ตึกสูงๆแบบเบริจ คาลิฟา ที่ตั้งอยู่บนทราย มันตอกเสาเข็มยังไงให้ตึกไม่ล้มฮะ

คือ ทรายมันไม่แน่นเหมือนดิน ผมเลยสงสัยน่ะครับ หรือเขามีเทคนิคพิเศษ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ตอกเสาเข็มลงไปลึกๆลงเป็นแพถี่ๆครับ ให้เกิดแรงเสียดทานกับเนื้อทรายจนมีความแน่น

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ความคิดเห็นที่ 21
การคำนวณการรับนํ้าหนักของเสาเข็ม(ลึก) หลักๆมี
1.แรงเสียดทานด้านข้าง (Skin Friction) จะรับแรง Compaction และ  Tension หรือเรียกว่า Uplift
2.นํ้าหนักที่ปลาย (End Bearing) จะรับแรงเฉพาะ Compaction
.
ตึกสูงๆ คิดแรงลมด้านข้าง แรงแผ่นดินไหว แรงดันน้ำ(น้อยมากๆ) ติกจะเกิด Moment
หมายความว่า เสาเข็มฝั่งหนึ่งรับ Compaction มากๆ อีกฝั่งหนึ่งรับ Tension มากๆ
คล้ายๆ ฐานรากเสาเข็มเยื้องศูนย์
.
ดินที่รับ Skin Friction ได้ดีคือ ดินเหนียว (Clay)
ดินที่รับ End Bearing ได้ดีคือ ทราย(Sand) หรือ หิน
เคสง่ายๆ คือ ดินกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เป็นชั้นดินเหนียว (Bangkok clay) เสาเข็มมักจะผ่านชั้นดินเหนียว หยุดชั้นทราย ทำให้รับได้ดีทั้งสองแรง
.
เบริจ คาลิฟา ดูจาก Soil Profile
เป็นดินทราย(Sand) และหินตะกอน (Sandsone, Siltstone ความแข็งหิน Weathered Rock / Soft Rock)
ทำให้ Skin Friction ไม่ได้ดีเท่าดินเหนียว และ End Bearing บนชั้น Soft Rock ก็รับแรงกดไม่ดีเท่าหินแข็ง (Hard Rock)
.
แก้ปัญหา
1. ทำเจาะเสาเข็มแผ่กว้าง ให้ฐานรากกว้าง ออกแบบตึกให้ทรงสมมาตร ทำให้การเยื้องศูนย์น้อยลง
2. เพื่อรองรับ Tension / Uplift เจาะเสาเข็มลึกๆ หรือปลายเสาเข็มทำ Bell Bottom Piers (สวมหมวก) หรือตอนเทคอนกรีตเนื้อคอนกรีตจะซึมชั้นทรายได้ ก็เสมือน Cement grout (ฐานรากเขื่อนใช้กัน)
3. End Bearing ป้องกันการทรุดตัว (Settlement) แก้ไขโดย เจาะให้ปลายเสาเข็มหยุดที่ชั้นหินแข็ง (Hard Rock) หรือคิด วิเคราะห์ การทรุดตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้
.
https://www.researchgate.net/publication/292211606_Geotechnical_foundation_design_for_some_of_the_world's_tallest_buildings
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่