มือใหม่หัดเขียน : เรื่องเล่าจากครูเคย 'ใหม่' (๑)
#จุดเริ่มต้นของจุดจบ
"สู ๆ ครูใหม่มาแล้ว ๆ"
เสียงเจี๊ยวจ๊าวในยามเช้าของกลุ่มนักเรียนตะโกนบอกกันเป็นทอด ๆ แข่งกับเสียงออดเตือนเข้าแถวเคารพธงชาติ ธงโบกสะบัดไปตามแรงลมในฤดูเหมันต์ ไม่อาจรู้ว่ามันกำลังสะบัดอย่างเริงร่าให้กับคุณครูคนใหม่ของโรงเรียน หรือเป็นเพราะยินดีให้กับวันเปิดภาคเรียนใหม่ของปีการศึกษากันแน่
"โพดโพหลาย เอ้า! ตั้งใจเตรียมตัวเคารพธงชาติ"
พิธีการอันเป็นกิจวัตรของโรงเรียนดำเนินไปตามขั้นตอน ท่ามกลางเสียงขับขานเพลงชาติไทย และเสียงสวดมนต์ ครูใหม่ที่ถูกให้ความสนใจจากดวงตานับร้อยคู่ใจเต้นไม่เป็นจังหวะ ริมฝีปากหนาได้รูปขมุบขมิบเอ่ยเสียงเบา ทบทวนคำกล่าวแนะนำตัวที่เตรียมไว้ทั้งคืน
ความประทับใจแรกสำคัญที่สุด!
"ลำดับต่อไป ขอเรียนเชิญคุณครูใหม่ ครูสอนภาษาอังกฤษคนใหม่ของโรงเรียนกล่าวทักทายลูก ๆ นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าคุ้มสามทุกคนครับ"
เม๊ง
หากนั่นคือเสียงระฆังขึ้นชก บอกไม่ได้ว่าคู่ชกของคุณครูคนใหม่คือใครระหว่างแดดในยามสายที่กำลังแผดเผาผิวขาวผ่องของคน 'เมืองบน' กับสายตาแป๋ว ๆ ที่หันควับตาม 'คุณครูใหม่' ของพวกเขา
เราต้องรอด!
"กราบเรียนท่านผู้อำนวยการโรงเรียน คณะคุณครูทุกท่าน และสวัสดีลูก ๆ นักเรียนทุกคนนะคะ ครูชื่อนางสาวนภารัตน์ แก้ววิชญาณ์ เรียกว่าครูใหม่ก็ได้ค่ะ คุณครูจะมาสอนพวกเรา..."
ใช่แล้ว คุณอาจจะ(เคย)ลุ้นไปกับ 'คุณครูใหม่' ที่ดูเหมือนจะเอาตัวไม่รอดในการขึ้นชกกับคู่ชกนับร้อยในวันแรกของภาคเรียน แต่ต้องไม่ใช่กับอดีตพิธีกรดำเนินรายการวิทยุออนไลน์ของมหา'ลัยชั้นนำแห่งการผลิต'ครู' ของไทย อย่างนภารัตน์
เกียรตินิยมอันดับสองไม่ได้มาเพราะหน้าตาน่ารัก อ่อนเยาว์ แน่นอนว่าไม่ใช่เพราะโชคช่วยเช่นกัน
ดูท่าว่าหัวข้อสนทนาหลักของวันเปิดเทอมวันแรกไม่ใช่เรื่อง การไปเที่ยวเล่น ของฝาก เรื่องสนุก ๆ ช่วงปิดภาคเรียนที่เด็ก ๆ แต่ละคนได้พบเจอ เพราะถูกแย่งซีนจากความน่ารัก ความสดใสของคุณครูคนใหม่ บ้างก็ทายกันว่าชั้นไหนหนอที่คุณครูจะไปสอนหรือไปประจำชั้น คุณครูจะดุไหม มีแฟนหรือยัง ก่อนจะแยกย้ายเข้าห้องเรียนของตนไป
"นักเรียนทั้งหมดทำความเคารพ"
"สวัสดีครับ/ค่ะ คุณครู"
"อะแฮ่ม! English, please"
คำภาษาต่างประเทศที่คุ้นเคย คลับคล้ายคลับคลาว่าคุณครูคนใหม่ของเด็ก ๆ กำลังสื่อให้เปลี่ยนคำทักทายเป็นภาษาอังกฤษ ดวงตาคู่โตเปล่งประกายระยิบระยับ ก่อนจะขยิบเตือนหัวหน้าชั้นเป็นสัญญาณ
แน่ล่ะ นี่มันคาบเรียนภาษาอังกฤษนี่นา
"โอ๊ะ! พวกหนูลืมค่า~ ต้องเว่าวาจั๊งได๋เกาะค่ะครู?"
"OK, let's repeat after me.
All attention, please"
ยิ่งพูดเหมือนยิ่งเพิ่มสายตางุนงง
นี่เราพูดอะไรผิดไปหรือ? ยังไม่ทันได้ตั้งตัวดีนัก ครูสาวคนใหม่ของนักเรียนชั้นป.2 ก็ได้คำตอบจากเสียงเจื้อยแจ้วของเด็กหญิงหัวหน้าชั้น อย่างกับได้ยินเสียงความคิดของคุณครู
"หนูวา มันหน่าสิขึ่นวา stand ๆ บ่แมนติค่า?"
"หนูหมายถึง stand up, please ใช่ไหม? นั่นก็ใช่ เอาล่ะ ไม่เป็นไร เอาเป็นว่าวันนี้เราจะมาเรียนเรื่อง คำทักทาย คำกล่าวในชั้นเรียนภาษาอังกฤษ..."
ดูเหมือนว่าคุณครูคนใหม่จะเจองานช้างเข้าเสียแล้ว ในพื้นที่ห่างไกลตัวเมือง ไม่ใช่ขาดเพียงแค่โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่ทันยุคทันสมัยเท่านั้น แต่ยังขาดสายตาและมือที่โอบอุ้มและตระหนักถึงปัญหาของการศึกษาไทยอย่างจริงจัง
หลักสูตรการศึกษา ตัวชี้วัด การทดสอบระดับชาติจากนักวิชาการ จากกลุ่มคนไม่กี่คน ไม่สามารถวัด ประเมินผลการศึกษาในแต่ละภูมิภาค จังหวัด เขตพื้นที่การศึกษา และแต่ละโรงเรียน ของนักเรียนแต่ละคนได้ 100%
แต่ในฐานะครู นภารัตน์ ก็มีความเข้าใจในระบบราชการไทย เธอไม่ได้มองว่าระบบนี้เป็นกรอบที่ปิดกั้นโอกาส ปิดกั้นพัฒนาการ หรือปิดกั้น ตีกรอบใครคนใดคนหนึ่งจนไม่อาจสามารถมีลมหายใจเป็นของตัวเอง
เธอมองว่าเป็นเป้าหมายพื้นฐานของการพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้เรียนรู้ หากครูเช่นเธอสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างพื้นฐานให้นักเรียนของเธอผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ ตามพื้นเพ ความชอบ ความสนใจของแต่ละคนได้ ความสำเร็จย่อมส่งผลกับนักเรียน
ฟันเฟืองเล็ก ๆ เช่นเธออาจจะไม่ยิ่งใหญ่ในการขับเคลื่อนประเทศ หรือเปลี่ยนแปลงระบบได้ แต่ในวันแรกของการเป็นครูเช่นนี้ ทำให้เต็มความสามารถในแบบของเธอ เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว
"ว่าแต่ครูครับ ครูคือบ่บอกซือเล่นครูครับ ซือนภารัตน์มันยาว ผมวาเอิ้นยากครับครู"
"แสดงว่าไม่ได้ตั้งใจฟังตอนครูแนะนำตัวใช่ไหม ด.ช.ศักกรินทร์..."
ว่าแล้ว 'คุณครูคนใหม่' ก็เงียบไปชั่วอึดใจ เธอกำลังรอฟังใครสักคนเอ่ย 'ชื่อเล่น' ของเธอออกมาอย่างคาดหวัง เสียงซุบซิบดังขึ้น บ้างก็ตะโกนถามกันบ้างก็เถียงกันเป็นเรื่องเป็นราวฟังไม่ได้ศัพท์
"5 4 3 2 1 0 .... ทุกคนฟังนะคะ"
"ชื่อของครู ในภาษาอังกฤษอ่านว่า 'นิว' มีอักษรภาษาอังกฤษสามตัว..."
ราวกับบรรยากาศความวุ่นวายของนักเรียนชั้นป.2 เมื่อสักครู่ไม่เคยเกิดขึ้น ทั้งห้องเงียบสนิทเพื่อรอฟัง 'ชื่อเล่น' ของ 'คุณครูคนใหม่' ของพวกเขา ก่อนจะโห่ร้องด้วยอารมณ์ที่หลากหลายทันทีที่ 'คุณครูคนใหม่' พูดจบ
"...ชื่ออะไรให้ไปหาคำตอบมา คาบต่อไปครูจะมาถาม หมดเวลาแล้ว หัวหน้าชั้นบอกทำความเคารพค่ะ"
"โอ้ยยย ครูแหม่ะ โอ๊ะ! All attention, please"
"Thank you teacher, see you again next time. Good bye"
ผ่านไปแล้ว หญิงสาวยิ้มรับให้กับคาบแรกของการสอนในฐานะครู รอยยิ้มหวานเปล่งประกายอย่างภาคภูมิใจ
วันนี้เป็นวันที่ดี
เธอเชื่อในจุดเริ่มต้นที่ดี ในแง่ของการทำงานสอนไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะทุกขั้นตอนคือสร้างสรรค์ประติมากรรมมนุษย์ แต่สิ่งที่ยากยิ่งกว่าคือการรักษาจุดยืน ทัศนคติเพื่อส่วนรวม เธอกลัวจับใจว่าจะถูกกลืนกินจากสังคมที่เห็นแก่ส่วนตน เธอกลัวว่าจะถูกทำร้ายจนเผลอรักตัวเอง และถูกสาดโคลนให้แปดเปื้อนเลยเถิดถึงคนข้างกาย
และนั่นอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การถ่ายทอดในฐานะครูผิดเพี้ยน อาจเป็นต้นเหตุของความไม่สมบูรณ์แล้วเผลอถ่ายทอดให้นักเรียนของเธอ
ชีวิตมีจุดเริ่มต้น มีเกิดขึ้น แต่เรากลับไม่พร้อม ไม่พร้อมเลยสักนิดที่จะจบสิ้น และดับซึ่งความเป็นตัวตน
อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด
เราทำเต็มที่ก็พอแล้ว
เธอคิดเช่นนั้น
จบตอน ๑
ขอบคุณที่อ่านจนถึงบรรทัดนี้
ขอบคุณหากมีคำยินดีให้พัฒนา
ขอบคุณคำติชม คำกล่าวว่า
พร้อมศึกษาพัฒนาเพื่อเหล่านักเรียน
ขอบคุณค่ะ
ตอนที่ ๒
มือใหม่หัดเขียน : เรื่องเล่าจากครูเคย 'ใหม่' (1)
มือใหม่หัดเขียน : เรื่องเล่าจากครูเคย 'ใหม่' (๑)
#จุดเริ่มต้นของจุดจบ
"สู ๆ ครูใหม่มาแล้ว ๆ"
เสียงเจี๊ยวจ๊าวในยามเช้าของกลุ่มนักเรียนตะโกนบอกกันเป็นทอด ๆ แข่งกับเสียงออดเตือนเข้าแถวเคารพธงชาติ ธงโบกสะบัดไปตามแรงลมในฤดูเหมันต์ ไม่อาจรู้ว่ามันกำลังสะบัดอย่างเริงร่าให้กับคุณครูคนใหม่ของโรงเรียน หรือเป็นเพราะยินดีให้กับวันเปิดภาคเรียนใหม่ของปีการศึกษากันแน่
"โพดโพหลาย เอ้า! ตั้งใจเตรียมตัวเคารพธงชาติ"
พิธีการอันเป็นกิจวัตรของโรงเรียนดำเนินไปตามขั้นตอน ท่ามกลางเสียงขับขานเพลงชาติไทย และเสียงสวดมนต์ ครูใหม่ที่ถูกให้ความสนใจจากดวงตานับร้อยคู่ใจเต้นไม่เป็นจังหวะ ริมฝีปากหนาได้รูปขมุบขมิบเอ่ยเสียงเบา ทบทวนคำกล่าวแนะนำตัวที่เตรียมไว้ทั้งคืน ความประทับใจแรกสำคัญที่สุด!
"ลำดับต่อไป ขอเรียนเชิญคุณครูใหม่ ครูสอนภาษาอังกฤษคนใหม่ของโรงเรียนกล่าวทักทายลูก ๆ นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าคุ้มสามทุกคนครับ"
เม๊ง
หากนั่นคือเสียงระฆังขึ้นชก บอกไม่ได้ว่าคู่ชกของคุณครูคนใหม่คือใครระหว่างแดดในยามสายที่กำลังแผดเผาผิวขาวผ่องของคน 'เมืองบน' กับสายตาแป๋ว ๆ ที่หันควับตาม 'คุณครูใหม่' ของพวกเขา เราต้องรอด!
"กราบเรียนท่านผู้อำนวยการโรงเรียน คณะคุณครูทุกท่าน และสวัสดีลูก ๆ นักเรียนทุกคนนะคะ ครูชื่อนางสาวนภารัตน์ แก้ววิชญาณ์ เรียกว่าครูใหม่ก็ได้ค่ะ คุณครูจะมาสอนพวกเรา..."
ใช่แล้ว คุณอาจจะ(เคย)ลุ้นไปกับ 'คุณครูใหม่' ที่ดูเหมือนจะเอาตัวไม่รอดในการขึ้นชกกับคู่ชกนับร้อยในวันแรกของภาคเรียน แต่ต้องไม่ใช่กับอดีตพิธีกรดำเนินรายการวิทยุออนไลน์ของมหา'ลัยชั้นนำแห่งการผลิต'ครู' ของไทย อย่างนภารัตน์
เกียรตินิยมอันดับสองไม่ได้มาเพราะหน้าตาน่ารัก อ่อนเยาว์ แน่นอนว่าไม่ใช่เพราะโชคช่วยเช่นกัน
ดูท่าว่าหัวข้อสนทนาหลักของวันเปิดเทอมวันแรกไม่ใช่เรื่อง การไปเที่ยวเล่น ของฝาก เรื่องสนุก ๆ ช่วงปิดภาคเรียนที่เด็ก ๆ แต่ละคนได้พบเจอ เพราะถูกแย่งซีนจากความน่ารัก ความสดใสของคุณครูคนใหม่ บ้างก็ทายกันว่าชั้นไหนหนอที่คุณครูจะไปสอนหรือไปประจำชั้น คุณครูจะดุไหม มีแฟนหรือยัง ก่อนจะแยกย้ายเข้าห้องเรียนของตนไป
"นักเรียนทั้งหมดทำความเคารพ"
"สวัสดีครับ/ค่ะ คุณครู"
"อะแฮ่ม! English, please"
คำภาษาต่างประเทศที่คุ้นเคย คลับคล้ายคลับคลาว่าคุณครูคนใหม่ของเด็ก ๆ กำลังสื่อให้เปลี่ยนคำทักทายเป็นภาษาอังกฤษ ดวงตาคู่โตเปล่งประกายระยิบระยับ ก่อนจะขยิบเตือนหัวหน้าชั้นเป็นสัญญาณ แน่ล่ะ นี่มันคาบเรียนภาษาอังกฤษนี่นา
"โอ๊ะ! พวกหนูลืมค่า~ ต้องเว่าวาจั๊งได๋เกาะค่ะครู?"
"OK, let's repeat after me. All attention, please"
ยิ่งพูดเหมือนยิ่งเพิ่มสายตางุนงง นี่เราพูดอะไรผิดไปหรือ? ยังไม่ทันได้ตั้งตัวดีนัก ครูสาวคนใหม่ของนักเรียนชั้นป.2 ก็ได้คำตอบจากเสียงเจื้อยแจ้วของเด็กหญิงหัวหน้าชั้น อย่างกับได้ยินเสียงความคิดของคุณครู
"หนูวา มันหน่าสิขึ่นวา stand ๆ บ่แมนติค่า?"
"หนูหมายถึง stand up, please ใช่ไหม? นั่นก็ใช่ เอาล่ะ ไม่เป็นไร เอาเป็นว่าวันนี้เราจะมาเรียนเรื่อง คำทักทาย คำกล่าวในชั้นเรียนภาษาอังกฤษ..."
ดูเหมือนว่าคุณครูคนใหม่จะเจองานช้างเข้าเสียแล้ว ในพื้นที่ห่างไกลตัวเมือง ไม่ใช่ขาดเพียงแค่โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่ทันยุคทันสมัยเท่านั้น แต่ยังขาดสายตาและมือที่โอบอุ้มและตระหนักถึงปัญหาของการศึกษาไทยอย่างจริงจัง
หลักสูตรการศึกษา ตัวชี้วัด การทดสอบระดับชาติจากนักวิชาการ จากกลุ่มคนไม่กี่คน ไม่สามารถวัด ประเมินผลการศึกษาในแต่ละภูมิภาค จังหวัด เขตพื้นที่การศึกษา และแต่ละโรงเรียน ของนักเรียนแต่ละคนได้ 100%
แต่ในฐานะครู นภารัตน์ ก็มีความเข้าใจในระบบราชการไทย เธอไม่ได้มองว่าระบบนี้เป็นกรอบที่ปิดกั้นโอกาส ปิดกั้นพัฒนาการ หรือปิดกั้น ตีกรอบใครคนใดคนหนึ่งจนไม่อาจสามารถมีลมหายใจเป็นของตัวเอง
เธอมองว่าเป็นเป้าหมายพื้นฐานของการพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้เรียนรู้ หากครูเช่นเธอสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างพื้นฐานให้นักเรียนของเธอผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ ตามพื้นเพ ความชอบ ความสนใจของแต่ละคนได้ ความสำเร็จย่อมส่งผลกับนักเรียน
ฟันเฟืองเล็ก ๆ เช่นเธออาจจะไม่ยิ่งใหญ่ในการขับเคลื่อนประเทศ หรือเปลี่ยนแปลงระบบได้ แต่ในวันแรกของการเป็นครูเช่นนี้ ทำให้เต็มความสามารถในแบบของเธอ เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว
"ว่าแต่ครูครับ ครูคือบ่บอกซือเล่นครูครับ ซือนภารัตน์มันยาว ผมวาเอิ้นยากครับครู"
"แสดงว่าไม่ได้ตั้งใจฟังตอนครูแนะนำตัวใช่ไหม ด.ช.ศักกรินทร์..."
ว่าแล้ว 'คุณครูคนใหม่' ก็เงียบไปชั่วอึดใจ เธอกำลังรอฟังใครสักคนเอ่ย 'ชื่อเล่น' ของเธอออกมาอย่างคาดหวัง เสียงซุบซิบดังขึ้น บ้างก็ตะโกนถามกันบ้างก็เถียงกันเป็นเรื่องเป็นราวฟังไม่ได้ศัพท์
"5 4 3 2 1 0 .... ทุกคนฟังนะคะ"
"ชื่อของครู ในภาษาอังกฤษอ่านว่า 'นิว' มีอักษรภาษาอังกฤษสามตัว..."
ราวกับบรรยากาศความวุ่นวายของนักเรียนชั้นป.2 เมื่อสักครู่ไม่เคยเกิดขึ้น ทั้งห้องเงียบสนิทเพื่อรอฟัง 'ชื่อเล่น' ของ 'คุณครูคนใหม่' ของพวกเขา ก่อนจะโห่ร้องด้วยอารมณ์ที่หลากหลายทันทีที่ 'คุณครูคนใหม่' พูดจบ
"...ชื่ออะไรให้ไปหาคำตอบมา คาบต่อไปครูจะมาถาม หมดเวลาแล้ว หัวหน้าชั้นบอกทำความเคารพค่ะ"
"โอ้ยยย ครูแหม่ะ โอ๊ะ! All attention, please"
"Thank you teacher, see you again next time. Good bye"
ผ่านไปแล้ว หญิงสาวยิ้มรับให้กับคาบแรกของการสอนในฐานะครู รอยยิ้มหวานเปล่งประกายอย่างภาคภูมิใจ วันนี้เป็นวันที่ดี
เธอเชื่อในจุดเริ่มต้นที่ดี ในแง่ของการทำงานสอนไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะทุกขั้นตอนคือสร้างสรรค์ประติมากรรมมนุษย์ แต่สิ่งที่ยากยิ่งกว่าคือการรักษาจุดยืน ทัศนคติเพื่อส่วนรวม เธอกลัวจับใจว่าจะถูกกลืนกินจากสังคมที่เห็นแก่ส่วนตน เธอกลัวว่าจะถูกทำร้ายจนเผลอรักตัวเอง และถูกสาดโคลนให้แปดเปื้อนเลยเถิดถึงคนข้างกาย
และนั่นอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การถ่ายทอดในฐานะครูผิดเพี้ยน อาจเป็นต้นเหตุของความไม่สมบูรณ์แล้วเผลอถ่ายทอดให้นักเรียนของเธอ
ชีวิตมีจุดเริ่มต้น มีเกิดขึ้น แต่เรากลับไม่พร้อม ไม่พร้อมเลยสักนิดที่จะจบสิ้น และดับซึ่งความเป็นตัวตน
อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด
เราทำเต็มที่ก็พอแล้ว
เธอคิดเช่นนั้น
จบตอน ๑
ขอบคุณที่อ่านจนถึงบรรทัดนี้
ขอบคุณหากมีคำยินดีให้พัฒนา
ขอบคุณคำติชม คำกล่าวว่า
พร้อมศึกษาพัฒนาเพื่อเหล่านักเรียน
ขอบคุณค่ะ
ตอนที่ ๒