"ธนาธร" อัดคลิป วิเคราะห์สถานการณ์โควิด19 แบบจำลองการรับมือในทุกสถานการณ์
https://www.matichon.co.th/politics/news_2065102
“ธนาธร” อัดคลิป วิเคราะห์สถานการณ์โควิด19 แบบจำลองการรับมือในทุกสถานการณ์ เพียงไม่นาน ยอดชมนับล้านวิว
เมื่อเวลา 21.30 น. วันที่ 17 มี.ค. นาย
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ไลฟ์ผ่านเพจเฟซบุ๊กสื่อสารกับผู้ติดตามรับชม กรณีการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 โดยระบุว่า
วันนี้เรากำลังเผชิญหน้ากับความท้าทาย ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ใน 100 ปีจะมีสักครั้งหนึ่ง
เราเห็นการเกิดขึ้นของไวรัสนี้เริ่มต้นจากประเทศจีน แล้วแพร่กระจายไปยังประเทศเกาหลี แพร่กระจายไปยังทวีปยุโรป แพร่กระจายไปยังอิหร่าน และแน่นอนที่สุด ก็เข้ามาถึงประเทศไทย มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่เราจะต้องสื่อสารและพูดจากันอย่างตรงไปตรงมา ถึงการแก้ไขปัญหาและการรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัส นี่เป็นความท้าทายที่ไม่ใช่แค่ของรัฐบาลไทย แต่เป็นความท้าทายของผู้คนในสังคมทุกคน
“
ก่อนที่จะพูดถึงการรับมือของการการแพร่ระบาดไว้รัส ขอให้กำลังใจ กับครอบครัวของผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัว ที่ได้รับไวรัส โควิด-19 ขอให้ทุกท่านเข้มแข็งและก็มีกำลังใจในการต่อสู้กับโรคร้ายนี้
และขอให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกท่านที่กำลังต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัสอย่างเต็มที่ ทุกท่านมีส่วนสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทย ไม่ถลำลึกไปในระยะการแพร่ระบาดที่หนักหนาสาหัสกว่านี้” นาย
ธนาธร กล่าว
นาย
ธนาธร กล่าวอีกว่า ข้อมูลในเชิงวิทยาศาสตร์จากกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขได้จำลองแบบอนาคตขึ้นมา 3 แบบด้วยกัน แบบแรก คือแบบที่เลวร้ายที่สุด แบบที่ 2 คือแบบความเลวร้ายปานกลาง และแบบสุดท้าย คือ แบบการรับมือที่มีประสิทธิภาพ
ซึ่งในกรณีที่เลวร้ายที่สุด จากการประเมินของกระทรวงสาธารณสุข คนหนึ่งคนจะทำให้เกิดผู้ป่วยอีก 2.2 คน ดังนั้น ภายใน 1 ปี เราจะมีผู้ป่วย 16.7 ล้านคน ทั้งนี้ ยังเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ฉับพลันอีกด้วย การเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ฉับพลัน และตัวเลขที่สูงขนาดนี้ จะทำให้เกิดความตึงเครียดในระบบสาธารณสุขของประเทศไทย ตนไม่คิดว่าระบบสาธารณสุข อย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบันจะสามารถรับมือกับสถานการณ์แบบนี้ได้
ในสถานการณ์แบบที่ 2 คือสถานการณ์แบบปานกลาง อาจมีผู้ป่วยได้มากถึง 9.9 ล้านคน ภายใน 2 ปี และลำดับสุดท้าย ในสถานการณ์ที่มีการรับมือแบบมีประสิทธิภาพ เราอาจจะมีผู้ป่วยประมาณ 4 แสนคนคน ภายใน 2 ปี เราจะเห็นถึงความแตกต่างของจำนวนผู้ป่วย ขึ้นอยู่กับว่าคนในสังคมรับมือกันอย่างร่วมแรงร่วมใจมากน้อยเพียงใด
“
ในกรณีที่รุนแรงที่สุด เดือนที่เกิดการแพร่ระบาดสูงสุด ก็คือเดือนสิงหาคมและเดือนกันยายน ของปี 2563 ซึ่งผู้ป่วยต่อสัปดาห์สูงสุดอยู่ที่ 1.5 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนที่มหาศาลมาก และจากข้อมูลทางการแพทย์ ขององค์การอนามัยโลกระบุไว้ว่า 20% ของจำนวนนี้ อาจจะเป็นผู้ป่วยที่ต้องรักษาอยู่ในสถานพยาบาล ซึ่ง 20% ของ 1.5 ล้านคน คือ 3 แสนคน
หมายความว่าหากเกิดสถานการณ์ความรุนแรงที่สุดขึ้น เราจำเป็นจะต้องมีทรัพยากรเพียงพอ ที่จะดูแลผู้ป่วยเฉพาะโควิด-19 ในระบบสาธารณสุขไทยถึง 3 แสนคน ไม่ใช่แค่เฉพาะเตียง เรากำลังพูดถึงเครื่องช่วยหายใจ เรากำลังพูดถึงหน้ากาก ถุงมือ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
เรากำลังพูดถึงพื้นที่ที่เพียงพอ เรากำลังพูดถึงยารักษาโรคที่เพียงพอ สิ่งต่างๆเหล่านี้ จะต้องเตรียมการในเวลาอันใกล้ ซึ่งอีกเพียง 6 เดือนเท่านั้นเอง จะถึงจุดสูงสุดในสถานการณ์ที่อาจจะเลวร้ายที่สุด ผมไม่คิดว่าเราจะมีประสิทธิภาพ และศักยภาพเพียงพอที่จะจัดการกับมัน” นาย
ธนาธร กล่าว
นาย
ธนาธร กล่าวต่อว่า สิ่งที่เราต้องทำและร่วมมือกัน คือการชะลอการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ซึ่งหากเราสามารถชะลอได้ เดือนที่จะมีการแพร่ระบาดสูงที่สุดคือเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ปี 2564 หรืออาจมองได้ว่ามีเวลาเตรียมการอีก 10 เดือน และจำนวนผู้ติดเชื้อสูงสุดต่อสัปดาห์ แทนที่จะเป็น 1.5 ล้านคน ในแบบจำลอง จะเหลือพียงแค่ 480,000 คนต่อสัปดาห์ ซึ่งจะมีผู้ป่วยที่ต้องรักษาอยู่ในสถานพยาบาลเหลือเพียง 100,000 ราย จะเห็นได้ว่าเราจะมีศักยภาพรับมือกับสถานการณ์เหล่านี้ได้ดีขึ้น หากคนในสังคมร่วมมือกันชะลอการแพร่ระบาดไวรัส โควิด-19 ได้
นอกจากนี้ นาย
ธนาธร ยังได้ยกตัวอย่างแบบจำลองด้วยคอมพิวเตอร์โดยวอชิงตัน โพสต์ ที่มี 3 แบบด้วยกัน ซึ่งมีความคล้ายกับโมเดลของกระทรวงสาธารณสุขที่ได้นำเสนอไป โดยมาตรการที่ดีที่สุดนั้น คือมาตรการ social distancing หรือมาตรการที่ส่งเสริมให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการพบปะกัน เป็นมาตรการแก้ไขปัญหาได้ดีที่สุด ซึ่งจากการคำนวนของคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ออกมานั้น ลดการติดเชื้อได้เป็นจำนวนมาก และอัตราที่ประชาชนจะไม่ติดเชื้อเลยจะสูงมากยิ่งขึ้น
สำหรับมาตรการหลีกเลี่ยงการพบปะคนในสังคม อย่างแรกที่สุดเริ่มต้นที่ตัวเราเอง ไม่เดินทางออกจากบ้านโดยไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงเข้าร่วมประชุม ไม่เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมที่มีผู้คนรวมกันมากกว่า 10 คน ไม่ว่าจะเป็นงานแต่งงาน งานศพ หรืองานรื่นเริงสังสรรค์ทางสังคม แม้แต่เวลารับประทานอาหาร อาจจะต้องพิถีพิถันมากขึ้นกว่าเดิม อาจต้องมีสำรับตัวเอง
หากต้องพูดคุยกับคนในครอบครัวหรือเพื่อนร่วมงาน ให้เว้นระยะห่างในการพูดคุย ไม่ยืนพูดคุยกันอย่างใกล้ชิดจนเกินไป ล้างมือให้บ่อย ทำความสะอาดภาชนะที่ใช้ดื่มใช้กินเป็นประจำ ไม่เดินทางออกนอกถิ่นฐาน ถ้าเราช่วยกันทำสิ่งต่างๆเหล่านี้ ก็จะทำให้อัตราการแพร่ระบาดไวรัส โควิด-19 ลดน้อยลง และเราสามารถที่จะทำให้เกิดสถานการณ์เช่นนี้ได้ พวกเราร่วมมือกัน
นาย
ธนาธร กล่าวว่า มาตรการการหลีกเลี่ยงการพบปะกับผู้คน ควรจะต้องดำเนินไปพร้อมกับมาตรการการเยียวยา เรามีต้นทุนการหลีกเลี่ยงพบปะกับผู้คน มันมีต้นทุนของการไม่ออกไปทำงาน และในสังคมเราคนที่แบกรับต้นทุนส่วนใหญ่และหนักหนาสาหัส ก็คือกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย
รัฐบาลจำเป็นจะต้องออกมาตรการเยียวยากับกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย เพื่อให้เขากระทำมาตรการหลีกเลี่ยงการพบปะกับผู้คนได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มคนรายได้น้อยมักหลายคนอาจไม่อยากไปตรวจ หรือจะไม่แสดงตัวเพื่อให้จะได้ไม่ต้องถูกหยุดงาน ดังนั้น รัฐบาลต้องมีมาตรการให้กลุ่มคนรายได้น้อยแสดงตัวได้อย่างไม่มีต้นทุน ต้องทำให้คนส่วนใหญ่เข้าสู่ระบบสาธารณสุขได้อย่างต้นทุนน้อยที่สุด
นาย
ธนาธร กล่าวว่า มาตรการที่ตนได้กล่าวไปนั้น เพื่อเป็นการยับยั้งไม่ให้จากระยะที่ 2 ไปสู่การแพร่ระบาดระยะที่ 3 ซึ่งการแพร่ระบาดระยะที่ 3 หมายความว่า มีการแพร่ระบาดในท้องถิ่นนั้นๆ และเกินกำลังที่รัฐจะสามารถเข้าไปควบคุมการแพร่ระบาดได้ ซึ่งจะนำไปสู่สถานการณ์เลวร้ายสุด
เราในฐานะเพื่อนร่วมสังคม เราต้องมีวินัยในการรับผิดชอบคนในสังคม รับผิดชอบต่อคนที่เรารัก รับผิดชอบต่อเพื่อนร่วมงาน และรับผิดชอบต่อครอบครัว เราสามารถเริ่มต้นมาตรการหลีกเลี่ยงการพบปะกับผู้คนด้วยตัวของเราเองได้ และถ้าเราช่วยกัน เราจะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดได้
“
แม้ประชาชนร่วมมือกันอย่างเต็มที่ ก็ยังมีโอกาสที่ทำให้การแพร่เชื้อไวรัสเข้าสู่ระยะที่ 3 หากเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นจริง ซึ่งเราเห็นตัวอย่างแล้วในประเทศแถบตะวันตก ที่จะใช้มาตรการหลักเลี่ยงการพบปะอย่างเข้มงวด ไม่ว่าจะเป็นการประกาศภาวะฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็นการปิดสถานที่ หยุดการขนส่งสาธารณะ
ซึ่งมาตรการเหล่านี้ยังไม่เคยถูกบังคับใช้อย่างเข้มงวดในประเทศไทย และเราหวังว่าจะไม่เดินไปสู่จุดนั้น แต่ถ้าจุดนั้นมาถึงจริงๆ คิดว่า คงเป็นเวลาที่จะต้องบอกประชาชนอย่างตรงไปตรงมา ให้เข้าใจ รับรู้ ไม่ตื่นตระหนก และเพื่อเตรียมพร้อมรบมาตรการต่างๆเหล่านี้ ซึ่งจะกระทบกับพวกเราทุกคน” นาย
ธนาธร กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากนาย
ธนาธร ไลฟ์ออกไปเพียง 3 ชั่วโมง มีผู้เข้าชมสูงถึง 9.6 แสนครั้ง และมีการแชร์มากถึง 3 หมื่นครั้ง
https://www.facebook.com/ThanathornOfficial/videos/291897768442193/
เสรีพิศุทธ์ ลั่นไม่กลัวโควิด ชั่งน้ำหนักแล้ว ยังทำงานต่อได้ เหน็บ“บิ๊กตู่”บ่นเหนื่อยลาออกไป
https://www.matichon.co.th/politics/news_2065329
“เสรีพิศุทธ์”ลั่นไม่กลัว “โควิด -19”เดินหน้าประชุมกมธ.ปราบโกงต่อ บอกอายุ 70 ใกล้ตายแล้ว ไม่สน “สิระ”อยากนั่งข้างๆ เหน็บ “บิ๊กตู่” บ่นเหนื่อยลาออกไป
เมื่อวันที่ 18 มี.ค.เวลา 08.30 น. พล.ต.อ.
เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติชอบ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมาธิการฯยังคงมีการประชุมตามปกติ เว้นแต่จะมีองค์ประชุมไม่ครบตามข้อบังคับการประชุมสภาฯ โดยวันนี้ จะมีการพิจารณาเรื่องการกักตุนหน้ากากอนามัยเร่งด่วน และจะรีบขอมติที่ประชุมว่าจะเชิญบุคคลใดมาชี้แจงบ้าง
“
ท่านประธานสภาฯแถลงว่าเรื่องการประชุมคณะกรรมาธิการขอให้เป็นเรื่องของคณะกรรมาธิการพิจารณากันเองว่าหยุดการประชุมหรือไม่ แต่ผมเรียนตามตรงว่าผมผ่านชีวิตมามากแล้ว อย่าว่าแต่โควิดเลย ดงกระสุน ดงระเบิดสมัยปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในเทือกเขาภูพาน ผมของจริง ผมฝ่ามาเยอะ ตายในสมัยนั้นเรายังไม่กลัว ตอนนั้น 20 กว่าๆ ยังไม่กลัวตาย แล้วตอนนี้ 70 แล้วใกล้จะตายแล้ว จะตายวันนี้พรุ่งนี้ก็ไม่รู้ จะมานั่งกลัวตายอะไรอีก” พล.ต.อ.
เสรีพิศุทธ์ กล่าว
พล.ต.อ.
เสรีพิศุทธ์ กล่าวอีกว่า เมื่อชั่งน้ำหนักแล้วเราจะเห็นว่าเรื่องความเดือดร้อนของประชาชนที่ต้องการพึ่งคณะกรรมาธิการฯมีมาก แล้วเราจะมาเกรงกลัวเรื่องเหล่านี้หรือ และทางสภาฯก็มีการป้องกัน คัดกรองบุคคลและมีการทำความสะอาด จึงขอร้องคณะกรรมาธิการฯอย่าไปกังวลเรื่องโควิดมาก
“
คุณสิระ บอกไปตรวจโควิดมาแล้ว และมาขอนั่งใกล้ๆ ผม ผมยังไม่ใส่ใจอะไรเลย มานั่งมา ถ้าเรามีแต่ความกลัวอย่าเป็นเลยผู้แทนฯ เราต้องกล้าทำในสิ่งที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อประชาชน” พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าว
เมื่อถามว่า มองถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลอย่างไร พล.ต.อ.
เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่า ควรเป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี โดยประสานกับจังหวัดและพิจารณาข้อมูลแต่ละจังหวัดว่าจังหวัดควรปิดหรือไม่ปิด เพราะถ้าไปให้อำนาจจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งพิจารณากันไปแล้ว การคิดการตัดสินใจแต่ละจังหวัดจะอยู่บนพื้นฐานที่แตกต่างกันขาดมาตรฐาน
“
ผู้ทรงอิทธิพลในจังหวัดมันมีอยู่ การไปปิดจังหวัดและทำอะไรก็ตาม บางอย่างก็ไม่แน่อาจจะอยู่ใต้อิทธิพลของผู้ทรงอิทธิพลภายในจังหวัดนั้น และจะทำให้ประชาชนที่อยู่ในจังหวัดเกิดความเดือดร้อน สมมติผู้ทรงอิทธิพลประกอบธุรกิจอะไร ก็จะอาศัยเวลานี้ตักตวงผลประโยชน์ของตน ประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดห้ามโน่นห้ามนี่ แต่กิจการของตัวเองเจริญรุ่งเรืองได้ เหมือนกับการกักตุนหน้ากากอนามัยเพื่อประโยชน์ของคนบางกลุ่ม อย่าคิดว่าทุกคนอยู่บนพื้นฐานความสุจริตอย่างเดียว มันไม่แน่ มันอาจมีอย่างอื่นเคลือบแฝง ปิดจังหวัดนี้คนมีอิทธิพลอยู่เบื้องหลังผู้ว่าฯก็ได้ประโยชน์ แต่คนอื่นเสียประโยชน์ก็มี ผมถึงบอกว่าต้องคิดให้รอบคอบ” พล.ต.อ.
เสรีพิศุทธ์ กล่าว
พล.ต.อ.
เสรีพิศุทธ์ กล่าว กล่าวต่อว่า นายกฯต้องทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด ถ้าบอกว่าตัวเองเหนื่อยก็ขอให้ลาออกไป ตนติดตามอ่านข่าวก็พบว่าการทำงานของนายกฯล้มเหลว อย่างเมื่อไม่นานมานี้ที่ออกมาแถลงก็ไม่มีสาระอะไรเลย เพราะควรแถลงให้ประชาชนทราบข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการตัดสินใจในการดำเนินชีวิต
JJNY : ธนาธรอัดคลิป วิเคราะห์สถานการณ์โควิด19/เสรีพิศุทธ์ลั่นไม่กลัวโควิด/เมืองคอน พบผู้ป่วยโควิดเพิ่ม/ทั่วโลกผวาไวรัส
https://www.matichon.co.th/politics/news_2065102
“ธนาธร” อัดคลิป วิเคราะห์สถานการณ์โควิด19 แบบจำลองการรับมือในทุกสถานการณ์ เพียงไม่นาน ยอดชมนับล้านวิว
เมื่อเวลา 21.30 น. วันที่ 17 มี.ค. นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ไลฟ์ผ่านเพจเฟซบุ๊กสื่อสารกับผู้ติดตามรับชม กรณีการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 โดยระบุว่า
วันนี้เรากำลังเผชิญหน้ากับความท้าทาย ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ใน 100 ปีจะมีสักครั้งหนึ่ง
เราเห็นการเกิดขึ้นของไวรัสนี้เริ่มต้นจากประเทศจีน แล้วแพร่กระจายไปยังประเทศเกาหลี แพร่กระจายไปยังทวีปยุโรป แพร่กระจายไปยังอิหร่าน และแน่นอนที่สุด ก็เข้ามาถึงประเทศไทย มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่เราจะต้องสื่อสารและพูดจากันอย่างตรงไปตรงมา ถึงการแก้ไขปัญหาและการรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัส นี่เป็นความท้าทายที่ไม่ใช่แค่ของรัฐบาลไทย แต่เป็นความท้าทายของผู้คนในสังคมทุกคน
“ก่อนที่จะพูดถึงการรับมือของการการแพร่ระบาดไว้รัส ขอให้กำลังใจ กับครอบครัวของผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัว ที่ได้รับไวรัส โควิด-19 ขอให้ทุกท่านเข้มแข็งและก็มีกำลังใจในการต่อสู้กับโรคร้ายนี้
และขอให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกท่านที่กำลังต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัสอย่างเต็มที่ ทุกท่านมีส่วนสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทย ไม่ถลำลึกไปในระยะการแพร่ระบาดที่หนักหนาสาหัสกว่านี้” นายธนาธร กล่าว
นายธนาธร กล่าวอีกว่า ข้อมูลในเชิงวิทยาศาสตร์จากกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขได้จำลองแบบอนาคตขึ้นมา 3 แบบด้วยกัน แบบแรก คือแบบที่เลวร้ายที่สุด แบบที่ 2 คือแบบความเลวร้ายปานกลาง และแบบสุดท้าย คือ แบบการรับมือที่มีประสิทธิภาพ
ซึ่งในกรณีที่เลวร้ายที่สุด จากการประเมินของกระทรวงสาธารณสุข คนหนึ่งคนจะทำให้เกิดผู้ป่วยอีก 2.2 คน ดังนั้น ภายใน 1 ปี เราจะมีผู้ป่วย 16.7 ล้านคน ทั้งนี้ ยังเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ฉับพลันอีกด้วย การเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ฉับพลัน และตัวเลขที่สูงขนาดนี้ จะทำให้เกิดความตึงเครียดในระบบสาธารณสุขของประเทศไทย ตนไม่คิดว่าระบบสาธารณสุข อย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบันจะสามารถรับมือกับสถานการณ์แบบนี้ได้
ในสถานการณ์แบบที่ 2 คือสถานการณ์แบบปานกลาง อาจมีผู้ป่วยได้มากถึง 9.9 ล้านคน ภายใน 2 ปี และลำดับสุดท้าย ในสถานการณ์ที่มีการรับมือแบบมีประสิทธิภาพ เราอาจจะมีผู้ป่วยประมาณ 4 แสนคนคน ภายใน 2 ปี เราจะเห็นถึงความแตกต่างของจำนวนผู้ป่วย ขึ้นอยู่กับว่าคนในสังคมรับมือกันอย่างร่วมแรงร่วมใจมากน้อยเพียงใด
“ในกรณีที่รุนแรงที่สุด เดือนที่เกิดการแพร่ระบาดสูงสุด ก็คือเดือนสิงหาคมและเดือนกันยายน ของปี 2563 ซึ่งผู้ป่วยต่อสัปดาห์สูงสุดอยู่ที่ 1.5 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนที่มหาศาลมาก และจากข้อมูลทางการแพทย์ ขององค์การอนามัยโลกระบุไว้ว่า 20% ของจำนวนนี้ อาจจะเป็นผู้ป่วยที่ต้องรักษาอยู่ในสถานพยาบาล ซึ่ง 20% ของ 1.5 ล้านคน คือ 3 แสนคน
หมายความว่าหากเกิดสถานการณ์ความรุนแรงที่สุดขึ้น เราจำเป็นจะต้องมีทรัพยากรเพียงพอ ที่จะดูแลผู้ป่วยเฉพาะโควิด-19 ในระบบสาธารณสุขไทยถึง 3 แสนคน ไม่ใช่แค่เฉพาะเตียง เรากำลังพูดถึงเครื่องช่วยหายใจ เรากำลังพูดถึงหน้ากาก ถุงมือ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
เรากำลังพูดถึงพื้นที่ที่เพียงพอ เรากำลังพูดถึงยารักษาโรคที่เพียงพอ สิ่งต่างๆเหล่านี้ จะต้องเตรียมการในเวลาอันใกล้ ซึ่งอีกเพียง 6 เดือนเท่านั้นเอง จะถึงจุดสูงสุดในสถานการณ์ที่อาจจะเลวร้ายที่สุด ผมไม่คิดว่าเราจะมีประสิทธิภาพ และศักยภาพเพียงพอที่จะจัดการกับมัน” นายธนาธร กล่าว
นายธนาธร กล่าวต่อว่า สิ่งที่เราต้องทำและร่วมมือกัน คือการชะลอการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ซึ่งหากเราสามารถชะลอได้ เดือนที่จะมีการแพร่ระบาดสูงที่สุดคือเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ปี 2564 หรืออาจมองได้ว่ามีเวลาเตรียมการอีก 10 เดือน และจำนวนผู้ติดเชื้อสูงสุดต่อสัปดาห์ แทนที่จะเป็น 1.5 ล้านคน ในแบบจำลอง จะเหลือพียงแค่ 480,000 คนต่อสัปดาห์ ซึ่งจะมีผู้ป่วยที่ต้องรักษาอยู่ในสถานพยาบาลเหลือเพียง 100,000 ราย จะเห็นได้ว่าเราจะมีศักยภาพรับมือกับสถานการณ์เหล่านี้ได้ดีขึ้น หากคนในสังคมร่วมมือกันชะลอการแพร่ระบาดไวรัส โควิด-19 ได้
นอกจากนี้ นายธนาธร ยังได้ยกตัวอย่างแบบจำลองด้วยคอมพิวเตอร์โดยวอชิงตัน โพสต์ ที่มี 3 แบบด้วยกัน ซึ่งมีความคล้ายกับโมเดลของกระทรวงสาธารณสุขที่ได้นำเสนอไป โดยมาตรการที่ดีที่สุดนั้น คือมาตรการ social distancing หรือมาตรการที่ส่งเสริมให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการพบปะกัน เป็นมาตรการแก้ไขปัญหาได้ดีที่สุด ซึ่งจากการคำนวนของคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ออกมานั้น ลดการติดเชื้อได้เป็นจำนวนมาก และอัตราที่ประชาชนจะไม่ติดเชื้อเลยจะสูงมากยิ่งขึ้น
สำหรับมาตรการหลีกเลี่ยงการพบปะคนในสังคม อย่างแรกที่สุดเริ่มต้นที่ตัวเราเอง ไม่เดินทางออกจากบ้านโดยไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงเข้าร่วมประชุม ไม่เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมที่มีผู้คนรวมกันมากกว่า 10 คน ไม่ว่าจะเป็นงานแต่งงาน งานศพ หรืองานรื่นเริงสังสรรค์ทางสังคม แม้แต่เวลารับประทานอาหาร อาจจะต้องพิถีพิถันมากขึ้นกว่าเดิม อาจต้องมีสำรับตัวเอง
หากต้องพูดคุยกับคนในครอบครัวหรือเพื่อนร่วมงาน ให้เว้นระยะห่างในการพูดคุย ไม่ยืนพูดคุยกันอย่างใกล้ชิดจนเกินไป ล้างมือให้บ่อย ทำความสะอาดภาชนะที่ใช้ดื่มใช้กินเป็นประจำ ไม่เดินทางออกนอกถิ่นฐาน ถ้าเราช่วยกันทำสิ่งต่างๆเหล่านี้ ก็จะทำให้อัตราการแพร่ระบาดไวรัส โควิด-19 ลดน้อยลง และเราสามารถที่จะทำให้เกิดสถานการณ์เช่นนี้ได้ พวกเราร่วมมือกัน
นายธนาธร กล่าวว่า มาตรการการหลีกเลี่ยงการพบปะกับผู้คน ควรจะต้องดำเนินไปพร้อมกับมาตรการการเยียวยา เรามีต้นทุนการหลีกเลี่ยงพบปะกับผู้คน มันมีต้นทุนของการไม่ออกไปทำงาน และในสังคมเราคนที่แบกรับต้นทุนส่วนใหญ่และหนักหนาสาหัส ก็คือกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย
รัฐบาลจำเป็นจะต้องออกมาตรการเยียวยากับกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย เพื่อให้เขากระทำมาตรการหลีกเลี่ยงการพบปะกับผู้คนได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มคนรายได้น้อยมักหลายคนอาจไม่อยากไปตรวจ หรือจะไม่แสดงตัวเพื่อให้จะได้ไม่ต้องถูกหยุดงาน ดังนั้น รัฐบาลต้องมีมาตรการให้กลุ่มคนรายได้น้อยแสดงตัวได้อย่างไม่มีต้นทุน ต้องทำให้คนส่วนใหญ่เข้าสู่ระบบสาธารณสุขได้อย่างต้นทุนน้อยที่สุด
นายธนาธร กล่าวว่า มาตรการที่ตนได้กล่าวไปนั้น เพื่อเป็นการยับยั้งไม่ให้จากระยะที่ 2 ไปสู่การแพร่ระบาดระยะที่ 3 ซึ่งการแพร่ระบาดระยะที่ 3 หมายความว่า มีการแพร่ระบาดในท้องถิ่นนั้นๆ และเกินกำลังที่รัฐจะสามารถเข้าไปควบคุมการแพร่ระบาดได้ ซึ่งจะนำไปสู่สถานการณ์เลวร้ายสุด
เราในฐานะเพื่อนร่วมสังคม เราต้องมีวินัยในการรับผิดชอบคนในสังคม รับผิดชอบต่อคนที่เรารัก รับผิดชอบต่อเพื่อนร่วมงาน และรับผิดชอบต่อครอบครัว เราสามารถเริ่มต้นมาตรการหลีกเลี่ยงการพบปะกับผู้คนด้วยตัวของเราเองได้ และถ้าเราช่วยกัน เราจะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดได้
“แม้ประชาชนร่วมมือกันอย่างเต็มที่ ก็ยังมีโอกาสที่ทำให้การแพร่เชื้อไวรัสเข้าสู่ระยะที่ 3 หากเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นจริง ซึ่งเราเห็นตัวอย่างแล้วในประเทศแถบตะวันตก ที่จะใช้มาตรการหลักเลี่ยงการพบปะอย่างเข้มงวด ไม่ว่าจะเป็นการประกาศภาวะฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็นการปิดสถานที่ หยุดการขนส่งสาธารณะ
ซึ่งมาตรการเหล่านี้ยังไม่เคยถูกบังคับใช้อย่างเข้มงวดในประเทศไทย และเราหวังว่าจะไม่เดินไปสู่จุดนั้น แต่ถ้าจุดนั้นมาถึงจริงๆ คิดว่า คงเป็นเวลาที่จะต้องบอกประชาชนอย่างตรงไปตรงมา ให้เข้าใจ รับรู้ ไม่ตื่นตระหนก และเพื่อเตรียมพร้อมรบมาตรการต่างๆเหล่านี้ ซึ่งจะกระทบกับพวกเราทุกคน” นายธนาธร กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากนายธนาธร ไลฟ์ออกไปเพียง 3 ชั่วโมง มีผู้เข้าชมสูงถึง 9.6 แสนครั้ง และมีการแชร์มากถึง 3 หมื่นครั้ง
https://www.facebook.com/ThanathornOfficial/videos/291897768442193/
เสรีพิศุทธ์ ลั่นไม่กลัวโควิด ชั่งน้ำหนักแล้ว ยังทำงานต่อได้ เหน็บ“บิ๊กตู่”บ่นเหนื่อยลาออกไป
https://www.matichon.co.th/politics/news_2065329
“เสรีพิศุทธ์”ลั่นไม่กลัว “โควิด -19”เดินหน้าประชุมกมธ.ปราบโกงต่อ บอกอายุ 70 ใกล้ตายแล้ว ไม่สน “สิระ”อยากนั่งข้างๆ เหน็บ “บิ๊กตู่” บ่นเหนื่อยลาออกไป
เมื่อวันที่ 18 มี.ค.เวลา 08.30 น. พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติชอบ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมาธิการฯยังคงมีการประชุมตามปกติ เว้นแต่จะมีองค์ประชุมไม่ครบตามข้อบังคับการประชุมสภาฯ โดยวันนี้ จะมีการพิจารณาเรื่องการกักตุนหน้ากากอนามัยเร่งด่วน และจะรีบขอมติที่ประชุมว่าจะเชิญบุคคลใดมาชี้แจงบ้าง
“ท่านประธานสภาฯแถลงว่าเรื่องการประชุมคณะกรรมาธิการขอให้เป็นเรื่องของคณะกรรมาธิการพิจารณากันเองว่าหยุดการประชุมหรือไม่ แต่ผมเรียนตามตรงว่าผมผ่านชีวิตมามากแล้ว อย่าว่าแต่โควิดเลย ดงกระสุน ดงระเบิดสมัยปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในเทือกเขาภูพาน ผมของจริง ผมฝ่ามาเยอะ ตายในสมัยนั้นเรายังไม่กลัว ตอนนั้น 20 กว่าๆ ยังไม่กลัวตาย แล้วตอนนี้ 70 แล้วใกล้จะตายแล้ว จะตายวันนี้พรุ่งนี้ก็ไม่รู้ จะมานั่งกลัวตายอะไรอีก” พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าว
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวอีกว่า เมื่อชั่งน้ำหนักแล้วเราจะเห็นว่าเรื่องความเดือดร้อนของประชาชนที่ต้องการพึ่งคณะกรรมาธิการฯมีมาก แล้วเราจะมาเกรงกลัวเรื่องเหล่านี้หรือ และทางสภาฯก็มีการป้องกัน คัดกรองบุคคลและมีการทำความสะอาด จึงขอร้องคณะกรรมาธิการฯอย่าไปกังวลเรื่องโควิดมาก
“คุณสิระ บอกไปตรวจโควิดมาแล้ว และมาขอนั่งใกล้ๆ ผม ผมยังไม่ใส่ใจอะไรเลย มานั่งมา ถ้าเรามีแต่ความกลัวอย่าเป็นเลยผู้แทนฯ เราต้องกล้าทำในสิ่งที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อประชาชน” พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าว
เมื่อถามว่า มองถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลอย่างไร พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่า ควรเป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี โดยประสานกับจังหวัดและพิจารณาข้อมูลแต่ละจังหวัดว่าจังหวัดควรปิดหรือไม่ปิด เพราะถ้าไปให้อำนาจจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งพิจารณากันไปแล้ว การคิดการตัดสินใจแต่ละจังหวัดจะอยู่บนพื้นฐานที่แตกต่างกันขาดมาตรฐาน
“ผู้ทรงอิทธิพลในจังหวัดมันมีอยู่ การไปปิดจังหวัดและทำอะไรก็ตาม บางอย่างก็ไม่แน่อาจจะอยู่ใต้อิทธิพลของผู้ทรงอิทธิพลภายในจังหวัดนั้น และจะทำให้ประชาชนที่อยู่ในจังหวัดเกิดความเดือดร้อน สมมติผู้ทรงอิทธิพลประกอบธุรกิจอะไร ก็จะอาศัยเวลานี้ตักตวงผลประโยชน์ของตน ประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดห้ามโน่นห้ามนี่ แต่กิจการของตัวเองเจริญรุ่งเรืองได้ เหมือนกับการกักตุนหน้ากากอนามัยเพื่อประโยชน์ของคนบางกลุ่ม อย่าคิดว่าทุกคนอยู่บนพื้นฐานความสุจริตอย่างเดียว มันไม่แน่ มันอาจมีอย่างอื่นเคลือบแฝง ปิดจังหวัดนี้คนมีอิทธิพลอยู่เบื้องหลังผู้ว่าฯก็ได้ประโยชน์ แต่คนอื่นเสียประโยชน์ก็มี ผมถึงบอกว่าต้องคิดให้รอบคอบ” พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าว
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าว กล่าวต่อว่า นายกฯต้องทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด ถ้าบอกว่าตัวเองเหนื่อยก็ขอให้ลาออกไป ตนติดตามอ่านข่าวก็พบว่าการทำงานของนายกฯล้มเหลว อย่างเมื่อไม่นานมานี้ที่ออกมาแถลงก็ไม่มีสาระอะไรเลย เพราะควรแถลงให้ประชาชนทราบข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการตัดสินใจในการดำเนินชีวิต