คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
โรคลมชัก มักจะมีอาการชักเกร็งกระตุกทั้งตัวและหมดสติ หรือมีการชักเกร็งเฉพาะส่วน ได้แก่ แขน ขา ใบหน้า หรือ ชักแบบนั่งนิ่ง เหม่อลอย
รวมถึง การมีพฤติกรรมแปลกๆค่ะ อาการมักจะเป็นๆ หายๆ ในระยะเวลาสั้นๆ เพียง1-3 นาที ได้ค่ะ ซึ่งเรามักจะสังเกตอาการได้เมื่อผู้ป่วย
มีปฏิกิริยาเปลี่ยนไปจากเดิม หรือมีอาการชักเกร็งค่ะ
ทั้งนี้ สำหรับการดูแล เมื่อผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชักมีอาการ แนะนำให้คุณพาผู้ป่วยไปอยู่ในบริเวณพื้นอาคารที่ค่อนข้างกว้าง หาหมอนหรือวัตถุอื่น ๆ
ที่นุ่มมาหนุนรองศีรษะให้ผู้ป่วย พลิกตัวผู้ป่วยให้ตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจสะดวกขึ้นและป้องกันการสำลัก โทรเรียกรถพยาบาล
หากผู้ป่วยชักนานเกิน 5 นาที ห้ามนำสิ่งของใส่เข้าไปในช่องปากขณะผู้ป่วยเกิดอาการชัก ห้ามปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียว ห้ามตรึงแขนขา
ของผู้ป่วยหรือพยายามหยุดอาการชัก ห้ามให้ผู้ป่วยดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารจนกว่าจะกลับมาเป็นปกติโดยสมบูรณ์ค่ะ ในเบื้องต้น ถ้าเพียงคุณรู้
ขั้นตอนในการช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างถูกวิธี คุณก็สามารถที่จะช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัยได้ค่ะ และนอกจากการช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างถูกวิธีแล้ว
เพื่อช่วยลดอาการชักของผู้ป่วย แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยากันชักให้สม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นการชัก ไม่อดนอน ไม่นอนดึก ไม่เครียด
และไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ไปพบแพทย์ตามเวลานัดทุกครั้งด้วยค่ะ
รวมถึง การมีพฤติกรรมแปลกๆค่ะ อาการมักจะเป็นๆ หายๆ ในระยะเวลาสั้นๆ เพียง1-3 นาที ได้ค่ะ ซึ่งเรามักจะสังเกตอาการได้เมื่อผู้ป่วย
มีปฏิกิริยาเปลี่ยนไปจากเดิม หรือมีอาการชักเกร็งค่ะ
ทั้งนี้ สำหรับการดูแล เมื่อผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชักมีอาการ แนะนำให้คุณพาผู้ป่วยไปอยู่ในบริเวณพื้นอาคารที่ค่อนข้างกว้าง หาหมอนหรือวัตถุอื่น ๆ
ที่นุ่มมาหนุนรองศีรษะให้ผู้ป่วย พลิกตัวผู้ป่วยให้ตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจสะดวกขึ้นและป้องกันการสำลัก โทรเรียกรถพยาบาล
หากผู้ป่วยชักนานเกิน 5 นาที ห้ามนำสิ่งของใส่เข้าไปในช่องปากขณะผู้ป่วยเกิดอาการชัก ห้ามปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียว ห้ามตรึงแขนขา
ของผู้ป่วยหรือพยายามหยุดอาการชัก ห้ามให้ผู้ป่วยดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารจนกว่าจะกลับมาเป็นปกติโดยสมบูรณ์ค่ะ ในเบื้องต้น ถ้าเพียงคุณรู้
ขั้นตอนในการช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างถูกวิธี คุณก็สามารถที่จะช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัยได้ค่ะ และนอกจากการช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างถูกวิธีแล้ว
เพื่อช่วยลดอาการชักของผู้ป่วย แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยากันชักให้สม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นการชัก ไม่อดนอน ไม่นอนดึก ไม่เครียด
และไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ไปพบแพทย์ตามเวลานัดทุกครั้งด้วยค่ะ
แสดงความคิดเห็น
เป็นโรคลมชัก ต้องดูแลตัวเองยังไงครับ
คือผมอยากรู้ว่า พี่ๆ ดูแลตัวเองยังไงครับ แล้วมีพวก อาการซึมเศร้าปนมาด้วยมั้ยครับ แล้วพี่ๆ ที่อาการดีขึ้นแล้ว ดูแลเรื่องความเครียดอย่างไรครับ