ในสถานการณ์ตอนนี้ที่เชื้อไวรัส COVID-19 กำลังแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ทำให้เราจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานมาเป็นแบบ
“Work from Home” เพื่อลดความเสี่ยงในการได้รับหรือแพร่กระจายเชื้อให้กับคนรอบข้าง หลายๆคนอาจจะยังไม่คุ้นชินกับสภาพแวดล้อมในการทำงานที่บ้านกันสักเท่าไหร่ ยิ่งช่วงนี้ต้องอยู่บ้านกันมากขึ้น อาจจะเจอปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับบ้านและอยากจะปรับปรุงหรือแก้ไข
วันนี้ SCG HOME Expert ในฐานะที่เป็น Expert Brand น้องใหม่ เลยอยากจะขอชวนทุกคนลองมาตรวจเช็กที่อยู่อาศัยของพวกเรากันครับ
เอาเป็นว่า….เมื่อไรที่สถานการณ์ดีขึ้น ทุกคนก็พร้อมจะลุกขึ้นมาปรับปรุงบ้านให้สวย และอยู่สบายได้เลยครับ
มีทั้งหมด 6 ขั้นตอน เพื่อเตรียมตัวก่อนลงมือปรับปรุงบ้านมาฝากครับ ไปลุยกันเลยย
เริ่มกันที่
1.กำหนดวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงบ้าน
วิธีนี้จะช่วยให้เราสามารถประเมินงบเบื้องต้นได้ และได้รู้ว่าเราอยากปรับปรุงบ้านส่วนไหนเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น
-
ปรับปรุงบ้านทั้งหลัง เนื่องจากสภาพเก่าทรุดโทรมมากแล้ว หรือมีความเสียหายในหลายๆส่วน
ภาพ: สภาพเดิมทรุดโทรมและเสียหายมากจึงทำการปรับปรุงใหม่ทั้งหลัง
ขอบคุณภาพ: คุณภาณุ เอี่ยมต่อม
- จัดแบ่งพื้นที่ใช้สอยใหม่ เพื่อให้พื้นที่มีความหลากหลายในการใช้งานมากขึ้น เช่น กั้นพื้นที่ทำงาน หรือ กั้นเป็นห้องโฮมเธียเตอร์
ในพื้นที่ห้องนั่งเล่นก็ได้
- ซ่อมแซมบางส่วนที่เสียหาย เพื่อปรับปรุงสภาพใหม่ แถมเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานให้ดีขึ้นด้วย เช่น ห้องครัวที่มีบางส่วนชำรุด เสียหาย
ก็ถือโอกาสปรับปรุงใหม่ให้ดูสวย โมเดิร์น และมีการใช้งานได้ดีขึ้น หรือบางบ้านอาจจะมีปัญหาห้องน้ำรั่ว เนื่องจากระบบท่อมีปัญหา และมีสภาพเก่า
ทรุดโทรม ก็ถือโอกาสปรับโฉมห้องน้ำใหม่ทั้งห้องนั่นเอง
ภาพ: ปรับโฉมห้องครัวใหม่ให้สวยและโมเดิร์นขึ้น
ขอบคุณภาพ: คุณอวิรุทธ์ อุรุพงศา, Chalam
-
ปรับปรุงใหม่ให้ใช้งานได้ดีขึ้น ถึงแม้จะไม่ได้มีอะไรเสียหาย แต่เราสามารถปรับปรุงพื้นที่ในส่วนนั้นๆให้ใช้งานได้ดีขึ้น ก็ถือเป็นไอเดียที่ดีไม่ใช่น้อยครับ เช่น เพิ่มแผงกันแดดที่หน้าต่างห้องทำงานซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่แดดส่องร้อนแรง หรือเจาะช่องแสงเพิ่มในห้องครัว เพื่อลดความรู้สึกทึบตันและระบายอากาศได้ดียิ่งขึ้น
ภาพ: เจาะช่องแสงเพิ่ม เพื่อช่วยให้ระบายอากาศได้ดีขึ้น
ขอบคุณภาพ: คุณอวิรุทธ์ อุรุพงศา, Chalam
- ปรับโฉมใหม่ตามสไตล์ที่ชอบ เช่น แต่งห้องนั่งเล่น ห้องทำงาน ให้เป็นสไตล์ลอฟท์โดยการฉาบผนังใหม่ให้เป็นปูนเปลือยแบบดิบๆ ด้วยสกิมโค้ท และรื้อฝ้าเพดานออกเพื่อโชว์ท่องานระบบต่างๆ
ภาพ : ปรับปรุงห้องนั่งเล่นจากเดิมที่ดูเรียบ ให้ดูเท่เข้ากับสไตล์ลอฟท์
ขอบคุณภาพ : ตัวอย่างบ้านของคุณกฤติกา เภกะสุต
หรือรีโนเวทห้องทานข้าวใหม่ เพื่อให้บรรยากาศดูโปร่งโล่งสบายและให้ลุคที่ดูโมเดิร์นมากขึ้น
ภาพ: รีโนเวทส่วนทานข้าวใหม่ ให้โปร่ง โล่ง และโมเดิร์น
ขอบคุณภาพ: คุณอวิรุทธ์ อุรุพงศา, Chalam
2. รวบรวมข้อมูลและรูปแบบที่ชอบ
เพื่อทางสถาปนิกและผู้เชี่ยวชาญจะได้มีข้อมูลไปใช้ในการออกแบบ ได้ตรงกับความต้องการของเจ้าของบ้านมากที่สุด
การตกแต่งห้องหรือพื้นที่ที่เราต้องการปรับปรุง รวมถึงวัสดุที่จะนำมาใช้ เราสามารถค้นหาได้จากสื่อต่างๆ หรือจากสถานที่จริง (เช่น บ้านตัวอย่างในหมู่บ้าน หรือบ้านของเพื่อนบ้าน เป็นต้น) เพื่อเป็นไอเดียในการปรับปรุงบ้านของเราเอง และยังใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบของสถาปนิกหรือมัณฑนากร รวมถึงใช้เป็นข้อมูลให้กับเจ้าของบ้าน สำหรับปรึกษาผู้เชี่ยวชาญต่างๆได้อีกด้วยครับ
3. ตรวจสอบสภาพพื้นที่และกำหนดแนวทางในการปรับปรุง
เพื่อจะได้แก้ปัญหาของพื้นที่นั้นๆได้ตรงจุด มีการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับงาน รวมถึงประหยัดเวลาและงบประมาณ
เจ้าของบ้านควรตรวจสอบส่วนต่างๆ ของบ้าน หรือพื้นที่ที่กำลังจะปรับปรุงด้วยครับว่ามีส่วนไหนที่ยังใช้งานได้ดี หรือมีส่วนไหนที่เสียหายต้องปรับปรุง ซ่อมแซม (สำรวจทั้งก่อนปรับปรุงและในขณะที่ลงมือปรับปรุงบ้านเลยนะครับ) โดยการทำ Check List ในแต่ละห้องหรือแต่ละพื้นที่ตามประเภทงานต่างๆ แบ่งเป็น
งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม (วัสดุตกแต่งและปิดผิว) พื้นที่รอบบ้าน งานระบบไฟฟ้า งานระบบประปาและสุขาภิบาล รวมถึงระบบปรับอากาศ (ถ้ามี) และกำหนดแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขที่ชัดเจนและเหมาะสมในแต่ละงาน โดยท่านเจ้าของบ้านอาจปรึกษาวิศวกร สถาปนิก หรือผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมได้ครับ
ภาพ: บ้านทรุด และผนังช่วงล่างมีความชื้น
4. สรุปเนื้องานที่ต้องการปรับปรุง
จาก Check List ที่ได้ทำไว้ โดยสรุปเนื้องานที่ต้องการปรับปรุงทั้งหมด และให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ตั้งไว้
5. จัดเตรียมงบประมาณในการปรับปรุงบ้าน แบ่งได้เป็น 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ค่าออกแบบโดยสถาปนิก มัณฑนากร วิศวกรโครงสร้าง และวิศวกรงานระบบต่างๆ
ส่วนที่ 2 ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุง ได้แก่ ค่าวัสดุและค่าแรงก่อสร้าง ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า รวมถึงค่าดำเนินการต่าง ๆ ระหว่างการก่อสร้าง
ส่วนที่ 3 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าเช่าโกดังเก็บของ ค่าเช่าบ้านอยู่ชั่วคราว ค่าดำเนินการขออนุญาตปรับปรุงบ้านกับหน่วยงานราชการ
(สำหรับกรณีที่จำเป็นต้องยื่นขออนุญาต) ค่าบริการที่ปรึกษางานก่อสร้าง ฯลฯ
ทั้งนี้ เราอาจใช้งบประมาณเพียงบางส่วนจากทั้ง 3 ส่วนที่กล่าวมาเท่านั้นครับ
ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับปริมาณงาน และขอบเขตในการปรับปรุงบ้าน
และอย่าลืมเผื่องบประมาณที่อาจจะบานปลายไว้ด้วยนะครับ แต่ถ้าหากเจ้าของบ้านท่านไหนมีงบประมาณในการปรับปรุงบ้านที่จำกัด สิ่งสำคัญที่ SCG HOME Expert อยากขอแนะนำเลยก็คือ
ควรวางแผนลำดับความสำคัญในการปรับปรุงบ้านเป็นส่วนๆ ตามช่วงเวลาต่างๆ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับงบประมาณที่ต้องใช้ในการปรับปรุงบ้านไว้ด้วยครับ
6. การเลือกวิธี RENOVATE บ้าน
หากเป็นการ
รีโนเวทบ้านทั้งหลัง หรือเป็นการต่อเติมปรับปรุงพื้นที่ขนาดใหญ่ ซึ่งจำเป็นต้องปรึกษาผู้ออกแบบหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
สามารถเลือกได้ 2 วิธีดังนี้ครับ
วิธีที่หนึ่ง Design-Bid-Built คือ ผู้ออกแบบและผู้รับเหมาแยกกันคนละราย วิธีนี้เจ้าของบ้านสามารถตรวจสอบและปรับปรุงแบบให้ตรงตามความต้องการได้ค่อนข้างสมบูรณ์ก่อนที่จะเริ่มก่อสร้าง เพราะผู้ออกแบบจะมีส่วนร่วมในฐานะเป็นที่ปรึกษาของเจ้าของบ้าน ไปจนถึงร่วมตรวจคุณภาพงานและวิธีแก้ปัญหาของผู้รับเหมาในระหว่างก่อสร้างด้วยครับ ดังนั้น นอกจากประสบการณ์ด้านการออกแบบแล้ว
อีกสิ่งหนึ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกผู้ออกแบบก็คือ ประสบการณ์ด้านการควบคุมงานและประสานงานก่อสร้างของผู้ออกแบบนั่นเอง เพราะมีส่วนส่งผลต่อความล่าช้าและงบประมาณในการปรับปรุงบ้านได้ครับ
ภาพ: ผู้ออกแบบและผู้รับเหมา เป็นคนละรายกัน
สำหรับวิธีที่สอง Design & Build คือ ผู้ออกแบบและผู้รับเหมาเป็นรายเดียวกัน หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “Turn Key” เป็นวิธีที่สะดวกต่อเจ้าของบ้าน เพราะจะติดต่อกับผู้ประสานงานรายเดียวตั้งแต่เริ่มออกแบบไปจนถึงปรับปรุงบ้านจนเสร็จเรียบร้อย อีกสิ่งหนึ่งที่ SCG HOME Expert ขอแนะนำเลยก็คือควรกำหนดขอบเขตงานและรายละเอียดการก่อสร้างโดยระบุในสัญญาว่าจ้างให้ชัดเจน เพื่อป้องกันข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการปรับปรุง เพราะเจ้าของบ้านไม่ได้มีคนกลางในการช่วยประสานงานนั่นเองครับ อย่างไรก็ตาม การจ้างแบบ Turn Key ก็ถือเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยควบคุมระยะเวลาและงบประมาณในการก่อสร้างได้ดีครับ
ภาพ: TURN KEY
จากทั้ง 2 วิธีนี้ ไม่ว่าจะเลือกวิธีไหนสำหรับการรีโนเวทบ้านทั้งหลัง หรือปรับปรุง ต่อเติมพื้นที่ขนาดใหญ่ เจ้าของบ้านสามารถว่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานต่างหาก เพื่อช่วยให้การก่อสร้างปรับปรุงบ้านเป็นไปอย่างราบรื่น ตามระยะเวลาและงบประมาณที่กำหนดไว้ครับ
โดยเจ้าของบ้านอาจจะลองพิจารณาของเก่าที่มีอยู่ ที่สามารถนำมาปรับปรุงหรือประยุกต์ใช้ใหม่ได้ เพื่อยังคงเรื่องราวดั้งเดิมของบ้านเก่าไว้บางส่วนได้ครับ เช่น บานประตูไม้จริงที่ยังมีสภาพดี หากนำมาขัดลอกทำสีใหม่ก็นำไปใช้ได้เช่นเคย หรือประตูหน้าต่างเก่าเสียหาย ก็สามารถนำมาดัดแปลงเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้ เป็นต้น และอย่าลืมมองหาของเก่าบางอย่างที่สามารถขายได้ด้วยนะครับ เช่น โครงเหล็ก ประตู-หน้าต่างอะลูมิเนียม ฯลฯ เพื่อช่วยลดงบประมาณในการปรับปรุงบ้านได้อีกทางหนึ่ง
มาถึงตรงนี้แล้วหากท่านใดสนใจ และมีไอเดียที่กำลังจะซ่อมแซมหรือปรับปรุงบ้านแล้วล่ะก็ สามารถเข้ามาหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องบ้านได้เลยครับ ที่
https://www.scgbuildingmaterials.com/th/LivingIdea/Maintenance
แล้วพบกับเกร็ดความรู้และสาระดีๆเกี่ยวกับเรื่องบ้านได้ ในตอนต่อไปนะครับ
6 ข้อควรรู้...ก่อนคิดรีโนเวทบ้าน
ในสถานการณ์ตอนนี้ที่เชื้อไวรัส COVID-19 กำลังแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ทำให้เราจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานมาเป็นแบบ “Work from Home” เพื่อลดความเสี่ยงในการได้รับหรือแพร่กระจายเชื้อให้กับคนรอบข้าง หลายๆคนอาจจะยังไม่คุ้นชินกับสภาพแวดล้อมในการทำงานที่บ้านกันสักเท่าไหร่ ยิ่งช่วงนี้ต้องอยู่บ้านกันมากขึ้น อาจจะเจอปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับบ้านและอยากจะปรับปรุงหรือแก้ไข
วันนี้ SCG HOME Expert ในฐานะที่เป็น Expert Brand น้องใหม่ เลยอยากจะขอชวนทุกคนลองมาตรวจเช็กที่อยู่อาศัยของพวกเรากันครับ
เอาเป็นว่า….เมื่อไรที่สถานการณ์ดีขึ้น ทุกคนก็พร้อมจะลุกขึ้นมาปรับปรุงบ้านให้สวย และอยู่สบายได้เลยครับ
มีทั้งหมด 6 ขั้นตอน เพื่อเตรียมตัวก่อนลงมือปรับปรุงบ้านมาฝากครับ ไปลุยกันเลยย
เริ่มกันที่ 1.กำหนดวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงบ้าน
วิธีนี้จะช่วยให้เราสามารถประเมินงบเบื้องต้นได้ และได้รู้ว่าเราอยากปรับปรุงบ้านส่วนไหนเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น
- ปรับปรุงบ้านทั้งหลัง เนื่องจากสภาพเก่าทรุดโทรมมากแล้ว หรือมีความเสียหายในหลายๆส่วน
เพื่อทางสถาปนิกและผู้เชี่ยวชาญจะได้มีข้อมูลไปใช้ในการออกแบบ ได้ตรงกับความต้องการของเจ้าของบ้านมากที่สุด
การตกแต่งห้องหรือพื้นที่ที่เราต้องการปรับปรุง รวมถึงวัสดุที่จะนำมาใช้ เราสามารถค้นหาได้จากสื่อต่างๆ หรือจากสถานที่จริง (เช่น บ้านตัวอย่างในหมู่บ้าน หรือบ้านของเพื่อนบ้าน เป็นต้น) เพื่อเป็นไอเดียในการปรับปรุงบ้านของเราเอง และยังใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบของสถาปนิกหรือมัณฑนากร รวมถึงใช้เป็นข้อมูลให้กับเจ้าของบ้าน สำหรับปรึกษาผู้เชี่ยวชาญต่างๆได้อีกด้วยครับ
3. ตรวจสอบสภาพพื้นที่และกำหนดแนวทางในการปรับปรุง
เพื่อจะได้แก้ปัญหาของพื้นที่นั้นๆได้ตรงจุด มีการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับงาน รวมถึงประหยัดเวลาและงบประมาณ
เจ้าของบ้านควรตรวจสอบส่วนต่างๆ ของบ้าน หรือพื้นที่ที่กำลังจะปรับปรุงด้วยครับว่ามีส่วนไหนที่ยังใช้งานได้ดี หรือมีส่วนไหนที่เสียหายต้องปรับปรุง ซ่อมแซม (สำรวจทั้งก่อนปรับปรุงและในขณะที่ลงมือปรับปรุงบ้านเลยนะครับ) โดยการทำ Check List ในแต่ละห้องหรือแต่ละพื้นที่ตามประเภทงานต่างๆ แบ่งเป็น งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม (วัสดุตกแต่งและปิดผิว) พื้นที่รอบบ้าน งานระบบไฟฟ้า งานระบบประปาและสุขาภิบาล รวมถึงระบบปรับอากาศ (ถ้ามี) และกำหนดแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขที่ชัดเจนและเหมาะสมในแต่ละงาน โดยท่านเจ้าของบ้านอาจปรึกษาวิศวกร สถาปนิก หรือผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมได้ครับ
จาก Check List ที่ได้ทำไว้ โดยสรุปเนื้องานที่ต้องการปรับปรุงทั้งหมด และให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ตั้งไว้
5. จัดเตรียมงบประมาณในการปรับปรุงบ้าน แบ่งได้เป็น 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ค่าออกแบบโดยสถาปนิก มัณฑนากร วิศวกรโครงสร้าง และวิศวกรงานระบบต่างๆ
ส่วนที่ 2 ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุง ได้แก่ ค่าวัสดุและค่าแรงก่อสร้าง ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า รวมถึงค่าดำเนินการต่าง ๆ ระหว่างการก่อสร้าง
ส่วนที่ 3 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าเช่าโกดังเก็บของ ค่าเช่าบ้านอยู่ชั่วคราว ค่าดำเนินการขออนุญาตปรับปรุงบ้านกับหน่วยงานราชการ
(สำหรับกรณีที่จำเป็นต้องยื่นขออนุญาต) ค่าบริการที่ปรึกษางานก่อสร้าง ฯลฯ
ทั้งนี้ เราอาจใช้งบประมาณเพียงบางส่วนจากทั้ง 3 ส่วนที่กล่าวมาเท่านั้นครับ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับปริมาณงาน และขอบเขตในการปรับปรุงบ้าน
และอย่าลืมเผื่องบประมาณที่อาจจะบานปลายไว้ด้วยนะครับ แต่ถ้าหากเจ้าของบ้านท่านไหนมีงบประมาณในการปรับปรุงบ้านที่จำกัด สิ่งสำคัญที่ SCG HOME Expert อยากขอแนะนำเลยก็คือ ควรวางแผนลำดับความสำคัญในการปรับปรุงบ้านเป็นส่วนๆ ตามช่วงเวลาต่างๆ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับงบประมาณที่ต้องใช้ในการปรับปรุงบ้านไว้ด้วยครับ
6. การเลือกวิธี RENOVATE บ้าน
หากเป็นการรีโนเวทบ้านทั้งหลัง หรือเป็นการต่อเติมปรับปรุงพื้นที่ขนาดใหญ่ ซึ่งจำเป็นต้องปรึกษาผู้ออกแบบหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
สามารถเลือกได้ 2 วิธีดังนี้ครับ
วิธีที่หนึ่ง Design-Bid-Built คือ ผู้ออกแบบและผู้รับเหมาแยกกันคนละราย วิธีนี้เจ้าของบ้านสามารถตรวจสอบและปรับปรุงแบบให้ตรงตามความต้องการได้ค่อนข้างสมบูรณ์ก่อนที่จะเริ่มก่อสร้าง เพราะผู้ออกแบบจะมีส่วนร่วมในฐานะเป็นที่ปรึกษาของเจ้าของบ้าน ไปจนถึงร่วมตรวจคุณภาพงานและวิธีแก้ปัญหาของผู้รับเหมาในระหว่างก่อสร้างด้วยครับ ดังนั้น นอกจากประสบการณ์ด้านการออกแบบแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกผู้ออกแบบก็คือ ประสบการณ์ด้านการควบคุมงานและประสานงานก่อสร้างของผู้ออกแบบนั่นเอง เพราะมีส่วนส่งผลต่อความล่าช้าและงบประมาณในการปรับปรุงบ้านได้ครับ
โดยเจ้าของบ้านอาจจะลองพิจารณาของเก่าที่มีอยู่ ที่สามารถนำมาปรับปรุงหรือประยุกต์ใช้ใหม่ได้ เพื่อยังคงเรื่องราวดั้งเดิมของบ้านเก่าไว้บางส่วนได้ครับ เช่น บานประตูไม้จริงที่ยังมีสภาพดี หากนำมาขัดลอกทำสีใหม่ก็นำไปใช้ได้เช่นเคย หรือประตูหน้าต่างเก่าเสียหาย ก็สามารถนำมาดัดแปลงเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้ เป็นต้น และอย่าลืมมองหาของเก่าบางอย่างที่สามารถขายได้ด้วยนะครับ เช่น โครงเหล็ก ประตู-หน้าต่างอะลูมิเนียม ฯลฯ เพื่อช่วยลดงบประมาณในการปรับปรุงบ้านได้อีกทางหนึ่ง
มาถึงตรงนี้แล้วหากท่านใดสนใจ และมีไอเดียที่กำลังจะซ่อมแซมหรือปรับปรุงบ้านแล้วล่ะก็ สามารถเข้ามาหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องบ้านได้เลยครับ ที่ https://www.scgbuildingmaterials.com/th/LivingIdea/Maintenance
แล้วพบกับเกร็ดความรู้และสาระดีๆเกี่ยวกับเรื่องบ้านได้ ในตอนต่อไปนะครับ