เรื่องของเรื่องมันเกิดมาจากการที่เราเจอค่าไฟแพง และเราจะไม่ยอมโดนการไฟฟ้าแกงอีกต่อไป เราจึงอยากลองคำนวณค่าไฟฟ้าดู ว่ามันจะเกินจริงหรือไม่ แล้วเราจะคำนวณได้ยังไงบ้าง เดี๋ยวไปดูกัน
แต่เราต้องรู้ก่อน ว่าทำไมค่าไฟถึงแพง ก็เพราะว่า การไฟฟ้ามีการคิดคำนวณ "ค่าไฟแบบอัตราก้าวหน้า" หากใช้เยอะก็จ่ายเยอะ โดยมีตัวแปรสำคัญก็คือ "หน่วยไฟฟ้าที่ใช้" ซึ่งจะมีการคิดค่าไฟเป็นขั้นบันไดโดยแต่ละขั้นก็มีราคาที่แตกต่างกัน หากใช้ไฟฟ้ามากขึ้นก็จะถูกนำไปคิดราคาในช่วงหน่วยไฟฟ้าที่สูงขึ้น ค่าไฟจึงแพงแบบก้าวกระโดด บวกกับสภาพอากาศในประเทศไทยที่ร้อนขึ้น ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าบางอย่างทำงานหนักและกินไฟมากขึ้นตามไปด้วย เช่น แอร์ ตู้เย็น ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีตัวคอมเพรสเซอร์ในการทำงานจะกินไฟอยู่แล้วด้วย สังเกตได้ว่าช่วงหน้าร้อนมิเตอร์ไฟฟ้าจะหมุนเร็วกว่าปกติมาก รวมถึงการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มากเกินพอดี เช่น เปิดตู้เย็นบ่อย ๆ ทั้งวัน, ยัดของใส่ตู้เย็นเยอะเกินไป, เปิดแอร์ทั้งวันทั้งคืน เหล่านี้ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้ากินพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น เป็นต้น
ทีนี้ เรามารู้สูตรคำนวณค่าไฟกันบ้าง ซึ่งเราจะมีวิธีการคำนวณ ดังนี้
ค่าไฟฟ้าฐาน = จำนวนยูนิต X อัตราค่ากระแสไฟฟ้าต่อหน่วย
ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่าไฟฟ้าผันแปร (ft) + ภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat) =ค่าไฟฟ้า
โดยในสูตรคำนวณนี้ จะประกอบไปด้วย
ค่าไฟฟ้าฐาน คิดแบบอัตราก้าวหน้า ยิ่งใช้ไฟฟ้ามากยิ่งต้องจ่ายแพงขึ้น ดังนี้
· 1-15 หน่วย = 2.34 บาท/หน่วย
· 16-25 หน่วย = 2.98 บาท/หน่วย
· 26-35 หน่วย = 3.24 บาท/หน่วย
· 36-100 หน่วย = 3.62 บาท/หน่วย
· 101-150 หน่วย = 3.71 บาท/หน่วย
· 151-400 หน่วย = 4.22 บาท/หน่วย
ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ Ft = จำนวนพลังงานไฟฟ้า x ค่า ft (หน่วยละ – 0.1160 บาท/หน่วย)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม = (ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่า ft) x 7/100
เพียงเท่านี้ เราก็จะรู้แล้วครับว่าในแต่ละเดือนเราใช้ไฟยังไงบ้าง และจะได้วางแผนการใช้งานได้อีกด้วยครับ
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ :
เคล็ดลับวิชา คำนวณค่าไฟฟ้า
เคล็ดวิชาคำนวณค่าไฟ ที่ทุกคนต้องรู้
แต่เราต้องรู้ก่อน ว่าทำไมค่าไฟถึงแพง ก็เพราะว่า การไฟฟ้ามีการคิดคำนวณ "ค่าไฟแบบอัตราก้าวหน้า" หากใช้เยอะก็จ่ายเยอะ โดยมีตัวแปรสำคัญก็คือ "หน่วยไฟฟ้าที่ใช้" ซึ่งจะมีการคิดค่าไฟเป็นขั้นบันไดโดยแต่ละขั้นก็มีราคาที่แตกต่างกัน หากใช้ไฟฟ้ามากขึ้นก็จะถูกนำไปคิดราคาในช่วงหน่วยไฟฟ้าที่สูงขึ้น ค่าไฟจึงแพงแบบก้าวกระโดด บวกกับสภาพอากาศในประเทศไทยที่ร้อนขึ้น ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าบางอย่างทำงานหนักและกินไฟมากขึ้นตามไปด้วย เช่น แอร์ ตู้เย็น ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีตัวคอมเพรสเซอร์ในการทำงานจะกินไฟอยู่แล้วด้วย สังเกตได้ว่าช่วงหน้าร้อนมิเตอร์ไฟฟ้าจะหมุนเร็วกว่าปกติมาก รวมถึงการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มากเกินพอดี เช่น เปิดตู้เย็นบ่อย ๆ ทั้งวัน, ยัดของใส่ตู้เย็นเยอะเกินไป, เปิดแอร์ทั้งวันทั้งคืน เหล่านี้ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้ากินพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น เป็นต้น
ทีนี้ เรามารู้สูตรคำนวณค่าไฟกันบ้าง ซึ่งเราจะมีวิธีการคำนวณ ดังนี้
ค่าไฟฟ้าฐาน = จำนวนยูนิต X อัตราค่ากระแสไฟฟ้าต่อหน่วย
ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่าไฟฟ้าผันแปร (ft) + ภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat) =ค่าไฟฟ้า
โดยในสูตรคำนวณนี้ จะประกอบไปด้วย
ค่าไฟฟ้าฐาน คิดแบบอัตราก้าวหน้า ยิ่งใช้ไฟฟ้ามากยิ่งต้องจ่ายแพงขึ้น ดังนี้
· 1-15 หน่วย = 2.34 บาท/หน่วย
· 16-25 หน่วย = 2.98 บาท/หน่วย
· 26-35 หน่วย = 3.24 บาท/หน่วย
· 36-100 หน่วย = 3.62 บาท/หน่วย
· 101-150 หน่วย = 3.71 บาท/หน่วย
· 151-400 หน่วย = 4.22 บาท/หน่วย
ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ Ft = จำนวนพลังงานไฟฟ้า x ค่า ft (หน่วยละ – 0.1160 บาท/หน่วย)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม = (ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่า ft) x 7/100
เพียงเท่านี้ เราก็จะรู้แล้วครับว่าในแต่ละเดือนเราใช้ไฟยังไงบ้าง และจะได้วางแผนการใช้งานได้อีกด้วยครับ
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ : เคล็ดลับวิชา คำนวณค่าไฟฟ้า