คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
คำว่า "สมเด็จพระพันปีหลวง" สำหรับเรียกขานพระราชชนนีของพระมหากษัตริย์มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุทธยาแล้วครับ สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากคำว่า เชียนซุ่ย (千歲) หรือ "พันปี" ในภาษาจีน
เชียนซุ่ย เป็นคำถวายพระพรหวงโฮ่ว/ฮองเฮา (皇后) คือพระอัครมเหสี และหวงไท่โฮ่ว/ฮองไทเฮา (皇太后) คือพระอัครมเหสีของจักรพรรดิพระองค์ก่อน ซึ่งอาจไม่ได้เป็นพระราชชนนีของจักรพรรดิองค์ปัจจุบันก็ได้ ในขณะที่หวงตี้/ฮ่องเต้ หรือจักรพรรดิ (皇帝) จะถวายพระพรด้วยคำว่า ว่านซุ่ย (萬歲) แปลว่า "หมื่นปี"
คำว่าเชียนซุ่ยยังใช้เป็นคำถวายพระพรประมุขรัฐที่มีสถานะเป็น หวัง/อ๋อง (王) หรือราชา ดังที่พบในเกาหลีสมัยโชซอนที่เป็นประเทศราชของจีน จะถวายพระพรกษัตริย์ว่า ชอนเซ (천세; 千歲) คือ "พันปี" เช่นเดียวกัน
พบหลักฐานว่าไทยรับวัฒนธรรมนี้มาใช้ในราชสำนักตั้งแต่กรุงศรีอยุทธยาเป็นอย่างช้า โดยนำคำว่า "พระพันปี" หรือ "พระพันวรรษา" (แปลตรงตัวว่า 'พันปี') มาใช้เรียกขานกับทั้งกษัตริย์ พระอัครมเหสี และพระราชชนนี
คำว่า "สมเด็จพระพันปีหลวง" ใช้เรียกขานเป็นพระอิสริยยศของพระราชชนนีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุทธยา ต่างจากจีนตรงที่ในสมัยโบราณไม่ได้จำเพาะว่าพระราชชนนีต้องเป็นพระอัครมเหสีหรือสมเด็จพระบรมราชินีของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลก่อน เช่น
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงเป็นบุตรชายออกญาศรีธรรมาธิราช พระราชชนนีไม่ได้เป็นพระอัครมเหสี
"แลที่บ้านสมเด็จพระพันปีหลวงนั้น พระเจ้าอยู่หัวให้สถาปนาสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ มีพระระเบียงรอบแลมุมพระระเบียงนั้น กระทำเป็นทรงเมรุทิพเมรุรายอันรจนาแลกอบด้วย พระอุโบสถพระวิหารการเปรียญ แลสร้างกุฎถวายพระสงฆ์เป็นอันมากเสร็จแล้ว ให้นามชื่อวัดไชยวัฒนาราม" - พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)
สมเด็จพระเจ้าเสือ พระราชชนนีบังเกิดเกล้าไม่ได้เป็นพระอัครมเหสีของสมเด็จพระเพทราชา
"สมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระราชดำริถึงภูมิชาติแห่งพระองค์ ซึ่งสมเด็จพระพันปีหลวงตรัสบอกไว้แต่ยังทรงพระเยาว์อยู่นั้นว่า เมื่อศักราช ๑๐๒๔ ปีขาล จัตวาศก แต่ครั้งแผ่นดินสมเด็จบรมบพิตรพระนารายณ์เป็นเจ้า เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปนมัสการพระพุทธประติมากรพระชินราช พระชินศรี ณ เมืองพิษณุโลก ทรงพระกรุณาให้มีการมหรสพ ถวายพุทธสมโภชคำรบ ๓ วัน ครั้งนั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ในพระบรมโกศ พาเอาสมเด็จพระพันปีหลวงทรงพระครรภ์แก่ จึ่งประสูติพระองค์ที่ตำบลบ้านโพธิ์ประทับช้าง แขวงเมืองพิจิตร ในเดือนอ้าย ปีขาลศกนั้น แล้วจึ่งเอารกที่สหชาตินั้นใส่ลงในผอบเงิน เอาไปฝังไว้ที่หว่างต้นโพธิ์ประทับช้างและต้นอุทุมพรต่อกันนั้น เหตุดังนั้นจึ่งได้พระนามกรชื่อมะเดื่อ" - พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม
พระเจ้ากรุงธนบุรี พระราชชนนีทรงเป็นสามัญชนมาก่อน
"ในปีนั้นทรงพระกรุณาตั้งสมเด็จพระพันปีหลวง, เปนกรมพระเทพามาตย์ตามโบราณราชประเพณี" - พระราชพงษาวดารกรุงเก่า (ฉบับหมอบรัดเล)
"ในทันใดนั้นหลวงมหาแพทย์มากราบทูลว่า สมเด็จพระพันปีหลวงนิพพานในวันอังคาร ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๔ จุลศักราช ๑๑๓๖ ปีมะเมีย ฉศก เพลา ๒ ยาม ๘บาท" - พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระราชชนนีคือสมเด็จพระศรีสุลาลัย (เจ้าจอมมารดาเรียม) เป็นเพียงพระสนมในรัชกาลที่ ๒ ไม่ได้ทรงเป็นพระอัครมเหสี
"ครั้งตั้งพระราชาคณะแล้ว ก็แต่งการพิธีฉลองพระเดชพระคุณสมเด็จพระพันปีหลวง สถาปนาตั้งเป็นกรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย*" อีกตอนหนึ่งระบุว่า "ในปีระกานั้น สมเด็จพระพันปีหลวงซึ่งเป็นกรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย ทรงพระประชวรไข้พิษสวรรคตเมื่อ ณ วันอังคาร เดือน ๑๑ แรม ๓ ค่ำ เวลา ๓ ยาม" - พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี
(*จดหมายเหตุในสมัยนั้นออกพระนามว่า 'สมเด็จกรมพระศรีสุลาลัย' หรือ 'สมเด็จพระศรีสุลาลัย' พระอิสริยยศ 'กรมสมเด็จพระ' เพิ่งมีในรัชกาลที่ ๔)
สำหรับพระอิสริยยศของพระอัครมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน ในสมัยโบราณนิยมออกพระนามว่า "พระพันวรรษา" "พระพันวัสสา" หรือ "พระพันวสา" ฯลฯ เช่น
เอกสารภูมิสถานกรุงศรีอยุธยากล่าวถึง "มีปตูเข้าไปพระตำหนักตึกใหญ่ ผนังนอกทาแดง ชื่อพระตำหนักโคหาสวรรค์ พระตำหนักหลังนี้เป็นของพระพันวะษา ซึ่งเป็นพระอัคมเหษรีของสมเด็จพระนารายณแต่ก่อน"
บาญชีพระนามเจ้านายในเอกสารคำให้การชาวกรุงเก่า ที่เรียบเรียงจากคำให้การเชลยกรุงเก่าที่ถูกกวาดต้อนไปพม่า ออกพระนามพระอัครมเหสีของสมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี (พระเจ้าเสือ) ว่า "สมเด็จพระพันวสา" เป็นพระราชชนนีของ สมเด็จพระเจ้าท้ายสระและสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
พระราชพงศาวารกรุงศรีอยุทธยาออกพระนามพระมเหสีของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทั้งสองพระองค์ว่า "พระพันวษาใหญ่" และ "พระพันวษาน้อย" ตามลำดับดังนี้
"แลพระพันวษาใหญ่เป็นกรมหลวงอภัยนุชิต พระพันวษาน้อยให้เป็นกรมหลวงพิพิธมนตรี" - พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)
"อันอัครมเหสีขวานั้นพระนามเรียกว่า พระพันวสาใหญ่ อันเจ้ากรมนั้นเรียกว่า กรมหลวงอภัยนุชิต อันพระราชมเหสีนั้นพระนาม พระพันวสาน้อย อันเจ้ากรมนั้นชื่อกรมหลวงพิพิทธมนตรี" - ความแทรก "คำให้การ" เกี่ยวกับสมัยพระนครศรีอยุธยาตอนปลาย
ในสมัยรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยไม่ได้ทรงสถาปนาพระอัครมเหสีอย่างเป็นทางการ แต่เป็นที่รับรู้โดยทั่วไปว่าทรงยกย่องสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี (เจ้าฟ้าบุญรอด) เป็นใหญ่เหนือพระภรรยาเจ้าทั้งปวง ปรากฏในพระราชพงศาวดารออกพระนามว่า "สมเด็จพระพรรษา" หรือ "สมเด็จพระพันวัสสา" มาจนสิ้นพระชนม์รัชกาลที่ ๓ ข้อนี้เป็นไปตามธรรมเนียมราชตระกูลในกรุงสยาม พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า
"ครั้นในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ท่านได้เจ้าฟ้าหญิง ซึ่งเป็นพระธิดาของสมเด็จพระเจ้าพี่นาง ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เป็นพระชายาแต่เดิมมา ดังเช่นกล่าวมาแล้วข้างต้น ครั้นเมื่อท่านเป็นเจ้าแผ่นดินขึ้น ก็ไม่ได้ตั้งแต่งยศศักดิ์อันใดอีก แต่คนทั้งปวงเข้าใจว่า ท่านเป็นพระมเหสีเรียกว่าสมเด็จพระพันพรรษา ๆ นี้คำเดียวกันกับพันปี เป็นคำให้พรสำหรับเรียกพระราชชนนีบ้าง พระมเหสีบ้าง ฤาบางทีจะเรียกเจ้าแผ่นดินเองบ้างดอกกระมัง ท่านมียศดังนี้ตลอดมา จนถึงสิ้นพระชนม์"
ในรัชกาลที่ ๓ คนทั่วไปจึงออกพระนามเจ้าฟ้าบุญรอดว่า "สมเด็จพระพันวัสสา" ตามพระอิสริยยศที่ทรงเป็นเสมือนพระอัครมเหสีในรัชกาลก่อน ในขณะที่ออกพระนามสมเด็จพระศรีสุลาลัยว่า "สมเด็จพระพันปีหลวง" ในฐานะที่ทรงเป็นพระราชชนนีของพระเจ้าแผ่นดิน
ประกาศใช้คำนำพระนามพระบรมวงศานุวงศ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็อธิบายไว้สอดคล้องกันว่า "...แลสมเด็จพระบรมราชชนนี ที่เรียกโดยมากว่าพระพันปีหลวง แลสมเด็จพระบรมอรรคชายา ฤๅพระบรมราชเทวี ที่เรียกโดยมากว่าสมเด็จพระพันพรรษาใหญ่แลน้อยนั้นก็มีตัวอย่างเก่าอยู่ต่างๆ ในคำคนเรียกแลหนังสือเขียน..."
ในรัชกาลที่ ๖ ทรงสถาปนาพระบรมราชนนีคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี โดยที่พระปรมาภิไธยที่จารึกไว้ในพระสุพรรณบัฏไม่ได้มีพระอิสรริยศ "พระพันปีหลวง" ต่อท้าย แต่ในเอกสารต่างๆ นิยมออกพระนามว่า "สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง"
ในรัชกาลที่ ๗ ทรงสถาปนา สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ขึ้นเป็น "สมเด็จพระพันวัสสา" มีพระนามจารึกตามพระสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า" ด้วยเหตุที่ว่า "...ได้ทรงเป็นประธานราชการฝ่ายในตั้งแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระชนนีพันปีหลวงเสด็จสวรรคตมาจนบัดนี้ เปนที่เคารพนับถือของพระบรมวงศานุวงศและคนทั้งหลายทุกชั้นบันดาศักดิ์ ทั้งทรงพระคุณแก่บ้านเมืองปรากฏเปนเอนกปริยาย ดังเช่นทรงอำนวยการสภากาชาดสยามเปนต้น ในส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าก็ได้ทรงประคับประคองโดยทรงพระเมตตากรุณามาเปนนิจตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ไวยมีพระคุณควรนับยิ่ง ทุกวันนี้ก็เปนที่ทรงเคารพนับถือเหมือนดังเช่นสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จจะเฉลิมพระเกียรติยศให้ใหญ่ยิ่ง เพื่อเปนที่ทรงปฏิบัติบูชาต่อไป"
ทั้งนี้พระอิสริยยศ "สมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง" ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ เป็นต้นมา เทียบเคียงกับ Queen Mother ของยุโรป หมายถึง ภรรยาม่ายของพระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน และเป็นพระราชมารดาของพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน แตกต่างจากในอดีตที่สามารถใช้กับพระราชนนีของพระเจ้าแผ่นดินได้ทุกพระองค์โดยไม่จำเพาะว่าต้องทรงเป็นพระมเหสีของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อน
ด้วยเหตุนี้ทำให้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีไม่ได้ทรงมีสถานะเป็น "สมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง" เนื่องจากพระสวามีไม่ได้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ จึงทรงมีสถานะเป็น Princess Mother เท่านั้นครับ
ส่วนการใช้คำว่า "พันปี" กับกษัตริย์หรือเจ้านายอื่นๆ นั้นพบในวรรณกรรมสมัยโบราณจำนวนมาก เช่น
คำให้การชาวกรุงเก่า ออกพระนามกษัตริย์กรุงศรีอยุทธยาพระองค์หนึ่งว่า "สมเด็จพระพันวษา" คือองค์เดียวกับพระพันวษาในขุนช้างขุนแผน
บทลครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑ เรียกท้าวหมันหยาว่า "พระพันปี"
จึงกลับเข้ามากราบทูล นเรนทร์สูรผู้ผ่านไอสวรรย์
ที่พระราชนัดดาอยู่นั้น จัดสรรเสร็จแล้วพระพันปี
นางสการะวาตีเรียกระเด่นมนตรีว่า "พระพันปี"
๏ พระเอยพระพันปี จะปรานีบ้างก็หาไม่
น้องยังประหวั่นพรั่นใจ สิ่งไรจงทรงพระเมตตา
บทละครเรื่องพระศรีเมือง นางสุวรรณเกสรเรียกท้าวพินทุทัตกษัตริย์เมืองยโสธร พระบิดาว่า "พระพันปี"
๏ โปรดเกศ พระบิตุรงค์ทรงเดชเป็นใหญ่
ลูกน้อยร้อนรนเป็นพ้นไป วันนี้ไม่เป็นสมประดี
ขอบังคมลาพระภูวไนย ออกไปเที่ยวเล่นในสวนศรี
ให้สบายคลายใจลูกน้อยนี้ ขอพระพันปีจงเมตตา ฯ
โสวัตกลอนสวด ตอนหนึ่งเรียกโสวัตที่เป็นตัวละครเอกว่า "พระพันปี" หรือ "พันปี" หลายครั้ง
๏ ชมแต่รูปน้อง
สิ่งนั้นอย่าต้อง น้องเลยนะพันปี
เขินขวยพระทัย ไม่รู้คดี
ได้โปรดปรานี ผันผ่อนก่อนรา
ตอนหนึ่ง พระเจ้าพรหมทัตเรียกโสวัตที่เป็นโอรสว่า "พันปี"
บิดาจึงตรัสไป เหตุอันใดพ่อจำนง
สบราชจะประสงค์ สิ่งอันใดนะพันปี
อีกตอนหนึ่งก็เรียกพระมารดาว่า "พันปี"
แรกพระเสด็จพ้น จากครรภ์พันปี
พระญาติภักดี พ้นที่คณนา
บทละครนอกเรื่องยุขัน เรียก ยุขันว่า "พระพันปี" หรือ "พันปี"
๏ พระเอยพระพันปี มาทำฉันนี้ก็เป็นได้
น้องเป็นแต่ข้าช่วงใช้ ภูวไนยจงทรงพระเมตตา
หรือ
พระองค์จะลงโทษทัณฑ์ หํ้าหั่นก็ม้วยเป็นผี
เป็นความสัจจังข้าทั้งนี้ พันปีจงทรงพระเมตตา ฯ
เรียกท้าวปะรังศรี กษัตริย์เมืองอุรังฆารว่า "พระพันปี"
๏ เมื่อนั้น จึ่งโฉมนวลนางบุษหรี
รับสั่งทรงธรรม์พระพันปี เทวีชื่นชมภิรมย์ใจ
นางจึ่งถวายบังคมลา ยกกรงสกุณาศรีใส
มาส่งให้สาวสรรกำนัลใน เสด็จไปปราสาทนางเทวี ฯ
ในหลักกาพย์ขับไม้พระรถ เมื่อพระรถได้ใช้นางพระพี่เลี้ยงเชิญนางเมรี พระพี่เลี้ยงเรียกนางเมรีว่า "พระพันปี"
นอกจากนี้ยังปรากฏในวรรณกรรมอื่นๆ จำนวนมาก จึงอนุมานได้ว่าคำว่า "พันปี" ของไทยในสมัยโบราณเป็นคำเรียกขานกษัตริย์รวมถึงพระราชวงศ์ชั้นสูง ซึ่งน่าจะได้อิทธิพลจากจีนตามที่กล่าวมาแล้ว
แต่เท่าที่ศึกษาหลักฐานต่างๆ แล้วพบว่า "สมเด็จพระพันปีหลวง" ใช้กับพระราชชนนีเท่านั้นครับ
เชียนซุ่ย เป็นคำถวายพระพรหวงโฮ่ว/ฮองเฮา (皇后) คือพระอัครมเหสี และหวงไท่โฮ่ว/ฮองไทเฮา (皇太后) คือพระอัครมเหสีของจักรพรรดิพระองค์ก่อน ซึ่งอาจไม่ได้เป็นพระราชชนนีของจักรพรรดิองค์ปัจจุบันก็ได้ ในขณะที่หวงตี้/ฮ่องเต้ หรือจักรพรรดิ (皇帝) จะถวายพระพรด้วยคำว่า ว่านซุ่ย (萬歲) แปลว่า "หมื่นปี"
คำว่าเชียนซุ่ยยังใช้เป็นคำถวายพระพรประมุขรัฐที่มีสถานะเป็น หวัง/อ๋อง (王) หรือราชา ดังที่พบในเกาหลีสมัยโชซอนที่เป็นประเทศราชของจีน จะถวายพระพรกษัตริย์ว่า ชอนเซ (천세; 千歲) คือ "พันปี" เช่นเดียวกัน
พบหลักฐานว่าไทยรับวัฒนธรรมนี้มาใช้ในราชสำนักตั้งแต่กรุงศรีอยุทธยาเป็นอย่างช้า โดยนำคำว่า "พระพันปี" หรือ "พระพันวรรษา" (แปลตรงตัวว่า 'พันปี') มาใช้เรียกขานกับทั้งกษัตริย์ พระอัครมเหสี และพระราชชนนี
คำว่า "สมเด็จพระพันปีหลวง" ใช้เรียกขานเป็นพระอิสริยยศของพระราชชนนีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุทธยา ต่างจากจีนตรงที่ในสมัยโบราณไม่ได้จำเพาะว่าพระราชชนนีต้องเป็นพระอัครมเหสีหรือสมเด็จพระบรมราชินีของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลก่อน เช่น
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงเป็นบุตรชายออกญาศรีธรรมาธิราช พระราชชนนีไม่ได้เป็นพระอัครมเหสี
"แลที่บ้านสมเด็จพระพันปีหลวงนั้น พระเจ้าอยู่หัวให้สถาปนาสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ มีพระระเบียงรอบแลมุมพระระเบียงนั้น กระทำเป็นทรงเมรุทิพเมรุรายอันรจนาแลกอบด้วย พระอุโบสถพระวิหารการเปรียญ แลสร้างกุฎถวายพระสงฆ์เป็นอันมากเสร็จแล้ว ให้นามชื่อวัดไชยวัฒนาราม" - พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)
สมเด็จพระเจ้าเสือ พระราชชนนีบังเกิดเกล้าไม่ได้เป็นพระอัครมเหสีของสมเด็จพระเพทราชา
"สมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระราชดำริถึงภูมิชาติแห่งพระองค์ ซึ่งสมเด็จพระพันปีหลวงตรัสบอกไว้แต่ยังทรงพระเยาว์อยู่นั้นว่า เมื่อศักราช ๑๐๒๔ ปีขาล จัตวาศก แต่ครั้งแผ่นดินสมเด็จบรมบพิตรพระนารายณ์เป็นเจ้า เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปนมัสการพระพุทธประติมากรพระชินราช พระชินศรี ณ เมืองพิษณุโลก ทรงพระกรุณาให้มีการมหรสพ ถวายพุทธสมโภชคำรบ ๓ วัน ครั้งนั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ในพระบรมโกศ พาเอาสมเด็จพระพันปีหลวงทรงพระครรภ์แก่ จึ่งประสูติพระองค์ที่ตำบลบ้านโพธิ์ประทับช้าง แขวงเมืองพิจิตร ในเดือนอ้าย ปีขาลศกนั้น แล้วจึ่งเอารกที่สหชาตินั้นใส่ลงในผอบเงิน เอาไปฝังไว้ที่หว่างต้นโพธิ์ประทับช้างและต้นอุทุมพรต่อกันนั้น เหตุดังนั้นจึ่งได้พระนามกรชื่อมะเดื่อ" - พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม
พระเจ้ากรุงธนบุรี พระราชชนนีทรงเป็นสามัญชนมาก่อน
"ในปีนั้นทรงพระกรุณาตั้งสมเด็จพระพันปีหลวง, เปนกรมพระเทพามาตย์ตามโบราณราชประเพณี" - พระราชพงษาวดารกรุงเก่า (ฉบับหมอบรัดเล)
"ในทันใดนั้นหลวงมหาแพทย์มากราบทูลว่า สมเด็จพระพันปีหลวงนิพพานในวันอังคาร ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๔ จุลศักราช ๑๑๓๖ ปีมะเมีย ฉศก เพลา ๒ ยาม ๘บาท" - พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระราชชนนีคือสมเด็จพระศรีสุลาลัย (เจ้าจอมมารดาเรียม) เป็นเพียงพระสนมในรัชกาลที่ ๒ ไม่ได้ทรงเป็นพระอัครมเหสี
"ครั้งตั้งพระราชาคณะแล้ว ก็แต่งการพิธีฉลองพระเดชพระคุณสมเด็จพระพันปีหลวง สถาปนาตั้งเป็นกรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย*" อีกตอนหนึ่งระบุว่า "ในปีระกานั้น สมเด็จพระพันปีหลวงซึ่งเป็นกรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย ทรงพระประชวรไข้พิษสวรรคตเมื่อ ณ วันอังคาร เดือน ๑๑ แรม ๓ ค่ำ เวลา ๓ ยาม" - พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี
(*จดหมายเหตุในสมัยนั้นออกพระนามว่า 'สมเด็จกรมพระศรีสุลาลัย' หรือ 'สมเด็จพระศรีสุลาลัย' พระอิสริยยศ 'กรมสมเด็จพระ' เพิ่งมีในรัชกาลที่ ๔)
สำหรับพระอิสริยยศของพระอัครมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน ในสมัยโบราณนิยมออกพระนามว่า "พระพันวรรษา" "พระพันวัสสา" หรือ "พระพันวสา" ฯลฯ เช่น
เอกสารภูมิสถานกรุงศรีอยุธยากล่าวถึง "มีปตูเข้าไปพระตำหนักตึกใหญ่ ผนังนอกทาแดง ชื่อพระตำหนักโคหาสวรรค์ พระตำหนักหลังนี้เป็นของพระพันวะษา ซึ่งเป็นพระอัคมเหษรีของสมเด็จพระนารายณแต่ก่อน"
บาญชีพระนามเจ้านายในเอกสารคำให้การชาวกรุงเก่า ที่เรียบเรียงจากคำให้การเชลยกรุงเก่าที่ถูกกวาดต้อนไปพม่า ออกพระนามพระอัครมเหสีของสมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี (พระเจ้าเสือ) ว่า "สมเด็จพระพันวสา" เป็นพระราชชนนีของ สมเด็จพระเจ้าท้ายสระและสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
พระราชพงศาวารกรุงศรีอยุทธยาออกพระนามพระมเหสีของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทั้งสองพระองค์ว่า "พระพันวษาใหญ่" และ "พระพันวษาน้อย" ตามลำดับดังนี้
"แลพระพันวษาใหญ่เป็นกรมหลวงอภัยนุชิต พระพันวษาน้อยให้เป็นกรมหลวงพิพิธมนตรี" - พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)
"อันอัครมเหสีขวานั้นพระนามเรียกว่า พระพันวสาใหญ่ อันเจ้ากรมนั้นเรียกว่า กรมหลวงอภัยนุชิต อันพระราชมเหสีนั้นพระนาม พระพันวสาน้อย อันเจ้ากรมนั้นชื่อกรมหลวงพิพิทธมนตรี" - ความแทรก "คำให้การ" เกี่ยวกับสมัยพระนครศรีอยุธยาตอนปลาย
ในสมัยรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยไม่ได้ทรงสถาปนาพระอัครมเหสีอย่างเป็นทางการ แต่เป็นที่รับรู้โดยทั่วไปว่าทรงยกย่องสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี (เจ้าฟ้าบุญรอด) เป็นใหญ่เหนือพระภรรยาเจ้าทั้งปวง ปรากฏในพระราชพงศาวดารออกพระนามว่า "สมเด็จพระพรรษา" หรือ "สมเด็จพระพันวัสสา" มาจนสิ้นพระชนม์รัชกาลที่ ๓ ข้อนี้เป็นไปตามธรรมเนียมราชตระกูลในกรุงสยาม พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า
"ครั้นในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ท่านได้เจ้าฟ้าหญิง ซึ่งเป็นพระธิดาของสมเด็จพระเจ้าพี่นาง ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เป็นพระชายาแต่เดิมมา ดังเช่นกล่าวมาแล้วข้างต้น ครั้นเมื่อท่านเป็นเจ้าแผ่นดินขึ้น ก็ไม่ได้ตั้งแต่งยศศักดิ์อันใดอีก แต่คนทั้งปวงเข้าใจว่า ท่านเป็นพระมเหสีเรียกว่าสมเด็จพระพันพรรษา ๆ นี้คำเดียวกันกับพันปี เป็นคำให้พรสำหรับเรียกพระราชชนนีบ้าง พระมเหสีบ้าง ฤาบางทีจะเรียกเจ้าแผ่นดินเองบ้างดอกกระมัง ท่านมียศดังนี้ตลอดมา จนถึงสิ้นพระชนม์"
ในรัชกาลที่ ๓ คนทั่วไปจึงออกพระนามเจ้าฟ้าบุญรอดว่า "สมเด็จพระพันวัสสา" ตามพระอิสริยยศที่ทรงเป็นเสมือนพระอัครมเหสีในรัชกาลก่อน ในขณะที่ออกพระนามสมเด็จพระศรีสุลาลัยว่า "สมเด็จพระพันปีหลวง" ในฐานะที่ทรงเป็นพระราชชนนีของพระเจ้าแผ่นดิน
ประกาศใช้คำนำพระนามพระบรมวงศานุวงศ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็อธิบายไว้สอดคล้องกันว่า "...แลสมเด็จพระบรมราชชนนี ที่เรียกโดยมากว่าพระพันปีหลวง แลสมเด็จพระบรมอรรคชายา ฤๅพระบรมราชเทวี ที่เรียกโดยมากว่าสมเด็จพระพันพรรษาใหญ่แลน้อยนั้นก็มีตัวอย่างเก่าอยู่ต่างๆ ในคำคนเรียกแลหนังสือเขียน..."
ในรัชกาลที่ ๖ ทรงสถาปนาพระบรมราชนนีคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี โดยที่พระปรมาภิไธยที่จารึกไว้ในพระสุพรรณบัฏไม่ได้มีพระอิสรริยศ "พระพันปีหลวง" ต่อท้าย แต่ในเอกสารต่างๆ นิยมออกพระนามว่า "สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง"
ในรัชกาลที่ ๗ ทรงสถาปนา สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ขึ้นเป็น "สมเด็จพระพันวัสสา" มีพระนามจารึกตามพระสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า" ด้วยเหตุที่ว่า "...ได้ทรงเป็นประธานราชการฝ่ายในตั้งแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระชนนีพันปีหลวงเสด็จสวรรคตมาจนบัดนี้ เปนที่เคารพนับถือของพระบรมวงศานุวงศและคนทั้งหลายทุกชั้นบันดาศักดิ์ ทั้งทรงพระคุณแก่บ้านเมืองปรากฏเปนเอนกปริยาย ดังเช่นทรงอำนวยการสภากาชาดสยามเปนต้น ในส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าก็ได้ทรงประคับประคองโดยทรงพระเมตตากรุณามาเปนนิจตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ไวยมีพระคุณควรนับยิ่ง ทุกวันนี้ก็เปนที่ทรงเคารพนับถือเหมือนดังเช่นสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จจะเฉลิมพระเกียรติยศให้ใหญ่ยิ่ง เพื่อเปนที่ทรงปฏิบัติบูชาต่อไป"
ทั้งนี้พระอิสริยยศ "สมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง" ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ เป็นต้นมา เทียบเคียงกับ Queen Mother ของยุโรป หมายถึง ภรรยาม่ายของพระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน และเป็นพระราชมารดาของพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน แตกต่างจากในอดีตที่สามารถใช้กับพระราชนนีของพระเจ้าแผ่นดินได้ทุกพระองค์โดยไม่จำเพาะว่าต้องทรงเป็นพระมเหสีของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อน
ด้วยเหตุนี้ทำให้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีไม่ได้ทรงมีสถานะเป็น "สมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง" เนื่องจากพระสวามีไม่ได้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ จึงทรงมีสถานะเป็น Princess Mother เท่านั้นครับ
ส่วนการใช้คำว่า "พันปี" กับกษัตริย์หรือเจ้านายอื่นๆ นั้นพบในวรรณกรรมสมัยโบราณจำนวนมาก เช่น
คำให้การชาวกรุงเก่า ออกพระนามกษัตริย์กรุงศรีอยุทธยาพระองค์หนึ่งว่า "สมเด็จพระพันวษา" คือองค์เดียวกับพระพันวษาในขุนช้างขุนแผน
บทลครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑ เรียกท้าวหมันหยาว่า "พระพันปี"
จึงกลับเข้ามากราบทูล นเรนทร์สูรผู้ผ่านไอสวรรย์
ที่พระราชนัดดาอยู่นั้น จัดสรรเสร็จแล้วพระพันปี
นางสการะวาตีเรียกระเด่นมนตรีว่า "พระพันปี"
๏ พระเอยพระพันปี จะปรานีบ้างก็หาไม่
น้องยังประหวั่นพรั่นใจ สิ่งไรจงทรงพระเมตตา
บทละครเรื่องพระศรีเมือง นางสุวรรณเกสรเรียกท้าวพินทุทัตกษัตริย์เมืองยโสธร พระบิดาว่า "พระพันปี"
๏ โปรดเกศ พระบิตุรงค์ทรงเดชเป็นใหญ่
ลูกน้อยร้อนรนเป็นพ้นไป วันนี้ไม่เป็นสมประดี
ขอบังคมลาพระภูวไนย ออกไปเที่ยวเล่นในสวนศรี
ให้สบายคลายใจลูกน้อยนี้ ขอพระพันปีจงเมตตา ฯ
โสวัตกลอนสวด ตอนหนึ่งเรียกโสวัตที่เป็นตัวละครเอกว่า "พระพันปี" หรือ "พันปี" หลายครั้ง
๏ ชมแต่รูปน้อง
สิ่งนั้นอย่าต้อง น้องเลยนะพันปี
เขินขวยพระทัย ไม่รู้คดี
ได้โปรดปรานี ผันผ่อนก่อนรา
ตอนหนึ่ง พระเจ้าพรหมทัตเรียกโสวัตที่เป็นโอรสว่า "พันปี"
บิดาจึงตรัสไป เหตุอันใดพ่อจำนง
สบราชจะประสงค์ สิ่งอันใดนะพันปี
อีกตอนหนึ่งก็เรียกพระมารดาว่า "พันปี"
แรกพระเสด็จพ้น จากครรภ์พันปี
พระญาติภักดี พ้นที่คณนา
บทละครนอกเรื่องยุขัน เรียก ยุขันว่า "พระพันปี" หรือ "พันปี"
๏ พระเอยพระพันปี มาทำฉันนี้ก็เป็นได้
น้องเป็นแต่ข้าช่วงใช้ ภูวไนยจงทรงพระเมตตา
หรือ
พระองค์จะลงโทษทัณฑ์ หํ้าหั่นก็ม้วยเป็นผี
เป็นความสัจจังข้าทั้งนี้ พันปีจงทรงพระเมตตา ฯ
เรียกท้าวปะรังศรี กษัตริย์เมืองอุรังฆารว่า "พระพันปี"
๏ เมื่อนั้น จึ่งโฉมนวลนางบุษหรี
รับสั่งทรงธรรม์พระพันปี เทวีชื่นชมภิรมย์ใจ
นางจึ่งถวายบังคมลา ยกกรงสกุณาศรีใส
มาส่งให้สาวสรรกำนัลใน เสด็จไปปราสาทนางเทวี ฯ
ในหลักกาพย์ขับไม้พระรถ เมื่อพระรถได้ใช้นางพระพี่เลี้ยงเชิญนางเมรี พระพี่เลี้ยงเรียกนางเมรีว่า "พระพันปี"
นอกจากนี้ยังปรากฏในวรรณกรรมอื่นๆ จำนวนมาก จึงอนุมานได้ว่าคำว่า "พันปี" ของไทยในสมัยโบราณเป็นคำเรียกขานกษัตริย์รวมถึงพระราชวงศ์ชั้นสูง ซึ่งน่าจะได้อิทธิพลจากจีนตามที่กล่าวมาแล้ว
แต่เท่าที่ศึกษาหลักฐานต่างๆ แล้วพบว่า "สมเด็จพระพันปีหลวง" ใช้กับพระราชชนนีเท่านั้นครับ
แสดงความคิดเห็น
ที่มาของพระพันปีหลวงมาจากไหนครับ ?
ทำไมต้องตั้งพระนามสร้อยท้ายว่าพระพันปีหลวงครับ
หรือเป็นการบ่งบอกถึงความอาวุโสในฐานะพระบรมกุลเชษฐ์ของราชวงศ์ไปในตัวครับ ?