ศูนย์กักแยกปทุมธานี สำหรับผู้มีรายได้น้อยที่ต้องการกักแยกตนเองออกจากครอบครัว

“ศูนย์ที่พักอาศัยเพื่อการกักแยกเพื่อเฝ้าสังเกตอาการ ปทุมธานี”
สำหรับผู้ด้อยโอกาส หรือไม่มีรายได้ในระหว่างการกักตัว และเป็นกลุ่มเฝ้าสังเกตอาการที่ไม่พร้อมกลับไปกักตัวเองที่บ้าน (ชุมชนรังเกียจ / พื้นที่ในบ้านไม่พอ เช่น ไม่มีห้องน้ำ ห้องนอนแยก หรือพักร่วมกับคนอื่นในที่แคบ เช่น แฟลต คอนโด / ไม่ผ่านการพิจารณาความพร้อมจากฝ่ายสาธารณสุข) 

การคัดเลือกผู้ที่เข้ารับการกักแยก
1) ต้องผ่านการคัดกรองจากโรงพยาบาลของรัฐ ใน จ.ปทุมธานี
2) หากผลการตรวจเชื้อเป็นบวก จะเข้าสู่กระบวนการรักษาของ รพ. ทันที แต่หากยังตรวจไม่พบเชื้อและเข้าเกณฑ์ PUI จะมีใบรับรองจาก รพ. แล้วจะมีรถพยาบาลที่มีมาตรการในการป้องกันการติดเชื้อตามมาตรฐาน รับมาที่ศูนย์โดยไม่ปะปนกับใครในระหว่างการเดินทาง เมื่อมาถึงแล้วเข้าสู่กระบวนการกักแยกทันที
3) การขึ้นไปยังอาคารของผู้ที่เข้ารับการกักแยก จะมีเส้นทางเดินที่กำหนดให้เดินตามทางนี้โดยเฉพาะ ซึ่งออกแบบโดยสถาปนิก และจะใช้ลิฟต์แยก โดยมีพยาบาลกดเปิดลิฟต์และกดลิฟต์เลือกชั้นรอไว้ให้ เมื่อออกจากลิฟต์ ก็จะมีพยาบาลในชุด PPE เปิดประตูห้องรอไว้ให้ หมายความว่า สิ่งแรกที่ผู้เข้ารับการกักแยกจะได้สัมผัส คือ “ลูกบิดประตูด้านในห้อง” จากนั้นก็อยู่ในห้องตลอดจนครบเวลาโดยไม่ออกมาอีก
4) การบริการต่างๆ ในระหว่างการกักแยก มีอุปกรณ์ดำรงชีวิตให้ มีเสื้อผ้าที่ซักแล้วแห้งไวให้เปลี่ยนใช้ส่วนตัว มีอุปกรณ์ซักผ้า มีบริการอาหารที่นำไปแขวนไว้ให้วันละ 3 มื้อ โดยเจ้าหน้าที่สวมอุปกรณ์ป้องกันเต็มรูปแบบ โดยตลอดระยะเวลาที่อยู่ระหว่างการกักแยก พยาบาลที่มาประจำที่ศูนย์จะไม่มีโอกาสได้พบปะกับผู้เข้ารับการกักแยกเลย ผู้เข้ารับการกักแยก สามารถติดต่อกับครอบครัวได้ เพราะมีบริการอินเทอร์เน็ตให้ใช้ฟรี ในระหว่างการกักแยก
5) หากผู้เข้ารับการกักแยกคนใดมีอาการป่วยที่เข้าข่ายว่าจะติดเชื้อ ทีมแพทย์และพยาบาลจะประเมินอาการและประสานรถพยาบาลนำตัวไปที่โรงพยาบาลทันทีด้วยรถพยาบาลที่ได้มาตรฐานโดยผู้ป่วยจะไม่ได้พบกับผู้เข้ารับการกักแยกคนอื่น และไม่ได้สัมผัสใกล้ชิดกับพยาบาล เพราะต้องลงมาที่รถพยาบาลเอง ตามเส้นทางที่กำหนดให้ โดยมีลิฟต์ที่แยกไว้เฉพาะสำหรับผู้ที่มีอาการเท่านั้นจะใช้เป็นทางลง ไม่ปะปนกับลิฟต์ตัวอื่น
6) ผู้ที่เข้ารับการกักแยกและมีผลตรวจเป็น Negative จะอยู่ให้ครบ 14 วันในการกักตัว เมื่อครบแล้วศูนย์จะออกใบรับรองจากโรงพยาบาลให้ด้วย เพื่อให้ใช้เป็นหลักฐานยืนยันกับคนในชุมชนว่าไม่ติดเชื้อ
7) ส่วนห้องที่ผู้เข้ากักแยกย้ายออกไปแล้ว ก็จะเปิดให้แสงแดดและลมเข้ามาฆ่าเชื้อประมาณ 2 วัน ก่อนจะใช้เวลาทำความสะอาดตามขั้นตอนอีก 2 วัน จึงจะให้ผู้กักแยกรายใหม่เข้าพักได้
8) สำหรับชุมชนที่อยู่ใกล้ศูนย์นี้ จะได้รับประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง เพราะหากมีผู้ที่เข้าข่ายต้องกักตัวเอง 14 วัน เพราะไปยังสถานที่เสี่ยง หรือมีประวัติพบปะกับผู้ติดเชื้อ ก็สามารถเข้าไปกักแยกตัวเองที่ศูนย์ ช่วยให้ครอบครัวไม่ต้องกังวลและคนในชุมชนอยู่อย่างสบายใจ

ถ้ามีคนรู้จักที่อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าว สามารถติดต่อและเข้ามาที่ศูนย์ที่พักเพื่อการกักแยกต้นแบบปทุมธานี (Local Quarantine)
สถานที่ : ศูนย์ที่พักอาศัยเพื่อการกักแยก (สถาบันพระประชาบดี กองอำนวยการ) หอพักนักกีฬา อำเภอธัญบุรี
เลขที่ 2/82 หมู่ 2 (ธัญบุรี คลอง 5) ต.รังสิต อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12110
เบอร์โทรศัพท์ 086-399-9985
อีเมล์ support@tijforum.org
(ที่มา : https://www.dailynews.co.th/article/772401)









ที่มา : https://news.thaipbs.or.th/content/291013
https://tijrold.org/rold-in-action?fbclid=IwAR1_dZ11hvxkEv8O4nbYboYqoG1pynX8meSTkOpxIipBDiATyCVPQ2AGJj4

(ที่มาของโครงการนี้เกิดจากประเด็นปัญหาที่คนขับแท็กซี่ในจังหวัสสุราษฎร์ธานีไปรับผู้โดยสารชายไทย ภายหลังได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขว่าผู้โดยสารคนนั้นติดเชื้อจากกลุ่มเที่ยวทองหล่อ ขอให้คนขับแท็กซี่กักแยกตัวเอง 14 วัน เขาตัดสินใจยืมเงินคนรู้จักเพื่อไปหาที่พักแยกเพราะกลัวจะแพร่เชื้อต่อคนอื่น โรงแรมที่พักคืนละ 350 บาท แต่เขาไม่กล้าแจ้งกับโรงแรมว่าเขามากักแยก นอกจากนี้ระหว่างที่กักแยกตัวไม่มีเจ้าหน้าที่มาติดตามอาการเลย จนกระทั่งวันที่ 4 ได้รับผลการตรวจเชื้อ COVID-19 ผลเป็นลบและเจ้าหน้าที่ให้กักตัวต่ออีก 10 วัน แต่แท็กซี่คนนั้นเงินหมดแล้ว เพราะจากที่เคยได้รายได้จากการขับแท็กซี่วันละ 500-700 บาทก็ขาดรายได้ไปหลายวัน เขาจึงตัดสินใจเลิกกักตัวและออกไปขับแท็กซี่ต่อ)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่