ขอให้กระทรวงการคลังช่วยเรื่อง ธอส.โกงเงินลูกค้า

ห้างฯ ของผมได้ขอเงินคืนส่วนที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์รับเกินไปจากความเป็นจริง แต่ถูกธนาคารปฏิเสธ ซึ่งเงินส่วนนี้ผมจะนำไปจ่ายค่าจ้างพนักงานนับสิบคน จ่ายค่าเช่า จ่ายหนี้สินของกิจการ และพยุงธุรกิจให้สามารถเดินต่อไปได้ อย่างน้อยจะช่วยลดภาระรัฐในช่วงที่ทุกฝ่ายกำลังประสบปัญหาจากมาตรการป้องกันไวรับโควิท-19 ในขณะนี้ได้บ้าง จึงอยากขอความช่วยเหลือผ่านทางกระทรวงการคลังให้ช่วยประสานตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยตนเอง โดยขอให้นิติกรของกระทรวงหรือนิติกรของกรมบังคับคดีมาร่วมตรวจสอบด้วยครับ ลำพังจะฟังจากเจ้าหน้าที่ธนาคารอย่างเดียวคงไม่ไหว แถมผู้บริหารธนาคารยังเลือกที่จะฟังแต่คนของตนเองเพียงด้านเดียวด้วย
.......................................................................................................................................
ข้อมูลของกรณีนี้
          ข้อ 1.  ห้างฯ ถูกศาลแพ่งสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อปี 2527 และมีเจ้าหนี้ธนาคารอาคารสงเคราะห์เป็นเจ้าหนี้มีประกันที่ไม่ได้ยื่นขอรับชำระหนี้ แต่ประสงค์ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483   ต่อมาได้ชำระหนี้ครบถ้วนจึงได้รับการยกเลิกการล้มละลายในปี 2548  
          ข้อ 2   ในระหว่างการถูกพิทักษทรัพย์เด็ดขาด ได้มีการขายทอดตลาดทรัพย์ลูกหนี้ รวมถึงที่ดินแปลงโฉนดเลขที่  38881   ที่ได้มีการขายทอดตลาดเมื่อวันที่ 2 เมษายน  2547 โดยธนาคารฯเป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้ในราคา  600,000  บาท โดยวิธีหักส่วนได้ใช้แทน  โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้จัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงินจากการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ติดจำนองธนาคารอาคารสงเคราะห์เจ้าหนี้ตามมาตรา 95 ในคดีนี้ไว้
           ข้อ 3    ภายหลังที่ห้างฯ ยกเลิกการล้มละลายเมื่อปี 2548    ธนาคารฯ ได้ฟ้องคดีแพ่งต่อห้างฯ ศาลฎีกามีคำพิพากษา สรุปในส่วนท้ายว่า  “พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ชำระจำนวน 38,149,422.20  บาท  พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี ของเงินต้นดังกล่าว ตั้งแต่วันฟ้อง(วันที่ 30 กันยายน 2551) ย้อนหลัง 5 ปี กับให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ และต้นเงินดังกล่าวนับคิดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์  โดยให้หักเงินจำนวน 19,042,442  บาท มาหักชำระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นเสียก่อน ส่วนที่เหลือจึงหักชำระเป็นเงินต้น  ........”   และห้างฯ ได้ชำระหนี้และไถ่ถอนหลักประกันจนครบเสร็จสิ้นเมื่อปี  2558
           ข้อ 4.     ตามหลักกฎหมายล้มละลาย  เมื่อเจ้าหนี้จำนองได้ซื้อทรัพย์โดยวิธีหักส่วนได้ใช้แทนตั้งแต่วันที่  2  เมษายน  2547  แล้วนั้น    ที่ถูกต้องจะต้องนำจำนวนเงินที่ซื้อกัน ณ วันนั้น มาหักจากต้นเงิน ณ วันพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด  จำนวน 38,179,422.20  บาท  เหลือต้นเงินที่นำมาคิดคำนวนเพียง   37,579,422.20  บาท
ในคดีแพ่งที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ฟ้องห้างฯ และศาลมีคำพิพากษาให้ชำระหนี้ไปด้วยแล้วนั้น  ธนาคารอาคารสงเคราะห์ไม่ได้นำเงินส่วนที่ส่วนได้ใช้แทนจำนวน  600,000  บาท ตัดออกจากเงินต้นก่อนฟ้องศาล  
             ข้อ 5. ห้างฯได้ทำหนังสือขอเงินคืนจากส่วนที่ธนาคารฯคิดเงินต้นเกินไปพร้อมดอกเบี้ยเท่ากับที่คิดตำนวนจากคำพิพากษา  แต่ธนาคารฯได้ปฏิเสธ โดยอ้างว่าได้มีการหักเงินส่วนได้ใช้แทนกันแล้ว โดยอ้างเอกสารบัญชีรับจ่ายส่วนของเจ้าหนี้ตามมาตรา 95 ฉบับลงวันที่  2  เมษายน  .2547  ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์  ซึ่งความจริงแล้วเอกสารดังกล่าวเป็นเสมือนการทำบัญชีประมาณการเท่านั้น
             ข้อ 6  กองคำนวนและเฉลี่ยหนี้   ยืนยันให้ห้างฯทราบว่า ธนาคารฯ ได้รับการชำระหนี้ในคดีนี้ไปแล้วสองส่วน คือส่วนที่รับเป็นเงินสด จำนวน  19,042,442  บาท  และ ส่วนที่เป็นที่ดิน ที่ธนาคารฯซื้อโดยวิธีหักส่วนได้ใช้แทน ในราคาซื้อขณะนั้น  600,000  บาท  ซึ่งมีคำถามที่ธนาคารฯควรตอบให้ได้เพียงว่า ส่วนที่เป็นที่ดินนี้ ธนาคารได้มาอย่างไร  มีการหักค่าซื้อที่ดินกันจริงแล้วหรือไม่  หักเมื่อไหร่  
             ข้อ  7.  ห้างฯ จึงขอความอนุเคราะห์จากกระทรวงการคลัง ให้ช่วยตรวจสอบและให้ธนาคารได้ยอมรับข้อกฎหมายที่ยืนยันว่า ธนาคารฯ ซื้อทรัพย์มาโดยที่ยังไม่ได้หักเงินจากยอดหนี้ของลูกหนี้แต่อย่างใด  และจะต้องนำเงินส่วนที่ธนาคารคิดเกินไปคืนให้กับห้างฯ ทั้งนี้หากได้เชิญนิติกรของกรมบังคับคดีมาชี้แจงด้วยจะทำให้ทราบความถูกต้องชัดเจนยิ่งขึ้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่