โรงงานผลิตหน้ากากอนามัยซีพีแจกฟรีเพื่อบุคลากรทางการแพทย์และประชาชน โดยดำริของ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ เริ่มการผลิตอย่างเป็นทางการ และส่งมอบล็อตแรกไปเมื่อวันที่ 16 เมษายน ผ่านโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อกระจายไปยังโรงพยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศ โดยตั้งเป้าผลิตเดือนละ 3 ล้านชิ้น ซึ่งจะช่วยบรรเทาความขาดแคลนหน้ากากอนามัยได้เป็นอย่างดี และยังเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มีข้อกังขาว่า ซีพีจะจัดการเรื่องการแจกจ่ายหน้ากากอนามัยอย่างไร ซีพีผลิตเพื่อบริจาคจริง ๆ หรือจะนำไปวางจำหน่ายในเครือข่ายร้านสะดวกซื้อของตนเอง ตลอดจนประเด็นการได้รับสิทธิพิเศษยกเว้นภาษีจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอเอ เรื่องนี้มีคำตอบที่ชัดเจน ให้สังคมหายระแวงสงสัย จากหน่วยงานของรัฐและจากปากเจ้าสัวธนินท์เอง
โดยในประเด็นของการบริจาคนั้น ขณะนี้มีความชัดเจนแล้วว่า
1. ซีพีมีหน้าที่ผลิตหน้ากากอนามัย วันละประมาณ 1 แสนชิ้น หรือเดือนละ 3 ล้านชิ้น แล้วส่งมอบให้กับรพ.จุฬาฯ สภากาชาดไทย
2. สภากาชาดไทย เป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการแจกจ่ายให้กับบุคลากรทางการแพทย์ตามโรงพยาบาลและสถานสาธารณสุขของรัฐทั่วประเทศที่มีความต้องการ
3. ซีพีจะดำเนินการขนส่งหน้ากากอนามัยไปยังพื้นที่เเต่ละจุด ตามดำริของสภากาชาดไทย
ล่าสุด สภากาชาดไทยได้ออกหนังสือถึงนายกเหล่ากาชาดจังหวัดทุกจังหวัด ให้ประสานงานกับคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ทำการสำรวจเเละประมาณการความต้องการใช้หน้ากากอนามัยของหน่วยบริการทางการเเพทย์เเละสาธารณสุขของรัฐ ในจังหวัดในเเต่ละเดือน แล้วแจ้งกลับไปยังสำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด ภายในวันที่ 22 เม.ย. 2563
“ผลิตเสร็จเราก็ส่งโรงพยาบาล แต่จำนวน 3 ล้านชิ้น ไม่พอแจกจ่ายทุกคนแน่นอน ยังไงก็ไม่พอ แต่ต้องให้โรงพยาบาลเป็นผู้กระจาย ถ้าอันไหนที่ไม่สะดวก เราก็จะช่วยส่งให้ด้วย เพราะเครือซีพีมีทุกแห่งทุกจังหวัด” เจ้าสัวธนินท์ให้สัมภาษณ์สื่อผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์
ส่วนความแคลงใจที่ว่า ซีพีได้สิทธิพิเศษจากรัฐบาลในการตั้งโรงงาน เรื่องนี้ตอบได้ว่า จริง แต่ไม่ใช่สิทธิพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อซีพีโดยเฉพาะ เป็นสิทธิพิเศษของบีโอไอที่ให้กับอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ต้องการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนโดยเร็ว สำหรับการผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 เพื่อสุขอนามัยที่ดีของประชาชนในประเทศ
โดยนางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า “การลงทุนของ ซี.พี. เข้าเงื่อนไขการลงทุนตามมาตรการดังกล่าว จึงได้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี และยกเว้นภาษีเครื่องจักร และแน่นอนว่าตามเงื่อนไขยังได้กำหนดไว้อีกว่า โครงการจะต้องเริ่มผลิตและมีรายได้ภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2563 สำคัญคือต้องจำหน่ายและหรือบริจาคภายในประเทศอย่างน้อย 50% ของปริมาณที่ผลิตได้ในปี 2563-2564”
ดังนั้น หากเป้าหมายของ ซี.พี. คือ การผลิตเพื่อบริจาคแจกฟรีแก่บุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงประชาชน ก็เข้าเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดให้สำหรับภายในประเทศ 50% ภายในปี 2564 จะได้สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่ม 50% เป็นเวลา 3 ปี ซึ่งต้องพิสูจน์เมื่อสิ้นปี 2564
ก็เป็นอันว่าเคลียร์ให้ชัดเจน หมดข้อกังขากันไป ที่สำคัญในอนาคต เมื่อสถานการณ์วิกฤติจบสิ้นลง โรงงานแห่งนี้จะดำเนินการต่อไป แต่จะเปลี่ยนรูปแบบเป็น Social Enterprise บริษัทเพื่อสังคม ผลิตหน้ากากอนามัยระดับคุณภาพออกจำหน่ายในราคาถูก โดยรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจะมอบให้กับศูนย์โรคหัวใจ รพ.จุฬาลงกรณ์ ตามที่เจ้าสัวธนินท์ตั้งใจไว้แต่แรก และเพื่อเป็นการลดข้อครหาต่าง ๆ โดยเฉพาะความระแวงสงสัยว่า ซีพีจะดำเนินการเพื่อนำรายได้เข้ากระเป๋าสตางค์ตัวเอง การทำหน้าที่ครั้งนี้จึงทำในนามของมูลนิธิเครือเจริญโภคภัณฑ์ มั่นใจได้ว่าไม่มีการพาณิชย์เข้ามาเกี่ยวข้องแน่นอน
----------------------------------
ตอบคำถามคาใจ หน้ากากอนามัยซีพีแจกอย่างไร และทำไมได้สิทธิบีโอไอ
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มีข้อกังขาว่า ซีพีจะจัดการเรื่องการแจกจ่ายหน้ากากอนามัยอย่างไร ซีพีผลิตเพื่อบริจาคจริง ๆ หรือจะนำไปวางจำหน่ายในเครือข่ายร้านสะดวกซื้อของตนเอง ตลอดจนประเด็นการได้รับสิทธิพิเศษยกเว้นภาษีจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอเอ เรื่องนี้มีคำตอบที่ชัดเจน ให้สังคมหายระแวงสงสัย จากหน่วยงานของรัฐและจากปากเจ้าสัวธนินท์เอง
โดยในประเด็นของการบริจาคนั้น ขณะนี้มีความชัดเจนแล้วว่า
1. ซีพีมีหน้าที่ผลิตหน้ากากอนามัย วันละประมาณ 1 แสนชิ้น หรือเดือนละ 3 ล้านชิ้น แล้วส่งมอบให้กับรพ.จุฬาฯ สภากาชาดไทย
2. สภากาชาดไทย เป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการแจกจ่ายให้กับบุคลากรทางการแพทย์ตามโรงพยาบาลและสถานสาธารณสุขของรัฐทั่วประเทศที่มีความต้องการ
3. ซีพีจะดำเนินการขนส่งหน้ากากอนามัยไปยังพื้นที่เเต่ละจุด ตามดำริของสภากาชาดไทย
ล่าสุด สภากาชาดไทยได้ออกหนังสือถึงนายกเหล่ากาชาดจังหวัดทุกจังหวัด ให้ประสานงานกับคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ทำการสำรวจเเละประมาณการความต้องการใช้หน้ากากอนามัยของหน่วยบริการทางการเเพทย์เเละสาธารณสุขของรัฐ ในจังหวัดในเเต่ละเดือน แล้วแจ้งกลับไปยังสำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด ภายในวันที่ 22 เม.ย. 2563
“ผลิตเสร็จเราก็ส่งโรงพยาบาล แต่จำนวน 3 ล้านชิ้น ไม่พอแจกจ่ายทุกคนแน่นอน ยังไงก็ไม่พอ แต่ต้องให้โรงพยาบาลเป็นผู้กระจาย ถ้าอันไหนที่ไม่สะดวก เราก็จะช่วยส่งให้ด้วย เพราะเครือซีพีมีทุกแห่งทุกจังหวัด” เจ้าสัวธนินท์ให้สัมภาษณ์สื่อผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์
ส่วนความแคลงใจที่ว่า ซีพีได้สิทธิพิเศษจากรัฐบาลในการตั้งโรงงาน เรื่องนี้ตอบได้ว่า จริง แต่ไม่ใช่สิทธิพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อซีพีโดยเฉพาะ เป็นสิทธิพิเศษของบีโอไอที่ให้กับอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ต้องการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนโดยเร็ว สำหรับการผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 เพื่อสุขอนามัยที่ดีของประชาชนในประเทศ
โดยนางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า “การลงทุนของ ซี.พี. เข้าเงื่อนไขการลงทุนตามมาตรการดังกล่าว จึงได้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี และยกเว้นภาษีเครื่องจักร และแน่นอนว่าตามเงื่อนไขยังได้กำหนดไว้อีกว่า โครงการจะต้องเริ่มผลิตและมีรายได้ภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2563 สำคัญคือต้องจำหน่ายและหรือบริจาคภายในประเทศอย่างน้อย 50% ของปริมาณที่ผลิตได้ในปี 2563-2564”
ดังนั้น หากเป้าหมายของ ซี.พี. คือ การผลิตเพื่อบริจาคแจกฟรีแก่บุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงประชาชน ก็เข้าเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดให้สำหรับภายในประเทศ 50% ภายในปี 2564 จะได้สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่ม 50% เป็นเวลา 3 ปี ซึ่งต้องพิสูจน์เมื่อสิ้นปี 2564
ก็เป็นอันว่าเคลียร์ให้ชัดเจน หมดข้อกังขากันไป ที่สำคัญในอนาคต เมื่อสถานการณ์วิกฤติจบสิ้นลง โรงงานแห่งนี้จะดำเนินการต่อไป แต่จะเปลี่ยนรูปแบบเป็น Social Enterprise บริษัทเพื่อสังคม ผลิตหน้ากากอนามัยระดับคุณภาพออกจำหน่ายในราคาถูก โดยรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจะมอบให้กับศูนย์โรคหัวใจ รพ.จุฬาลงกรณ์ ตามที่เจ้าสัวธนินท์ตั้งใจไว้แต่แรก และเพื่อเป็นการลดข้อครหาต่าง ๆ โดยเฉพาะความระแวงสงสัยว่า ซีพีจะดำเนินการเพื่อนำรายได้เข้ากระเป๋าสตางค์ตัวเอง การทำหน้าที่ครั้งนี้จึงทำในนามของมูลนิธิเครือเจริญโภคภัณฑ์ มั่นใจได้ว่าไม่มีการพาณิชย์เข้ามาเกี่ยวข้องแน่นอน