตินี้คนไทยจะเลือกอะไร” พบว่า โดยภาพรวม ร้อยละ 61.4 ไม่เห็นด้วยว่า ปากท้องสาคัญมากกว่าสุขภาพ กล่าวคือ พวกเขาให้ความสาคัญกับสุขภาพมากกว่า (ร้อยละ 35.7 เห็นด้วยว่า ปากท้องสาคัญมากกว่าสุขภาพ และ ร้อยละ 2.9 ไม่ตอบ)

9. การยอมรับกันทางสังคม เมื่อสอบถามว่า “ท่านจะยอมรับใครบ้างและยอมรับได้เพียงใดที่จะให้บุคคลกลุ่มต่าง ๆ มาเป็นเพื่อนบ้าน” พบว่า ร้อยละ 64.5 ยอมรับที่จะเป็นเพื่อนบ้านกับผู้ป่วยโควิดได้ ร้อยละ 71.8 ยอมรับผู้ที่มาจากพื้นที่เสี่ยงและอยู่ระหว่างการกักตัวดูอาการได้ ร้อยละ 92.2 ยอมรับผู้ที่หายป่วยจากโควิดได้ ในขณะที่ ร้อยละ 66.7 ยอมรับผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศได้ และ ร้อยละ 58.1 ยอมรับคนต่างชาติได้

ดังนั้น กล่าวโดยสรุปได้ว่ากลุ่มบุคคลที่คนไทยให้การยอมรับให้มาเป็นเพื่อนบ้านมากที่สุด คือ กลุ่มผู้หายป่วยจากโควิด รองลงมา คือ ผู้ที่มาจากพื้นที่เสี่ยง ผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศกลับจากต่างประเทศ แต่ที่น่าสนใจคือมีประชาชน ยอมรับคนต่างชาติและผู้ป่วยโควิดน้อยกว่ากลุ่มอื่น และ ร้อยละ 20.9 ไม่ต้องการเป็นเพื่อนบ้านกับผู้ป่วยโควิด และร้อยละ 19.2 ไม่ต้องการเป็นเพื่อนบ้านกับผู้ที่มาจากพื้นที่เสี่ยง

10. ความพึงพอใจต่อการทำงานของรัฐบาล ในการสอบถามความพึงพอใจต่อการทำงานของรัฐบาลในการจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ผู้ศึกษาได้ให้กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนความพึงพอใจต่อรัฐบาล กำหนดคะแนน 0 ถึง 10 คะแนน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างกว่าครึ่ง มีความพึงพอใจต่อการทำงานของรัฐบาล โดยร้อยละ 64.9 ให้คะแนนความพอใจต่อการทำงานของรัฐบาลในระหว่าง 6 ถึง 10 คะแนน ในขณะที่ ร้อยละ 10.6 ให้คะแนนรัฐบาล คาบเส้นหรือห้าคะแนน และ ร้อยละ 23.9 ให้คะแนนรัฐบาลน้อยกว่า 5 คะแนน โดยที่น่าสนใจ คือ กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 6.3 ให้คะแนนความพอใจ 0 คะแนน ในขณะที่ ร้อยละ 9.8 มีคะแนนความพึงพอใจอยู่ที่ 10 คะแนน

11. ข้อเสนอแนะอื่นๆ เห็นได้ว่าการทำงานของรัฐในช่วงแรก มีความผิดพลาดหลายประการ โดยเฉพาะในเรื่องของหน้ากากอนามัย รวมทั้ง การทำงานที่ขาดฐานข้อมูลที่แน่นอน และขาดการนำองค์ความรู้มาใช้เท่าที่ควร แต่หลังจากนั้น ประชาชนเห็นว่า รัฐบาลบริหารงานมาได้ถูกทางมากขึ้น และควรมีมาตรการควบคุมต่อไป และขอบคุณคนไทยที่เอื้อเฟื้อ ซึ่งถือเป็นบทเรียนสำหรับประเทศไทยและไม่ควรประมาท

กลุ่มตัวอย่างบางส่วน ระบุว่าได้เห็นความรักสามัคคีกันช่วยเหลือกันและต้องการให้หน่วยงานสาธารณสุขจัดทาสื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการใช้ชีวิตในช่วงมีวิกฤต รวมทั้ง ต้องการให้มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังต้องการให้ชุมชนช่วยกันดูแลชุมชนของตนเอง และขอชมเชย ตลอดจนให้กาลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์
อย่างไรก็ตาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างบางส่วน ต้องการให้รัฐมีมาตรการที่เข้มงวดมากขึ้น และประชาชนที่ยากจนจริงๆ ก็ยังไม่ได้รับการเยียวยา หรือต้องการให้มีการประสานงานร่วมกันมากกว่านี้ ต้องการให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง รวมทั้ง มีหน่วยงานแนะนา ช่วยประชาชนในการเตรียมเก็บสำรองเงินสาหรับเผื่อใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน และ ยังไม่ต้องการให้ยกเลิกเคอร์ฟิว

นอกจากนี้ มีความต้องการให้มีการทำงานที่โปร่งใส ตรงไปตรงมา รวมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบผู้บริหาร ส่งเสริมประชาธิปไตย และต้องการให้รัฐบาลดูแลเรื่องปากท้องของประชาชนควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพของประชาชน

https://siamrath.co.th/n/155590

กี่โพลๆก็ให้คะแนนรัฐบาลผ่านฉลุย

แล้วฝ่ายแค้นจะมาอะไรมากมายกับรัฐบาลล่ะคะ

เห็นไหมว่าประชาชนไม่อยากให้เลิก พ.ร.ก.

แหม....โพลพระปกเกล้าคงไม่อวยลุงตู่หรอกนะคะ.....😄😉

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 16
ยังมีพวกไม่เอาไหน.  ต้มตัวเองว่าแพ้ลุงเพราะสว.อีก

แหวะ.  เพี้ยนขำหนักมาก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่