อย่าให้เขาหลอกว่าเราเป็น 'ขอทาน' นั่นคือ 'ภาษี' ของเรา
https://voicetv.co.th/read/dR3EfQm8O
บทความสะท้อนความคิดเห็น จากการเฝ้าสังเกตความยากลำบากในการเข้าถึงเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท ผ่านเว็บไซต์ และจิตวิทยาแห่งการกดขี่ที่อยู่เบื้องหลัง
การมีส่วนร่วมในโครงการเม็ดเงินเยียวยาแรงงานจำนวน 5,000 บาท เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้อยู่แล้วในฐานะนักข่าวเศรษฐกิจ และอีกมิติหนึ่งคือการเป็นบุคคลที่ดูจะเข้าใจเรื่องนี้และใช้คอมพิวเตอร์ได้รู้เรื่องที่สุดแล้วสำหรับคนรอบข้างที่เข้าเกณฑ์
เวลา 17.00 น. ของวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา บัตรประชาชนจำนวนมากของทั้งคนสนิทมากหน่อย หรือแทบไม่สนิทเลย ถูกวางไว้เต็มหน้าจอโน้ตบุ๊ก จะเหลือก็แค่เพียงรอเวลาเปิดตัวลงทะเบียนตอน 18.00 น.เท่านั้น
และเมื่อเวลานั้นมาถึง ก็ไม่ได้แปลกใจเลยที่มันจะ...ล่ม!
ก่อนหน้านั้น 2-3 วัน เรามีโอกาสออกไปทำข่าวประเด็นนี้ และได้สอบถามผู้รับผิดชอบว่าเตรียมตัวไว้พร้อมแค่ไหนกับการรองรับกระแสการลงทะเบียนที่รู้อยู่แล้วว่าถล่มทลายแน่ๆ เพราะถึงแม้รัฐจะเสนอช่องทางการลงทะเบียนตามสาขาของ 3 ธนาคาร อย่าง ออมสิน ธ.ก.ส. และกรุงไทย แต่ก็ยกเลิกออกไปเพราะความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ
จนสุดท้าย ทางเลือกเดียวที่ประชาชนมีคือการลงทะเบียนออนไลน์ ซึ่ง ณ วันนั้น คำตอบที่ได้มาคือ ระบบสามารถรองรับธุรกรรมได้มากกว่า 50,000 รายการ/วินาที หรือบวกลบออกมาได้ 3,000,000 ธุรกรรม/นาที
แต่กลับมาที่ความเป็นจริง ซึ่งไม่ใกล้เคียงกับคำอ้างอิงข้างบนสักเท่าไหร่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ล่มตั้งแต่นาทีแรกที่เปิดให้ลงทะเบียนเลยด้วยซ้ำ เสียงวิพากษ์วิจารณ์เกิดขึ้นมากมายในโลกออนไลน์ รวมถึงจากเหล่าบุคคลตัวเป็นๆ ที่นั่งลุ้นแกมกดดันอยู่ข้างๆ เรานี่แหละ
เวลาล่วงเลยมาหลายชั่วโมง เราก็กรอกข้อมูลซ้ำไปซ้ำมา กรอกแล้วบอกทำการไม่สำเร็จบ้าง รหัส OTP ไม่ส่งมาบ้าง หรือไม่ก็ส่งมาไม่ทันเวลาบ้าง จนหนึ่งในคนที่มาขอให้เราช่วยลงทะเบียนเอาน้ำมาให้เรา และพูดกับเราว่า "
ใจเย็นๆ มันก็ยากแบบนี้แหละ ไปเอาเงินเขานี่"
เงินเยียวยาเป็นเงินของประชาชน
การเยียวยาประชาชนเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องทำ คือหน้าที่ของรัฐบาล ไม่ใช่ความใจดี ไม่ใช่ความใจกว้าง ไม่ใช่ความเมตตากรุณา ไม่ใช่เรื่องที่ต้องยกเป็นความดีความชอบ รัฐบาลเข้ามาเพื่อรับใช้ประชาชน และแม้เราจะรู้แบบนั้นกันทุกคน แต่ในความเป็นจริง วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา มีสิ่งที่เรียกว่า '
การกดขี่ทางอ้อม' หรือ '
ทางจิตวิทยา' ล้วนทำให้ประชาชนลืมไปแล้ว ทั้งอำนาจที่ตัวเองมี หรือสถานะที่เป็น '
ผู้เลือก' คนเหล่านั้นเข้าไปบริหารประเทศ (ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้เลือกหลายคนที่นั่งอยู่บนเก้าอี้ตอนนี้ก็ตาม)
ซ้ำร้าย ยิ่งระบบที่ต้องอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในยามวิกฤตที่สุดแบบนี้ ยิ่งกลับมาตอกย้ำความยากเย็นแสนเข็ญที่ประชาชนต้องเผชิญ เสมือนว่าทุกอย่างไม่ได้ยากจนจะขาดใจอยู่แล้วกับการมีชีวิตรอด จนเสียงสะท้อนราวกับประชาชนเป็นขอทานขอเศษเงินรัฐบาลมายังชีพมันดังระงมไปทั่ว
วัฒนธรรมที่ผ่านมาสร้างความเสี่ยงอย่างมากที่ประชาชนจะยิ่งมองไม่เห็นอำนาจที่ตัวเองมี คำอธิบาย '
การกดขี่' ช่วงหนึ่งจากวารสารวิชาการ
Polities Change, Oppression Remains: On the Psychology and Politics of Oppression (การปกครองเปลี่ยน แต่การกดขี่ยังอยู่: ในทางจิตวิทยาและการเมืองของการกดขี่) ที่เขียนโดย '
ไอแซค พรีเล็ตเทนสกี' และ '
เลฟ โกนิค' ชี้ว่า เมื่อพูดถึงการกดขี่ผู้คน หลายฝ่ายมักมองไปที่การกดขี่ในมิติของเศรษฐกิจหรือการเมือง แต่ท่ามกลางการเคลื่อนไหวเพื่ออิสรภาพมากมายที่เกิดขึ้น ทั้งอิสรภาพของชาวผิวสี หรือแม้แต่การเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรี สะท้อนได้อย่างชัดเจนว่ามิติของการกดขี่มีมากกว่าเรื่องที่จับต้องได้โดยง่ายอย่างเศรษฐกิจหรือการเมือง
ผู้คนสามารถถูกกดขี่ทางจิตวิทยาได้เช่นเดียวกัน และเมื่อถูกกดขี่ในมิตินี้ ประชาชนจะกลายเป็นผู้กดขี่ตัวเอง จะต้องแบกรับภาระอารมณ์ของตัวเอง หรือสามารถกล่าวได้ว่าเมื่อประชาชนถูกกดขี่ทางจิตวิทยาแล้ว พวกเขา "
ยอมรับการเป็นรองจากภายใน" ซึ่งที่ผ่านมา การกดขี่ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเมืองมาตลอด ซึ่งแน่นอนว่าเราไม่อยากให้สิ่งนั้นกัดกร่อนประชาชนไทย
ข้อมูลจากกระทรวงการคลัง แสดงไว้อย่างชัดเจนถึงรายได้ของรัฐบาล หากจะลองจำแนกก็อาจจะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ การจัดเก็บภาษี และรายได้จากรัฐวิสาหกิจหรือบริษัทที่รัฐบาลเข้าไปถือหุ้น และแน่นอนว่า รายได้หลักๆ แล้วก็มาจากสารพัดภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บ ทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีน้ำมันฯ อากรขาเข้า และอีกมากมาย ซึ่งถามว่าใครจ่ายภาษีพวกนั้น ไม่ใช่พวกคุณประชาชนทุกคนหรือไง
ถ้าอย่างนั้น ทำไมเวลาเดือดร้อนถึงได้ลืมกันไปเล่า ว่าเราเลือกพวกเขาเข้ามาบริหารประเทศ (หมายถึงในสถานการณ์ปกติที่เราสามารถเลือกผู้แทนของเราได้อย่างชอบธรรมอะนะ) และประเทศคือผู้คน
เราให้เขาเข้ามามีอาชีพดูแลชีวิตของพวกเราให้อยู่อย่างสุขสบาย ได้โปรดอย่าลืมว่าประเทศนี้เป็นของเรา เช่นเดียวกับเงินภาษีที่รัฐบาลมีหน้าที่ต้องจัดสรรมาช่วยเรา
ลงทะเบียนรับเงิน 5 พัน ล่าสุด 18.7 ล้านคน งบสูงถึง 2.8 ล้านบาท ผ่านเกณฑ์ได้เงินทุกคน
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2103694
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เปิดระบบการลงทะเบียนเพื่อรับเงินเยียวยาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดขของไวรัสโควิด-19 จำนวน 5,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน รวม 15,000 บาท ให้แก่แรงงานนอกระบบ โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 18.00 น. วันที่ 28 มีนาคม พบว่า ตัวเลขผู้ลงทะเบียนสูงขึ้นเรื่อยๆ เกินกว่าที่กระทรวงการคลังตั้งเป้าหมายการช่วยเหลือไว้ 3 ล้านคน เป็นเงิน 4.5 หมื่นล้านบาท ล่าสุดเมื่อเวลา 06.00 น. วันที่ 30 มีนาคม ยอดผู้ลงทะเบียนอยู่ที่ 18.7 ล้านคน ถ้าต้องจ่ายให้คนลงทะเบียนทั้งหมด ใช้เงินสูงถึง 2.8 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตามกระทรวงการคลังนำรายชื่อ และข้อมูลผู้ลงทะเบียนทั้งหมด มาตรวจสอบอีกครั้งว่าผ่านเงื่อนไขหรือไม่ และจ่ายเงินให้กลุ่มผ่านเกณฑ์ล็อตแรกภายใน 7 วันทำการ หรือในวันที่ 8 เมษายน
นาย
ลวรรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ไม่ปิดกั้นการลงทะเบียน ถ้าคิดว่าเป็นผู้ได้รับผลกระทบโควิด และไม่อยู่ในระบบประกันสังคม สามารถมาลงทะเบียนได้ ซึ่งหลังจากลงทะเบียนกระทรวงการคลังนำข้อมูลลงทะเบียนตรวจเช็คกับฐานข้อมูลอื่นๆ มากกว่า 10 ขั้นตอน ซึ่งจะใช้ระบบเอไอมาช่วย
ทั้งนี้ยืนยันว่าจะช่วยเหลือผู้ที่ผ่านเกณฑ์ทุกราย และพร้อมเสนอไปยังครม.เพื่อของบประมาณเพิ่มเติม
JJNY : อย่าให้เขาหลอกว่าเราเป็น'ขอทาน'/ลงทะเบียนรับเงิน5พัน ล่าสุด18.7ล้านคน/หมอแล็บถามความเห็น/โควิดสังเวยพุ่ง34,000ศพ
https://voicetv.co.th/read/dR3EfQm8O
บทความสะท้อนความคิดเห็น จากการเฝ้าสังเกตความยากลำบากในการเข้าถึงเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท ผ่านเว็บไซต์ และจิตวิทยาแห่งการกดขี่ที่อยู่เบื้องหลัง
การมีส่วนร่วมในโครงการเม็ดเงินเยียวยาแรงงานจำนวน 5,000 บาท เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้อยู่แล้วในฐานะนักข่าวเศรษฐกิจ และอีกมิติหนึ่งคือการเป็นบุคคลที่ดูจะเข้าใจเรื่องนี้และใช้คอมพิวเตอร์ได้รู้เรื่องที่สุดแล้วสำหรับคนรอบข้างที่เข้าเกณฑ์
เวลา 17.00 น. ของวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา บัตรประชาชนจำนวนมากของทั้งคนสนิทมากหน่อย หรือแทบไม่สนิทเลย ถูกวางไว้เต็มหน้าจอโน้ตบุ๊ก จะเหลือก็แค่เพียงรอเวลาเปิดตัวลงทะเบียนตอน 18.00 น.เท่านั้น
และเมื่อเวลานั้นมาถึง ก็ไม่ได้แปลกใจเลยที่มันจะ...ล่ม!
ก่อนหน้านั้น 2-3 วัน เรามีโอกาสออกไปทำข่าวประเด็นนี้ และได้สอบถามผู้รับผิดชอบว่าเตรียมตัวไว้พร้อมแค่ไหนกับการรองรับกระแสการลงทะเบียนที่รู้อยู่แล้วว่าถล่มทลายแน่ๆ เพราะถึงแม้รัฐจะเสนอช่องทางการลงทะเบียนตามสาขาของ 3 ธนาคาร อย่าง ออมสิน ธ.ก.ส. และกรุงไทย แต่ก็ยกเลิกออกไปเพราะความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ
จนสุดท้าย ทางเลือกเดียวที่ประชาชนมีคือการลงทะเบียนออนไลน์ ซึ่ง ณ วันนั้น คำตอบที่ได้มาคือ ระบบสามารถรองรับธุรกรรมได้มากกว่า 50,000 รายการ/วินาที หรือบวกลบออกมาได้ 3,000,000 ธุรกรรม/นาที
แต่กลับมาที่ความเป็นจริง ซึ่งไม่ใกล้เคียงกับคำอ้างอิงข้างบนสักเท่าไหร่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ล่มตั้งแต่นาทีแรกที่เปิดให้ลงทะเบียนเลยด้วยซ้ำ เสียงวิพากษ์วิจารณ์เกิดขึ้นมากมายในโลกออนไลน์ รวมถึงจากเหล่าบุคคลตัวเป็นๆ ที่นั่งลุ้นแกมกดดันอยู่ข้างๆ เรานี่แหละ
เวลาล่วงเลยมาหลายชั่วโมง เราก็กรอกข้อมูลซ้ำไปซ้ำมา กรอกแล้วบอกทำการไม่สำเร็จบ้าง รหัส OTP ไม่ส่งมาบ้าง หรือไม่ก็ส่งมาไม่ทันเวลาบ้าง จนหนึ่งในคนที่มาขอให้เราช่วยลงทะเบียนเอาน้ำมาให้เรา และพูดกับเราว่า "ใจเย็นๆ มันก็ยากแบบนี้แหละ ไปเอาเงินเขานี่"
เงินเยียวยาเป็นเงินของประชาชน
การเยียวยาประชาชนเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องทำ คือหน้าที่ของรัฐบาล ไม่ใช่ความใจดี ไม่ใช่ความใจกว้าง ไม่ใช่ความเมตตากรุณา ไม่ใช่เรื่องที่ต้องยกเป็นความดีความชอบ รัฐบาลเข้ามาเพื่อรับใช้ประชาชน และแม้เราจะรู้แบบนั้นกันทุกคน แต่ในความเป็นจริง วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา มีสิ่งที่เรียกว่า 'การกดขี่ทางอ้อม' หรือ 'ทางจิตวิทยา' ล้วนทำให้ประชาชนลืมไปแล้ว ทั้งอำนาจที่ตัวเองมี หรือสถานะที่เป็น 'ผู้เลือก' คนเหล่านั้นเข้าไปบริหารประเทศ (ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้เลือกหลายคนที่นั่งอยู่บนเก้าอี้ตอนนี้ก็ตาม)
ซ้ำร้าย ยิ่งระบบที่ต้องอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในยามวิกฤตที่สุดแบบนี้ ยิ่งกลับมาตอกย้ำความยากเย็นแสนเข็ญที่ประชาชนต้องเผชิญ เสมือนว่าทุกอย่างไม่ได้ยากจนจะขาดใจอยู่แล้วกับการมีชีวิตรอด จนเสียงสะท้อนราวกับประชาชนเป็นขอทานขอเศษเงินรัฐบาลมายังชีพมันดังระงมไปทั่ว
วัฒนธรรมที่ผ่านมาสร้างความเสี่ยงอย่างมากที่ประชาชนจะยิ่งมองไม่เห็นอำนาจที่ตัวเองมี คำอธิบาย 'การกดขี่' ช่วงหนึ่งจากวารสารวิชาการ Polities Change, Oppression Remains: On the Psychology and Politics of Oppression (การปกครองเปลี่ยน แต่การกดขี่ยังอยู่: ในทางจิตวิทยาและการเมืองของการกดขี่) ที่เขียนโดย 'ไอแซค พรีเล็ตเทนสกี' และ 'เลฟ โกนิค' ชี้ว่า เมื่อพูดถึงการกดขี่ผู้คน หลายฝ่ายมักมองไปที่การกดขี่ในมิติของเศรษฐกิจหรือการเมือง แต่ท่ามกลางการเคลื่อนไหวเพื่ออิสรภาพมากมายที่เกิดขึ้น ทั้งอิสรภาพของชาวผิวสี หรือแม้แต่การเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรี สะท้อนได้อย่างชัดเจนว่ามิติของการกดขี่มีมากกว่าเรื่องที่จับต้องได้โดยง่ายอย่างเศรษฐกิจหรือการเมือง
ผู้คนสามารถถูกกดขี่ทางจิตวิทยาได้เช่นเดียวกัน และเมื่อถูกกดขี่ในมิตินี้ ประชาชนจะกลายเป็นผู้กดขี่ตัวเอง จะต้องแบกรับภาระอารมณ์ของตัวเอง หรือสามารถกล่าวได้ว่าเมื่อประชาชนถูกกดขี่ทางจิตวิทยาแล้ว พวกเขา "ยอมรับการเป็นรองจากภายใน" ซึ่งที่ผ่านมา การกดขี่ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเมืองมาตลอด ซึ่งแน่นอนว่าเราไม่อยากให้สิ่งนั้นกัดกร่อนประชาชนไทย
ข้อมูลจากกระทรวงการคลัง แสดงไว้อย่างชัดเจนถึงรายได้ของรัฐบาล หากจะลองจำแนกก็อาจจะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ การจัดเก็บภาษี และรายได้จากรัฐวิสาหกิจหรือบริษัทที่รัฐบาลเข้าไปถือหุ้น และแน่นอนว่า รายได้หลักๆ แล้วก็มาจากสารพัดภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บ ทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีน้ำมันฯ อากรขาเข้า และอีกมากมาย ซึ่งถามว่าใครจ่ายภาษีพวกนั้น ไม่ใช่พวกคุณประชาชนทุกคนหรือไง
ถ้าอย่างนั้น ทำไมเวลาเดือดร้อนถึงได้ลืมกันไปเล่า ว่าเราเลือกพวกเขาเข้ามาบริหารประเทศ (หมายถึงในสถานการณ์ปกติที่เราสามารถเลือกผู้แทนของเราได้อย่างชอบธรรมอะนะ) และประเทศคือผู้คน
เราให้เขาเข้ามามีอาชีพดูแลชีวิตของพวกเราให้อยู่อย่างสุขสบาย ได้โปรดอย่าลืมว่าประเทศนี้เป็นของเรา เช่นเดียวกับเงินภาษีที่รัฐบาลมีหน้าที่ต้องจัดสรรมาช่วยเรา
ลงทะเบียนรับเงิน 5 พัน ล่าสุด 18.7 ล้านคน งบสูงถึง 2.8 ล้านบาท ผ่านเกณฑ์ได้เงินทุกคน
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2103694
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เปิดระบบการลงทะเบียนเพื่อรับเงินเยียวยาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดขของไวรัสโควิด-19 จำนวน 5,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน รวม 15,000 บาท ให้แก่แรงงานนอกระบบ โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 18.00 น. วันที่ 28 มีนาคม พบว่า ตัวเลขผู้ลงทะเบียนสูงขึ้นเรื่อยๆ เกินกว่าที่กระทรวงการคลังตั้งเป้าหมายการช่วยเหลือไว้ 3 ล้านคน เป็นเงิน 4.5 หมื่นล้านบาท ล่าสุดเมื่อเวลา 06.00 น. วันที่ 30 มีนาคม ยอดผู้ลงทะเบียนอยู่ที่ 18.7 ล้านคน ถ้าต้องจ่ายให้คนลงทะเบียนทั้งหมด ใช้เงินสูงถึง 2.8 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตามกระทรวงการคลังนำรายชื่อ และข้อมูลผู้ลงทะเบียนทั้งหมด มาตรวจสอบอีกครั้งว่าผ่านเงื่อนไขหรือไม่ และจ่ายเงินให้กลุ่มผ่านเกณฑ์ล็อตแรกภายใน 7 วันทำการ หรือในวันที่ 8 เมษายน
นายลวรรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ไม่ปิดกั้นการลงทะเบียน ถ้าคิดว่าเป็นผู้ได้รับผลกระทบโควิด และไม่อยู่ในระบบประกันสังคม สามารถมาลงทะเบียนได้ ซึ่งหลังจากลงทะเบียนกระทรวงการคลังนำข้อมูลลงทะเบียนตรวจเช็คกับฐานข้อมูลอื่นๆ มากกว่า 10 ขั้นตอน ซึ่งจะใช้ระบบเอไอมาช่วย
ทั้งนี้ยืนยันว่าจะช่วยเหลือผู้ที่ผ่านเกณฑ์ทุกราย และพร้อมเสนอไปยังครม.เพื่อของบประมาณเพิ่มเติม