คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
หากกล่าวถึงบทบาทของหวงเจ้งในประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้โดดเด่นเรื่องวางแผนการรบมากเท่าไหร่ และยังถูกวิจารณ์เรื่องการทำผิดคุณธรรมอยู่มากครับ
บทบาทของหวงเจ้งเท่าที่บันทึกคือช่วยประสานงานชักชวนเล่าปี่มายึดเสฉวน ให้คำแนะนำบ้าง และส่งหนังสือไปขอให้เล่าเจี้ยงยอมแพ้ต่อเล่าปี่ รวมถึงแนะนำเล่าปี่ให้ปฏิบัติต่อเคาเจ้งที่เป็นขุนนางเสฉวนอย่างดี แต่ไม่ได้ปรากฏเรื่องการวางแผนการรบเป็นพิเศษในช่วงนั้น
เมื่อเล่าปี่ยึดเสฉวนได้จึงแต่งตั้งหวดเจ้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดจ๊ก (蜀郡太守) ควบตำแหน่งขุนพลยุทธเดช (揚武將軍) ให้ว่าราชการในเมืองเฉิงตูทั้งหมดรวมถึงเป็นหัวหน้าที่ปรึกษาของเล่าปี่ แต่หวดเจ้งกลับลุแก่อำนาจข่มเหงทำร้ายฆ่าฟันผู้ที่เคยมีเรื่องกันมาก่อน จนมีขุนนางหลายคนไปร้องเรียนต่อขงเบ้ง แต่แม้แต่ขงเบ้งยังไม่กล้าทำอะไรเพราะยังเกรงโจโฉกับซุนกวนอยู่บวกกับเห็นว่าหวดเจ้งมีความชอบ นอกจากนี้ขงเบ้งเองเห็นว่าเล่าปี่รักใคร่เชื่อใจหวดเจ้งมากจึงไม่ยุ่งเรื่องนี้ ทั้งนี้ขงเบ้งกับหวดเจ้งมีความคิดไม่ตรงกันในเรื่องคุณธรรม แต่ขงเบ้งก็ยอมรับว่าหวดเจ้งมีปัญญามาก
หวดเจ้งโดดเด่นมากขึ้นในการวางแผนยึดเมืองฮันต๋งและช่วยฮองตงสังหารแฮหัวเอี๋ยน หลังจากเล่าปี่ตั้งตัวเป็นฮันต๋งอ๋องแล้วจึงตั้งหวดเจ้งเป็น ซ่างซูลิ่ง (尚書令) หรือสมุหราชเลขาธิการดูแลสำนักราชเลขาธิการที่เป็นหน่วยงานฝ่ายบริหาร ควบตำแหน่งขุนพลพิทักษ์ทัพ (護軍將軍) แต่อยู่ในตำแหน่งสั้นๆ ก็เสียชีวิต
ความเชื่อใจของเล่าปี่ที่มีต่อหวดเจ้งมาก จนในช่วงที่เล่าปี่ไปรบกับง่อก๊กขงเบ้งเคยกล่าวไว้ว่าถ้าหวดเจ้งยังมีชีวิตอยู่คงยับยั้งเล่าปี่ได้
เฉินโซ่วผู้แต่งจดหมายเหตุสามก๊กกล่าวถึงหวดเจ้งว่า "หวดเจ้งมองเห็นได้ถึงความสำเร็จและความล้มเหลว สามารถวางแผนการอันยอดเยี่ยม แต่ไม่อาจเรียกได้ว่ามีคุณธรรม เมื่อเปรียบกับขุนนางวุย (บัง)ทองเป็นรองจากซุนฮก (หวด)เจ้งเป็นคนประเภทเดียวกับเทีย(หยก) กุย(แก)หรือ"
ส่วนขงเบ้งตามประวัติศาสตร์มีผลงานที่โดดเด่นกว่าหวดเจ้งอยู่มากครับ ทั้งเรื่องเสนอยุทธศาสตร์สามก๊กให้เล่าปี่ การเจรจาให้ซุนกวนยอมเป็นพันธมิตรร่วมต้านโจโฉ และเป็นที่ไว้วางใจของเล่าปี่ให้ดูแลกิจการการปกครองแทบทั้งหมดมาโดยตลอด พอถึงสมัยเล่าเสี้ยน ขงเบ้งก็เป็นเสาหลักดูแลกิจการแผ่นดินของจ๊กก๊กทั้งหมด จนมีบันทึกว่าราชการใหญ่น้อยล้วนจัดการโดยขงเบ้งทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังคงฟื้นฟูพันธมิตรกับง่อก๊กขึ้นใหม่เพื่อรักษาสมดุลสามก๊กเอาไว้
สิ่งที่ขงเบ้งโดดเด่นมากในประวัติศาสตร์คือเรื่องการบริหาร ทั้งในการปกครองบ้านเมืองและการจัดการกองทัพให้เป็นระบบระเบียบ ยึดถือกฎหมายด้วยความเที่ยงธรรม มีการปูนบำเหน็จและการลงโทษที่ชัดเจน จึงทำให้จ๊กก๊กในยุคนั้นมีการปกครองที่เป็นระเบียบวินัยสูงมาก
ขงเบ้งสามารถบริหารบ้านเมืองและจัดการภายในกองทัพได้ดีเยี่ยม (จดหมายเหตุสามก๊กบันทึกว่าเมื่อสุมาอี้มาดูค่ายจ๊กก๊กหลังจากขงเบ้งตายถึงกับชมว่า 'อัจฉริยะในใต้ฟ้า') แต่ด้อยในเรื่องการวางยุทธศาสตร์ในสนามรบ ทั้งนี้เรื่องการวางแผนการรบหรือกลอุบายต่างๆ ที่คุ้นเคยกัน ส่วนใหญ่เป็นเรื่องแต่งในฉบับนิยายครับ
เฉินโซ่วผู้ประพันธ์จดหมายเหตุสามก๊กวิจารณ์ขงเบ้งไว้ว่า ขงเบ้งมีความสามารถในการบริหารจัดการกองทัพ แต่ด้อยในเรื่องการวางกลยุทธ์ มีความสามารถในการปกครองบ้านเมืองเหนือกว่าการวางแผนทางทหาร และกล่าวว่าในอดีตเซียวเหอแนะนำหานซิ่น ก่วนจ้งอุปถัมภ์หวังจื่อเฉิงฟู่ ตัวขงเบ้งนั้นมีความสามารถปกครองบ้านเมืองได้เสมอกับก่วนจ้งและเซียวเหอ แต่เขาไม่มีคนแบบหานซิ่นหรือหวังจื่อเฉิงฟู่ให้ช่วงใช้ (เลยต้องทำเองแทนหมด)
อีกตอนหนึ่งระบุว่า ขงเบ้งมีความสามารถทางการปกครองเป็นเลิศเสมอได้กับก่วนจ้งและเซียวเหอ แต่เคลื่อนทัพหลายปีไม่ประสบความสำเร็จ เพราะความพลิกแพลงกลยุทธ์ทางทหารไม่ใช่ความถนัดของเขา แต่ทั้งนี้อาจต้องพิจารณาด้วยว่ายุทธศาสตร์ดั้งเดิมของขงเบ้งคือต้องมีเกงจิ๋วสำหรับตีวุยก๊กทั้งสองทาง แต่ภายหลังเมื่อเสียเกงจิ๋วไปแล้ว โอกาสที่จะพิชิตวุยก๊กได้จึงเป็นไปได้ยากมาก
ขงเบ้งยังมีความสามารถอื่นๆ เช่น การแต่งตำราพิชัยสงคราม การประดิษฐ์โคไม้ม้ากลสำหรับขนส่งเสบียงในสนามรบ การประดิษฐ์หน้าไม้ เป็นต้น
บทบาทของหวงเจ้งเท่าที่บันทึกคือช่วยประสานงานชักชวนเล่าปี่มายึดเสฉวน ให้คำแนะนำบ้าง และส่งหนังสือไปขอให้เล่าเจี้ยงยอมแพ้ต่อเล่าปี่ รวมถึงแนะนำเล่าปี่ให้ปฏิบัติต่อเคาเจ้งที่เป็นขุนนางเสฉวนอย่างดี แต่ไม่ได้ปรากฏเรื่องการวางแผนการรบเป็นพิเศษในช่วงนั้น
เมื่อเล่าปี่ยึดเสฉวนได้จึงแต่งตั้งหวดเจ้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดจ๊ก (蜀郡太守) ควบตำแหน่งขุนพลยุทธเดช (揚武將軍) ให้ว่าราชการในเมืองเฉิงตูทั้งหมดรวมถึงเป็นหัวหน้าที่ปรึกษาของเล่าปี่ แต่หวดเจ้งกลับลุแก่อำนาจข่มเหงทำร้ายฆ่าฟันผู้ที่เคยมีเรื่องกันมาก่อน จนมีขุนนางหลายคนไปร้องเรียนต่อขงเบ้ง แต่แม้แต่ขงเบ้งยังไม่กล้าทำอะไรเพราะยังเกรงโจโฉกับซุนกวนอยู่บวกกับเห็นว่าหวดเจ้งมีความชอบ นอกจากนี้ขงเบ้งเองเห็นว่าเล่าปี่รักใคร่เชื่อใจหวดเจ้งมากจึงไม่ยุ่งเรื่องนี้ ทั้งนี้ขงเบ้งกับหวดเจ้งมีความคิดไม่ตรงกันในเรื่องคุณธรรม แต่ขงเบ้งก็ยอมรับว่าหวดเจ้งมีปัญญามาก
หวดเจ้งโดดเด่นมากขึ้นในการวางแผนยึดเมืองฮันต๋งและช่วยฮองตงสังหารแฮหัวเอี๋ยน หลังจากเล่าปี่ตั้งตัวเป็นฮันต๋งอ๋องแล้วจึงตั้งหวดเจ้งเป็น ซ่างซูลิ่ง (尚書令) หรือสมุหราชเลขาธิการดูแลสำนักราชเลขาธิการที่เป็นหน่วยงานฝ่ายบริหาร ควบตำแหน่งขุนพลพิทักษ์ทัพ (護軍將軍) แต่อยู่ในตำแหน่งสั้นๆ ก็เสียชีวิต
ความเชื่อใจของเล่าปี่ที่มีต่อหวดเจ้งมาก จนในช่วงที่เล่าปี่ไปรบกับง่อก๊กขงเบ้งเคยกล่าวไว้ว่าถ้าหวดเจ้งยังมีชีวิตอยู่คงยับยั้งเล่าปี่ได้
เฉินโซ่วผู้แต่งจดหมายเหตุสามก๊กกล่าวถึงหวดเจ้งว่า "หวดเจ้งมองเห็นได้ถึงความสำเร็จและความล้มเหลว สามารถวางแผนการอันยอดเยี่ยม แต่ไม่อาจเรียกได้ว่ามีคุณธรรม เมื่อเปรียบกับขุนนางวุย (บัง)ทองเป็นรองจากซุนฮก (หวด)เจ้งเป็นคนประเภทเดียวกับเทีย(หยก) กุย(แก)หรือ"
ส่วนขงเบ้งตามประวัติศาสตร์มีผลงานที่โดดเด่นกว่าหวดเจ้งอยู่มากครับ ทั้งเรื่องเสนอยุทธศาสตร์สามก๊กให้เล่าปี่ การเจรจาให้ซุนกวนยอมเป็นพันธมิตรร่วมต้านโจโฉ และเป็นที่ไว้วางใจของเล่าปี่ให้ดูแลกิจการการปกครองแทบทั้งหมดมาโดยตลอด พอถึงสมัยเล่าเสี้ยน ขงเบ้งก็เป็นเสาหลักดูแลกิจการแผ่นดินของจ๊กก๊กทั้งหมด จนมีบันทึกว่าราชการใหญ่น้อยล้วนจัดการโดยขงเบ้งทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังคงฟื้นฟูพันธมิตรกับง่อก๊กขึ้นใหม่เพื่อรักษาสมดุลสามก๊กเอาไว้
สิ่งที่ขงเบ้งโดดเด่นมากในประวัติศาสตร์คือเรื่องการบริหาร ทั้งในการปกครองบ้านเมืองและการจัดการกองทัพให้เป็นระบบระเบียบ ยึดถือกฎหมายด้วยความเที่ยงธรรม มีการปูนบำเหน็จและการลงโทษที่ชัดเจน จึงทำให้จ๊กก๊กในยุคนั้นมีการปกครองที่เป็นระเบียบวินัยสูงมาก
ขงเบ้งสามารถบริหารบ้านเมืองและจัดการภายในกองทัพได้ดีเยี่ยม (จดหมายเหตุสามก๊กบันทึกว่าเมื่อสุมาอี้มาดูค่ายจ๊กก๊กหลังจากขงเบ้งตายถึงกับชมว่า 'อัจฉริยะในใต้ฟ้า') แต่ด้อยในเรื่องการวางยุทธศาสตร์ในสนามรบ ทั้งนี้เรื่องการวางแผนการรบหรือกลอุบายต่างๆ ที่คุ้นเคยกัน ส่วนใหญ่เป็นเรื่องแต่งในฉบับนิยายครับ
เฉินโซ่วผู้ประพันธ์จดหมายเหตุสามก๊กวิจารณ์ขงเบ้งไว้ว่า ขงเบ้งมีความสามารถในการบริหารจัดการกองทัพ แต่ด้อยในเรื่องการวางกลยุทธ์ มีความสามารถในการปกครองบ้านเมืองเหนือกว่าการวางแผนทางทหาร และกล่าวว่าในอดีตเซียวเหอแนะนำหานซิ่น ก่วนจ้งอุปถัมภ์หวังจื่อเฉิงฟู่ ตัวขงเบ้งนั้นมีความสามารถปกครองบ้านเมืองได้เสมอกับก่วนจ้งและเซียวเหอ แต่เขาไม่มีคนแบบหานซิ่นหรือหวังจื่อเฉิงฟู่ให้ช่วงใช้ (เลยต้องทำเองแทนหมด)
อีกตอนหนึ่งระบุว่า ขงเบ้งมีความสามารถทางการปกครองเป็นเลิศเสมอได้กับก่วนจ้งและเซียวเหอ แต่เคลื่อนทัพหลายปีไม่ประสบความสำเร็จ เพราะความพลิกแพลงกลยุทธ์ทางทหารไม่ใช่ความถนัดของเขา แต่ทั้งนี้อาจต้องพิจารณาด้วยว่ายุทธศาสตร์ดั้งเดิมของขงเบ้งคือต้องมีเกงจิ๋วสำหรับตีวุยก๊กทั้งสองทาง แต่ภายหลังเมื่อเสียเกงจิ๋วไปแล้ว โอกาสที่จะพิชิตวุยก๊กได้จึงเป็นไปได้ยากมาก
ขงเบ้งยังมีความสามารถอื่นๆ เช่น การแต่งตำราพิชัยสงคราม การประดิษฐ์โคไม้ม้ากลสำหรับขนส่งเสบียงในสนามรบ การประดิษฐ์หน้าไม้ เป็นต้น
แสดงความคิดเห็น
หวดเจ๋ง เก่งกว่า ขงเบ้ง ทุกอย่าง ในเรื่องการวางแผนรบ แต่ทำไมไม่ได้เครดิตเลย คน กลับยกย่องเป็น ผลงาน ขงเบ้ง
ตามประวัติศาสตร์ ทั้งเป็นคน พาบุกเสฉวนและ บุกตีฮั่นจงแตก
ส่วน ขงเบ้ง อีโค่ เยอะ ไม่เคยฟังใคร ไปรบกับใครก็แพ้ทุกที
กลับได้รับเครดิต ทั้งที่สมัยเล่าปี่ อยู่ หลังจากศึกผาแดง แทบจะไม่เคยใช้งานขงเบ้งเลย
นอกจากงานการวางแผนการปกครอง
ถ้าวิเคราะห์ดูดีๆ ผมว่า ขงเบ้ง เป็นพวกหนอนหนังสือ ดีแต่ปากเก่งทฤษฎีอ่อนปฏิบัติ
ขงเบ้ง เทียบกับ หวดเจ๋งน่าจะเป็น รอง หวดเจ๋ง ขั้น 1 ถึง 2 ขั้น
แต่คนส่วนใหญ่ก็ยัง ยกย่อง ขงเบ้ง ให้เหนือ กว่า ทั้ง สุมาอี้ หวดเจ๋ง จิวยี่