JJNY : 1.9ล.ล.หวั่นสะดุดกลไก/คนไทยหวังศก.ดีขึ้น พรวันสงกรานต์/หอค้าคาดหากโควิดลากยาวฉุดส่งออก/ทั่วโลกป่วยโควิดกว่า1.7ล.

ชำแหละแพ็กเกจ 1.9 ล้านล้าน หวั่นสะดุดกลไกราชการ-การเมืองแทรก
https://www.prachachat.net/finance/news-447967
 
 
รัฐบาลขยับ “วงเงิน” ในการต่อสู้กับโรคระบาดและการเยียวยา-ฟื้นฟูเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชนจาก 1.68 ล้านล้านบาท ขึ้นมาเป็น 1.9 ล้านล้านบาท
 
แยกเป็นมาตรการการคลัง 1 ล้านล้านบาท และมาตรการการเงิน 900,000 ล้านบาท
 
โดยในจำนวนนี้จำแนกออกได้เป็น 4 กลุ่มคือ
 
6 แสนล้านเพดานแตกเน้นแจก 5 พัน 18 ล้านคน
 
ถึงแม้ว่า “กรอบ” ของตัววงเงินทางการคลังจะมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ แต่ “ไส้ใน” ของเงินทั้งหมดนั้นยังน่ากังวล หากแยกวงเงินออกมาเป็นก้อนหลัก ๆ ดังนี้
 
ยอด 600,000 ล้านบาท ที่จะใช้กับการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ, เกษตรกร และดูแลด้านสาธารณสุข คาดว่าอาจจะไม่เพียงพอ เพราะต่อให้นับตัวเลข “ต่ำที่สุด” ของผู้ได้รับผลกระทบที่จะอยู่ในข่ายเยียวยา รายละ 5 พันบาท ที่กระทรวงการคลังคาดไว้ 9 ล้านคน หากแจก 6 เดือน จะใช้วงเงิน 270,000 ล้านบาท หรือมากกว่านี้ จากผู้ลงทะเบียนผ่านเว็บ “เราไม่ทิ้งกัน” จำนวน 24.5 ล้านคน
 
กับอีก 1 ยอดที่ถูกเพิ่มเข้ามาคือ การแจกเงินสดให้กับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ 9 ล้านคน คาดว่าจะจ่ายรายละ 5,000 บาท ระยะเวลา 6 เดือน ใช้วงเงิน 270,000 ล้านบาท
 
ขณะที่วงเงินสำหรับใช้กับงานสาธารณสุข เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของโรคให้ชะงัดและชะงักโดยทันที เพื่อลดจำนวนความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชนอยู่ในระดับต่ำสุด
 
แต่กลับพบว่า วงเงินที่ระบบสาธารณสุขจะได้รับการจัดสรรประมาณ 30,000-60,000 ล้านบาท พร้อม ๆ กับมติคณะรัฐมนตรี ที่อนุมัติให้บรรจุข้าราชการสาธารณสุขเพิ่มอีก 45,000 ตำแหน่ง ตัวเลขที่ย้อนแย้งนี้อาจจะเป็นเพราะเหตุผลทางการเมืองของพรรคร่วมรัฐบาล
 
4 แสน ล.ผ่านกลไกราชการ “กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้”
 
วงเงิน 400,000 ล้านบาท ที่ระบุเพื่อใช้ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม เน้นที่ชุมชนและโครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่น นับว่า “น่าเป็นห่วงที่สุด” เพราะหลักการใช้มาจากให้หน่วยราชการเป็นผู้เสนอโครงการ โดยมีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานกลั่นกรองก่อนเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
 
กลไกของระบบราชการ จากชุมชนถึงกระทรวงการคลัง ถูกกำกับด้วยระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เต็มไปด้วยขั้นตอนที่ยุ่งยาก อาจช้าไม่ทันการณ์ต่อการแก้ไขปัญหา เข้ากับสำนวน “กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้
 
กว่าเงินจะถึงมือชาวบ้านที่กำลังรอการช่วยเหลือ อาจต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 60 วัน
ไม่นับว่าอาจมี “พรรคการเมืองร่วมรัฐบาล” ที่ต้องการร่วมขบวนในวงเงินนี้ ด้วยการเสนอโครงการ “สนามบินท้องถิ่น” เข้าสู่วาระการพิจารณาด้วย
 
ดังนั้นความโปร่งใส คู่ขนานความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพจึงสำคัญไม่แพ้กัน

5 แสนล้านซอฟต์โลนให้ SMEs-ไม่ถึงรายเล็กตัวจริง
 
สำหรับวงเงิน 500,000 ล้านบาท เป็นซอฟต์โลนของธนาคารแห่งประเทศไทย ให้กู้กับ SMEs ในวงเงินไม่เกินรายละ 500 ล้านบาท และให้ธนาคารพาณิชย์-สถาบันการเงินอื่น ๆ พักหนี้ SMEs ที่มีวงเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท
 
กลุ่มที่จะได้รับการช่วยเหลือส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ในขณะที่ผู้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจากวิกฤตหนนี้คือผู้ประกอบการในภาคบริการ ตั้งแต่ระดับใหญ่อย่างสายการบินและโรงแรม จนถึงระดับล่าง-ระดับเล็ก ที่ขายข้าวแกง-อาหารห้องแถว-ริมถนน ในเมืองและสถานที่ท่องเที่ยวทั่วประเทศ
 
หากต้องช่วยเหลือ “รายเล็ก” ระดับ “รากหญ้า” อันเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจและปากท้องชาวบ้าน ด้วยตัวเลขคาดการณ์ 200,000 ราย ด้วยการ “ให้เปล่า” ครั้งเดียวจบ เป็นทุนต่อชีวิตกิจการ รายละ 10,000 บาท ใช้งบประมาณ 2,000 ล้านบาท (จากยอด 1.9 ล้านล้าน)

4 แสนล้าน แบงก์ชาติเป็นเจ้ามือซื้อตราสารหนี้
 
วงเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเตรียมไว้รับซื้อตราสารหนี้ภาคเอกชน เพื่อป้องกันความปั่นป่วนในตลาดการเงิน 400,000 ล้านบาท นับเป็นรายการที่จัดสรรเพื่อภารกิจที่ชัดเจนที่สุด
 
ขณะนี้มีบริษัทเอกชนที่ออกตราสารหนี้มาขายจำนวนทั้งสิ้น1.6 ล้านล้านบาท หากมีการนำออกมาถล่มขายเพราะขาดความน่าเชื่อถือ อาจส่งผลสะเทือนต่อตลาดทุนและตลาดหุ้น
 
หากตลาดเงินถล่มลงมา ประเทศนี้ก็จะได้วิกฤตเหมือนปี 2540 ซ้อนทับเข้ามาบนวิกฤตโรคระบาด และวิกฤตแห่งความฝืดเคืองอีกชั้นหนึ่ง
 
วงเงินที่ชัดเจนที่สุดก้อนนี้ก็คือ การช่วยเหลือ “ขาใหญ่” มีความชัดเจน ตรงไปตรงมา ขณะที่มาตรการช่วยเหลือ “ขาเล็ก” ทั้งหลายยังไม่ชัดเจน หรือมีความน่ากังวลว่าจะมีช่องว่างรอยโหว่เกิดขึ้น
 
และเมื่อจะต้องใช้จ่ายงบประมาณจำนวนมหาศาล เพื่อชี้ชะตาคนรุ่นปัจจุบัน และอนาคตในอีก 10-20 ปีข้างหน้า จำเป็นที่วงเงินนั้นต้องใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือวิกฤตที่ “เพียงพอ” และต้อง “ตรงเป้าหมาย
 
ทั้งต้องหยุดการแพร่ระบาดของโรคให้น้อยที่สุด คือบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชนให้มากที่สุด พร้อมกับเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบให้ได้ทั่วถึงที่สุด
 
และสามารถกอบกู้ความเสียหายที่เกิดขึ้นให้ฟื้นขึ้นมาได้มากและเร็วที่สุด อย่างรวดเร็ว ทันการณ์ ลดขั้นตอนกลไกราชการ ให้ระบบราชการแตะเงินหรือเกี่ยวข้องกับขั้นตอนการอนุมัติเงินให้น้อยที่สุด
 
ใช้วาระนี้เป็น “โอกาสที่ดีจะรื้อสร้างใหม่” ประเทศไทย หากมีนักการเมือง-ใครที่ฉวยโอกาสเข้ามาหากิน ต้องมีการจัดการให้เด็ดขาดชัดเจน
 
และควรให้รางวัล-ช่วยเหลือด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษี กับกิจการที่ดี-กลืนเลือด กิจการที่ไม่ลดจำนวนพนักงาน ไม่ลดเงินเดือนค่าจ้าง หรือลดลงมาก็น้อยที่สุด
 
รัฐ-ราชการควรมีมาตรการกระตุ้น ผลักดัน หรือส่งเสริมให้กิจการบางประเภท ทำกิจกรรมและกิจการที่เป็นประโยชน์ ทั้งในเรื่องการจ้างงาน และการแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ เช่น จักรอุตสาหกรรมจำนวนหลายแสนหรือนับล้านตัวในประเทศ ตัดเย็บหน้ากากผ้าเพิ่มขึ้น โดยรัฐเป็นผู้รับซื้อ นำไปแจกหรือจำหน่ายในตลาดโลก ที่ยังมีดีมานด์ที่สูงขึ้น
 
หรือจะสนับสนุนให้เกิดการปรับปรุงเครื่องจักรของผู้ผลิตเม็ดพลาสติกขั้นปลาย เพื่อทำเสื้อคลุม PPE สำหรับแพทย์และบุคลากรด้านสาธารณสุข ที่มีความต้องการมหาศาล ทั้งในและนอกประเทศ
 
รวมทั้งพิจารณา-ตอบสนองข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ผลิตเอทานอลที่จะให้สลับเอาแอลกอฮอล์มาใช้ทางการแพทย์เพิ่มขึ้น
 
หัวใจของมาตรการหลักและมาตรการเสริมที่ครบเครื่องครั้งนี้ อาจจะต้องเริ่มที่การ “ปรับทัศนคติ” ใหม่ของคนไทยและระบบราชการ ซึ่งจะเป็นโอกาสที่ดีที่จะ “รื้อ-สร้าง” สิ่งใหม่ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของโลก
 

 
คนไทยหวังเศรษฐกิจดีขึ้น "มีกินมีใช้" เป็นพรในวันสงกรานต์
https://voicetv.co.th/read/HiptDBZqm
 
กรุงเทพโพลล์ ระบุประชาชนส่วนใหญ่อยากให้เศรษฐกิจดี มีกินมีใช้ เป็นพรสงกรานต์ปีนี้ (63) พร้อมตั้งใจจะอยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ
 
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง "ขอพรสงกรานต์ปีใหม่ไทย คนไทยอยากได้อะไร" โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศพบว่า
 
พรที่ประชาชนอยากขอมากที่สุดในวันสงกรานต์ ปีใหม่ไทยคือ ขอให้เศรษฐกิจดี ทำมาหากินคล่อง มีกินมีใช้ คิดเป็นร้อยละ 76.1
 
รองลงมาคือ ขอให้ผลิตวัคซีนรักษาเชื้อ covid-19 ได้โดยเร็วคิดเป็นร้อยละ 57.2 ขอให้เชื้อ covid-19 หายไปจากโลกนี้คิดเป็นร้อยละ 55.4
 
ขอให้ประเทศมีความมั่นคง ปลอดภัยคิดเป็นร้อยละ 46.6 และขอให้คนในประเทศรักและสามัคคีกัน คิดเป็นร้อยละ 46.5
 
สัญญาอยู่บ้านเพื่อชาติ
 
สำหรับเรื่องที่อยากให้คำมั่นสัญญาในช่วงสถานการณ์ covid-19 พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 85.7 บอกจะอยู่บ้าน-หยุดเชื้อ-เพื่อชาติ รองลงมาร้อยละ 45.7 บอกจะดูแลตัวเอง-ล้างมือ-กินร้อน–ช้อนตัวเอง
 
ร้อยละ 45.5 บอกจะเชื่อฟังคำสั่งทางการ–ประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน–จะฝ่าวิกฤตตินี้ไปด้วยกัน และร้อยละ 28.7 บอกจะป้องกันตนเอง-ป้องกันคนอื่น-ป้องกันสังคม ด้วยการใส่หน้ากาก
 
ส่วนเรื่องที่อยากบอก อยากทำ อยากส่งกำลังใจให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ ที่ต่อสู้กับ covid-19 พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 91.9 อยากบอกว่าเราขอเป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกคน ขอให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกคนปลอดภัย รองลงมาร้อยละ 68.8 อยากบอกว่าเราจะไม่เดินทางท่องเที่ยวข้ามจังหวัด ข้ามประเทศ และร้อยละ 42.4 อยากบอกว่าเราจะร่วมบริจาคเงินสนับสนุนการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องช่วยหายใจ รวมทั้งชุด PPE
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่