คริสตสัมพันธ์ ระหว่าง คาทอลิก กับโปรเตสแตนต์ โดย โปรดปราน ( พีพี )
“ดูเถิด ...ซึ่งพี่น้องอาศัยอยู่ด้วยกัน เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ก็เป็นการดีและน่าชื่นชมมากสักเท่าใด” (สดุดี ๑๓๓.๑ ) และ พระเยซูเจ้าตรัสว่า“บุคคลผู้ใดสร้างสันติ ผู้นั้นเป็นสุขเพราะว่าพระเจ้าทรงเรียกเขาว่าบุตร” ( มัทธิว ๕.๙ )
ดิฉันเกิดในครอบครัวที่นับถือพุทธ เราอยู่ร่วมกับชุมชนอิสลาม รับการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียนวัดซึ่งมีทั้งเด็กพุทธและมุสลิมเรียนหนังสือร่วมกัน เราไม่เคยทะเลาะกันเพราะความเชื่อหรือหลักของศาสนา ชาวพุทธสามารถไปร่วมกินดื่มบ้านเพื่อนมุสลิมได้เสมอ แต่ชาวมุสลิมรับประทานอาหารบ้านคนพุทธไม่ได้เพราะว่าเรากินหมู ตอนนั้น ดิฉันคิดว่าในโลกนี้มีแค่ พุทธ กับอิสลาม ดีใจที่เกิดในครอบครัวชาวพุทธ จึงไม่ต้องถือศีลอด ไม่มีข้อห้ามเรื่องอาหาร และข้อปฏิบัติอีกมากมาย
หลังจากจบจากมหาวิทยาลัย ดิฉันได้รับเชื่อเป็นคริสต์ โดยไม่ได้เลือกนิกาย หรือคณะเอง เชื่อว่าพระเจ้าทรงวางดิฉันให้อยู่ในกรอบของนิกายโปรเตสแตนต์ คณะ เพรสไบทีเรียน แล้วมารับทราบภายหลังว่า คริสต์ ถูกแยก ออกเป็น๓ นิกายใหญ่ๆ และมีกลุ่มอิสระอีกมากมาย นิกายของคริสต์ มี คาทอลิก ออร์เทอดอกซ์ และ โปรเตสแตนต์ แล้วทั้งสามนิกาย ไม่กินเส้นกันอีก บ่อยครั้ง คริสตชน ต่างนิกายทะเลาะวิวาทกันอย่างเปิดเผย จนเป็นที่ติฉินนินทาแก่ศาสนิกชนอื่นๆ ส่วนพวกที่ไม่ทะเลาะกัน ก็ ขุ่นเคือง หมางเมินกัน ไม่ยอมวิสาสะกัน ทั้งนี้เพราะ ต่างฝ่ายต่างเชื่อว่าความเชื่อความศรัทธาของตนเองเท่านั้นถูกต้อง ส่วน อีกสองนิกายนั้นความเชื่อผิดและคงจะไม่ได้รับความรอด ทั้งๆที่ ทั้งสามนิกาย ก็เชื่อจุดหลักเกี่ยวกับพระเจ้า คือเรื่อง “พระตรีเอกภาพ”
ทำให้ย้อนคิดว่า ตอนที่ดิฉันนับถือพุทธ อยู่ท่ามกลางชุมชนอิสลาม เราไม่เคยทะเลาะกัน แล้วยังไปมาหาสู่ เอื้อเฟื้อต่อกันเสมอ แต่ทำไมเมื่อเป็นคริสต์ จึงมีความบาดหมาง ระหว่างนิกาย หรือคณะ แล้วที่ว่าคริสต์เป็นศาสนาแห่งความรักและให้อภัยนั้น จริงหรือ เมื่อกลับไปหาพระเจ้า ดิฉันจะตอบคำถามพระองค์อย่างไร ถ้าพระบิดาตรัสถามว่า “ทำไมคริสตชนทุกๆนิกายเป็นพี่-น้องกันจึงไม่คืนดีกัน ตอนมีชีวิตในโลกนี้ แล้วสิ่งที่ที่พวกเจ้าพล่ามสอนกันน่ะ ได้นำไปใช้ในชีวิตกันบ้างไหม ....ที่พวกเจ้ารับคำบัญชาของเราประกาศสั่งสอน ข่าวดี เรื่องความรักที่พระเยซูคริสต์ได้สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่พวกเจ้าให้รอด ข่าวดีนี้เป็นข่าวแห่งการคืนดีระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า โดยให้พระเยซูคริสต์ เป็นคนกลาง และเป็นข่าวแห่งการคืนดีของมนุษย์เองด้วย...พวกเจ้าทำการแพร่ธรรมนำคนมากลับใจใหม่เป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้า แต่พวกเจ้าเองเป็นคนหน้าซื่อใจคดไหม หน้าไหว้หลังหลอกไหม ฯลฯ” คำถามลักษณะนี้ติดค้างอยู่ในจิตใจ ของดิฉันเสมอ
เบื้องหลัง การพัฒนาของเอกสัมพันธ์
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 คริสตจักรของโปรเตสแตนต์ผ่านพ้นยุคที่ดุดัน ไม่ยอมรอมชอมกับใคร จากท่าทีของคณะต่างๆที่ยึดมั่นว่าตัวเองเท่านั้นเป็นฝ่ายถูก และปิดกั้นอยู่เฉพาะกลุ่มของตัวเอง จึงมีการรวมตัวของคริสตชนต่างคณะเป็นขบวนการเพื่อเอกภาพ ( Ecumenical Movement ) และมีศูนย์กลางระดับนานาชาติชื่อว่า “เวิร์ด เคาน์ซิล ออฟเชิร์ช ( World Council of Churches ) เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1948 สำนักงานใหญ่อยู่ที่เจนีวา มีสมาชิกโปรเตสแตนต์ คณะต่างๆ และนิกายออร์ทอดอกซ์ตะวันออก ในขบวนการเพื่อเอกภาพ เป็นที่ประทับใจเพราะเป็นอุดมคติของหนุ่มสาวทุกคณะนิกายที่รักเอกภาพ จึงมาที่ศูนย์รวม “เทเซ่” (Taize) ซึ่งเป็นชื่อชุมชน/อารามในฝรั่งเศส ผู้ก่อตั้งเป็นผู้รับใช้พระเจ้าของโปรเตสแตนต์ อาราม เทเซ่ ดึงดูดคริสตชนมาร่วมกันภาวนาเพื่อเอกภาพ หรือความเป็นหนึ่งเดียวในพระกายของพระเยซูคริสต์ กิจกรรม หรือพิธีกรรมที่จัดไม่เน้น นิกายหรือคณะของนิกาย
คำนิยามของ Ecumenism มาจากภาษากรีก OIKOUMENE_-- oikos + mene ( household + manage ) โลกทั้งใบคือบ้านของพระเจ้า มาดูด้านพระคัมภีร์ ในหนังสือ ยอห์น ๑๗.๒๑ “เพื่อเขาทั้งหลายจะได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน” เหมือนพระเยซูคริสต์ทรงเป็นหนึ่งเดียวกับพระบิดา คำอธิษฐานนี้ ทำให้เข้าใจน้ำพระทัยของพระเจ้า และการเชื่อฟังของพระคริสต์ พระบิดา ทรงเป็นหนึ่งเดียวกับพระบุตร เหมือนที่อัครทูตเปาโลได้อธิษฐานระหว่างท่านเองกับคริสตจักร (พระศาสนจักร) คือ มีความคิดอย่างเดียวกัน มีความรักอย่างเดียวกัน มีใจรู้สึกและคิดพร้อมเพรียงกัน” ( ฟป.๒.๒ ) ในเมื่อคริสตชนมีหลากกลุ่มคณะหรือนิกาย ด้าน ศาสนศาสตร์ (theology )ก็ยังมุ่งปกป้องความเชื่อ แต่ต้องปรับความสมดุลระหว่างนิกายหรือคณะ ดังนั้น ก่อนจะพูดว่าใครผิดใครถูกขอให้เรามาดูหลักข้อเชื่อที่เรายึดมั่นร่วมกันดังนี้
๑ เชื่อในเรื่องพระตรีเอกภาพ(คาทอลิก) หรือพระตรีเอกานุภาพ (โปรเตสแตนต์) คือ
-พระบิดา คือ พระผู้สร้าง -พระบุตร คือ พระผู้ไถ่-พระจิต(คาทอลิก)หรือพระวิญญาณบริสุทธิ์ (โปรเตสแตนต์) คือ ผู้สถิตและช่วยมนุษย์
๒ เชื่อในสากลคริสตจักร( พระศาสนจักร)บริสุทธิ์ซึ่งมีพระเยซูคริสต์เป็นประมุข และเชื่อในการร่วมสมานฉันท์ระหว่างธรรมิกชน( คริสตชน )
๓ เชื่อว่ามีวันพิพากษา มนุษย์ทุกคนทั้งผู้ที่มีชีวิตอยู่และผู้ที่ตายไปแล้วต้องกลับมารับการพิพากษาพร้อมกัน
๔ เชื่อว่ามีสวรรค์นิรันดร
๕ ยอมรับหลักข้อเชื่อสากลร่วมกัน ๓ บท คือ หลักข้อเชื่อของอัครสาวก (Apostles’ Creed )
หลักข้อเชื่อไนเซีย ( Nicene Creed ) และหลักข้อเชื่ออะทาเนเซียน (Athanasian Creed )
นอกจากนี้ก็ยอมรับหลักข้อเชื่อสากลร่วมกัน ๓ บท คือ หลักข้อเชื่อของอัครสาวก
(Apostles’Creed ) หลักข้อเชื่อไนเซีย ( Nicene Creed ) และหลักข้อเชื่ออะทาเนเซียน
(Athanasian Creed )
คริสตสัมพันธ์ ระหว่าง คาทอลิก กับโปรเตสแตนต์
“ดูเถิด ...ซึ่งพี่น้องอาศัยอยู่ด้วยกัน เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ก็เป็นการดีและน่าชื่นชมมากสักเท่าใด” (สดุดี ๑๓๓.๑ ) และ พระเยซูเจ้าตรัสว่า“บุคคลผู้ใดสร้างสันติ ผู้นั้นเป็นสุขเพราะว่าพระเจ้าทรงเรียกเขาว่าบุตร” ( มัทธิว ๕.๙ )
ดิฉันเกิดในครอบครัวที่นับถือพุทธ เราอยู่ร่วมกับชุมชนอิสลาม รับการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียนวัดซึ่งมีทั้งเด็กพุทธและมุสลิมเรียนหนังสือร่วมกัน เราไม่เคยทะเลาะกันเพราะความเชื่อหรือหลักของศาสนา ชาวพุทธสามารถไปร่วมกินดื่มบ้านเพื่อนมุสลิมได้เสมอ แต่ชาวมุสลิมรับประทานอาหารบ้านคนพุทธไม่ได้เพราะว่าเรากินหมู ตอนนั้น ดิฉันคิดว่าในโลกนี้มีแค่ พุทธ กับอิสลาม ดีใจที่เกิดในครอบครัวชาวพุทธ จึงไม่ต้องถือศีลอด ไม่มีข้อห้ามเรื่องอาหาร และข้อปฏิบัติอีกมากมาย
หลังจากจบจากมหาวิทยาลัย ดิฉันได้รับเชื่อเป็นคริสต์ โดยไม่ได้เลือกนิกาย หรือคณะเอง เชื่อว่าพระเจ้าทรงวางดิฉันให้อยู่ในกรอบของนิกายโปรเตสแตนต์ คณะ เพรสไบทีเรียน แล้วมารับทราบภายหลังว่า คริสต์ ถูกแยก ออกเป็น๓ นิกายใหญ่ๆ และมีกลุ่มอิสระอีกมากมาย นิกายของคริสต์ มี คาทอลิก ออร์เทอดอกซ์ และ โปรเตสแตนต์ แล้วทั้งสามนิกาย ไม่กินเส้นกันอีก บ่อยครั้ง คริสตชน ต่างนิกายทะเลาะวิวาทกันอย่างเปิดเผย จนเป็นที่ติฉินนินทาแก่ศาสนิกชนอื่นๆ ส่วนพวกที่ไม่ทะเลาะกัน ก็ ขุ่นเคือง หมางเมินกัน ไม่ยอมวิสาสะกัน ทั้งนี้เพราะ ต่างฝ่ายต่างเชื่อว่าความเชื่อความศรัทธาของตนเองเท่านั้นถูกต้อง ส่วน อีกสองนิกายนั้นความเชื่อผิดและคงจะไม่ได้รับความรอด ทั้งๆที่ ทั้งสามนิกาย ก็เชื่อจุดหลักเกี่ยวกับพระเจ้า คือเรื่อง “พระตรีเอกภาพ”
ทำให้ย้อนคิดว่า ตอนที่ดิฉันนับถือพุทธ อยู่ท่ามกลางชุมชนอิสลาม เราไม่เคยทะเลาะกัน แล้วยังไปมาหาสู่ เอื้อเฟื้อต่อกันเสมอ แต่ทำไมเมื่อเป็นคริสต์ จึงมีความบาดหมาง ระหว่างนิกาย หรือคณะ แล้วที่ว่าคริสต์เป็นศาสนาแห่งความรักและให้อภัยนั้น จริงหรือ เมื่อกลับไปหาพระเจ้า ดิฉันจะตอบคำถามพระองค์อย่างไร ถ้าพระบิดาตรัสถามว่า “ทำไมคริสตชนทุกๆนิกายเป็นพี่-น้องกันจึงไม่คืนดีกัน ตอนมีชีวิตในโลกนี้ แล้วสิ่งที่ที่พวกเจ้าพล่ามสอนกันน่ะ ได้นำไปใช้ในชีวิตกันบ้างไหม ....ที่พวกเจ้ารับคำบัญชาของเราประกาศสั่งสอน ข่าวดี เรื่องความรักที่พระเยซูคริสต์ได้สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่พวกเจ้าให้รอด ข่าวดีนี้เป็นข่าวแห่งการคืนดีระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า โดยให้พระเยซูคริสต์ เป็นคนกลาง และเป็นข่าวแห่งการคืนดีของมนุษย์เองด้วย...พวกเจ้าทำการแพร่ธรรมนำคนมากลับใจใหม่เป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้า แต่พวกเจ้าเองเป็นคนหน้าซื่อใจคดไหม หน้าไหว้หลังหลอกไหม ฯลฯ” คำถามลักษณะนี้ติดค้างอยู่ในจิตใจ ของดิฉันเสมอ
เบื้องหลัง การพัฒนาของเอกสัมพันธ์
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 คริสตจักรของโปรเตสแตนต์ผ่านพ้นยุคที่ดุดัน ไม่ยอมรอมชอมกับใคร จากท่าทีของคณะต่างๆที่ยึดมั่นว่าตัวเองเท่านั้นเป็นฝ่ายถูก และปิดกั้นอยู่เฉพาะกลุ่มของตัวเอง จึงมีการรวมตัวของคริสตชนต่างคณะเป็นขบวนการเพื่อเอกภาพ ( Ecumenical Movement ) และมีศูนย์กลางระดับนานาชาติชื่อว่า “เวิร์ด เคาน์ซิล ออฟเชิร์ช ( World Council of Churches ) เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1948 สำนักงานใหญ่อยู่ที่เจนีวา มีสมาชิกโปรเตสแตนต์ คณะต่างๆ และนิกายออร์ทอดอกซ์ตะวันออก ในขบวนการเพื่อเอกภาพ เป็นที่ประทับใจเพราะเป็นอุดมคติของหนุ่มสาวทุกคณะนิกายที่รักเอกภาพ จึงมาที่ศูนย์รวม “เทเซ่” (Taize) ซึ่งเป็นชื่อชุมชน/อารามในฝรั่งเศส ผู้ก่อตั้งเป็นผู้รับใช้พระเจ้าของโปรเตสแตนต์ อาราม เทเซ่ ดึงดูดคริสตชนมาร่วมกันภาวนาเพื่อเอกภาพ หรือความเป็นหนึ่งเดียวในพระกายของพระเยซูคริสต์ กิจกรรม หรือพิธีกรรมที่จัดไม่เน้น นิกายหรือคณะของนิกาย
คำนิยามของ Ecumenism มาจากภาษากรีก OIKOUMENE_-- oikos + mene ( household + manage ) โลกทั้งใบคือบ้านของพระเจ้า มาดูด้านพระคัมภีร์ ในหนังสือ ยอห์น ๑๗.๒๑ “เพื่อเขาทั้งหลายจะได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน” เหมือนพระเยซูคริสต์ทรงเป็นหนึ่งเดียวกับพระบิดา คำอธิษฐานนี้ ทำให้เข้าใจน้ำพระทัยของพระเจ้า และการเชื่อฟังของพระคริสต์ พระบิดา ทรงเป็นหนึ่งเดียวกับพระบุตร เหมือนที่อัครทูตเปาโลได้อธิษฐานระหว่างท่านเองกับคริสตจักร (พระศาสนจักร) คือ มีความคิดอย่างเดียวกัน มีความรักอย่างเดียวกัน มีใจรู้สึกและคิดพร้อมเพรียงกัน” ( ฟป.๒.๒ ) ในเมื่อคริสตชนมีหลากกลุ่มคณะหรือนิกาย ด้าน ศาสนศาสตร์ (theology )ก็ยังมุ่งปกป้องความเชื่อ แต่ต้องปรับความสมดุลระหว่างนิกายหรือคณะ ดังนั้น ก่อนจะพูดว่าใครผิดใครถูกขอให้เรามาดูหลักข้อเชื่อที่เรายึดมั่นร่วมกันดังนี้
๑ เชื่อในเรื่องพระตรีเอกภาพ(คาทอลิก) หรือพระตรีเอกานุภาพ (โปรเตสแตนต์) คือ
-พระบิดา คือ พระผู้สร้าง -พระบุตร คือ พระผู้ไถ่-พระจิต(คาทอลิก)หรือพระวิญญาณบริสุทธิ์ (โปรเตสแตนต์) คือ ผู้สถิตและช่วยมนุษย์
๒ เชื่อในสากลคริสตจักร( พระศาสนจักร)บริสุทธิ์ซึ่งมีพระเยซูคริสต์เป็นประมุข และเชื่อในการร่วมสมานฉันท์ระหว่างธรรมิกชน( คริสตชน )
๓ เชื่อว่ามีวันพิพากษา มนุษย์ทุกคนทั้งผู้ที่มีชีวิตอยู่และผู้ที่ตายไปแล้วต้องกลับมารับการพิพากษาพร้อมกัน
๔ เชื่อว่ามีสวรรค์นิรันดร
๕ ยอมรับหลักข้อเชื่อสากลร่วมกัน ๓ บท คือ หลักข้อเชื่อของอัครสาวก (Apostles’ Creed )
หลักข้อเชื่อไนเซีย ( Nicene Creed ) และหลักข้อเชื่ออะทาเนเซียน (Athanasian Creed )
นอกจากนี้ก็ยอมรับหลักข้อเชื่อสากลร่วมกัน ๓ บท คือ หลักข้อเชื่อของอัครสาวก
(Apostles’Creed ) หลักข้อเชื่อไนเซีย ( Nicene Creed ) และหลักข้อเชื่ออะทาเนเซียน
(Athanasian Creed )