อีกข่าวที่จะสร้างความวิตกกังวลได้ไม่แพ้โควิด-19 ก็คือ การที่โรงงานผลิตรถยนต์ปิดดำเนินงานชั่วคราว เพราะยอดขายรถยนต์ทรุดตามภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ในเมื่อเป็นเช่นนี้ย่อมทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า "หุ้นนิคมอุตสาหกรรม" น่าจะได้รับผลกระทบในแง่ค่าน้ำ-ค่าไฟ ที่ลดลงไปด้วยหรือไม่? แต่ในความเป็นจริงราคาหุ้นกลุ่มนี้กลับปรับตัวขึ้นสวนทาง ในสถานการณ์แบบนี้อะไรทำให้ราคาหุ้นนิคมฯปรับขึ้นมาแรงกันแน่!
*** ราคาปรับขึ้นแบบปริศนาทั้ง 3 ตัว ยกเว้น AMATAV
แม้สถานการณ์โดยรวมของหุ้นกลุ่มนี้จะไม่สู้ดีนัก แต่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา(3เม.ย.63) ราคาหุ้นกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมกลับปรับตัวขึ้นมาแบบปริศนาทั้ง 3 ตัว ได้แก่ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) หรือ AMATA, บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA, และ บริษัท สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จำกัด (มหาชน) หรือ ROJNA
อย่างไรก็ดีหุ้นที่ไม่ได้มีนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทยอย่าง บริษัท อมตะ วีเอ็น จำกัด (มหาชน) หรือ AMATAV ราคาหุ้นกลับปรับตัวลดลง
โดย AMATA ราคาหุ้นวันที่ 3 เม.ย. 63 ระหว่างวันขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 11.60 บาท เกือบแตะระดับซิลลิ่งที่ 11.70 บาท ก่อนมาปิดตลาดไปที่ 11.30 บาท เพิ่มขึ้น 1.10 บาท หรือ +10.78% ปริมาณหุ้นที่ซื้อขายเพิ่มขึ้น 167.16% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 5 วันทำการก่อนหน้า และมีมูลค่าการซื้อขายที่ 357.71 ล้านบาท
ขณะที่ WHA ราคาหุ้นขึ้นไปทำจุดสูงสุดของวันที่ 2.40 บาท ก่อนมาปิดตลาดที่ 2.36 บาท เพิ่มขึ้น 0.20 บาท หรือ +9.26%
ส่วน ROJNA ราคาหุ้นขึ้นไปทำจุดสูงสุดของวันที่ 3.90 บาท ก่อนมาปิดตลาดไปที่ 3.86 บาท เพิ่มขึ้น 0.14 จุด หรือ +3.76% มูลค่าการซื้อขายเบาบางเพียง 12.53 ล้านบาท
ทั้งนี้ AMATAV ซึ่งไม่ได้มีนิคมอุตสาหกรรมอยู่ในประเทศไทย ราคาหุ้นปรับลงและปิดตลาดไปด้วยจุดต่ำสุดของวัน 3.68 บาท ลดลง 0.18 บาท หรือ -4.66% สวนทางกับกลุ่มอย่างชัดเจน ซึ่งสะท้อนว่าประเด็นที่หนุนหุ้นในกลุ่มอยู่ตอนนี้เกิดขึ้นในประเทศไทยเท่านั้น
*** อะไรทำให้หุ้นกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมกลับมา?
จากการสำรวจประเด็นบวกของหุ้นในกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม พบว่า ขณะนี้นักลงทุนจีนซึ่งเป็นกลุ่มสำคัญที่จะเข้ามาลงทุนในอีอีซี เริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19 ได้แล้ว
ซึ่งนางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร WHA ระบุว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศจีนที่ทยอยดีขึ้นเป็นลำดับ ทำให้ขณะนี่นักลงทุนจีนเริ่มทยอยกลับมาโอนเงินและทำธุรกรรมกับทางนิคมอุตสาหกรรมไทยได้อีกครั้ง และฐานการผลิตในมณฑลหูเป่ยสามารถกลับมาผลิตได้ 70% แล้วทำให้ความกังวลเรื่องวัตถุดิบขาดแคลนคลี่คลายลงไป
ทั้งนี้ แม้สถานการณ์โดยรวมจะดูดีขึ้น แต่ยังต้องติดตามสถานการณ์ไปอีก 2 - 3 เดือนก่อนที่จะตัดสินใจว่ารายได้ยังเป็นไปตามเป้าหมายของบริษัทอยู่หรือไม่ แต่เบื้องต้นยังคาดว่าครึ่งปีหลังสถานการณ์ในไทยจะปรับตัวดีขึ้นตาม
*** โรงงานผลิตรถยนต์ทยอยปิดตัว กระทบรายได้ค่าน้ำ-ไฟฟ้า
บล.เคทีบี มองว่า 5 ค่ายรถยนต์ที่ประกาศหยุดผลิตรถยนต์ชั่วคราว ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 75% ของยอดผลิตรถยนต์รวมทั้งประเทศ ถึงปลายเดือน เม.ย. (ยกเว้นโตโยต้าที่จะหยุดสายการผลิต 7-17 เม.ย.) หากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น รวมถึงมีปัญหาด้าน Supply Chain อาจทำให้ค่ายรถยนต์จะมีการขยายระยะเวลาการหยุดผลิตได้อีก
จะทำให้หุ้นกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบ จากค่ายรถยนต์ที่หยุดการผลิต รวมถึงโรงงานชิ้นส่วนรถยนต์ที่ส่วนใหญ่อยู่ในทุกนิคมอุตสาหกรรมของทั้ง WHA, AMATA, ROJNA จากรายได้การให้บริการสาธารณูปโภคทั้งน้ำ และไฟฟ้า ลดลงเนื่องจากผู้ประกอบในนิคมประมาณ 30% เป็นผู้ประกอบการเกี่ยวกับกลุ่มยานยนต์ โดยเรียงลำดับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากมากไปน้อย ได้แก่ WHA, ROJNA และ AMATA
ให้น้ำหนักการลงทุน กลุ่มนิคมอุตสาหกรรมที่ "Underweight"
*** นักวิเคราะห์มองทั้ง 3 ราย ยังมีความเสี่ยงจากโควิด-19 มาก
WHA มีแผนขายสินทรัพย์เข้า REIT
ความเห็นจากบล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส มองว่า WHA ยังมีความท้าทายจากโควิด-19 โดยเฉพาะกับลูกค้าจีน ซึ่งมีบทบาทสำคัญเพราะในปี 62 ที่ผ่านมายอดขายนิคมฯกับจีนเพิ่มถึง 60% YoY และปี 62 เป็นปีแรกที่ยอดขายมากกว่าลูกค้าหลักเดิมคือญี่ปุ่นถึง 4 เท่าตัว ดังนั้นการหยุดชะงักของกิจกรรมการลงทุนจากจีนและประเทศอื่นๆ ก็จะมีผลลบกับบริษัทแน่นอน
ซึ่งในปีนี้บริษัทมีแผนขายสินทรัพย์เข้า HREIT เพิ่ม 5 หมื่นตรม. คาดว่าจะเกิดขึ้นในไตรมาส 4/63 หากใช้ราคาขายเท่ากับปี 61 ก็จะมีมูลค่าขายที่ราว 1.4 พันล้านบาท ด้านการขายสินทรัพย์เข้า WHART จะใกล้เคียงกับปี 62 ที่ 1.5 แสนตรม.ที่มูลค่าราว 4.9 พันล้านบาท จะแบ่งเป็นส่วนรายได้ที่ขายสินทรัพย์ของ WHA เองราว 1.6 พันล้านบาท และเป็นสินทรัพย์ที่บริษัทไปร่วมทุนอีก 3.3 พันล้านบาท เรามีสมมุติฐานว่าอัตรากำไรขั้นต้นจากการขายสินทรัพย์ปีนี้เพิ่มอย่างมีนัยสำคัญเป็น 40.8%
AMATA กำไรปี 63 - 64 มีความเสี่ยงจากโควิด-19
บล.เคทีบี ปรับลดประมาณการกำไรปกติ 63 ลง -17% จากผลกระทบโควิด-19 มาอยู่ที่ 1.12 พันล้านบาท (-38% YoY) จากการปรับลดยอดขายและยอดโอนลงมาอยู่ที่ 250 และ 288 ไร่ (จากเดิม 350 และ 467 ไร่) ตามลำดับ เนื่องจากโรคระบาดทำให้การเดินทางติดต่อศึกษาดูงาน และเจรจาซื้อขาย/โอนที่ดินลดลง โดยเฉพาะภายหลังที่ไทยได้ประกาศปิดพื้นที่ในหลายๆพื้นที่ รวมทั้งสภาพเศรษฐกิจโลกที่ชะลอถึงหดตัว ทำให้มีแนวโน้มเลื่อนการลงทุนที่มีมูลค่าสูงอย่างการขยายโรงงาน หรือซื้อพื้นที่ในนิคมฯลดลง
ในขณะที่คาดกำไรสุทธิปี 63 จะอยู่ที่ 1.43 พันล้านบาท (-15% YoY) เนื่องจากมีรับรู้กำไรพิเศษประมาณ 310 ล้านบาท จากการขายหุ้น ASCLT1 และ ASCLT2 ที่ 2.16 พันล้านบาท (สมมติว่าบริษัทมีอัตรากำไรสุทธิที่ 30% เนื่องจากบริษัทมีภาระในการเวนคืนที่ดินใน ASCLT1 และ 2 ก่อนการขายหุ้น)
ROJNA เจอหั่นกำไรอย่างหนัก
บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส ปรับประมาณการกำไร ROJNA ทั้งปีนี้และปี 64 ลง -34%/-40% ตามลำดับ สะท้อนธุรกิจนิคมฯที่ได้รับผลลบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เกี่ยวกับการลงทุนจากต่างประเทศที่ชะลอตัวลง ทำให้คาดยอดโอนกรรมสิทธิ์ปี 63 - 64 ลดลงมาอยู่ที่ 251 และ261 ไร่ จากเดิมที่ 550 และ561 ไร่ ตามลำดับ หรือเป็นการลดลงในอัตรา -54% และ -53% ตามลำดับ หลังปรับประมาณการคิดเป็นอัตราการเติบโตของกำไรหลักเทียบ y-o-y เป็น +63%/+4% ตามลำดับ
เป็นเรื่องยากมากที่นักลงทุนจีนจะกระหน่ำกลับมาลงทุนในไทยทันทีหลังจากที่เหตุการณ์โควิด-19 สิ้นสุดลง แม้ปัจจุบันจะเริ่มกลับมาทำธุรกรรมกับทางไทยบ้างแล้ว แต่ก็เป็นเพียงธุรกรรมต่อเนื่องที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ขณะที่โรงงานเดิมอย่างโรงงานผลิตรถยนต์ก็มีโอกาสที่จะขยายเวลาปิดออกไปอีก ซึ่งก็จะกระทบกับรายได้ค่าน้ำและค่าไฟอย่างแน่นอน สิ่งที่นักลงต้องคำนึงให้ดีก็คือราคาหุ้นปัจจุบันมีความเสี่ยงที่ยอมรับได้แค่ไหน? เพราะมีบางส่วนที่รับได้และเข้าซื้อจนราคาพุ่งไปแล้ว!
**อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ ==>>
http://www.efinancethai.com/HotStocks/HotStockMain.aspx?release=y&id=Z2ZOdGpIZFA5WW89
--------------------------
สำนักข่าว efinanceThai ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการลงทุนหุ้นได้ที่นี่
Website :
https://www.efinancethai.com
Facebook :
https://www.facebook.com/efinanceThaiTV/
Facebook :
https://www.facebook.com/efinanceThai/
lTwitter : @eFinanceThai
IG : @efinancethai_official
line : @efin
หุ้นนิคมฯเป็นยังไง...ในสถานการณ์แบบนี้?
อีกข่าวที่จะสร้างความวิตกกังวลได้ไม่แพ้โควิด-19 ก็คือ การที่โรงงานผลิตรถยนต์ปิดดำเนินงานชั่วคราว เพราะยอดขายรถยนต์ทรุดตามภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ในเมื่อเป็นเช่นนี้ย่อมทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า "หุ้นนิคมอุตสาหกรรม" น่าจะได้รับผลกระทบในแง่ค่าน้ำ-ค่าไฟ ที่ลดลงไปด้วยหรือไม่? แต่ในความเป็นจริงราคาหุ้นกลุ่มนี้กลับปรับตัวขึ้นสวนทาง ในสถานการณ์แบบนี้อะไรทำให้ราคาหุ้นนิคมฯปรับขึ้นมาแรงกันแน่!
*** ราคาปรับขึ้นแบบปริศนาทั้ง 3 ตัว ยกเว้น AMATAV
แม้สถานการณ์โดยรวมของหุ้นกลุ่มนี้จะไม่สู้ดีนัก แต่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา(3เม.ย.63) ราคาหุ้นกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมกลับปรับตัวขึ้นมาแบบปริศนาทั้ง 3 ตัว ได้แก่ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) หรือ AMATA, บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA, และ บริษัท สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จำกัด (มหาชน) หรือ ROJNA
อย่างไรก็ดีหุ้นที่ไม่ได้มีนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทยอย่าง บริษัท อมตะ วีเอ็น จำกัด (มหาชน) หรือ AMATAV ราคาหุ้นกลับปรับตัวลดลง
โดย AMATA ราคาหุ้นวันที่ 3 เม.ย. 63 ระหว่างวันขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 11.60 บาท เกือบแตะระดับซิลลิ่งที่ 11.70 บาท ก่อนมาปิดตลาดไปที่ 11.30 บาท เพิ่มขึ้น 1.10 บาท หรือ +10.78% ปริมาณหุ้นที่ซื้อขายเพิ่มขึ้น 167.16% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 5 วันทำการก่อนหน้า และมีมูลค่าการซื้อขายที่ 357.71 ล้านบาท
ขณะที่ WHA ราคาหุ้นขึ้นไปทำจุดสูงสุดของวันที่ 2.40 บาท ก่อนมาปิดตลาดที่ 2.36 บาท เพิ่มขึ้น 0.20 บาท หรือ +9.26%
ส่วน ROJNA ราคาหุ้นขึ้นไปทำจุดสูงสุดของวันที่ 3.90 บาท ก่อนมาปิดตลาดไปที่ 3.86 บาท เพิ่มขึ้น 0.14 จุด หรือ +3.76% มูลค่าการซื้อขายเบาบางเพียง 12.53 ล้านบาท
ทั้งนี้ AMATAV ซึ่งไม่ได้มีนิคมอุตสาหกรรมอยู่ในประเทศไทย ราคาหุ้นปรับลงและปิดตลาดไปด้วยจุดต่ำสุดของวัน 3.68 บาท ลดลง 0.18 บาท หรือ -4.66% สวนทางกับกลุ่มอย่างชัดเจน ซึ่งสะท้อนว่าประเด็นที่หนุนหุ้นในกลุ่มอยู่ตอนนี้เกิดขึ้นในประเทศไทยเท่านั้น
*** อะไรทำให้หุ้นกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมกลับมา?
จากการสำรวจประเด็นบวกของหุ้นในกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม พบว่า ขณะนี้นักลงทุนจีนซึ่งเป็นกลุ่มสำคัญที่จะเข้ามาลงทุนในอีอีซี เริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19 ได้แล้ว
ซึ่งนางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร WHA ระบุว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศจีนที่ทยอยดีขึ้นเป็นลำดับ ทำให้ขณะนี่นักลงทุนจีนเริ่มทยอยกลับมาโอนเงินและทำธุรกรรมกับทางนิคมอุตสาหกรรมไทยได้อีกครั้ง และฐานการผลิตในมณฑลหูเป่ยสามารถกลับมาผลิตได้ 70% แล้วทำให้ความกังวลเรื่องวัตถุดิบขาดแคลนคลี่คลายลงไป
ทั้งนี้ แม้สถานการณ์โดยรวมจะดูดีขึ้น แต่ยังต้องติดตามสถานการณ์ไปอีก 2 - 3 เดือนก่อนที่จะตัดสินใจว่ารายได้ยังเป็นไปตามเป้าหมายของบริษัทอยู่หรือไม่ แต่เบื้องต้นยังคาดว่าครึ่งปีหลังสถานการณ์ในไทยจะปรับตัวดีขึ้นตาม
*** โรงงานผลิตรถยนต์ทยอยปิดตัว กระทบรายได้ค่าน้ำ-ไฟฟ้า
บล.เคทีบี มองว่า 5 ค่ายรถยนต์ที่ประกาศหยุดผลิตรถยนต์ชั่วคราว ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 75% ของยอดผลิตรถยนต์รวมทั้งประเทศ ถึงปลายเดือน เม.ย. (ยกเว้นโตโยต้าที่จะหยุดสายการผลิต 7-17 เม.ย.) หากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น รวมถึงมีปัญหาด้าน Supply Chain อาจทำให้ค่ายรถยนต์จะมีการขยายระยะเวลาการหยุดผลิตได้อีก
จะทำให้หุ้นกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบ จากค่ายรถยนต์ที่หยุดการผลิต รวมถึงโรงงานชิ้นส่วนรถยนต์ที่ส่วนใหญ่อยู่ในทุกนิคมอุตสาหกรรมของทั้ง WHA, AMATA, ROJNA จากรายได้การให้บริการสาธารณูปโภคทั้งน้ำ และไฟฟ้า ลดลงเนื่องจากผู้ประกอบในนิคมประมาณ 30% เป็นผู้ประกอบการเกี่ยวกับกลุ่มยานยนต์ โดยเรียงลำดับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากมากไปน้อย ได้แก่ WHA, ROJNA และ AMATA
ให้น้ำหนักการลงทุน กลุ่มนิคมอุตสาหกรรมที่ "Underweight"
*** นักวิเคราะห์มองทั้ง 3 ราย ยังมีความเสี่ยงจากโควิด-19 มาก
WHA มีแผนขายสินทรัพย์เข้า REIT
ความเห็นจากบล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส มองว่า WHA ยังมีความท้าทายจากโควิด-19 โดยเฉพาะกับลูกค้าจีน ซึ่งมีบทบาทสำคัญเพราะในปี 62 ที่ผ่านมายอดขายนิคมฯกับจีนเพิ่มถึง 60% YoY และปี 62 เป็นปีแรกที่ยอดขายมากกว่าลูกค้าหลักเดิมคือญี่ปุ่นถึง 4 เท่าตัว ดังนั้นการหยุดชะงักของกิจกรรมการลงทุนจากจีนและประเทศอื่นๆ ก็จะมีผลลบกับบริษัทแน่นอน
ซึ่งในปีนี้บริษัทมีแผนขายสินทรัพย์เข้า HREIT เพิ่ม 5 หมื่นตรม. คาดว่าจะเกิดขึ้นในไตรมาส 4/63 หากใช้ราคาขายเท่ากับปี 61 ก็จะมีมูลค่าขายที่ราว 1.4 พันล้านบาท ด้านการขายสินทรัพย์เข้า WHART จะใกล้เคียงกับปี 62 ที่ 1.5 แสนตรม.ที่มูลค่าราว 4.9 พันล้านบาท จะแบ่งเป็นส่วนรายได้ที่ขายสินทรัพย์ของ WHA เองราว 1.6 พันล้านบาท และเป็นสินทรัพย์ที่บริษัทไปร่วมทุนอีก 3.3 พันล้านบาท เรามีสมมุติฐานว่าอัตรากำไรขั้นต้นจากการขายสินทรัพย์ปีนี้เพิ่มอย่างมีนัยสำคัญเป็น 40.8%
AMATA กำไรปี 63 - 64 มีความเสี่ยงจากโควิด-19
บล.เคทีบี ปรับลดประมาณการกำไรปกติ 63 ลง -17% จากผลกระทบโควิด-19 มาอยู่ที่ 1.12 พันล้านบาท (-38% YoY) จากการปรับลดยอดขายและยอดโอนลงมาอยู่ที่ 250 และ 288 ไร่ (จากเดิม 350 และ 467 ไร่) ตามลำดับ เนื่องจากโรคระบาดทำให้การเดินทางติดต่อศึกษาดูงาน และเจรจาซื้อขาย/โอนที่ดินลดลง โดยเฉพาะภายหลังที่ไทยได้ประกาศปิดพื้นที่ในหลายๆพื้นที่ รวมทั้งสภาพเศรษฐกิจโลกที่ชะลอถึงหดตัว ทำให้มีแนวโน้มเลื่อนการลงทุนที่มีมูลค่าสูงอย่างการขยายโรงงาน หรือซื้อพื้นที่ในนิคมฯลดลง
ในขณะที่คาดกำไรสุทธิปี 63 จะอยู่ที่ 1.43 พันล้านบาท (-15% YoY) เนื่องจากมีรับรู้กำไรพิเศษประมาณ 310 ล้านบาท จากการขายหุ้น ASCLT1 และ ASCLT2 ที่ 2.16 พันล้านบาท (สมมติว่าบริษัทมีอัตรากำไรสุทธิที่ 30% เนื่องจากบริษัทมีภาระในการเวนคืนที่ดินใน ASCLT1 และ 2 ก่อนการขายหุ้น)
ROJNA เจอหั่นกำไรอย่างหนัก
บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส ปรับประมาณการกำไร ROJNA ทั้งปีนี้และปี 64 ลง -34%/-40% ตามลำดับ สะท้อนธุรกิจนิคมฯที่ได้รับผลลบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เกี่ยวกับการลงทุนจากต่างประเทศที่ชะลอตัวลง ทำให้คาดยอดโอนกรรมสิทธิ์ปี 63 - 64 ลดลงมาอยู่ที่ 251 และ261 ไร่ จากเดิมที่ 550 และ561 ไร่ ตามลำดับ หรือเป็นการลดลงในอัตรา -54% และ -53% ตามลำดับ หลังปรับประมาณการคิดเป็นอัตราการเติบโตของกำไรหลักเทียบ y-o-y เป็น +63%/+4% ตามลำดับ
เป็นเรื่องยากมากที่นักลงทุนจีนจะกระหน่ำกลับมาลงทุนในไทยทันทีหลังจากที่เหตุการณ์โควิด-19 สิ้นสุดลง แม้ปัจจุบันจะเริ่มกลับมาทำธุรกรรมกับทางไทยบ้างแล้ว แต่ก็เป็นเพียงธุรกรรมต่อเนื่องที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ขณะที่โรงงานเดิมอย่างโรงงานผลิตรถยนต์ก็มีโอกาสที่จะขยายเวลาปิดออกไปอีก ซึ่งก็จะกระทบกับรายได้ค่าน้ำและค่าไฟอย่างแน่นอน สิ่งที่นักลงต้องคำนึงให้ดีก็คือราคาหุ้นปัจจุบันมีความเสี่ยงที่ยอมรับได้แค่ไหน? เพราะมีบางส่วนที่รับได้และเข้าซื้อจนราคาพุ่งไปแล้ว!
**อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ ==>> http://www.efinancethai.com/HotStocks/HotStockMain.aspx?release=y&id=Z2ZOdGpIZFA5WW89
--------------------------
สำนักข่าว efinanceThai ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการลงทุนหุ้นได้ที่นี่
Website : https://www.efinancethai.com
Facebook : https://www.facebook.com/efinanceThaiTV/
Facebook : https://www.facebook.com/efinanceThai/
lTwitter : @eFinanceThai
IG : @efinancethai_official
line : @efin