คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
คุณ จขกท. คิดเหมือนเราเลยค่ะ^^
ยิ่งสมัยนี้ที่อยู่ในยุคอินเตอร์เน็ต จะมีการกล่าวอ้าง ยกเอาคำคมต่างๆ มาส่งต่อกันไปมากมาย
ไม่ว่าจะมาจากหนัง/ละคร คนดังต่างๆ แนวคิดทางศาสนา หรืออื่นๆ มากมาย
สมัยก่อน เราก็ชอบอ่านค่ะ แต่ตอนนี้ ก็ไม่ค่อยสนใจนัก
เพราะมองว่า หลายคำคม มันเก๋ มันเท่ มันโดนใจ ในลักษณะของการใช้ภาษา
แต่มันไม่ได้สะท้อนความจริง หรือบางอย่างมันกล่อมใจคน พาไปเชื่อในสิ่งที่ไม่ใช่สัจธรรม ก็มีมากมายค่ะ
ยิ่งพอคนเราโตขึ้น มีความคิด มีสติปัญญามากขึ้น ก็จะพบว่า
ถ้าคำกล่าวไหน มันไม่สะท้อนสัจธรรม ความจริง เราก็จะไม่อินกับมัน
เราเจอบ่อยค่ะ เอาเท่าที่นึกออกตอนนี้นะคะ 55
เช่น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
"คนเราท้อได้ แต่อย่าถอย" อะไรประมาณนี้
เราก็ว่า มันก็ปลุกใจดีค่ะในสมัยตอนเราวัยรุ่น
แต่พอเราโตมา เราไม่เห็นด้วยกับประโยคนี้ค่ะ
เรามองว่า ในชีวิตจริง คนเราเวลาเจออุปสรรค จะรู้สึกท้อ จะถอย จะหยุดชั่วคราว หรือแม้แต่จะล้มเลิก
จะเปลี่ยนทางเดิน .... ฯลฯ มันเป็นไปได้ทั้งนั้นค่ะ
หลายครั้งที่เจออุปสรรค การถอยเพื่อตั้งหลัก ถอยเพื่อพัก มันก็ทำได้ค่ะ ไม่ผิดแต่อย่างใด
หรือแม้แต่จะถอยจนสุดทาง แล้วล้มเลิกในสิ่งนั้นๆ ก็เป็นไปได้ทั้งนั้นค่ะ
ต้องพิจารณาด้วยสติปัญญาว่า สิ่งที่ทำนั้น มันสมควรทำต่อหรือไม่ สมควรเลิกทำ แล้วไปหาอย่างอื่นทำหรือไม่
หรือจะถอยเพื่อตั้งหลัก
........ฯลฯ
ส่วนคำคมที่เราคิดว่าสื่อในด้านที่ลุ่มลึกกว่าในประเด็นนี้ เช่น
ความล้มเหลว ไม่ใช่การล้มลง แต่เป็นการไม่ยอมลุกขึ้น (Mary Pickford)
----------------------------------------------------
"พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของลูก" อันนี้ ก็ได้ยินบ่อย
ลองไปหาข้อมูลกันดูค่ะ ว่าประโยคนี้อ้างอิงผิดยังไง?
หรือลองคิดด้วยตรรกะของปุถุชนก็ได้ค่ะว่า แค่ให้กำเนิดใครสักคน
พ่อแม่ก็จะมีบุญคุณ หรือมีคุณสมบัติมากพอที่จะเป็นพระอรหันต์ของลูกเลยหรือ?
-----------------------------------------------------
หรือประโยคประมาณว่า "ถ้าเราทุ่มเทเต็มที่ ความสำเร็จต้องอยู่ในมือเรา ความสำเร็จไม่หนีไปไหน"
หรือประมาณว่า "ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น"
อันนี้ไม่สะท้อนความจริงเสมอไปค่ะ
ถ้าเราทำอะไรสักอย่าง เราสมควรต้องใช้สติปัญญา แล้วทำให้เต็มที่ นี่คือถูกต้องค่ะ คือ มีความพยายาม
แต่เราไม่สามารถกำหนดให้ทุกอย่างมันได้ผลดั่งใจเราเสมอไป เพราะมันมีปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วย
เปรียบกับการแข่งกีฬาก็ได้ค่ะ นักวิ่งทุกคนก็เตรียมตัวอย่างดีไปแข่งโอลิมปิก
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้เหรียญทอง เพราะมันก็จะมีคนที่เก่งกว่าคุณก็ได้ คุณอาจจะผิดพลาดในการแข่งก็ได้
คุณอาจบังเอิญป่วยในวันนั้นก็ได้ ฯลฯ มีปัจจัยอื่นๆ นอกจากตัวคุณมากมายค่ะที่จะกำหนดว่า "ผลลัพธ์" จะเป็นยังไง
เพราะฉะนั้น การปลูกฝังว่า "ทำอะไรให้เต็มที่ แล้วต้องได้ผลดั่งใจ" ทำให้หลายคนผิดหวังกับชีวิต
คาดหวังผิดๆ กับชีวิต มองว่าโลกและสังคมไม่เป็นธรรม เพราะฉันทำเต็มที่แล้ว ทำไมฉันยังผิดหวัง??
มีคนเป็นแบบนี้เยอะค่ะ^^
ส่วนคำคมที่ลุ่มลึกกว่าในประเด็นนี้ เช่น
"จงพยายามให้เต็มที่ แล้วผลจะออกมายังไง ก็ต้องยอมรับมันให้ได้" อะไรประมาณนี้
-----------------------------------------------------------
หรือประโยคประมาณว่า
"ผู้หญิง (ผู้ชาย) ที่ดีพร้อมอย่างเธอ มีไว้เพื่อให้ผู้โชคดีสักคนได้ไปเป็นคู่ชีวิต ได้ไปครอบครอง"
เราค่อนข้างฮากับแนวคิดนี้
คือ เป็นการมองว่า ชีวิตดีๆ หรือดีพร้อม (สวย/หล่อ - ฉลาด - การศึกษาดี - ฐานะดี -จิตใจดี ฯลฯ)
มีไว้เพื่อหาใครสักคนมาแต่งงานด้วย??
... แค่นี้เองเหรอที่คนเราหวังกับชีวิต??
พอไม่มีใครรัก ไม่มีใครแต่งงานด้วย เป็นโสด ฯลฯ กลายเป็นชีวิตไร้ค่า เพราะไม่มีใครอยากใช้ชีวิตด้วย??
นี่คือค่านิยมของคนยุคใหม่หรือนี่?? 555
เรามองว่า ชีวิตดีๆ ก็ดีกับทั้งตัวเอง และถ้าจะเอาไปทำประโยชน์เพื่อคนอื่น เพื่อสังคม ก็ยิ่งดีขึ้นไปอีก
ชีวิตดีๆ ไม่ใช่มีไว้แค่ "เอาไว้ดึงดูดให้ใครมารัก มาแต่งงานด้วย แล้วจบแค่นั้น!!" 55
เป็นการดูถูกคุณค่าของชีวิตตัวเองมากไป เป็นการให้ค่ามากเกินไปกับ "การต้องมีชีวิตคู่ การต้องแต่งงาน"
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้แต่ประโยคที่เราคิดว่า มันแฝงแง่คิด และสะท้อนสัจธรรม หรือความจริง ก็มีเยอะค่ะ เช่น
ประโยคโรแมนติกจากหนัง ประมาณว่า
"การที่เรารู้สึกเศร้า หดหู่ หม่นหมองนั้น ไม่ใช่เพราะความรักได้จากเราไป
แต่เพราะว่า มันยังคงอยู่ต่างหาก" น่าจะมาจากหนังเกาหลีเรื่อง il mare
ประโยคนี้ ถ้าตีความแล้ว มันก็สะท้อนความจริงที่ว่า แม้คนรักจากไป เลิกกันหรือตายจากไป
ตัวเค้าได้จากไปแล้ว แต่การที่เรายังคงคิดถึง หมกมุ่น เฝ้าคิดย้ำเตือนถึงสิ่งเหล่านี้
มันทำให้ความหดหู่ ความเศร้ามันยังคงเกิดในใจเสมอ ถึงแม้กายได้จากกันไปแล้ว
แต่ใจยังไม่วางเรื่องเหล่านี้ ยังแบกความทุกข์ไว้ อะไรประมาณนี้
ยิ่งสมัยนี้ที่อยู่ในยุคอินเตอร์เน็ต จะมีการกล่าวอ้าง ยกเอาคำคมต่างๆ มาส่งต่อกันไปมากมาย
ไม่ว่าจะมาจากหนัง/ละคร คนดังต่างๆ แนวคิดทางศาสนา หรืออื่นๆ มากมาย
สมัยก่อน เราก็ชอบอ่านค่ะ แต่ตอนนี้ ก็ไม่ค่อยสนใจนัก
เพราะมองว่า หลายคำคม มันเก๋ มันเท่ มันโดนใจ ในลักษณะของการใช้ภาษา
แต่มันไม่ได้สะท้อนความจริง หรือบางอย่างมันกล่อมใจคน พาไปเชื่อในสิ่งที่ไม่ใช่สัจธรรม ก็มีมากมายค่ะ
ยิ่งพอคนเราโตขึ้น มีความคิด มีสติปัญญามากขึ้น ก็จะพบว่า
ถ้าคำกล่าวไหน มันไม่สะท้อนสัจธรรม ความจริง เราก็จะไม่อินกับมัน
เราเจอบ่อยค่ะ เอาเท่าที่นึกออกตอนนี้นะคะ 55
เช่น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
"คนเราท้อได้ แต่อย่าถอย" อะไรประมาณนี้
เราก็ว่า มันก็ปลุกใจดีค่ะในสมัยตอนเราวัยรุ่น
แต่พอเราโตมา เราไม่เห็นด้วยกับประโยคนี้ค่ะ
เรามองว่า ในชีวิตจริง คนเราเวลาเจออุปสรรค จะรู้สึกท้อ จะถอย จะหยุดชั่วคราว หรือแม้แต่จะล้มเลิก
จะเปลี่ยนทางเดิน .... ฯลฯ มันเป็นไปได้ทั้งนั้นค่ะ
หลายครั้งที่เจออุปสรรค การถอยเพื่อตั้งหลัก ถอยเพื่อพัก มันก็ทำได้ค่ะ ไม่ผิดแต่อย่างใด
หรือแม้แต่จะถอยจนสุดทาง แล้วล้มเลิกในสิ่งนั้นๆ ก็เป็นไปได้ทั้งนั้นค่ะ
ต้องพิจารณาด้วยสติปัญญาว่า สิ่งที่ทำนั้น มันสมควรทำต่อหรือไม่ สมควรเลิกทำ แล้วไปหาอย่างอื่นทำหรือไม่
หรือจะถอยเพื่อตั้งหลัก
........ฯลฯ
ส่วนคำคมที่เราคิดว่าสื่อในด้านที่ลุ่มลึกกว่าในประเด็นนี้ เช่น
ความล้มเหลว ไม่ใช่การล้มลง แต่เป็นการไม่ยอมลุกขึ้น (Mary Pickford)
----------------------------------------------------
"พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของลูก" อันนี้ ก็ได้ยินบ่อย
ลองไปหาข้อมูลกันดูค่ะ ว่าประโยคนี้อ้างอิงผิดยังไง?
หรือลองคิดด้วยตรรกะของปุถุชนก็ได้ค่ะว่า แค่ให้กำเนิดใครสักคน
พ่อแม่ก็จะมีบุญคุณ หรือมีคุณสมบัติมากพอที่จะเป็นพระอรหันต์ของลูกเลยหรือ?
-----------------------------------------------------
หรือประโยคประมาณว่า "ถ้าเราทุ่มเทเต็มที่ ความสำเร็จต้องอยู่ในมือเรา ความสำเร็จไม่หนีไปไหน"
หรือประมาณว่า "ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น"
อันนี้ไม่สะท้อนความจริงเสมอไปค่ะ
ถ้าเราทำอะไรสักอย่าง เราสมควรต้องใช้สติปัญญา แล้วทำให้เต็มที่ นี่คือถูกต้องค่ะ คือ มีความพยายาม
แต่เราไม่สามารถกำหนดให้ทุกอย่างมันได้ผลดั่งใจเราเสมอไป เพราะมันมีปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วย
เปรียบกับการแข่งกีฬาก็ได้ค่ะ นักวิ่งทุกคนก็เตรียมตัวอย่างดีไปแข่งโอลิมปิก
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้เหรียญทอง เพราะมันก็จะมีคนที่เก่งกว่าคุณก็ได้ คุณอาจจะผิดพลาดในการแข่งก็ได้
คุณอาจบังเอิญป่วยในวันนั้นก็ได้ ฯลฯ มีปัจจัยอื่นๆ นอกจากตัวคุณมากมายค่ะที่จะกำหนดว่า "ผลลัพธ์" จะเป็นยังไง
เพราะฉะนั้น การปลูกฝังว่า "ทำอะไรให้เต็มที่ แล้วต้องได้ผลดั่งใจ" ทำให้หลายคนผิดหวังกับชีวิต
คาดหวังผิดๆ กับชีวิต มองว่าโลกและสังคมไม่เป็นธรรม เพราะฉันทำเต็มที่แล้ว ทำไมฉันยังผิดหวัง??
มีคนเป็นแบบนี้เยอะค่ะ^^
ส่วนคำคมที่ลุ่มลึกกว่าในประเด็นนี้ เช่น
"จงพยายามให้เต็มที่ แล้วผลจะออกมายังไง ก็ต้องยอมรับมันให้ได้" อะไรประมาณนี้
-----------------------------------------------------------
หรือประโยคประมาณว่า
"ผู้หญิง (ผู้ชาย) ที่ดีพร้อมอย่างเธอ มีไว้เพื่อให้ผู้โชคดีสักคนได้ไปเป็นคู่ชีวิต ได้ไปครอบครอง"
เราค่อนข้างฮากับแนวคิดนี้
คือ เป็นการมองว่า ชีวิตดีๆ หรือดีพร้อม (สวย/หล่อ - ฉลาด - การศึกษาดี - ฐานะดี -จิตใจดี ฯลฯ)
มีไว้เพื่อหาใครสักคนมาแต่งงานด้วย??
... แค่นี้เองเหรอที่คนเราหวังกับชีวิต??
พอไม่มีใครรัก ไม่มีใครแต่งงานด้วย เป็นโสด ฯลฯ กลายเป็นชีวิตไร้ค่า เพราะไม่มีใครอยากใช้ชีวิตด้วย??
นี่คือค่านิยมของคนยุคใหม่หรือนี่?? 555
เรามองว่า ชีวิตดีๆ ก็ดีกับทั้งตัวเอง และถ้าจะเอาไปทำประโยชน์เพื่อคนอื่น เพื่อสังคม ก็ยิ่งดีขึ้นไปอีก
ชีวิตดีๆ ไม่ใช่มีไว้แค่ "เอาไว้ดึงดูดให้ใครมารัก มาแต่งงานด้วย แล้วจบแค่นั้น!!" 55
เป็นการดูถูกคุณค่าของชีวิตตัวเองมากไป เป็นการให้ค่ามากเกินไปกับ "การต้องมีชีวิตคู่ การต้องแต่งงาน"
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้แต่ประโยคที่เราคิดว่า มันแฝงแง่คิด และสะท้อนสัจธรรม หรือความจริง ก็มีเยอะค่ะ เช่น
ประโยคโรแมนติกจากหนัง ประมาณว่า
"การที่เรารู้สึกเศร้า หดหู่ หม่นหมองนั้น ไม่ใช่เพราะความรักได้จากเราไป
แต่เพราะว่า มันยังคงอยู่ต่างหาก" น่าจะมาจากหนังเกาหลีเรื่อง il mare
ประโยคนี้ ถ้าตีความแล้ว มันก็สะท้อนความจริงที่ว่า แม้คนรักจากไป เลิกกันหรือตายจากไป
ตัวเค้าได้จากไปแล้ว แต่การที่เรายังคงคิดถึง หมกมุ่น เฝ้าคิดย้ำเตือนถึงสิ่งเหล่านี้
มันทำให้ความหดหู่ ความเศร้ามันยังคงเกิดในใจเสมอ ถึงแม้กายได้จากกันไปแล้ว
แต่ใจยังไม่วางเรื่องเหล่านี้ ยังแบกความทุกข์ไว้ อะไรประมาณนี้
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
มีคำคมไหนที่ได้ยินแล้วรู้สึกว่ามันไม่จริงเสมอไปบ้างครับ