ชายที่มีทรัพย์สิน 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ กำลังไม่มีทางเลือกนอกจากขอเงินรัฐบาลอังกฤษมาอุ้มธุรกิจตนเอง
เขาจงใจย้ายไปอยู่ที่เกาะเน็คเกอร์ (Necker Island) เพื่อไม่ต้องจ่ายภาษีให้อังกฤษ
นี่คือธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดรายแรกของออสเตรเลียที่ล้มละลายเพราะโควิด-19 และยังเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศด้วย มันแสดงให้เห็นถึงความร้ายกาจของโควิด-19 ที่มีต่อเศรษฐกิจโลก
คุณคิดว่าชาวอังกฤษ .. ควรจะเจียดภาษีมาช่วยกอบกู้สายการบินนี้ไหม
Virgin Records คือความกล้าฝันของเขา คือการแหวกโมเดลธุรกิจแบบใหม่ๆ จากนั้นมีกลายเป็นอาณาจักร ที่หลากหลายรวมถึงสายการบิน Virgin Atlantic
วันที่มหาเศรษฐีต้องจำนองเกาะ เพื่อขอเงินภาษีมาต่อลมหายใจธุรกิจ
วันที่ 22 เม.ย. 2563 เวลา 11:01 น.
ชายที่มีทรัพย์สิน 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐกำลังไม่มีทางเลือกนอกจากขอเงินรัฐบาลมาอุ้มธุรกิจ
ริชาร์ด แบรนสัน (Richard Branson) คือแรงบันดาลใจทางธุรกิจของหลายๆ คน ในช่วงทศวรรษที่ 2000 - 2010 เขาคือไอดอลของวงการธุรกิจที่โดดเด่นที่สุดคนหนึ่ง
Virgin Records คือความกล้าฝันของเขา คือการแหวกโมเดลธุรกิจแบบใหม่ๆ จากนั้นมีกลายเป็นอาณาจักร ที่หลากหลายรวมถึงสายการบิน Virgin Atlantic
สายการบินแห่งนี้เกิดขึ้นมาเพราะความบ้าระห่ำของเขาโดยแท้ เพราะเขาเคยไปติดแหงกที่ปวยร์โตรีโกไม่มีเครื่องกลับ จึงเหมาเครื่องซะเลยพร้อมกับชวนผู้โดยสารคนอื่นๆ ที่โดนลอยแพให้นั่งกลับมาด้วยกัน แต่ขอค่าเดินทางเล็กๆ น้อย
นี่คือจุดเริ่มของสายการบินที่มีโมเดลธุรกิจแปลกใหม่ที่สุดแห่งหนึ่ง
แต่ตอนนี้สายการบินของเขาถูกวิกฤตโควิด-19 เล่นงานจนล้มระเนระนาด ซึ่งก็เป็นเรื่องคาดเดาได้เพราะธุรกิจการบิน การท่องเที่ยว และโรงแรมถูกโจมตีหนักที่สุด พนักงานถูกเลย์ออฟมากที่สุด และเจ๊งมากที่สุด
เขาจึงเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงหนักงานและยังขอรัฐบาลอังกฤษให้เงินกู้ฉุกเฉินเพื่อป้องกันการล่มสลายของสายการบิน Virgin Atlantic ซึ่งเขาเป็นเจ้าของร่วมกับ Delta Air Lines Inc. ในสหรัฐ
"เซอร์ ริชาร์ด" บอกในจดหมายว่าตอนนี้สายการบินหลายแห่งทั่วโลกต้องการการสนับสนุนจากรัฐบาลและหลายแห่งได้รับการตอบรับแล้ว
แต่เขาถูกตำหนิอย่างหนักที่ขอเงินภาษีประชาชนไปอุ้มกิจการของตัวเอง ทั้งๆ ที่เขามีทรัพย์สินถึง 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
แบรนสันอธิบายว่า แม้จะมีทรัพย์มากมาย แต่ไม่ได้หมายความว่าเขามีเงินในบัญชีธนาคารพร้อมที่จะถอนเงินมาใช้ได้ในทันที
ดังนั้นสื่อบางแห่งจึงบอกว่า "แบรนสันรวยสินทรัพย์ แต่ไร้เงินสด"
เขาบอกว่า "ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาผลกำไรตกอยู่ที่กลุ่มเวอร์จิ้นแล้วนำไปลงทุนในการสร้างธุรกิจที่สร้างมูลค่าและโอกาส" ซึ่งหมายความว่าเงินไม่ได้อยู่ที่เขา แต่เอาไปลงทุน "เพื่อทุกคน" ต่างหาก
เขารู้ว่าคนไม่มีใครเชื่อเขาง่ายๆ (ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ) ในจดหมายเขาจึงพยายามเขียนอธิบายทุกคำถามที่น่าจะคาใจทุกคน
เช่น ข้อกังขาที่ว่าเขาจงใจหนีภาษีอังกฤษไปอยู่ที่เกาะเน็คเกอร์ (Necker Island) เกาะส่วนตัวที่ตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียน แต่เขาอธิบายว่า "ไม่ได้ออกจากอังกฤษด้วยเหตุผลด้านภาษี แต่เพราะความรักที่มีต่อหมู่เกาะบริติชเวอร์จินของเราและโดยเฉพาะในเกาะเน็คเกอร์"
โปรดทราบว่าหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน (British Virgin Islands) เป็นดินแดนภาษีต่ำ (tax havens) จะเก็บภาษีต่ำมากเพื่อที่จะดึงรายได้ค่าธรรมเนียมจากบริษัทออฟชอร์ต่างๆ ที่มาจดทะเบียนตั้งฐานที่นี่
เช่น แทนที่จะเสียภาษีในประเทศ A ถึง 50% ก็มาเสียที่เกาะบริติชเวอร์จินแทนเพราะเก็บแค่ 0% เป็นต้น
นี่แหละคือสาเหตุที่มีคนค่อนขอดว่าแบรนสันว่า นอกจากหนีภาษีประเทศตัวเองแล้ว ยังกล้ามาขอภาษีรัฐบาลมาอุ้มธุรกิจตัวเองอีก
เรื่องหนีภาษีเขาอธิบายว่า "บริษัทของเราสร้างงานหลายแสนตำแหน่งและจ่ายภาษีหลายร้อยล้านเหรียญทั่วโลก (และจะทำต่อไป) ส่วนบริษัทของเราที่อยู่ในสหราชอาณาจักรจ่ายภาษีในสหราชอาณาจักรและที่อื่นๆ ด้วย"
ความหมายก็คือแม้ตัวจะอยู่หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน แต่เขาทำเงินในอังกฤษและประเทศอื่นๆ จึงเสียภาษีถูกต้อง
กระนั้น เพื่อความสบายใจของทุกฝ่ายเขาจึงประกาศว่าที่เขียนจดหมายนี่ไม่ใช่จะแบมือขอเงิน แต่จะขอกู้จากรัฐบาล โดยจะใช้เกาะเน็คเกอร์เป็นสินทรัพย์จำนอง
แต่เกาะนี้มันวิเศษยังไง?
แบรนสันเนรมิตเกาะกลางทะเลสีครามเป็นรีสอร์ตสุดหรูที่มีแขกระดับวีไอพีมาพักแล้วหลายคน เขาซื้อมันมาในราคา 120,000 เหรียญสหรัฐแล้วทุ่มอีก 10 ล้านเหรียญเพื่อสร้างรีสอร์ต (หลังจากนั้นมันถูกไฟเผาในปี 2012 และพายุถล่มในปี 2017 แล้วสร้างขึ้นมาใหม่อีกดังนั้นมันจึงมีต้นทุนการก่อสร้างมากกวา 10 ล้านแน่นอน)
ค่าเช่าต่อวันสำหรับแขก 34 คนอยู่ที่ 87,500 เหรียญสหรัฐ แพงจนแทบไม่อยากจะเชื่อหู
แต่จะว่าไปแล้วในแง่สินทรัพย์มัน "ก็โอเค" ในระดับหนึ่งแต่ไม่ได้วิเศษขนาดเป็นสินทรัพย์จำนองขอภาษีประชาชนได้ ว่ากันตามตรงแล้วรัฐบาลต้องการงบประมาณมหาศาลไปใช้ด้านอื่นมากกว่า
และถ้าจะให้พูดความจริง ในช่วงสองปีที่ผ่านมา Virgin Atlantic ขาดทุนมาตลอด มีหนี้สินจำนวนมาก ต้องต่อลมหายใจจากเงินสดจากการขายตั๋วล่วงหน้า แต่ปัญหาคือเงินก็ยังขาดเพราะผู้โดยสารที่ยกเลิกเที่ยวบินต้องการขอรับเงินคืน
สถานการณ์แย่ขนาดที่ว่าต้องใช้สัมปทานที่จอดเครื่องที่สนามบินฮีโธรว์เป็นหลักประกันกู้เงิน
จะเห็นว่าธุรกิจใกล้จะไม่รอดตั้งแต่ก่อนโควิด-19 ระบาด โอกาสที่จะได้เงินภาษีมากู้สถานการณ์คงยาก
แต่แล้วยังไม่ทันไร ในวันที่ 21 เมษายน 2563 ชะตากรรมของสายการบิน Virgin Australia ก็ถึงฆาตจนต้องขอยื่นล้มละลาย สาเหตุก็เพราะขอยืมเงิน 1,400 ล้านเหรียญออสเตรเลียจากรัฐบาลออสเตรเลียมาพยุงกิจการไม่ได้
นี่คือธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดรายแรกของออสเตรเลียที่ล้มละลายเพราะโควิด-19 และยังเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศด้วย มันแสดงให้เห็นถึงความร้ายกาจของโควิด-19 ที่มีต่อเศรษฐกิจโลก
นี่เป็นข่าวที่ทำให้แบรนสันอยู่ไม่เป็นสุขแน่นอน เพราะมันหมายความว่าความหวังที่รัฐบาลอังกฤษจะช่วยเจียดภาษีประชาชนมาอุ้มนั้น
อาจจะลงเอยแบบที่ออสเตรเลีย
Alex Wong/Getty Images/AFP
https://www.posttoday.com/world/621500
คิดว่า .. ชาวอังกฤษจะยอม เ-จี-ย-ด-ภา-ษี .. มาช่วยสายการบินอันดับ 2 ของออสเตรเลียไหม?
เขาจงใจย้ายไปอยู่ที่เกาะเน็คเกอร์ (Necker Island) เพื่อไม่ต้องจ่ายภาษีให้อังกฤษ
นี่คือธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดรายแรกของออสเตรเลียที่ล้มละลายเพราะโควิด-19 และยังเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศด้วย มันแสดงให้เห็นถึงความร้ายกาจของโควิด-19 ที่มีต่อเศรษฐกิจโลก
คุณคิดว่าชาวอังกฤษ .. ควรจะเจียดภาษีมาช่วยกอบกู้สายการบินนี้ไหม
Virgin Records คือความกล้าฝันของเขา คือการแหวกโมเดลธุรกิจแบบใหม่ๆ จากนั้นมีกลายเป็นอาณาจักร ที่หลากหลายรวมถึงสายการบิน Virgin Atlantic
วันที่มหาเศรษฐีต้องจำนองเกาะ เพื่อขอเงินภาษีมาต่อลมหายใจธุรกิจ
วันที่ 22 เม.ย. 2563 เวลา 11:01 น.
ชายที่มีทรัพย์สิน 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐกำลังไม่มีทางเลือกนอกจากขอเงินรัฐบาลมาอุ้มธุรกิจ
ริชาร์ด แบรนสัน (Richard Branson) คือแรงบันดาลใจทางธุรกิจของหลายๆ คน ในช่วงทศวรรษที่ 2000 - 2010 เขาคือไอดอลของวงการธุรกิจที่โดดเด่นที่สุดคนหนึ่ง
Virgin Records คือความกล้าฝันของเขา คือการแหวกโมเดลธุรกิจแบบใหม่ๆ จากนั้นมีกลายเป็นอาณาจักร ที่หลากหลายรวมถึงสายการบิน Virgin Atlantic
สายการบินแห่งนี้เกิดขึ้นมาเพราะความบ้าระห่ำของเขาโดยแท้ เพราะเขาเคยไปติดแหงกที่ปวยร์โตรีโกไม่มีเครื่องกลับ จึงเหมาเครื่องซะเลยพร้อมกับชวนผู้โดยสารคนอื่นๆ ที่โดนลอยแพให้นั่งกลับมาด้วยกัน แต่ขอค่าเดินทางเล็กๆ น้อย
นี่คือจุดเริ่มของสายการบินที่มีโมเดลธุรกิจแปลกใหม่ที่สุดแห่งหนึ่ง
แต่ตอนนี้สายการบินของเขาถูกวิกฤตโควิด-19 เล่นงานจนล้มระเนระนาด ซึ่งก็เป็นเรื่องคาดเดาได้เพราะธุรกิจการบิน การท่องเที่ยว และโรงแรมถูกโจมตีหนักที่สุด พนักงานถูกเลย์ออฟมากที่สุด และเจ๊งมากที่สุด
เขาจึงเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงหนักงานและยังขอรัฐบาลอังกฤษให้เงินกู้ฉุกเฉินเพื่อป้องกันการล่มสลายของสายการบิน Virgin Atlantic ซึ่งเขาเป็นเจ้าของร่วมกับ Delta Air Lines Inc. ในสหรัฐ
"เซอร์ ริชาร์ด" บอกในจดหมายว่าตอนนี้สายการบินหลายแห่งทั่วโลกต้องการการสนับสนุนจากรัฐบาลและหลายแห่งได้รับการตอบรับแล้ว
แต่เขาถูกตำหนิอย่างหนักที่ขอเงินภาษีประชาชนไปอุ้มกิจการของตัวเอง ทั้งๆ ที่เขามีทรัพย์สินถึง 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
แบรนสันอธิบายว่า แม้จะมีทรัพย์มากมาย แต่ไม่ได้หมายความว่าเขามีเงินในบัญชีธนาคารพร้อมที่จะถอนเงินมาใช้ได้ในทันที
ดังนั้นสื่อบางแห่งจึงบอกว่า "แบรนสันรวยสินทรัพย์ แต่ไร้เงินสด"
เขาบอกว่า "ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาผลกำไรตกอยู่ที่กลุ่มเวอร์จิ้นแล้วนำไปลงทุนในการสร้างธุรกิจที่สร้างมูลค่าและโอกาส" ซึ่งหมายความว่าเงินไม่ได้อยู่ที่เขา แต่เอาไปลงทุน "เพื่อทุกคน" ต่างหาก
เขารู้ว่าคนไม่มีใครเชื่อเขาง่ายๆ (ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ) ในจดหมายเขาจึงพยายามเขียนอธิบายทุกคำถามที่น่าจะคาใจทุกคน
เช่น ข้อกังขาที่ว่าเขาจงใจหนีภาษีอังกฤษไปอยู่ที่เกาะเน็คเกอร์ (Necker Island) เกาะส่วนตัวที่ตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียน แต่เขาอธิบายว่า "ไม่ได้ออกจากอังกฤษด้วยเหตุผลด้านภาษี แต่เพราะความรักที่มีต่อหมู่เกาะบริติชเวอร์จินของเราและโดยเฉพาะในเกาะเน็คเกอร์"
โปรดทราบว่าหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน (British Virgin Islands) เป็นดินแดนภาษีต่ำ (tax havens) จะเก็บภาษีต่ำมากเพื่อที่จะดึงรายได้ค่าธรรมเนียมจากบริษัทออฟชอร์ต่างๆ ที่มาจดทะเบียนตั้งฐานที่นี่
เช่น แทนที่จะเสียภาษีในประเทศ A ถึง 50% ก็มาเสียที่เกาะบริติชเวอร์จินแทนเพราะเก็บแค่ 0% เป็นต้น
นี่แหละคือสาเหตุที่มีคนค่อนขอดว่าแบรนสันว่า นอกจากหนีภาษีประเทศตัวเองแล้ว ยังกล้ามาขอภาษีรัฐบาลมาอุ้มธุรกิจตัวเองอีก
เรื่องหนีภาษีเขาอธิบายว่า "บริษัทของเราสร้างงานหลายแสนตำแหน่งและจ่ายภาษีหลายร้อยล้านเหรียญทั่วโลก (และจะทำต่อไป) ส่วนบริษัทของเราที่อยู่ในสหราชอาณาจักรจ่ายภาษีในสหราชอาณาจักรและที่อื่นๆ ด้วย"
ความหมายก็คือแม้ตัวจะอยู่หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน แต่เขาทำเงินในอังกฤษและประเทศอื่นๆ จึงเสียภาษีถูกต้อง
กระนั้น เพื่อความสบายใจของทุกฝ่ายเขาจึงประกาศว่าที่เขียนจดหมายนี่ไม่ใช่จะแบมือขอเงิน แต่จะขอกู้จากรัฐบาล โดยจะใช้เกาะเน็คเกอร์เป็นสินทรัพย์จำนอง
แต่เกาะนี้มันวิเศษยังไง?
แบรนสันเนรมิตเกาะกลางทะเลสีครามเป็นรีสอร์ตสุดหรูที่มีแขกระดับวีไอพีมาพักแล้วหลายคน เขาซื้อมันมาในราคา 120,000 เหรียญสหรัฐแล้วทุ่มอีก 10 ล้านเหรียญเพื่อสร้างรีสอร์ต (หลังจากนั้นมันถูกไฟเผาในปี 2012 และพายุถล่มในปี 2017 แล้วสร้างขึ้นมาใหม่อีกดังนั้นมันจึงมีต้นทุนการก่อสร้างมากกวา 10 ล้านแน่นอน)
ค่าเช่าต่อวันสำหรับแขก 34 คนอยู่ที่ 87,500 เหรียญสหรัฐ แพงจนแทบไม่อยากจะเชื่อหู
แต่จะว่าไปแล้วในแง่สินทรัพย์มัน "ก็โอเค" ในระดับหนึ่งแต่ไม่ได้วิเศษขนาดเป็นสินทรัพย์จำนองขอภาษีประชาชนได้ ว่ากันตามตรงแล้วรัฐบาลต้องการงบประมาณมหาศาลไปใช้ด้านอื่นมากกว่า
และถ้าจะให้พูดความจริง ในช่วงสองปีที่ผ่านมา Virgin Atlantic ขาดทุนมาตลอด มีหนี้สินจำนวนมาก ต้องต่อลมหายใจจากเงินสดจากการขายตั๋วล่วงหน้า แต่ปัญหาคือเงินก็ยังขาดเพราะผู้โดยสารที่ยกเลิกเที่ยวบินต้องการขอรับเงินคืน
สถานการณ์แย่ขนาดที่ว่าต้องใช้สัมปทานที่จอดเครื่องที่สนามบินฮีโธรว์เป็นหลักประกันกู้เงิน
จะเห็นว่าธุรกิจใกล้จะไม่รอดตั้งแต่ก่อนโควิด-19 ระบาด โอกาสที่จะได้เงินภาษีมากู้สถานการณ์คงยาก
แต่แล้วยังไม่ทันไร ในวันที่ 21 เมษายน 2563 ชะตากรรมของสายการบิน Virgin Australia ก็ถึงฆาตจนต้องขอยื่นล้มละลาย สาเหตุก็เพราะขอยืมเงิน 1,400 ล้านเหรียญออสเตรเลียจากรัฐบาลออสเตรเลียมาพยุงกิจการไม่ได้
นี่คือธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดรายแรกของออสเตรเลียที่ล้มละลายเพราะโควิด-19 และยังเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศด้วย มันแสดงให้เห็นถึงความร้ายกาจของโควิด-19 ที่มีต่อเศรษฐกิจโลก
นี่เป็นข่าวที่ทำให้แบรนสันอยู่ไม่เป็นสุขแน่นอน เพราะมันหมายความว่าความหวังที่รัฐบาลอังกฤษจะช่วยเจียดภาษีประชาชนมาอุ้มนั้น
อาจจะลงเอยแบบที่ออสเตรเลีย
Alex Wong/Getty Images/AFP
https://www.posttoday.com/world/621500