●● ศุภวุฒิ สายเชื้อ : พัฒนาการ ‘วัคซีน’ และ 'ยาบำบัด’ โควิด-19 ●●
"...ความพยายามของมนุษย์ในการพัฒนายาบำบัดหรือวัคซีนเพื่อใช้กับ COVID-19 นั้น ปัจจุบันมีอยู่ทั้งสิ้น 60 ตำรับ
ในจำนวนนี้มี 4 ตำรับยาบำบัดที่น่าติดตามความคืบหน้า และมีอีก 5 บริษัทกำลังค้นคว้าทดลองวัคซีน เฉพาะในส่วน
ของวัคซีนนั้น หากทำสำเร็จและนำมาใช้ป้องกัน COVID-19 ได้ อย่างเร็วที่สุดก็คงจะต้องรอจนถึงต้นปี 2021 หรือ
นานกว่านั้น..."
ในขณะที่มาตรการ ‘ปิดเมือง’ การกักตัวกลุ่มเสี่ยง และการประกาศมาตรการห้ามประชาชนออกจากเคหะสถาน
หรือ ‘เคอร์ฟิว’ รวมถึงการเพิ่มระดับความเข้มข้นของการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ซึ่งหลาย
ประเทศทั่วโลก รวมถึงไทย นำมาใช้เพื่อ ‘ประคับประคอง’ ไม่ให้จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้น จนสูงเกิน
กว่าขีดความสามารถที่ระบบสาธารณสุขของประเทศจะรับมือได้ ซึ่งนั่นอาจหมายถึงจำนวนผู้เสียชีวิตที่จะเพิ่มขึ้น
เป็นเงาตามตัว
ทว่า ‘กุญแจ’ สำคัญที่จะยับยั้งการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดนั้น ยังอยู่ระหว่าง
การพัฒนา สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ขอคัดเนื้อหาบางช่วงบางตอนของหนังสือเรื่อง
'BEATING COVID-19 เอาชนะโรคร้ายด้วยความเข้าใจ' เขียนโดย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ นักเศรษฐศาสตร์ระดับ
แถวหน้าของประเทศ ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เกี่ยวกับความคืบหน้าในการพัฒนา
วัคซีนโควิด-19 ดังนี้
บทที่ 2 การรักษาโรคที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
COVID–19 ย่อมาจาก Coronavirus Disease 2019 คือ โรคที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ซึ่งพบเป็นครั้งแรก
ที่จีนในปลายปี 2019 และถูกตั้งชื่อว่า SARS–CoV–2 หมายความว่า พันธุกรรมของไวรัสตัวนี้คล้ายคลึงอย่างมากกับ SARS-CoV ที่ค้นพบครั้งแรกที่ประเทศจีนเมื่อปลายปี 2002 (แต่จีนเปิดเผยให้โลกรู้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2003)
ซึ่งเรารู้จักกันในชื่อโรคซาร์ส นอกจากนั้นยังมี MERS–CoV ที่ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง
(Middle East Respiratory Syndrome)หรือโรคเมอร์ส (MERS) ที่ค้นพบเมื่อปี 2012 ในตะวันออกกลางอีกด้วย
ทั้งหมดนี้เป็นไวรัสโคโรนาที่เป็นอันตรายอย่างมากต่อมนุษย์ เพราะทำลายระบบหายใจอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน
จึงได้ถูกให้ชื่อว่า Severe Acute Respiratory Syndrome หรือ SARS
โดยทั่วไป ไวรัสมีขนาดเล็กกว่าแบคทีเรียมาก แต่ไวรัสโคโรนานั้นถือว่ามีขนาดค่อนข้างใหญ่และมีหัวหยักจึงเรียกว่า ‘โคโรนา’ มาจากภาษาละติน corōna แปลว่า ‘มงกุฎ’ โดยเข้าใจว่ามีอยู่ทั้งหมด 7 ชนิดที่ทำให้เกิดโรคในมนุษย์
โดย 4 ใน 7 ชนิด ทำให้เป็นไข้หวัด แต่อีก 3 ชนิดนำมาสู่โรคซาร์ส เมอร์ส และ COVID–19 ที่กล่าวถึงข้างต้น
ดังนั้น ด้วยธรรมชาติพื้นฐานเช่นนี้ แม้มนุษย์จะสามารถควบคุม COVID–19 ได้ในปี 2020 แต่ในอนาคตก็มี
ความเป็นไปได้ว่า COVID–19 จะยังอยู่รอดต่อไปได้ แล้วหวนกลับมาระบาดใหม่อีกเป็นประจำทุกปี เหมือนกับ
โรคไข้หวัดใหญ่ที่ปัจจุบัน ทำให้มีผู้เสียชีวิตปีละประมาณ 500,000–600,000 คน
มนุษย์เป็นไข้หวัดใหญ่ปีละ 5–6 ล้านคน ดังนั้น อัตราการเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่จึงอยู่ที่เพียงประมาณ 0.1% ซึ่ง
ทำให้มนุษย์ ‘ยอมทนอยู่กับไข้หวัดใหญ่’ ได้ แต่กรณีของ COVID–19 นั้น อาจทำใจได้ยากกว่า เพราะอัตรา
การเสียชีวิตสูงถึง 1–2% (และเกือบ 10% ในกรณีของซาร์ส)
ในอีก 10-15 ปีข้างหน้า มนุษย์อาจจะต้องเผชิญกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งทำให้เกิดโรคชนิดใหม่ขึ้นมาอีกเช่น COVID–35 เป็นต้น เพราะธรรมชาติของไวรัสนั้น กลายพันธุ์และปรับตัวได้ตลอดเวลาในขณะนี้ ยังไม่มียา
ขนานใดที่รักษาโรคจากไวรัสได้
มีแต่ หนึ่ง ยาบำบัดหรือยาบรรเทาอาการ และ สอง ยาที่สร้างภูมิต้านทานไวรัส หรือที่เรียกว่า ‘วัคซีน’
ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลล่าสุดของ Genetic Engineering & Biotechnology News เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2020
ความพยายามของมนุษย์ในการพัฒนายาบำบัดหรือวัคซีนเพื่อใช้กับ COVID–19 นั้น ปัจจุบันมีอยู่ทั้งสิ้น 60 ตำรับ
ในจำนวนนี้มี 4 ตำรับยาบำบัดที่น่าติดตามความคืบหน้า และมีอีก 5 บริษัทกำลังค้นคว้าทดลองวัคซีน
เฉพาะในส่วนของวัคซีนนั้น หากทำสำเร็จและนำมาใช้ป้องกัน COVID–19 ได้ อย่างเร็วที่สุดก็คงจะต้องรอจนถึง
ต้นปี 2021 หรือนานกว่านั้น
แต่ในกรณีของยาบรรเทาอาการ COVID–19 ตอนนี้ความหวังน่าจะอยู่ที่ยา ‘เรมเดสิเวียร์’ (Remdesivir) ของ
บริษัทกิเลียด (Gilead) ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ในขั้นทำการทดลองกับมนุษย์ในขั้นสุดท้าย (Phase III clinical trials)
และจะสามารถแจ้งผลให้ทราบได้ในเดือนพฤษภาคม 2020 นี้
เนื่องจากในปัจจุบันแนวทางในการจัดการกับ COVID–19 นั้น ปัจจุบันมีทางเลือกอยู่เพียง 2 ทาง คือ
การคิดค้นวัคซีน (vaccine) และยาบำบัด (treatment) จึงควรทำความเข้าใจกับลักษณะพื้นฐานของ 2 แนวทางนี้ด้วย
-1- VACCINE วัคซีน
การฉีดวัคซีน คือการที่เราสามารถเพาะไวรัส SARS–CoV–2 ได้และดัดแปลงให้เป็นเชื้อที่อ่อนแอ เพื่อฉีดเข้าไปใน
ร่างกายให้เกิดการติดเชื้อแบบอ่อนๆ ระบบภูมิคุ้มกันของเราจะได้ ‘รู้จัก’ ข้าศึกตัวนี้ แล้วปราบให้ราบคาบ
โดยในอนาคตหากมีไวรัส SARS–CoV–2 เข้ามาบุกรุกร่างกายของเราอีก ระบบภูมิคุ้มกันก็จะรู้วิธีปราบให้ราบคาบ
ได้โดยง่าย
อย่างไรก็ตาม การค้นพบวัคซีนที่ดีเลิศเช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย เช่น ไข้หวัดใหญ่นั้น เรามีวัคซีนสำหรับเฉพาะบาง
สายพันธุ์และต้องกระตุ้นภูมิคุ้มกันเป็นระยะๆ ในบางกรณีเช่นไวรัส HIV (human immunodeficiency virus) นั้น
มนุษย์ยังไม่สามารถคิดค้นวัคซีนเพื่อจัดการกับ HIV ได้
ดังนั้นแนวทางในการดูแลผู้ที่ติดเชื้อ HIV ในปัจจุบันจึงทำได้เพียงการให้กินยาต้านทาน HIV ทุกวันไปตลอดชีวิต
เพื่อ ‘กด’ จำนวนไวรัส HIV ไม่ให้เพิ่มขึ้นจนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องถึงขนาดทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่การเป็น
โรคเอดส์์ (AIDS-Acquired Immunodeficiency Syndrome) อย่างเต็มรูปแบบ
-2- TREATMENT ยาบำบัด
หากสังเกตคำอธิบายของตัวยา เช่น Remdesivir ของบริษัทกิเลียดที่อยู่ในระหว่างการทดลองกับมนุษย์ในขั้นตอนสุดท้าย หรือ Phase III human clinical trials นั้น จะเห็นว่า มีการใช้คำว่า Treatment หรือที่แปลในที่นี้ว่า ‘ยาบำบัด’
ไม่ใช่ยาเพื่อ ‘รักษา’ (cure)
โดย Remdesivir มีฤทธิ์์ขัดขวางการทำงานของเอนไซม์ที่ชื่อว่า RNA polymerase ที่ไวรัสหลายประเภทต้องใช้ใน
การแบ่งตัวและขยายพันธุ์ออกไป
พูดง่ายๆ คือยานี้ช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของปริมาณไวรัสในเซลล์ เพื่อซื้อเวลาให้กับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายใน
การออกมาปราบปรามไวรัสนั่นเอง แต่ผลสำเร็จดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นในห้องทดลองและในหนูที่ติดเชื้อ SARS–CoV
(โรคซาร์์สเมื่อปี 2003) และ MERS–CoV (โรคเมอร์ส) อย่างไรก็ดี องค์การอนามัยโลกและหลายประเทศตั้ง
ความหวังเอาไว้กับ Remdesivir อย่างมาก
นอกจากนั้น ยังมียาตำรับอื่น เช่น Favipiravir ที่มีสรรพคุณเหมือนกับ Remdesivir ในอีกด้านหนึ่งได้มีการทดลอง
ใช้ยาต้าน HIV เช่น Kaletra (เป็นการผสมกันของตัวยา Lopinavir และ Ritonavir) โดยยากลุ่มนี้จะสกัดกั้น
การทำงานของ 3–chymotrypsin–like protease (3CLpro) เอนไซม์สำคัญที่ช่วยให้ไวรัสโคโรนาสามารถแบ่งตัว
และขยายพันธุ์ได้
-3- FAVIPIRAVIR ยาฟาวิพิราเวียร์
ยา Favipiravir หรือ Avigan ที่พัฒนาโดยบริษัท Fujifilm นั้น มีสรรพคุณคล้ายคลึงกับ Remdesivir ที่ขัดขวาง
การทำงานของเอนไซม์ RNA polymerase ที่ใช้ในการแบ่งตัวและขยายพันธุ์ของไวรัส ซึ่งนิตยสาร
Nikkei Asian Reviewรายงานเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2020 ว่าทางการจีนแนะนำให้ใช้ยาดังกล่าวในการบำบัด
COVID–19
โดยอ้างการแถลงข่าวของนายจาง ซินหมิน (Zhang Xinmin) ผู้อำนวยการ China National Center for
Biotechnology Development ว่า Favipiravir ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท Fujifilm ของญี่ปุ่น และมีชื่อทางพาณิชย์ว่า
Avigan นั้น “very safe and effective” (มีความปลอดภัยและมีประสิทธิผลอย่างมาก) ในการบำบัด COVID–19
Favipiravir ได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาลญี่ปุ่นและได้ถูกใช้กับผู้ป่วยที่ญี่ปุ่นบ้างแล้วในเดือนกุมภาพันธ์ แต่ทางการ
ญี่ปุ่นยังระมัดระวังไม่ใช้ยาดังกล่าวอย่างแพร่หลาย โดยรายงานข่าวระบุว่า "Studies have shown that the drug
can cause fetal deformities and deaths, and can be transferred in semen.” (งานวิจัยพบว่ายานี้อาจทำให้
ทารกในครรภ์พิการแต่กำเนิดหรือเสียชีวิต และสามารถส่งผ่านทางน้ำอสุจิได้)
นอกจากนี้ สำนักงานอาหารและยาของเกาหลีใต้ยังไม่อนุมัติให้ใช้ยา Favipiravir โดยอ้างว่ายังไม่พบหลักฐาน
เพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ว่ายานี้ มีประสิทธิภาพในการรักษา COVID–19
อย่างไรก็ตาม จีนเองได้ประกาศผลการทดลองที่ทำกับผู้ป่วย 200 รายที่เมืองอู่ฮั่นและเสิ่นเจิ้น สรุปได้ว่า...
• ผู้ที่ใช้ Favipiravir ปลอดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ภายในเวลา 4 วัน เทียบกับผู้ไม่ใช้ยาที่โดยเฉลี่ยต้องรอถึง
11 วันกว่าจะปลอดเชื้อ
• อาการไอลดลงภายใน 4.6 วัน เร็วกว่าคนที่ไม่ได้รับยา 1.4 วัน และอาการไข้ลดลงภายใน 2.5 วัน เร็วกว่าคนที่ไม่ได้
รับยาที่ต้องรอถึง 4.2 วัน
• ผู้ป่วยที่ใช้ยา Favipiravir นั้นมีเพียง 8.2% ที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เปรียบเทียบกับ 17.1% ในกรณีของผู้ที่ไม่ได้
ใช้ยาดังกล่าว
นอกจากนั้นยังมียาที่ประเทศจีนและประเทศไทยทดลองใช้ในการบำบัดอาการของ COVID–19 คือ ส่วนผสม
ระหว่างยา Kaletra ซึ่งใช้ในการบำบัดเชื้อ HIV และยา Interferon ซึ่งใช้ในการรักษาโรคมะเร็งในเม็ดเลือดขาว
และโรคมะเร็งในต่อมน้ำเหลือง โดย Interferon นั้นเป็น cytokines หรือโปรตีนที่ทำหน้าที่แจ้งเตือนภัยและเกณฑ์
ให้เซลล์ภูมิคุ้มกันของเรารีบมาจัดการกับไวรัสที่บุกรุก
แต่อาจมีกรณีที่ cytokines ทำงานมากเกินไป (อย่างเสียสติ) จนเป็นสาเหตุทำให้เซลล์ภูมิคุ้มกันฆ่าเซลล์ไม่เลือกหน้า
ทั้งเซลล์ปกติและเซลล์ที่ถูกไวรัส ‘เข้าสิง’ ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายเป็นอย่างมาก (ดังจะกล่าวถึงต่อไปในบทที่ 8)
ยาอีกตำรับหนึ่งที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) โฆษณาว่าจะเป็นตัวแปรสำคัญ (game changer)
ในการรักษา COVID–19 คือ Hydroxychloroquine (ชื่อยา Plaquenil ผลิตโดยบริษัท Sanofi) ซึ่งเป็นยารักษา
โรคมาลาเรียที่นายแพทย์ในฝรั่งเศสนำไปใช้ทดลองกับคนไข้ 25 คนแล้วพบว่าได้ผลดีมาก
โดยเฉพาะเมื่อนำไปใช้พร้อมกับยา Azithromycin (ชื่อยา Zithromax) ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาโรคติดเชื้อที่ปอด
โดยพบว่าคนไข้ที่ได้รับยาทั้ง 2 ขนานปลอดเชื้อ COVID–19 ภายใน 6 วัน ถือเป็นอัตราส่วน 100% เมื่อเปรียบเทียบ
กับคนไข้ที่ไม่ได้รับยาดังกล่าวซึ่งมีเพียง 12.5% ที่ปลอดเชื้อ แต่เนื่องจากเป็นการทดลองที่มีขอบเขตจำกัด
สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐฯ จึงยังไม่ได้มีข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางการรักษาดังกล่าวในขณะนี้
เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2020 มีเพื่อนนักข่าวส่งต่อข้อมูลที่อ้างว่ามาจากหมอที่นครนิวยอร์ก ว่ายา Tocilizumab
สามารถรักษาโรค COVID–19 ให้หายได้ภายใน 3 วัน ยา Tocilizumab (ชื่อ Actemra) ที่ผลิตโดย Genentech
(บริษัทในเครือของบริษัท Roche) นั้น คือยาตำรับเก่าที่ใช้รักษาโรคข้อ มีสรรพคุณยับยั้งการออกฤทธิ์ของ
cytokines ที่กล่าวถึงข้างต้น เพราะในกรณีที่ cytokines ทำงานมากเกินไปอย่างเสียสติก็สามารถทำความเสียหาย
ให้อวัยวะของร่างกายได้
ตรงนี้จะทำให้เห็นว่ามีความย้อนแย้งกันอย่างมาก เพราะมีการใช้ยา Interferon เพื่อกระตุ้นการทำงานของ
cytokines แต่มีการอ้างว่าต้องใช้ยา Tocilizumab เพื่อยับยั้งการทำงานของ cytokines ในการรักษา COVID–19
ความจริง คือ สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐฯ ได้อนุมัติเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2020 ให้เริ่มทดลองใช้ยา
Tocilizumab กับผู้ป่วย COVID–19 ประมาณ 330 คน โดยคาดว่าจะเริ่มการทดลองในเดือนเมษายน
ทั้งนี้ จะต้องเป็นผู้ป่วยที่มีอาการปอดบวมอย่างหนักจาก COVID–19 (“severe COVID–19
●● ศุภวุฒิ สายเชื้อ : พัฒนาการ ‘วัคซีน’ และ 'ยาบำบัด’ โควิด-19 ●●
"...ความพยายามของมนุษย์ในการพัฒนายาบำบัดหรือวัคซีนเพื่อใช้กับ COVID-19 นั้น ปัจจุบันมีอยู่ทั้งสิ้น 60 ตำรับ
ในจำนวนนี้มี 4 ตำรับยาบำบัดที่น่าติดตามความคืบหน้า และมีอีก 5 บริษัทกำลังค้นคว้าทดลองวัคซีน เฉพาะในส่วน
ของวัคซีนนั้น หากทำสำเร็จและนำมาใช้ป้องกัน COVID-19 ได้ อย่างเร็วที่สุดก็คงจะต้องรอจนถึงต้นปี 2021 หรือ
นานกว่านั้น..."
ในขณะที่มาตรการ ‘ปิดเมือง’ การกักตัวกลุ่มเสี่ยง และการประกาศมาตรการห้ามประชาชนออกจากเคหะสถาน
หรือ ‘เคอร์ฟิว’ รวมถึงการเพิ่มระดับความเข้มข้นของการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ซึ่งหลาย
ประเทศทั่วโลก รวมถึงไทย นำมาใช้เพื่อ ‘ประคับประคอง’ ไม่ให้จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้น จนสูงเกิน
กว่าขีดความสามารถที่ระบบสาธารณสุขของประเทศจะรับมือได้ ซึ่งนั่นอาจหมายถึงจำนวนผู้เสียชีวิตที่จะเพิ่มขึ้น
เป็นเงาตามตัว
ทว่า ‘กุญแจ’ สำคัญที่จะยับยั้งการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดนั้น ยังอยู่ระหว่าง
การพัฒนา สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ขอคัดเนื้อหาบางช่วงบางตอนของหนังสือเรื่อง
'BEATING COVID-19 เอาชนะโรคร้ายด้วยความเข้าใจ' เขียนโดย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ นักเศรษฐศาสตร์ระดับ
แถวหน้าของประเทศ ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เกี่ยวกับความคืบหน้าในการพัฒนา
วัคซีนโควิด-19 ดังนี้
บทที่ 2 การรักษาโรคที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
COVID–19 ย่อมาจาก Coronavirus Disease 2019 คือ โรคที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ซึ่งพบเป็นครั้งแรก
ที่จีนในปลายปี 2019 และถูกตั้งชื่อว่า SARS–CoV–2 หมายความว่า พันธุกรรมของไวรัสตัวนี้คล้ายคลึงอย่างมากกับ SARS-CoV ที่ค้นพบครั้งแรกที่ประเทศจีนเมื่อปลายปี 2002 (แต่จีนเปิดเผยให้โลกรู้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2003)
ซึ่งเรารู้จักกันในชื่อโรคซาร์ส นอกจากนั้นยังมี MERS–CoV ที่ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง
(Middle East Respiratory Syndrome)หรือโรคเมอร์ส (MERS) ที่ค้นพบเมื่อปี 2012 ในตะวันออกกลางอีกด้วย
ทั้งหมดนี้เป็นไวรัสโคโรนาที่เป็นอันตรายอย่างมากต่อมนุษย์ เพราะทำลายระบบหายใจอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน
จึงได้ถูกให้ชื่อว่า Severe Acute Respiratory Syndrome หรือ SARS
โดยทั่วไป ไวรัสมีขนาดเล็กกว่าแบคทีเรียมาก แต่ไวรัสโคโรนานั้นถือว่ามีขนาดค่อนข้างใหญ่และมีหัวหยักจึงเรียกว่า ‘โคโรนา’ มาจากภาษาละติน corōna แปลว่า ‘มงกุฎ’ โดยเข้าใจว่ามีอยู่ทั้งหมด 7 ชนิดที่ทำให้เกิดโรคในมนุษย์
โดย 4 ใน 7 ชนิด ทำให้เป็นไข้หวัด แต่อีก 3 ชนิดนำมาสู่โรคซาร์ส เมอร์ส และ COVID–19 ที่กล่าวถึงข้างต้น
ดังนั้น ด้วยธรรมชาติพื้นฐานเช่นนี้ แม้มนุษย์จะสามารถควบคุม COVID–19 ได้ในปี 2020 แต่ในอนาคตก็มี
ความเป็นไปได้ว่า COVID–19 จะยังอยู่รอดต่อไปได้ แล้วหวนกลับมาระบาดใหม่อีกเป็นประจำทุกปี เหมือนกับ
โรคไข้หวัดใหญ่ที่ปัจจุบัน ทำให้มีผู้เสียชีวิตปีละประมาณ 500,000–600,000 คน
มนุษย์เป็นไข้หวัดใหญ่ปีละ 5–6 ล้านคน ดังนั้น อัตราการเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่จึงอยู่ที่เพียงประมาณ 0.1% ซึ่ง
ทำให้มนุษย์ ‘ยอมทนอยู่กับไข้หวัดใหญ่’ ได้ แต่กรณีของ COVID–19 นั้น อาจทำใจได้ยากกว่า เพราะอัตรา
การเสียชีวิตสูงถึง 1–2% (และเกือบ 10% ในกรณีของซาร์ส)
ในอีก 10-15 ปีข้างหน้า มนุษย์อาจจะต้องเผชิญกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งทำให้เกิดโรคชนิดใหม่ขึ้นมาอีกเช่น COVID–35 เป็นต้น เพราะธรรมชาติของไวรัสนั้น กลายพันธุ์และปรับตัวได้ตลอดเวลาในขณะนี้ ยังไม่มียา
ขนานใดที่รักษาโรคจากไวรัสได้
มีแต่ หนึ่ง ยาบำบัดหรือยาบรรเทาอาการ และ สอง ยาที่สร้างภูมิต้านทานไวรัส หรือที่เรียกว่า ‘วัคซีน’
ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลล่าสุดของ Genetic Engineering & Biotechnology News เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2020
ความพยายามของมนุษย์ในการพัฒนายาบำบัดหรือวัคซีนเพื่อใช้กับ COVID–19 นั้น ปัจจุบันมีอยู่ทั้งสิ้น 60 ตำรับ
ในจำนวนนี้มี 4 ตำรับยาบำบัดที่น่าติดตามความคืบหน้า และมีอีก 5 บริษัทกำลังค้นคว้าทดลองวัคซีน
เฉพาะในส่วนของวัคซีนนั้น หากทำสำเร็จและนำมาใช้ป้องกัน COVID–19 ได้ อย่างเร็วที่สุดก็คงจะต้องรอจนถึง
ต้นปี 2021 หรือนานกว่านั้น
แต่ในกรณีของยาบรรเทาอาการ COVID–19 ตอนนี้ความหวังน่าจะอยู่ที่ยา ‘เรมเดสิเวียร์’ (Remdesivir) ของ
บริษัทกิเลียด (Gilead) ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ในขั้นทำการทดลองกับมนุษย์ในขั้นสุดท้าย (Phase III clinical trials)
และจะสามารถแจ้งผลให้ทราบได้ในเดือนพฤษภาคม 2020 นี้
เนื่องจากในปัจจุบันแนวทางในการจัดการกับ COVID–19 นั้น ปัจจุบันมีทางเลือกอยู่เพียง 2 ทาง คือ
การคิดค้นวัคซีน (vaccine) และยาบำบัด (treatment) จึงควรทำความเข้าใจกับลักษณะพื้นฐานของ 2 แนวทางนี้ด้วย
-1- VACCINE วัคซีน
การฉีดวัคซีน คือการที่เราสามารถเพาะไวรัส SARS–CoV–2 ได้และดัดแปลงให้เป็นเชื้อที่อ่อนแอ เพื่อฉีดเข้าไปใน
ร่างกายให้เกิดการติดเชื้อแบบอ่อนๆ ระบบภูมิคุ้มกันของเราจะได้ ‘รู้จัก’ ข้าศึกตัวนี้ แล้วปราบให้ราบคาบ
โดยในอนาคตหากมีไวรัส SARS–CoV–2 เข้ามาบุกรุกร่างกายของเราอีก ระบบภูมิคุ้มกันก็จะรู้วิธีปราบให้ราบคาบ
ได้โดยง่าย
อย่างไรก็ตาม การค้นพบวัคซีนที่ดีเลิศเช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย เช่น ไข้หวัดใหญ่นั้น เรามีวัคซีนสำหรับเฉพาะบาง
สายพันธุ์และต้องกระตุ้นภูมิคุ้มกันเป็นระยะๆ ในบางกรณีเช่นไวรัส HIV (human immunodeficiency virus) นั้น
มนุษย์ยังไม่สามารถคิดค้นวัคซีนเพื่อจัดการกับ HIV ได้
ดังนั้นแนวทางในการดูแลผู้ที่ติดเชื้อ HIV ในปัจจุบันจึงทำได้เพียงการให้กินยาต้านทาน HIV ทุกวันไปตลอดชีวิต
เพื่อ ‘กด’ จำนวนไวรัส HIV ไม่ให้เพิ่มขึ้นจนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องถึงขนาดทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่การเป็น
โรคเอดส์์ (AIDS-Acquired Immunodeficiency Syndrome) อย่างเต็มรูปแบบ
-2- TREATMENT ยาบำบัด
หากสังเกตคำอธิบายของตัวยา เช่น Remdesivir ของบริษัทกิเลียดที่อยู่ในระหว่างการทดลองกับมนุษย์ในขั้นตอนสุดท้าย หรือ Phase III human clinical trials นั้น จะเห็นว่า มีการใช้คำว่า Treatment หรือที่แปลในที่นี้ว่า ‘ยาบำบัด’
ไม่ใช่ยาเพื่อ ‘รักษา’ (cure)
โดย Remdesivir มีฤทธิ์์ขัดขวางการทำงานของเอนไซม์ที่ชื่อว่า RNA polymerase ที่ไวรัสหลายประเภทต้องใช้ใน
การแบ่งตัวและขยายพันธุ์ออกไป
พูดง่ายๆ คือยานี้ช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของปริมาณไวรัสในเซลล์ เพื่อซื้อเวลาให้กับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายใน
การออกมาปราบปรามไวรัสนั่นเอง แต่ผลสำเร็จดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นในห้องทดลองและในหนูที่ติดเชื้อ SARS–CoV
(โรคซาร์์สเมื่อปี 2003) และ MERS–CoV (โรคเมอร์ส) อย่างไรก็ดี องค์การอนามัยโลกและหลายประเทศตั้ง
ความหวังเอาไว้กับ Remdesivir อย่างมาก
นอกจากนั้น ยังมียาตำรับอื่น เช่น Favipiravir ที่มีสรรพคุณเหมือนกับ Remdesivir ในอีกด้านหนึ่งได้มีการทดลอง
ใช้ยาต้าน HIV เช่น Kaletra (เป็นการผสมกันของตัวยา Lopinavir และ Ritonavir) โดยยากลุ่มนี้จะสกัดกั้น
การทำงานของ 3–chymotrypsin–like protease (3CLpro) เอนไซม์สำคัญที่ช่วยให้ไวรัสโคโรนาสามารถแบ่งตัว
และขยายพันธุ์ได้
-3- FAVIPIRAVIR ยาฟาวิพิราเวียร์
ยา Favipiravir หรือ Avigan ที่พัฒนาโดยบริษัท Fujifilm นั้น มีสรรพคุณคล้ายคลึงกับ Remdesivir ที่ขัดขวาง
การทำงานของเอนไซม์ RNA polymerase ที่ใช้ในการแบ่งตัวและขยายพันธุ์ของไวรัส ซึ่งนิตยสาร
Nikkei Asian Reviewรายงานเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2020 ว่าทางการจีนแนะนำให้ใช้ยาดังกล่าวในการบำบัด
COVID–19
โดยอ้างการแถลงข่าวของนายจาง ซินหมิน (Zhang Xinmin) ผู้อำนวยการ China National Center for
Biotechnology Development ว่า Favipiravir ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท Fujifilm ของญี่ปุ่น และมีชื่อทางพาณิชย์ว่า
Avigan นั้น “very safe and effective” (มีความปลอดภัยและมีประสิทธิผลอย่างมาก) ในการบำบัด COVID–19
Favipiravir ได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาลญี่ปุ่นและได้ถูกใช้กับผู้ป่วยที่ญี่ปุ่นบ้างแล้วในเดือนกุมภาพันธ์ แต่ทางการ
ญี่ปุ่นยังระมัดระวังไม่ใช้ยาดังกล่าวอย่างแพร่หลาย โดยรายงานข่าวระบุว่า "Studies have shown that the drug
can cause fetal deformities and deaths, and can be transferred in semen.” (งานวิจัยพบว่ายานี้อาจทำให้
ทารกในครรภ์พิการแต่กำเนิดหรือเสียชีวิต และสามารถส่งผ่านทางน้ำอสุจิได้)
นอกจากนี้ สำนักงานอาหารและยาของเกาหลีใต้ยังไม่อนุมัติให้ใช้ยา Favipiravir โดยอ้างว่ายังไม่พบหลักฐาน
เพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ว่ายานี้ มีประสิทธิภาพในการรักษา COVID–19
อย่างไรก็ตาม จีนเองได้ประกาศผลการทดลองที่ทำกับผู้ป่วย 200 รายที่เมืองอู่ฮั่นและเสิ่นเจิ้น สรุปได้ว่า...
• ผู้ที่ใช้ Favipiravir ปลอดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ภายในเวลา 4 วัน เทียบกับผู้ไม่ใช้ยาที่โดยเฉลี่ยต้องรอถึง
11 วันกว่าจะปลอดเชื้อ
• อาการไอลดลงภายใน 4.6 วัน เร็วกว่าคนที่ไม่ได้รับยา 1.4 วัน และอาการไข้ลดลงภายใน 2.5 วัน เร็วกว่าคนที่ไม่ได้
รับยาที่ต้องรอถึง 4.2 วัน
• ผู้ป่วยที่ใช้ยา Favipiravir นั้นมีเพียง 8.2% ที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เปรียบเทียบกับ 17.1% ในกรณีของผู้ที่ไม่ได้
ใช้ยาดังกล่าว
นอกจากนั้นยังมียาที่ประเทศจีนและประเทศไทยทดลองใช้ในการบำบัดอาการของ COVID–19 คือ ส่วนผสม
ระหว่างยา Kaletra ซึ่งใช้ในการบำบัดเชื้อ HIV และยา Interferon ซึ่งใช้ในการรักษาโรคมะเร็งในเม็ดเลือดขาว
และโรคมะเร็งในต่อมน้ำเหลือง โดย Interferon นั้นเป็น cytokines หรือโปรตีนที่ทำหน้าที่แจ้งเตือนภัยและเกณฑ์
ให้เซลล์ภูมิคุ้มกันของเรารีบมาจัดการกับไวรัสที่บุกรุก
แต่อาจมีกรณีที่ cytokines ทำงานมากเกินไป (อย่างเสียสติ) จนเป็นสาเหตุทำให้เซลล์ภูมิคุ้มกันฆ่าเซลล์ไม่เลือกหน้า
ทั้งเซลล์ปกติและเซลล์ที่ถูกไวรัส ‘เข้าสิง’ ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายเป็นอย่างมาก (ดังจะกล่าวถึงต่อไปในบทที่ 8)
ยาอีกตำรับหนึ่งที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) โฆษณาว่าจะเป็นตัวแปรสำคัญ (game changer)
ในการรักษา COVID–19 คือ Hydroxychloroquine (ชื่อยา Plaquenil ผลิตโดยบริษัท Sanofi) ซึ่งเป็นยารักษา
โรคมาลาเรียที่นายแพทย์ในฝรั่งเศสนำไปใช้ทดลองกับคนไข้ 25 คนแล้วพบว่าได้ผลดีมาก
โดยเฉพาะเมื่อนำไปใช้พร้อมกับยา Azithromycin (ชื่อยา Zithromax) ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาโรคติดเชื้อที่ปอด
โดยพบว่าคนไข้ที่ได้รับยาทั้ง 2 ขนานปลอดเชื้อ COVID–19 ภายใน 6 วัน ถือเป็นอัตราส่วน 100% เมื่อเปรียบเทียบ
กับคนไข้ที่ไม่ได้รับยาดังกล่าวซึ่งมีเพียง 12.5% ที่ปลอดเชื้อ แต่เนื่องจากเป็นการทดลองที่มีขอบเขตจำกัด
สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐฯ จึงยังไม่ได้มีข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางการรักษาดังกล่าวในขณะนี้
เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2020 มีเพื่อนนักข่าวส่งต่อข้อมูลที่อ้างว่ามาจากหมอที่นครนิวยอร์ก ว่ายา Tocilizumab
สามารถรักษาโรค COVID–19 ให้หายได้ภายใน 3 วัน ยา Tocilizumab (ชื่อ Actemra) ที่ผลิตโดย Genentech
(บริษัทในเครือของบริษัท Roche) นั้น คือยาตำรับเก่าที่ใช้รักษาโรคข้อ มีสรรพคุณยับยั้งการออกฤทธิ์ของ
cytokines ที่กล่าวถึงข้างต้น เพราะในกรณีที่ cytokines ทำงานมากเกินไปอย่างเสียสติก็สามารถทำความเสียหาย
ให้อวัยวะของร่างกายได้
ตรงนี้จะทำให้เห็นว่ามีความย้อนแย้งกันอย่างมาก เพราะมีการใช้ยา Interferon เพื่อกระตุ้นการทำงานของ
cytokines แต่มีการอ้างว่าต้องใช้ยา Tocilizumab เพื่อยับยั้งการทำงานของ cytokines ในการรักษา COVID–19
ความจริง คือ สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐฯ ได้อนุมัติเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2020 ให้เริ่มทดลองใช้ยา
Tocilizumab กับผู้ป่วย COVID–19 ประมาณ 330 คน โดยคาดว่าจะเริ่มการทดลองในเดือนเมษายน
ทั้งนี้ จะต้องเป็นผู้ป่วยที่มีอาการปอดบวมอย่างหนักจาก COVID–19 (“severe COVID–19