===== วิธีปั่นหัวคนด้วยสถิติ กับ Covid-19 =====

วันนี้ผมจะมาแนะนำหนังสือที่เคยอ่านเมื่อนานมาแล้ว ชื่อว่า 'ปั่นหัวคนด้วยสถิติ' หรือ 'How to Lie with Statistics' เขียนโดย Darrell Huff

เป็นหนังสือที่น่าอ่าน เหมาะกับอ่านเพลินๆ สำหรับคนที่ต้องอยู่บ้านช่วง Covid-19 นี้ครับ (แค่คำโปรยบนหน้าปกก็น่าสนใจแล้ว)

เนื่องจากผมเคยอ่านมานานแล้ว จำรายละเอียดไม่ค่อยได้ จำได้แต่เพียงว่า หนังสือเล่มนี้อาจจะช่วยให้คนอ่านตั้งคำถาม และพินิจพิเคราะห์ข้อมูลต่างๆที่หลั่งไหลเข้ามาในชีวิตแต่ละวันเพิ่มขึ้น

มีคนเขียนถึงหนังสือเล่มนี้ไว้ได้ดีหลายคนครับ ผมขอยกตัวอย่างมา 1 เพจ >>
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

คราวนี้มาถึงอีกเรื่องครับ ไม่เกี่ยวกับชื่อหนังสือตามหัวกระทู้นะ อิอิ

เมื่อราวเที่ยงวันนี้ ทางโฆษกศบค. ได้ออกมาแถลง มี slide นึงที่น่าสนใจ เกี่ยวกับสัดส่วนจำนวนตรวจทางห้องปฏิบัติการ Covid-19 จัดทำโดยวช. หรือ สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นดังภาพด้านล่าง

ทางโฆษกศบค. ได้บอกว่าอัตราการติดเชื้อต่อจำนวนที่ตรวจของไทยเรา (2.88%) ไม่ต่างจากของทางเกาหลีใต้ที่ได้การยอมรับจากทั่วโลก (2.19%)

ตาม clip ใน link ด้านล่าง เริ่มนาที 35:23 (โฆษกมีการพูดสลับกันไปมาหลายครั้ง ระหว่าง 'ตัวอย่าง' กับ 'ราย' และบางครั้งไม่ตรงกับสไลด์ที่นำเสนอ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

จาก slide ที่ทางวช.จัดทำมาจะเห็นว่า มีการใช้หน่วย 'ตัวอย่าง' สำหรับการตรวจ และใช้หน่วย 'ราย' สำหรับผู้ติดเชื้อ

ซึ่งจะเห็นได้ว่าเรื่องนี้ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมากในการตีความ เพราะถ้าทั้งสองอย่างเป็นหน่วยเดียวกัน หรือ 'ตัวอย่าง' = 'ราย' ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ terminology คนละตัวกัน

ผมได้ไปตรวจเช็คดูข้อมูลของทางเกาหลีใต้ว่า จำนวนการตรวจของเค้านั้น รายงานออกมาเป็นอะไรกันแน่ ระหว่าง 'ตัวอย่าง' หรือ 'ราย'

มีเว็บไซต์ https://ourworldindata.org/ ซึ่งจัดทำโดย Max Roser (https://www.oxfordmartin.ox.ac.uk/people/dr-max-roser/) ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่อยู่ที่ Oxford Martin School ในเครือของ Oxford University ได้ลงเรื่องวิธีการเก็บตัวเลขการระบาดของ Covid-19 ทั่วโลกตาม link นี้ครับ >> https://ourworldindata.org/covid-testing

มีข้อสังเกตสำหรับการเก็บข้อมูล อยู่ข้อนึงที่บอกไว้ว่า ตัวเลขที่รายงานออกมา บางประเทศรายงานมาเป็นจำนวนการตรวจ (ซึ่งผู้มาตรวจหนึ่งคน สามารถตรวจซ้ำได้หลายครั้ง) และบางประเทศก็รายงานออกมาเป็นจำนวนผู้ที่ได้ทำการตรวจไป

จากข้อมูลของ Our World in Data จะแจงออกมาในกรอบให้เห็นชัดๆว่า หน่วยของแต่ละประเทศจะแตกต่างกัน (ลองไปปรับเลือกประเทศเล่นๆได้ครับ)
ประเทศไหนที่หน่วยไม่ชัดเจน ก็จะลงไปว่าไม่ชัดเจน บางประเทศดูเหมือนจะใช้จำนวนตัวอย่างเหมือนกัน แต่อาจจะใช้ศัพท์แตกต่างกัน เข้าใจว่าขึ้นกับรายงานภาษาอังกฤษของประเทศนั้นๆใช้คำว่าอะไรรายงานออกมามากกว่า

ซึ่งของเกาหลีใต้จะเห็นชัดเจนว่า ใช้คำว่า cases tested ซึ่งถ้าตามไปดูใน link รายงานภาษาอังกฤษของ KCDC ตามที่ Our World in Data ลงไว้ ก็จะพบว่า cases ในที่นี้ของเกาหลี คือจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจจริง (อาจจะยังมีรอผลบ้าง) link KCDC >> https://www.cdc.go.kr/board/board.es?mid=&bid=0030

ส่วนของไทยทางเว็บ Our World in Data ลงไว้เป็นจำนวน PUI หยุดถึงวันที่ 4 เม.ย. ซึ่งตรงนี้อาจจะมีข้อถกเถียงได้ว่า จำนวน PUI 20000 กว่าราย คือจำนวนผู้ที่ได้รับตรวจจริง หรือไม่ หรือว่า 71860 ตัวอย่างที่ทางสธ.รายงาน คือ 71860 รายที่ได้รับการตรวจ ตรงนี้ยังไม่มีความชัดเจน link Thai DDC >> https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/eng/situation.php

แต่มาถึงจุดนี้สิ่งนึงที่ยืนยันได้คือ ตัวเลข 4 แสนกว่าของเกาหลีใต้ เป็นจำนวนผู้มารับการตรวจหาเชื้อ ไม่ใช่จำนวนตัวอย่างที่ผู้รับการตรวจ 1 คน อาจจะตรวจได้มากกว่า 1 ครั้ง

และคำกล่าวของทางโฆษกศบค.ที่ว่า เปอร์เซ็นต์ของไทยกับเกาหลีใต้ ไม่แตกต่างกันนั้นจะเป็นจริงก็ต่อเมื่อ จำนวน 71860 ตัวอย่างของเรานั้น หมายถึง ผู้มารับการตรวจ 71860 คน เช่นเดียวกับเกาหลีใต้

อันนี้ยังไม่ได้วิเคราะห์ต่ออีกนะ ว่าตัวเลขนี้ถ้าสูง หรือต่ำมัน มันแสดงถึงอะไร มีประโยชน์ยังไง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่