คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 51
เรียน คุณสมาชิกหมายเลข 4169664
สำหรับลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม เร่งรัดมาตรการช่วยเหลือผู้ประกันตน เพิ่มวงเงินกรณีว่างงาน รับวิกฤตโควิด - 19 โดยกระทรวงแรงงานมีการประชุมคณะกรรมการประกันสังคม เพื่อพิจารณาเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน รายละเอียดดังนี้ค่ะ
1. ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยให้ขยายความคุ้มครองผู้ประกันตนจากภัยอันเกิดจากโรคที่แพร่หรือระบาดในมนุษย์ รวมทั้งภัยอื่นๆ ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติ หรือมีผู้ทำให้เกิดขึ้น ให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป โดยให้ ผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน ประกันสังคมจะจ่ายกรณีว่างงาน อัตราร้อยละ 50 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน ส่วนในกรณีหน่วยงานภาครัฐ มีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว ประกันสังคมจะจ่ายกรณีว่างงาน ร้อยละ 50 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน
2. เห็นชอบให้ลดอัตราเงินสมทบนายจ้าง และผู้ประกันตน เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นอัตราร้อยละ 4 เป็นระยะเวลา 6 เดือน พร้อมทั้งยังเห็นชอบให้ขยายกำหนดเวลาการนำส่งเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 สำหรับงวดค่าจ้างเดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม 2563 ออกไปอีก 3 เดือน โดยงวดค่าจ้างเดือนมีนาคม 2563 ให้นำส่งเงินภายใน 15 กรกฎาคม 2563 สำหรับงวดค่าจ้างเดือนเมษายน 2563 ให้นำส่งเงินภายใน 15 สิงหาคม 2563 และงวดค่าจ้างเดือนพฤษภาคม 2563 ให้นำส่งเงินภายใน 15 กันยายน 2563
3. ในเรื่องการรักษาพยาบาล คณะกรรมการฯ มีมติให้ดูแลรักษาผู้ประกันตน ที่ป่วยจากไวรัสโควิด-19 ให้ดีที่สุดตามมาตรฐานการรักษาพยาบาลที่กำหนด
นอกจากนี้ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกันตนในภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น ไม่ว่า ในทางเศรษฐกิจหรือผลกระทบจากปัจจัยอื่นใด คณะกรรมการยังมีมติเห็นชอบให้จ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเพิ่มขึ้นแก่ผู้ประกันตน ที่ว่างงานจากกรณีลาออก ร้อยละ 45 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน และจ่ายให้แก่ผู้ประกันตนที่ว่างงาน จากกรณีเลิกจ้าง ร้อยละ 70 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน ทั้งนี้ มาตรการนี้ให้ใช้บังคับเป็นระยะเวลา 2 ปี หลังจากนี้คณะกรรมการฯ จะพิจารณาวิเคราะห์และมีมติพิจารณาอีกครั้ง
หมายเหตุ: ปลัดกระทรวงแรงงาน จะเร่งรัดให้มีผลบังคับโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้รอการประกาศบังคับใช้จากสำนักงานประกันสังคมอีกครั้งค่ะ
Chutima
สำหรับลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม เร่งรัดมาตรการช่วยเหลือผู้ประกันตน เพิ่มวงเงินกรณีว่างงาน รับวิกฤตโควิด - 19 โดยกระทรวงแรงงานมีการประชุมคณะกรรมการประกันสังคม เพื่อพิจารณาเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน รายละเอียดดังนี้ค่ะ
1. ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยให้ขยายความคุ้มครองผู้ประกันตนจากภัยอันเกิดจากโรคที่แพร่หรือระบาดในมนุษย์ รวมทั้งภัยอื่นๆ ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติ หรือมีผู้ทำให้เกิดขึ้น ให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป โดยให้ ผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน ประกันสังคมจะจ่ายกรณีว่างงาน อัตราร้อยละ 50 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน ส่วนในกรณีหน่วยงานภาครัฐ มีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว ประกันสังคมจะจ่ายกรณีว่างงาน ร้อยละ 50 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน
2. เห็นชอบให้ลดอัตราเงินสมทบนายจ้าง และผู้ประกันตน เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นอัตราร้อยละ 4 เป็นระยะเวลา 6 เดือน พร้อมทั้งยังเห็นชอบให้ขยายกำหนดเวลาการนำส่งเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 สำหรับงวดค่าจ้างเดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม 2563 ออกไปอีก 3 เดือน โดยงวดค่าจ้างเดือนมีนาคม 2563 ให้นำส่งเงินภายใน 15 กรกฎาคม 2563 สำหรับงวดค่าจ้างเดือนเมษายน 2563 ให้นำส่งเงินภายใน 15 สิงหาคม 2563 และงวดค่าจ้างเดือนพฤษภาคม 2563 ให้นำส่งเงินภายใน 15 กันยายน 2563
3. ในเรื่องการรักษาพยาบาล คณะกรรมการฯ มีมติให้ดูแลรักษาผู้ประกันตน ที่ป่วยจากไวรัสโควิด-19 ให้ดีที่สุดตามมาตรฐานการรักษาพยาบาลที่กำหนด
นอกจากนี้ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกันตนในภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น ไม่ว่า ในทางเศรษฐกิจหรือผลกระทบจากปัจจัยอื่นใด คณะกรรมการยังมีมติเห็นชอบให้จ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเพิ่มขึ้นแก่ผู้ประกันตน ที่ว่างงานจากกรณีลาออก ร้อยละ 45 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน และจ่ายให้แก่ผู้ประกันตนที่ว่างงาน จากกรณีเลิกจ้าง ร้อยละ 70 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน ทั้งนี้ มาตรการนี้ให้ใช้บังคับเป็นระยะเวลา 2 ปี หลังจากนี้คณะกรรมการฯ จะพิจารณาวิเคราะห์และมีมติพิจารณาอีกครั้ง
หมายเหตุ: ปลัดกระทรวงแรงงาน จะเร่งรัดให้มีผลบังคับโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้รอการประกาศบังคับใช้จากสำนักงานประกันสังคมอีกครั้งค่ะ
Chutima
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 42
ขอตอบในฐานะนายจ้างคนหนึ่ง ที่ต้องปิดกิจการในห้างเป็นการชั่วคราว เช่นเดียวกับท่านอื่นๆครับ
นายจ้างส่วนมากอาจคิดว่า กรณีนี้นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินเดือนก็ได้ เพราะการต้องหยุดทำงาน ไม่ได้เกิดจากนายจ้าง แต่เกิดจากเหตุสุดวิสัย ซึ่งนายจ้างก็เดือดร้อนมากเช่นกัน ที่ธุรกิจหยุดชะงัก ขาดรายได้เกือบเดือนนึง
แต่หากพิจารณารอบด้านแล้ว เหตุสุดวิสัยนี้ ทุกคนเดือดร้อนกันหมด
- เจ้าของห้าง คิดว่าน่าจะทุกห้าง คงหนีไม่พ้นที่จะมีแรงกดดันให้ลดค่าเช่าเป็นการชั่วคราวให้กับผู้เช่าพื้นที่
- ผู้เช่าพื้นที่ (นายจ้าง) เสียรายได้ 3 สัปดาห์ ธุรกิจหยุดชะงัก กลับมาเปิดใหม่ โมเมนตัมอาจไม่ดีเหมือนก่อนนี้ ต้องวุ่นกับการหากระแสเงินสดเพื่อพยุงกิจการ
- ลูกจ้าง ก็ไม่ได้ทำอะไรผิดเลย อยู่ดีๆโรคระบาดก็มา ทำให้เขาไม่มีงานทำไป 3 สัปดาห์(หรืออาจจะนานกว่านั้น) ไหนจะภาระที่ต้องดูแลครอบครัวอีก
ทีนี้ ผมมองว่า แทนที่จะมามัวคิดหาผู้รับผิดชอบ โยนให้รัฐบาลช่วยเหลือลูกจ้าง ซึ่งไม่รู้ว่าจะมีมาตรการหรือไม่ หรือออกมาเมื่อใด ซึ่งเป็นปัจจัยที่เราควบคุมไม่ได้
เราเลือกทำสิ่งที่เราควบคุมได้ คือ ช่วยเหลือพนักงานเต็มที่ เพื่อเรียกขวัญกำลังใจในการทำงานดีกว่า ผมจึงแจ้งพนักงานทุกคนว่า บริษัทจะจ่ายเงินเดือน 100% ตามปกติ แต่จะขอนำวันหยุดนักขัตฤกษ์ มาใช้ในช่วงนี้ 5 วัน
และ ขอให้ทุกคนดูแลตัวเองให้ดี เลี่ยงการอยู่ในที่คนเยอะ หน้ากากอนามัยที่บริษัท(คลินิก)มีอยู่ แบ่งให้นำกลับไปใช้ได้ ระหว่างช่วงหยุดพัก 3 สัปดาห์ ให้การบ้านพนักงานไปศึกษาการบริหารเงินส่วนบุคคล จาก Money Coach คุณจักรพันธ์ ใน youtube เพื่อจะได้รู้จักการเก็บออม ไม่พัวพันในวงจรหนี้สิน
เชื่อไหมครับ ว่าพนักงานผมทุกคน ไม่มีใครกลับบ้านที่ต่างจังหวัดเลย ทุกคนเข้าใจและไม่อยากเสี่ยงติดเชื้อระหว่างเดินทาง หรือเสี่ยงนำเชื้อไปให้ครอบครัว
ปล. บริษัทผม ตั้งแต่เปิดมาเกือบปี ยังไม่มีกำไรเลยครับ กระแสเงินสดยังติดลบอยู่ทุกเดือน ต้องเพิ่มทุนส่วนตัวเข้าไปอยู่เรื่อยๆ แต่ผมคิดว่าในสถานการณ์แบบนี้ ลูกจ้างมีความเสี่ยงทางการเงินมากกว่านายจ้างมากครับ อะไรที่เราทำได้ ไม่มีผลเสียต่อผู้อื่น ทำไปเลย ไม่ต้องรอรัฐบาลครับ
นายจ้างส่วนมากอาจคิดว่า กรณีนี้นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินเดือนก็ได้ เพราะการต้องหยุดทำงาน ไม่ได้เกิดจากนายจ้าง แต่เกิดจากเหตุสุดวิสัย ซึ่งนายจ้างก็เดือดร้อนมากเช่นกัน ที่ธุรกิจหยุดชะงัก ขาดรายได้เกือบเดือนนึง
แต่หากพิจารณารอบด้านแล้ว เหตุสุดวิสัยนี้ ทุกคนเดือดร้อนกันหมด
- เจ้าของห้าง คิดว่าน่าจะทุกห้าง คงหนีไม่พ้นที่จะมีแรงกดดันให้ลดค่าเช่าเป็นการชั่วคราวให้กับผู้เช่าพื้นที่
- ผู้เช่าพื้นที่ (นายจ้าง) เสียรายได้ 3 สัปดาห์ ธุรกิจหยุดชะงัก กลับมาเปิดใหม่ โมเมนตัมอาจไม่ดีเหมือนก่อนนี้ ต้องวุ่นกับการหากระแสเงินสดเพื่อพยุงกิจการ
- ลูกจ้าง ก็ไม่ได้ทำอะไรผิดเลย อยู่ดีๆโรคระบาดก็มา ทำให้เขาไม่มีงานทำไป 3 สัปดาห์(หรืออาจจะนานกว่านั้น) ไหนจะภาระที่ต้องดูแลครอบครัวอีก
ทีนี้ ผมมองว่า แทนที่จะมามัวคิดหาผู้รับผิดชอบ โยนให้รัฐบาลช่วยเหลือลูกจ้าง ซึ่งไม่รู้ว่าจะมีมาตรการหรือไม่ หรือออกมาเมื่อใด ซึ่งเป็นปัจจัยที่เราควบคุมไม่ได้
เราเลือกทำสิ่งที่เราควบคุมได้ คือ ช่วยเหลือพนักงานเต็มที่ เพื่อเรียกขวัญกำลังใจในการทำงานดีกว่า ผมจึงแจ้งพนักงานทุกคนว่า บริษัทจะจ่ายเงินเดือน 100% ตามปกติ แต่จะขอนำวันหยุดนักขัตฤกษ์ มาใช้ในช่วงนี้ 5 วัน
และ ขอให้ทุกคนดูแลตัวเองให้ดี เลี่ยงการอยู่ในที่คนเยอะ หน้ากากอนามัยที่บริษัท(คลินิก)มีอยู่ แบ่งให้นำกลับไปใช้ได้ ระหว่างช่วงหยุดพัก 3 สัปดาห์ ให้การบ้านพนักงานไปศึกษาการบริหารเงินส่วนบุคคล จาก Money Coach คุณจักรพันธ์ ใน youtube เพื่อจะได้รู้จักการเก็บออม ไม่พัวพันในวงจรหนี้สิน
เชื่อไหมครับ ว่าพนักงานผมทุกคน ไม่มีใครกลับบ้านที่ต่างจังหวัดเลย ทุกคนเข้าใจและไม่อยากเสี่ยงติดเชื้อระหว่างเดินทาง หรือเสี่ยงนำเชื้อไปให้ครอบครัว
ปล. บริษัทผม ตั้งแต่เปิดมาเกือบปี ยังไม่มีกำไรเลยครับ กระแสเงินสดยังติดลบอยู่ทุกเดือน ต้องเพิ่มทุนส่วนตัวเข้าไปอยู่เรื่อยๆ แต่ผมคิดว่าในสถานการณ์แบบนี้ ลูกจ้างมีความเสี่ยงทางการเงินมากกว่านายจ้างมากครับ อะไรที่เราทำได้ ไม่มีผลเสียต่อผู้อื่น ทำไปเลย ไม่ต้องรอรัฐบาลครับ
แสดงความคิดเห็น
ผู้ประกอบการในห้างที่ถูกกทม.สั่งปิด 22 วัน ยังต้องจ่ายค่าจ้างให้พนักงานเหมือนเดิมไหมครับ?
เพื่อหยุดการแพร่กระจายของโรค COVID-19
ทำให้ร้านต่างๆในห้าง ต้องปิดตัวชั่วคราว และไม่มีรายได้ใดๆเข้ามาเลย
แม้ว่าร้านอาหารจะให้เปิดขายได้ แต่ก็เป็นแบบซื้อกลับบ้าน
ซึ่งร้านอาหารบางประเภท (เช่น แนวอิซากายะ) ไม่เอื้อให้ทำเช่นนั้น
พรบ.คุ้มครองแรงงาน ให้จ่ายค่าจ้าง 75% ของค่าจ้างปรกติ หากหยุดกิจการชั่วคราวที่ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
แต่กรณีนี้ ผมว่าน่าจะเป็นเหตุสุดวิสัยที่เจ้าของร้านไม่ต้องจ่ายค่าจ้างหรือเงินชดเชยใดๆเลย
แต่ก็ห่วงเหมือนกันว่า ลูกจ้างจะมีตังค์ซื้อข้าวกินรึเปล่า
ไม่ทราบมีใครมีข้อแนะนำไหมครับ ว่าควรจัดการอย่างไรดี
ทางกทม.หรือรัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือตรงนี้มั้ยครับ?