วันนี้ ๑๓ มีนาคม วันช้างไทย พี่กอล์ฟ ขอพูดถึงกลุ่มดาวที่คนไทยมองเห็นเป็นรูปช้าง
กลุ่มดาวหมีใหญ่ ; จระเข้
🐨กลุ่มดาวหมีใหญ่ (Ursa Major) เป็นกลุ่มดาวเด่นในซีกฟ้าด้านเหนือประกอบด้วยดาวฤกษ์อย่างน้อย 7 ดวงเรียงกัน
🐨🐨ถ้าไม่วาดเติมเสริมต่อจะเห็นเป็นกระบวยตักน้ำ [โดย 4 ดวงแรกเป็นตัวกระบวย 3 ดวงสุดท้ายเป็นด้ามกระบวย] ดังนั้นจึงมีชื่อเรียกทั่วไปอีกอย่างหนึ่งว่า กระบวยใหญ่ (Big dipper)
🐨🐨โดยคนไทยทั่วไปเรียกว่าดาวจระเข้ [โดยวาดให้ 4 ดวงแรกเป็นลำตัวและ 3 ดวงสุดท้ายเป็นหางจระเข้]
🐘- คนไทยทางภาคเหนือและภาคอีสานเรียกว่าดาวช้างเพราะวาดให้ 4 ดวงแรกเป็นหัวช้างและ 3 ดวงสุดท้ายเป็นงวงช้าง ส่วนชาวเลทางภาคใต้เรียกว่า "บิตัวกายะ" (บิตัว หมายถึงดาว, กายะ หมายถึงจระเข้)
🐠- กลุ่มดาวหมีใหญ่ยังมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีกเช่น ชาวฝรั่งเศสเรียกดาวรถเข็น คนอังกฤษเรียกดาวคันไถ อินเดียเรียก ดาวฤาษีเจ็ดตน ญี่ปุ่นเรียกดาวปลาคาร์พ เป็นต้น
🐊วรรณคดีไทย ได้กล่าวถึงกลุ่มดาวจระเข้ไว้ว่า
🐊สักวาดาวจระเข้ก็เหหก
ศีรษะตกหันหางขึ้นกลางหาว
เป็นวันแรมแจ่มแจ้งด้วยแสงดาว
น้ำค้างพราวปรายโปรยโรยละออง
ลมเรื่อย เรื่อย เฉื่อยฉิวต้องผิวเนื้อ
ความหนาวเหลือทานทนกมลหมอง
สกุณากาดุเหว่าก็เร่าร้อง
ดูแสงทองจับขอบฟ้าขอลาเอย
🍃🍃สมัยก่อนที่ท้องฟ้าในยามค่ำคืนที่ไร้แสงสว่างจากหลอดไฟรบกวน เผยให้เห็นดวงดาวสว่างระยิบระยับโดดเด่นเต็มท้องฟ้า ชาวไทยนั้นได้ผูกพันกับดวงดาวบนท้องฟ้ามาช้านาน ไม่ใช่แค่ดูเพื่อความบันเทิง แต่ยังให้ประโยชน์จากการสังเกตดวงดาวบนท้องฟ้า เพื่อบอกทิศและบอกเวลา ที่หมุนเวียนเปลี่ยนไปตาฤดูกาล ความชำนาญนี้ได้สั่งสมขึ้นเป็นองค์ความรู้ และใช้ประโยชน์อย่างจริงจังในการดำรงชีวิต
🐨กลุ่มดาวหมีใหญ่นี้เรียกตามกรีก โดยมีดาว 4 ดวงแรกเป็นลำตัวและ 3 ดวงสุดท้ายเป็นหาง ถ้าจะให้ดูเป็นหมีใหญ่จะต้องลากเพิ่มอีกประมาณ 12 ดวง หมีใหญ่ตัวนี้มีหางยาวมาก ใกล้ๆ หมีใหญ่ มีกลุ่มดาวหมีเล็กอยู่เคียงข้าง โดยมีดาวเหนืออยู่ปลายหางหมีเล็ก
ภาพถ่ายท้องฟ้าทางเหนือ วันที่ 20 ก.พ. 2563 ; 5:52 น. ณ จ.นครราชสีมา
ประกอบไปด้วยกลุ่มดาวหมีใหญ่ (Ursa Major), หมีเล็ก (Ursa Minor), มังกร (Draco) และกลุ่มดาวพิณ (Lyra)
กลุ่มดาวหมีใหญ่ที่มองเห็นดาวเรียงเด่น 7 ดวง กระบวยใหญ่ (Big Dipper) ได้อย่างชัดเจน ดาวสองดวงล่างสุด ดาว Merak และ Dubhe จะชี้ไปที่ดาวเหนือ
กลุ่มดาวหมีเล็ก มองเห็นได้จางๆ ไม่ครบทุกดวง ปลายหางของหมีเล็กคือดาวเหนือนั่นเอง
ดาวเหนือ (Polaris) จางๆ อยู่ใกล้ขอบฟ้า สูง ๑๔ องศา จากขอบฟ้า เท่ากับละติดจูดที่ผู้เขียนถ่ายภาพนี้
ดาวเวกา (Vega) สว่างเด่นสีขาวฟ้า อยู่ขวาบนของภาพ เป็นดาวที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวพิณ
เรียบเรียง : ณรงค์ ภูทัดดวง
https://web.facebook.com/AstronomyByMoGolf/
วันนี้ “วันช้างไทย” ๑๓ มี.ค. มาดูกลุ่มที่คนไทยมองเห็นเป็นช้าง
กลุ่มดาวหมีใหญ่ ; จระเข้
🐨กลุ่มดาวหมีใหญ่ (Ursa Major) เป็นกลุ่มดาวเด่นในซีกฟ้าด้านเหนือประกอบด้วยดาวฤกษ์อย่างน้อย 7 ดวงเรียงกัน
🐨🐨ถ้าไม่วาดเติมเสริมต่อจะเห็นเป็นกระบวยตักน้ำ [โดย 4 ดวงแรกเป็นตัวกระบวย 3 ดวงสุดท้ายเป็นด้ามกระบวย] ดังนั้นจึงมีชื่อเรียกทั่วไปอีกอย่างหนึ่งว่า กระบวยใหญ่ (Big dipper)
🐨🐨โดยคนไทยทั่วไปเรียกว่าดาวจระเข้ [โดยวาดให้ 4 ดวงแรกเป็นลำตัวและ 3 ดวงสุดท้ายเป็นหางจระเข้]
🐘- คนไทยทางภาคเหนือและภาคอีสานเรียกว่าดาวช้างเพราะวาดให้ 4 ดวงแรกเป็นหัวช้างและ 3 ดวงสุดท้ายเป็นงวงช้าง ส่วนชาวเลทางภาคใต้เรียกว่า "บิตัวกายะ" (บิตัว หมายถึงดาว, กายะ หมายถึงจระเข้)
🐠- กลุ่มดาวหมีใหญ่ยังมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีกเช่น ชาวฝรั่งเศสเรียกดาวรถเข็น คนอังกฤษเรียกดาวคันไถ อินเดียเรียก ดาวฤาษีเจ็ดตน ญี่ปุ่นเรียกดาวปลาคาร์พ เป็นต้น
🐊วรรณคดีไทย ได้กล่าวถึงกลุ่มดาวจระเข้ไว้ว่า
🐊สักวาดาวจระเข้ก็เหหก
ศีรษะตกหันหางขึ้นกลางหาว
เป็นวันแรมแจ่มแจ้งด้วยแสงดาว
น้ำค้างพราวปรายโปรยโรยละออง
ลมเรื่อย เรื่อย เฉื่อยฉิวต้องผิวเนื้อ
ความหนาวเหลือทานทนกมลหมอง
สกุณากาดุเหว่าก็เร่าร้อง
ดูแสงทองจับขอบฟ้าขอลาเอย
🍃🍃สมัยก่อนที่ท้องฟ้าในยามค่ำคืนที่ไร้แสงสว่างจากหลอดไฟรบกวน เผยให้เห็นดวงดาวสว่างระยิบระยับโดดเด่นเต็มท้องฟ้า ชาวไทยนั้นได้ผูกพันกับดวงดาวบนท้องฟ้ามาช้านาน ไม่ใช่แค่ดูเพื่อความบันเทิง แต่ยังให้ประโยชน์จากการสังเกตดวงดาวบนท้องฟ้า เพื่อบอกทิศและบอกเวลา ที่หมุนเวียนเปลี่ยนไปตาฤดูกาล ความชำนาญนี้ได้สั่งสมขึ้นเป็นองค์ความรู้ และใช้ประโยชน์อย่างจริงจังในการดำรงชีวิต
🐨กลุ่มดาวหมีใหญ่นี้เรียกตามกรีก โดยมีดาว 4 ดวงแรกเป็นลำตัวและ 3 ดวงสุดท้ายเป็นหาง ถ้าจะให้ดูเป็นหมีใหญ่จะต้องลากเพิ่มอีกประมาณ 12 ดวง หมีใหญ่ตัวนี้มีหางยาวมาก ใกล้ๆ หมีใหญ่ มีกลุ่มดาวหมีเล็กอยู่เคียงข้าง โดยมีดาวเหนืออยู่ปลายหางหมีเล็ก
ภาพถ่ายท้องฟ้าทางเหนือ วันที่ 20 ก.พ. 2563 ; 5:52 น. ณ จ.นครราชสีมา
ประกอบไปด้วยกลุ่มดาวหมีใหญ่ (Ursa Major), หมีเล็ก (Ursa Minor), มังกร (Draco) และกลุ่มดาวพิณ (Lyra)
กลุ่มดาวหมีใหญ่ที่มองเห็นดาวเรียงเด่น 7 ดวง กระบวยใหญ่ (Big Dipper) ได้อย่างชัดเจน ดาวสองดวงล่างสุด ดาว Merak และ Dubhe จะชี้ไปที่ดาวเหนือ
กลุ่มดาวหมีเล็ก มองเห็นได้จางๆ ไม่ครบทุกดวง ปลายหางของหมีเล็กคือดาวเหนือนั่นเอง
ดาวเหนือ (Polaris) จางๆ อยู่ใกล้ขอบฟ้า สูง ๑๔ องศา จากขอบฟ้า เท่ากับละติดจูดที่ผู้เขียนถ่ายภาพนี้
ดาวเวกา (Vega) สว่างเด่นสีขาวฟ้า อยู่ขวาบนของภาพ เป็นดาวที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวพิณ
เรียบเรียง : ณรงค์ ภูทัดดวง https://web.facebook.com/AstronomyByMoGolf/