ได้อ่านข่าวเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ให้สัมภาษณ์สื่อ เล่าถึงข้อความในจดหมายตอบนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เกี่ยวกับโครงการที่ซีพีจะดำเนินการ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรไทย หลังวิกฤติโควิด-19 โดยยกตัวอย่างโครงการเกษตรผสมผสาน ภายใต้โมเดล 4 ประสาน 3 ประโยชน์ ที่เคยทำสำเร็จมาแล้ว ทั้งในประเทศไทยและจีน ก็เลยไปหาดูข้อมูลของโครงการทั้งสองเพิ่มเติม เลือกมา 2 คลิป เก่าแล้วแต่ก็อยากนำมาแบ่งปัน เผื่อใครสนใจ เพราะเป็นโครงการที่น่าศึกษามาก ทำแล้วเห็นผลจริง แต่ดู ๆ แล้วก็ทำไม่ง่ายนัก ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย เหมือนชื่อโมเดล 4 ประสานนั่นเอง ที่ต้องได้รับความร่วมมืออย่างน้อย 4 ฝ่ายหลัก ๆ จากรัฐบาล เอกชน สถาบันการเงิน และเกษตรกร
โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า เกิดขึ้นจากการน้อมรับแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ด้านการปฏิรูปที่ดิน (พ.ศ. 2516) ด้วยทรงเล็งเห็นว่า การปฏิรูปที่ดินเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง โดยเจ้าสัวธนินท์มองว่าต้องช่วยเหลือเกษตรกรเหล่านี้ โดยนำเทคโนโลยีที่ดีที่สุดมาถ่ายทอด พร้อมทั้งช่วยเหลือด้านการตลาด ที่เป็นความเชี่ยวชาญของซีพี เพื่อให้เกษตรกรเหล่านี้มีความมั่นคงในอาชีพอย่างแท้จริง
หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า
โครงการ "หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า" ก่อตั้งขึ้นในปี 2520 บนที่ดินขนาด 1,253 ไร่ ต.บ้านซ่อง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกรแก่เกษตรกรที่ยากจน โดยมีนายอำเภอเป็นผู้คัดเลือกเกษตรกร ถึงแม้ในตอนนั้น ผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะไม่มีผู้ค้ำประกัน แต่ธนาคาร ซึ่งเป็นผู้ปล่อยกู้เงินทุนค่อนข้างมั่นใจว่า หากเกษตรกรมีซีพีเป็นผู้ให้คำปรึกษาแล้ว ทุกอย่างจะราบรื่น เพราะซีพีเป็นทั้งตลาดรับซื้อ และค้ำประกันวงเงินกู้ของเกษตรกรกับธนาคาร
ซีพีได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในสมัยนั้น ซึ่งเป็นเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกมาถ่ายทอดให้แก่เกษตรกร โดยเริ่มจากผู้นำเกษตรกรที่เปิดรับการเรียนรู้และการดำเนินการในรูปแบบใหม่ สร้างการมีส่วนร่วม ความเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา จากนั้นบริษัททำหน้าที่หาพันธุ์สัตว์ชั้นเยี่ยมจากสหรัฐอเมริกา
หลังจากได้ผลผลิต บริษัททำหน้าที่หาตลาดให้เกษตรกร ซึ่งเท่ากับว่าโครงการนี้เอาความเสี่ยงทั้งหมดมาอยู่ที่ซีพี ผลปรากฏว่า ผ่านไป 10 ปี จากเกษตรกรยากไร้ ไม่มีที่ทำกิน ก็สามารถเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทั้งหมด มีที่ดิน 24 ไร่เป็นของตัวเอง จากไม่มีอาชีพก็สามารถเลี้ยงสุกรได้อย่างช่ำชอง จากไม่มีความรู้ก็สามารถรวมตัวกันจัดตั้งให้หมู่บ้านเป็นนิติบุคคล ในนาม “บริษัท หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า จำกัด”
โครงการเกษตรกรรมหมุนเวียนทันสมัย ผิงกู่
ต่อมาในปี 2555 ซีพีได้ทำโครงการด้านการพัฒนาเกษตรกรรมให้แก่ชุมชนยั่งยืนที่ประเทศจีน กับ “โครงการไก่ไข่ 3 ล้านตัวผิงกู่-เครือเจริญโภคภัณฑ์” ที่หมู่บ้านซีฟานเกอจวง (Xifan Gezhuang) ตำบลยู่โค (Yukou) เขตผิงกู่ (Pinggu) ประเทศจีน ถือเป็นโครงการที่มีขนาดการเลี้ยงใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของเอเชีย และเป็นอันดับสองของโลก สามารถเลี้ยงไก่ไข่ได้ถึง 3 ล้านตัว มีกำลังการผลิตไข่ไก่มากถึง 54,000 ตันต่อปี ซึ่งโครงการนี้มีมูลค่าการลงทุนรวม 720 ล้านหยวนหรือประมาณ 3,600 ล้านบาท และมีเกษตรกรจีนได้รับประโยชน์จากการดำเนินโครงการนี้ถึง 1,608 ครอบครัว หรือประมาณ 5,000 คน
รายได้ของเกษตรกรมาจากการให้เช่าที่ดิน หากคิดเป็นรายคนได้ค่าเช่าคนละ 400 หยวนต่อปี โบนัสจากสหกรณ์ 1,500 หยวนต่อปี และรายได้จากค่าจ้าง โดยค่าแรงขั้นต่ำในปักกิ่งอยู่ที่ 1,500 หยวน แต่โครงการนี้จ้าง 3,000 หยวน ถ้าครอบครัวไหนมีหลายคน รายได้รวมก็มากขึ้น ทำให้เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 22,000 บาทต่อราย
รวมถึงโครงการเกษตรกรรมทันสมัยฉือซี พัฒนาพื้นที่ 8,000 ไร่ มณฑลเจ้อเจียง ให้เป็นเกษตรผสมผสานแบบทันสมัยครบวงจรที่อยู่ใกล้เมือง ใกล้นครเซี่ยงไฮ้ โดยให้ทุกอย่างอยู่ในจุดเดียวกัน ครบทั้งด้านพืชผักและปศุสัตว์ พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการทำการเกษตร อาทิ นำระบบจีพีเอส และคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงานของเครื่องไถนา โดยไม่ต้องใช้คนขับ ช่วยลดต้นทุนและควบคุมประสิทธิภาพผลผลิต สามารถดูข้อมูลย้อนหลังได้ว่า พืชแต่ละชนิดเริ่มปลูกเมื่อไร และนำสถิติไปสแกนคิวอาร์โค้ด ดูข้อมูลย้อนหลังของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่เริ่มต้นผ่านสมาร์ทโฟนได้ สำหรับโครงการนี้วางแผนให้เป็นแหล่งผลิตอาหารป้อน 100 ล้านคนรอบนครเซี่ยงไฮ้ ในเบื้องต้นมีมูลค่าโครงการ 4,000-5,000 ล้านหยวน หรือประมาณ 20,000-25,000 ล้านบาท
จากประสบการณ์ที่ผ่านมา เครือเจริญโภคภัณฑ์จึงมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนต้นแบบเพื่อยกระดับรายได้ที่มั่นคงให้แก่เกษตรกรไทย ซึ่งการดำเนินการในครั้งนี้จะนำองค์ความรู้จากที่มีประสบการณ์ในหลายประเทศกลับมาทำในประเทศไทยอีกครั้ง ซึ่งเทคโนโลยีสมัยนี้ก้าวหน้ามาก จะทำสำเร็จได้ง่ายกว่าในอดีต และทำให้รายได้ถึงมือเกษตรกรอย่างยั่งยืน
อย่างไรก็ดี ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อให้โครงการขยายผลได้ เน้นการมีส่วนร่วม และเกษตรกรเป็นเจ้าของ และที่สำคัญต้องเร็วและมีคุณภาพ และหากทำสำเร็จจะเป็นอีกหนึ่งโครงการที่เป็นโรงเรียนพัฒนาอาชีพให้เกษตรกร ให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืนต่อไป
ซีพีกับโครงการยกระดับเกษตรกร จากหนองหว้าเมืองไทย ถึงผิงกู่เมืองจีน
โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า เกิดขึ้นจากการน้อมรับแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ด้านการปฏิรูปที่ดิน (พ.ศ. 2516) ด้วยทรงเล็งเห็นว่า การปฏิรูปที่ดินเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง โดยเจ้าสัวธนินท์มองว่าต้องช่วยเหลือเกษตรกรเหล่านี้ โดยนำเทคโนโลยีที่ดีที่สุดมาถ่ายทอด พร้อมทั้งช่วยเหลือด้านการตลาด ที่เป็นความเชี่ยวชาญของซีพี เพื่อให้เกษตรกรเหล่านี้มีความมั่นคงในอาชีพอย่างแท้จริง
โครงการ "หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า" ก่อตั้งขึ้นในปี 2520 บนที่ดินขนาด 1,253 ไร่ ต.บ้านซ่อง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกรแก่เกษตรกรที่ยากจน โดยมีนายอำเภอเป็นผู้คัดเลือกเกษตรกร ถึงแม้ในตอนนั้น ผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะไม่มีผู้ค้ำประกัน แต่ธนาคาร ซึ่งเป็นผู้ปล่อยกู้เงินทุนค่อนข้างมั่นใจว่า หากเกษตรกรมีซีพีเป็นผู้ให้คำปรึกษาแล้ว ทุกอย่างจะราบรื่น เพราะซีพีเป็นทั้งตลาดรับซื้อ และค้ำประกันวงเงินกู้ของเกษตรกรกับธนาคาร
ซีพีได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในสมัยนั้น ซึ่งเป็นเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกมาถ่ายทอดให้แก่เกษตรกร โดยเริ่มจากผู้นำเกษตรกรที่เปิดรับการเรียนรู้และการดำเนินการในรูปแบบใหม่ สร้างการมีส่วนร่วม ความเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา จากนั้นบริษัททำหน้าที่หาพันธุ์สัตว์ชั้นเยี่ยมจากสหรัฐอเมริกา
หลังจากได้ผลผลิต บริษัททำหน้าที่หาตลาดให้เกษตรกร ซึ่งเท่ากับว่าโครงการนี้เอาความเสี่ยงทั้งหมดมาอยู่ที่ซีพี ผลปรากฏว่า ผ่านไป 10 ปี จากเกษตรกรยากไร้ ไม่มีที่ทำกิน ก็สามารถเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทั้งหมด มีที่ดิน 24 ไร่เป็นของตัวเอง จากไม่มีอาชีพก็สามารถเลี้ยงสุกรได้อย่างช่ำชอง จากไม่มีความรู้ก็สามารถรวมตัวกันจัดตั้งให้หมู่บ้านเป็นนิติบุคคล ในนาม “บริษัท หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า จำกัด”
ต่อมาในปี 2555 ซีพีได้ทำโครงการด้านการพัฒนาเกษตรกรรมให้แก่ชุมชนยั่งยืนที่ประเทศจีน กับ “โครงการไก่ไข่ 3 ล้านตัวผิงกู่-เครือเจริญโภคภัณฑ์” ที่หมู่บ้านซีฟานเกอจวง (Xifan Gezhuang) ตำบลยู่โค (Yukou) เขตผิงกู่ (Pinggu) ประเทศจีน ถือเป็นโครงการที่มีขนาดการเลี้ยงใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของเอเชีย และเป็นอันดับสองของโลก สามารถเลี้ยงไก่ไข่ได้ถึง 3 ล้านตัว มีกำลังการผลิตไข่ไก่มากถึง 54,000 ตันต่อปี ซึ่งโครงการนี้มีมูลค่าการลงทุนรวม 720 ล้านหยวนหรือประมาณ 3,600 ล้านบาท และมีเกษตรกรจีนได้รับประโยชน์จากการดำเนินโครงการนี้ถึง 1,608 ครอบครัว หรือประมาณ 5,000 คน
รายได้ของเกษตรกรมาจากการให้เช่าที่ดิน หากคิดเป็นรายคนได้ค่าเช่าคนละ 400 หยวนต่อปี โบนัสจากสหกรณ์ 1,500 หยวนต่อปี และรายได้จากค่าจ้าง โดยค่าแรงขั้นต่ำในปักกิ่งอยู่ที่ 1,500 หยวน แต่โครงการนี้จ้าง 3,000 หยวน ถ้าครอบครัวไหนมีหลายคน รายได้รวมก็มากขึ้น ทำให้เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 22,000 บาทต่อราย
รวมถึงโครงการเกษตรกรรมทันสมัยฉือซี พัฒนาพื้นที่ 8,000 ไร่ มณฑลเจ้อเจียง ให้เป็นเกษตรผสมผสานแบบทันสมัยครบวงจรที่อยู่ใกล้เมือง ใกล้นครเซี่ยงไฮ้ โดยให้ทุกอย่างอยู่ในจุดเดียวกัน ครบทั้งด้านพืชผักและปศุสัตว์ พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการทำการเกษตร อาทิ นำระบบจีพีเอส และคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงานของเครื่องไถนา โดยไม่ต้องใช้คนขับ ช่วยลดต้นทุนและควบคุมประสิทธิภาพผลผลิต สามารถดูข้อมูลย้อนหลังได้ว่า พืชแต่ละชนิดเริ่มปลูกเมื่อไร และนำสถิติไปสแกนคิวอาร์โค้ด ดูข้อมูลย้อนหลังของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่เริ่มต้นผ่านสมาร์ทโฟนได้ สำหรับโครงการนี้วางแผนให้เป็นแหล่งผลิตอาหารป้อน 100 ล้านคนรอบนครเซี่ยงไฮ้ ในเบื้องต้นมีมูลค่าโครงการ 4,000-5,000 ล้านหยวน หรือประมาณ 20,000-25,000 ล้านบาท
จากประสบการณ์ที่ผ่านมา เครือเจริญโภคภัณฑ์จึงมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนต้นแบบเพื่อยกระดับรายได้ที่มั่นคงให้แก่เกษตรกรไทย ซึ่งการดำเนินการในครั้งนี้จะนำองค์ความรู้จากที่มีประสบการณ์ในหลายประเทศกลับมาทำในประเทศไทยอีกครั้ง ซึ่งเทคโนโลยีสมัยนี้ก้าวหน้ามาก จะทำสำเร็จได้ง่ายกว่าในอดีต และทำให้รายได้ถึงมือเกษตรกรอย่างยั่งยืน
อย่างไรก็ดี ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อให้โครงการขยายผลได้ เน้นการมีส่วนร่วม และเกษตรกรเป็นเจ้าของ และที่สำคัญต้องเร็วและมีคุณภาพ และหากทำสำเร็จจะเป็นอีกหนึ่งโครงการที่เป็นโรงเรียนพัฒนาอาชีพให้เกษตรกร ให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืนต่อไป