นายพงศธร ทวีสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. มอบนวัตกรรมเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแรงดันลบ 100 เตียง และกล่องทำหัตถการแรงดันลบ 90 กล่อง ซึ่งพัฒนาร่วมกับพันธมิตร ให้กับ ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ นายกสภามหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เพื่อมอบให้คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล นำส่งต่อให้กับโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วทุกภาค รวมทั้งโรงพยาบาลในจังหวัดพื้นที่ปฏิบัติการของ ปตท.สผ. เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วย และระหว่างการตรวจรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้เกียรติเข้าร่วมในพิธี
นายพงศธร เปิดเผยว่า ปตท.สผ. เล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อจากการดูแลรักษาผู้ป่วย ปตท.สผ. และบริษัท เอ ไอ แอนด์โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ จึงได้ร่วมกับ บริษัท เอ.ไอ.เทคโนโลยี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทพันธมิตร นำต้นแบบเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแรงดันลบ ที่พัฒนาขึ้นโดยคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช (Vajira negative pressure transfer) เพื่อช่วยปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคมาพัฒนาต่อยอดเพิ่มขึ้น โดยนำองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมเข้าไปช่วยพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องให้สูงขึ้น คือนอกจากจะปรับแรงดันอากาศให้เป็นลบแล้ว ยังสามารถกรองเชื้อโรค และฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี UV-C ได้ในเครื่องเดียวกัน รวมทั้ง สามารถผลิตในจำนวนมาก (Mass production engineering) เพื่อเป็นประโยชน์กับโรงพยาบาลทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ในการดูแลผู้ป่วยได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ได้มีการพัฒนาเครื่องกำเนิดแรงดันลบแบบเคลื่อนที่ ซึ่งนำไปติดตั้งร่วมกับกล่องทำหัตถการ เพื่อให้การควบคุมเชื้อในขณะที่ทำการรักษาคนไข้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย การพัฒนานวัตกรรมโดยฝีมือของบุคลากรไทยและผลิตขึ้นในประเทศไทยครั้งนี้ ผ่านการทดสอบและสามารถใช้งานได้จริงแล้ว โดยมีประสิทธิภาพสูงเทียบเท่ามาตรฐานต่างประเทศ ในราคาที่ต่ำกว่า
เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการในการใช้งานอย่างเร่งด่วน เบื้องต้น ปตท.สผ.และพันธมิตร ได้ผลิตเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแรงดันลบขึ้น จำนวน 100 เตียง และกล่องทำหัตถการแรงดันลบ จำนวน 90 กล่อง มูลค่าประมาณ 14.5 ล้านบาท โดย ปตท.สผ.ได้ส่งมอบเตียงและกล่องทำหัตถการดังกล่าวผ่านคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เพื่อนำไปมอบให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศที่มีความต้องการใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19
“ปตท.สผ. ให้ความสำคัญต่อการยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 และขอชื่นชมการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านที่อุทิศตนในการดูแลรักษาผู้ป่วย ซึ่ง ปตท.สผ. และพันธมิตรของเราขอเป็นส่วนหนึ่งในการต่อสู้กับเชื้อไวรัสซึ่งเป็นภารกิจอันยากลำบากของประเทศไทยและของโลกในขณะนี้ และเรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้นำองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เราใช้ในการค้นหาพลังงาน มาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยเหลือสังคม เช่นการพัฒนาเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแรงดันลบ และกล่องทำหัตถการแรงดันลบที่มีความพิเศษครั้งนี้ ที่จะเป็นอีกส่วนหนึ่งในการปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเป็นแนวหน้าในการต่อสู้กับเชื้อโควิด-19 ให้สำเร็จ”
นอกจากเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแรงดันลบ และกล่องทำหัตถการแรงดันลบแล้ว ปตท.สผ.ยังสนับสนุนสถาบันการศึกษาและโรงพยาบาลต่าง ๆ รวม 30 ล้านบาท ในการสู้วิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนการผลิตชุดตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อการติดไวรัสโควิด-19 เบื้องต้น ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula COVID-19 Strip Test) การสนับสนุนการพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยไวรัสโควิด-19 ของสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC Test Kit Diagnostics) การมอบเงินบริจาคให้กับโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติเพื่อจัดซื้อรถพยาบาลและเครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อ การมอบแอลกอฮอล์ให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อนำไปผลิตเจลล้างมือแจกจ่ายให้กับประชาชนทั่วไป และการมอบหน้ากากอนามัยแบบผ้าให้กับเขตจตุจักรนำไปแจกจ่าย รวมทั้งการมอบชุด PPE และ หน้ากาก Filter Mask-FloMax (N95) ให้กับโรงพยาบาลในพื้นที่ปฏิบัติการของบริษัทอีกด้วย
-------------------------------------------
ปตท.สผ. ผนึกกำลังพันธมิตร พัฒนานวัตกรรมเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบ และกล่องทำหัตถการความดันลบ
นายพงศธร เปิดเผยว่า ปตท.สผ. เล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อจากการดูแลรักษาผู้ป่วย ปตท.สผ. และบริษัท เอ ไอ แอนด์โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ จึงได้ร่วมกับ บริษัท เอ.ไอ.เทคโนโลยี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทพันธมิตร นำต้นแบบเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแรงดันลบ ที่พัฒนาขึ้นโดยคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช (Vajira negative pressure transfer) เพื่อช่วยปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคมาพัฒนาต่อยอดเพิ่มขึ้น โดยนำองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมเข้าไปช่วยพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องให้สูงขึ้น คือนอกจากจะปรับแรงดันอากาศให้เป็นลบแล้ว ยังสามารถกรองเชื้อโรค และฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี UV-C ได้ในเครื่องเดียวกัน รวมทั้ง สามารถผลิตในจำนวนมาก (Mass production engineering) เพื่อเป็นประโยชน์กับโรงพยาบาลทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ในการดูแลผู้ป่วยได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ได้มีการพัฒนาเครื่องกำเนิดแรงดันลบแบบเคลื่อนที่ ซึ่งนำไปติดตั้งร่วมกับกล่องทำหัตถการ เพื่อให้การควบคุมเชื้อในขณะที่ทำการรักษาคนไข้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย การพัฒนานวัตกรรมโดยฝีมือของบุคลากรไทยและผลิตขึ้นในประเทศไทยครั้งนี้ ผ่านการทดสอบและสามารถใช้งานได้จริงแล้ว โดยมีประสิทธิภาพสูงเทียบเท่ามาตรฐานต่างประเทศ ในราคาที่ต่ำกว่า
เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการในการใช้งานอย่างเร่งด่วน เบื้องต้น ปตท.สผ.และพันธมิตร ได้ผลิตเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแรงดันลบขึ้น จำนวน 100 เตียง และกล่องทำหัตถการแรงดันลบ จำนวน 90 กล่อง มูลค่าประมาณ 14.5 ล้านบาท โดย ปตท.สผ.ได้ส่งมอบเตียงและกล่องทำหัตถการดังกล่าวผ่านคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เพื่อนำไปมอบให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศที่มีความต้องการใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19
“ปตท.สผ. ให้ความสำคัญต่อการยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 และขอชื่นชมการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านที่อุทิศตนในการดูแลรักษาผู้ป่วย ซึ่ง ปตท.สผ. และพันธมิตรของเราขอเป็นส่วนหนึ่งในการต่อสู้กับเชื้อไวรัสซึ่งเป็นภารกิจอันยากลำบากของประเทศไทยและของโลกในขณะนี้ และเรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้นำองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เราใช้ในการค้นหาพลังงาน มาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยเหลือสังคม เช่นการพัฒนาเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแรงดันลบ และกล่องทำหัตถการแรงดันลบที่มีความพิเศษครั้งนี้ ที่จะเป็นอีกส่วนหนึ่งในการปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเป็นแนวหน้าในการต่อสู้กับเชื้อโควิด-19 ให้สำเร็จ”
นอกจากเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแรงดันลบ และกล่องทำหัตถการแรงดันลบแล้ว ปตท.สผ.ยังสนับสนุนสถาบันการศึกษาและโรงพยาบาลต่าง ๆ รวม 30 ล้านบาท ในการสู้วิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนการผลิตชุดตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อการติดไวรัสโควิด-19 เบื้องต้น ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula COVID-19 Strip Test) การสนับสนุนการพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยไวรัสโควิด-19 ของสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC Test Kit Diagnostics) การมอบเงินบริจาคให้กับโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติเพื่อจัดซื้อรถพยาบาลและเครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อ การมอบแอลกอฮอล์ให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อนำไปผลิตเจลล้างมือแจกจ่ายให้กับประชาชนทั่วไป และการมอบหน้ากากอนามัยแบบผ้าให้กับเขตจตุจักรนำไปแจกจ่าย รวมทั้งการมอบชุด PPE และ หน้ากาก Filter Mask-FloMax (N95) ให้กับโรงพยาบาลในพื้นที่ปฏิบัติการของบริษัทอีกด้วย