[ ** โปรดระวังสปอยล์ เปิดเผยเนื้อหาสำคัญในบทความชิ้นนี้ ]
อาจจะมองความเชยของวิธีการเล่าเรื่อง และการสร้างปมซ้ำซากให้กับตัวละครเกย์ทุกตัว เป็นความตั้งใจของ Justin Kelly ผู้กำกับ/คนเขียนบทก็ได้ เพราะฉากหลังของ King Cobra นั้นเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 16 ปีก่อน ยุคที่ธุรกิจหนังโป๊เพิ่งจะเข้าสู่ระบบออนไลน์ได้ไม่นาน และตัวละครในเรื่องก็เป็นผู้คนที่เติบโตมาในยุค 80 – 90 ซึ่งการเป็นเกย์ยังไม่ได้ถูกยอมรับจากสังคมและครอบครัวง่ายๆ แถมพวกเค้ายังเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจหนังโป๊เกย์อีก! แต่ก็นั่นแหละ ต้องยอมรับว่าตัวหนังมันมีปัญหาบางอย่าง ทั้งวิธีการเล่าเรื่อง และตัวละคร ยังดีที่คาแร็คเตอร์ Brent Corrigan ที่เป็นศูนย์กลางของเรื่องนั้นมีความน่าสนใจมาก ทั้งความเป็นมนุษย์เทาๆ การทิ้งพื้นที่ให้เราตีความตัวละครจากสิ่งที่เห็น ไปจนถึงการแสดงและแรงดึงดูดทางเพศของ Garrett Clayton ที่รับบทนี้
.
King Cobra สร้างจากเรื่องจริงสุดอื้อฉาวของวงการหนังโป๊เกย์ยุคนั้น เมื่อ Bryan Kocis (ในหนังเปลี่ยนชื่อให้ตัวละครมีชื่อว่า Stephen) เจ้าของค่ายหนังโป๊เกย์ Cobra Video ถูกฆาตกรรมเสียชีวิตในบ้านพัก และผู้ต้องสงสัยอันดับหนึ่งก็คือ Brent Corrigan เด็กหนุ่มเกย์ผู้เป็นนักแสดงในสังกัดนั่นเอง โดยก่อนหน้านั้นไม่นานทั้งคู่เพิ่งจะมีคดีความ เมื่อ Brent พยายามฉีกสัญญาของตัวเองทิ้ง เพราะรู้สึกไม่เป็นธรรมกับค่าจ้างที่ได้รับ แต่ Bryan ปฏิเสธ จนทำให้ Brent ออกมาแฉว่า หนังที่เค้าเล่นให้กับ Cobra Video นั้นถูกถ่ายทำตอนที่เขายังไม่บรรลุนิติภาวะ
.
ในขณะที่หนังพยายามเคลียร์ชัดทุกปมในใจและแรงผลักดันของตัวละคร ทั้งการต้องเป็นเกย์แอบของ Stephen จนมาเปิดค่ายหนังโป๊เพราะอยากใกล้ชิดกับเด็กหนุ่มหุ่นดี, การเดินเข้าสู่วงการหนังโป๊ของ Brent ที่มันก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน นอกจากมันก็แค่เป็นงานที่เขาอยากทำและชอบ!, ภาวะซับซ้อนทางอารมณ์ของอีกคู่รัก Joe และ Harlow ที่ฝ่ายแรกเป็นเจ้าของค่ายหนังโป๊อารมณ์รุนแรง และฝ่ายหลังเป็นนักแสดงหนังโป๊/โสเภณีชายที่มีปมค้างคาใจมาตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งส่งผลต่อเรื่องราวให้พลิกผันสุดขั้ว เรากลับชอบการสร้างความลึกลับทางด้านอารมณ์ให้กับตัวละคร Brent ที่มีต่อเหตุการณ์ทั้งหมดนี้มาก มันสามารถตีความได้หลากหลายมุมมองเลย เพราะเขาไม่ใช่เด็กไร้เดียงสาอย่างรูปลักษณ์ที่เห็น จริงหรือที่เค้าไม่ได้มีส่วนรู้เห็นต่อเหตุการณ์นี้ และเค้ารู้สึกอย่างไรกันแน่กับการตายของ Stephen เสียใจ โล่งใจ หรือมีความสุข!?
.
หากจะมีอะไรน่าผิดหวังอยู่บ้างก็คงเป็นพวกฉากเลิฟซีนอะไรทั้งหลายที่เห็นในหนัง ทั้งๆ ที่เป็นหนังที่เกี่ยวข้องกับวงการหนังโป๊แท้ๆ แต่กลับมีฉากร้อนๆ อยู่น้อยกว่าที่คิดไว้เยอะ ถึงทุกฉากจะเป็นเลิฟซีนที่เล่าเรื่องและขับเคลื่อนเรื่องไปข้างหน้าก็ตามทีเถอะ ก็นะ หวังไว้มากกว่านี้นี่นา... เช่นเดียวกับการเปิดเปลือยวงการหนังโป๊ เราก็คาดหวังว่าจะได้เห็นเบื้องลึกเบื้องหลังอันฉ้อฉลหรือฉาวโฉ่มากกว่านี้ นอกจากเรื่องการค้าประเวณี ความสัมพันธ์ของเจ้าของค่ายกับนักแสดง การดูแลรักษาหุ่นแล้ว ยังมีหลายเรื่องที่หนังไม่พูดถึง ทั้งยาเสพติด การล่วงละเมิดทางเพศ บทบาทบนเตียงของนักแสดง อายุการใช้งาน หุ่นกับสเตียรอยด์ การเงินที่สะพัดในโลกสีเทา ฯลฯ
.
นอกจาก Garrett Clayton ที่เราชื่นชมไปแล้ว การได้เห็นนักแสดงเกรดเออย่าง Christian Slater และ James Franco มารับบทเป็นเกย์ก็น่าตื่นเต้นมาก และทั้งคู่ก็ทำให้เราเชื่อได้จริงๆ มันไม่ใช่แค่จริตจะก้านหรือวิธีการพูด แต่พวกเค้าเป็นเกย์มาจากอินเนอร์ข้างในเลยล่ะ
อ่านบทความอื่นๆ ได้ที่
เพจ ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
[CR] [Review] King Cobra (2016)
[ ** โปรดระวังสปอยล์ เปิดเผยเนื้อหาสำคัญในบทความชิ้นนี้ ]
อาจจะมองความเชยของวิธีการเล่าเรื่อง และการสร้างปมซ้ำซากให้กับตัวละครเกย์ทุกตัว เป็นความตั้งใจของ Justin Kelly ผู้กำกับ/คนเขียนบทก็ได้ เพราะฉากหลังของ King Cobra นั้นเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 16 ปีก่อน ยุคที่ธุรกิจหนังโป๊เพิ่งจะเข้าสู่ระบบออนไลน์ได้ไม่นาน และตัวละครในเรื่องก็เป็นผู้คนที่เติบโตมาในยุค 80 – 90 ซึ่งการเป็นเกย์ยังไม่ได้ถูกยอมรับจากสังคมและครอบครัวง่ายๆ แถมพวกเค้ายังเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจหนังโป๊เกย์อีก! แต่ก็นั่นแหละ ต้องยอมรับว่าตัวหนังมันมีปัญหาบางอย่าง ทั้งวิธีการเล่าเรื่อง และตัวละคร ยังดีที่คาแร็คเตอร์ Brent Corrigan ที่เป็นศูนย์กลางของเรื่องนั้นมีความน่าสนใจมาก ทั้งความเป็นมนุษย์เทาๆ การทิ้งพื้นที่ให้เราตีความตัวละครจากสิ่งที่เห็น ไปจนถึงการแสดงและแรงดึงดูดทางเพศของ Garrett Clayton ที่รับบทนี้
.
King Cobra สร้างจากเรื่องจริงสุดอื้อฉาวของวงการหนังโป๊เกย์ยุคนั้น เมื่อ Bryan Kocis (ในหนังเปลี่ยนชื่อให้ตัวละครมีชื่อว่า Stephen) เจ้าของค่ายหนังโป๊เกย์ Cobra Video ถูกฆาตกรรมเสียชีวิตในบ้านพัก และผู้ต้องสงสัยอันดับหนึ่งก็คือ Brent Corrigan เด็กหนุ่มเกย์ผู้เป็นนักแสดงในสังกัดนั่นเอง โดยก่อนหน้านั้นไม่นานทั้งคู่เพิ่งจะมีคดีความ เมื่อ Brent พยายามฉีกสัญญาของตัวเองทิ้ง เพราะรู้สึกไม่เป็นธรรมกับค่าจ้างที่ได้รับ แต่ Bryan ปฏิเสธ จนทำให้ Brent ออกมาแฉว่า หนังที่เค้าเล่นให้กับ Cobra Video นั้นถูกถ่ายทำตอนที่เขายังไม่บรรลุนิติภาวะ
.
ในขณะที่หนังพยายามเคลียร์ชัดทุกปมในใจและแรงผลักดันของตัวละคร ทั้งการต้องเป็นเกย์แอบของ Stephen จนมาเปิดค่ายหนังโป๊เพราะอยากใกล้ชิดกับเด็กหนุ่มหุ่นดี, การเดินเข้าสู่วงการหนังโป๊ของ Brent ที่มันก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน นอกจากมันก็แค่เป็นงานที่เขาอยากทำและชอบ!, ภาวะซับซ้อนทางอารมณ์ของอีกคู่รัก Joe และ Harlow ที่ฝ่ายแรกเป็นเจ้าของค่ายหนังโป๊อารมณ์รุนแรง และฝ่ายหลังเป็นนักแสดงหนังโป๊/โสเภณีชายที่มีปมค้างคาใจมาตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งส่งผลต่อเรื่องราวให้พลิกผันสุดขั้ว เรากลับชอบการสร้างความลึกลับทางด้านอารมณ์ให้กับตัวละคร Brent ที่มีต่อเหตุการณ์ทั้งหมดนี้มาก มันสามารถตีความได้หลากหลายมุมมองเลย เพราะเขาไม่ใช่เด็กไร้เดียงสาอย่างรูปลักษณ์ที่เห็น จริงหรือที่เค้าไม่ได้มีส่วนรู้เห็นต่อเหตุการณ์นี้ และเค้ารู้สึกอย่างไรกันแน่กับการตายของ Stephen เสียใจ โล่งใจ หรือมีความสุข!?
.
หากจะมีอะไรน่าผิดหวังอยู่บ้างก็คงเป็นพวกฉากเลิฟซีนอะไรทั้งหลายที่เห็นในหนัง ทั้งๆ ที่เป็นหนังที่เกี่ยวข้องกับวงการหนังโป๊แท้ๆ แต่กลับมีฉากร้อนๆ อยู่น้อยกว่าที่คิดไว้เยอะ ถึงทุกฉากจะเป็นเลิฟซีนที่เล่าเรื่องและขับเคลื่อนเรื่องไปข้างหน้าก็ตามทีเถอะ ก็นะ หวังไว้มากกว่านี้นี่นา... เช่นเดียวกับการเปิดเปลือยวงการหนังโป๊ เราก็คาดหวังว่าจะได้เห็นเบื้องลึกเบื้องหลังอันฉ้อฉลหรือฉาวโฉ่มากกว่านี้ นอกจากเรื่องการค้าประเวณี ความสัมพันธ์ของเจ้าของค่ายกับนักแสดง การดูแลรักษาหุ่นแล้ว ยังมีหลายเรื่องที่หนังไม่พูดถึง ทั้งยาเสพติด การล่วงละเมิดทางเพศ บทบาทบนเตียงของนักแสดง อายุการใช้งาน หุ่นกับสเตียรอยด์ การเงินที่สะพัดในโลกสีเทา ฯลฯ
.
นอกจาก Garrett Clayton ที่เราชื่นชมไปแล้ว การได้เห็นนักแสดงเกรดเออย่าง Christian Slater และ James Franco มารับบทเป็นเกย์ก็น่าตื่นเต้นมาก และทั้งคู่ก็ทำให้เราเชื่อได้จริงๆ มันไม่ใช่แค่จริตจะก้านหรือวิธีการพูด แต่พวกเค้าเป็นเกย์มาจากอินเนอร์ข้างในเลยล่ะ
อ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ เพจ ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้