อุณหภูมิเท่าไหร่ ที่สามารถฆ่าเชื้อ COVID-19 ให้ตายได้

หากใช้ความร้อน ต้องอุณหภูมิเท่าไหร่ จึงจะสามารถฆ่าเชื้อ COVID-19 ให้ตายได้

หาข้อมูลมาหลายวันแล้ว ไม่เจอ
เจอแต่ผลการศึกษาเทียบเคียงกับไวรัสตัวอื่นที่ใกล้เคียง

ณ เวลานี้ มันควรมีการศึกษาจากตัวจริงแล้วสิ

อยากรู้ครับ
ขอบคุณครับ

ปล. ได้ยินมาว่าเชื้อนี้มันอ่อนแอ ถ้าอุณหภูมิที่ใช้ฆ่าไม่สูงมาก ว่าจะทำห้องอบด้วย Heater อบสินค้าที่ส่งมาจากจีนหน่อย
ทุกวันนี้ ใช้วิธี พ่นยาฆ่าเชื้อ แล้วกักบริเวณไว้ในห้อง 9 วัน ก่อนนำออกมาใช้
ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 4
จากคำถาม
"ได้ยินมาว่าเชื้อนี้มันอ่อนแอ
ถ้าอุณหภูมิที่ใช้ฆ่าไม่สูงมาก

ว่าจะทำห้องอบด้วย Heater
อบสินค้าที่ส่งมาจากจีนหน่อย

ทุกวันนี้ ใช้วิธี พ่นยาฆ่าเชื้อ
แล้วกักบริเวณไว้ในห้อง 9 วัน ก่อนนำออกมาใช้"
.....

.....

.....
ภาพ - สินค้าจากจีน
         ไม่ เป็นพาหะของโรคไวรัสโคโรนา โควิด-19
         หรือ มีความเป็นไปได้น้อยมาก
         ที่เชื้อจะอยู่รอด หลังการขนส่งหลายวัน

         ถ้ากังวล... ให้ สวมถุงมือ
         ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดทำความสะอาด
         และ ทิ้งถุงมือในถังขยะ ได้
.....
จาก - องค์การอนามัยโลกประเทศไทย - ภาษาไทย
        ท่านสามารถ ค้นหรือดาวน์โหลดภาพคำแนะนำไปใช้ได้
.....
จาก - https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/advice-for-public?fbclid=IwAR0qzE6jHakaUaDBRAsW-qYNawkSo9Htk6ypkvD-9x31tRYvQUFQAdn6KOk
.....
จาก - https://www.facebook.com/WHOThailand/posts/2966970746657128
.....
คำแนะนำภาษาไทยอื่นๆ ที่นี่ - https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/120298?__twitter_impression=true
ความคิดเห็นที่ 5

.....
ภาพ - จากการศึกษาโอกาสอยู่รอด ของ ไวรัสโคโรนา
         กลุ่มเดียวกับ โควิด-19 พบว่า
        
         ปัจจัยสำคัญที่มีผล ต่อ การอยู่รอดนอกร่างกาย
         ของไวรัส ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยสำคัญ 2 ข้อ ได้แก่
     
         (1). อุณหภูมิ หรือ ระดับความร้อน (C = องศาเซลเซียส)
         ยิ่งร้อน เชื้อยิ่งตายมากขึ้น

         (2). ความชื้นสัมพัทธ์
         ความชื้นระดับกลาง = 40-60%
         ทำให้ เชื้อตายมากกว่า ความชื้นสูง (เกิน 60%) หรือ ต่ำ (น้อยกว่า 40%)
.....
จากการศึกษานี้

(1). อุณหภูมิ 20C (องศาเซลเซียส) ที่ความชื้นสัมพัทธ์ปานกลาง = 40-60%
      นาน 1 วัน ขึ้นไป
      ทำให้ ปริมาณเชื้อไวรัสโคโรนา ลดลง = มากกว่า 50%

      ใกล้เคียงกับ การล้างมือด้วยสบู่
      (ล้างมือด้วยสบู่ ทำให้เชื้อลดลง = 58%)

(2). อุณหภูมิ 20C (องศาเซลเซียส) ที่ความชื้นสัมพัทธ์ปานกลาง = 40-60%
      นาน 2 วัน ขึ้นไป
      ทำให้ ปริมาณเชื้อไวรัสโคโรนา ลดลง = มากกว่า 99%
.....
อุณหภูมิเฉลี่ยในไทย สูงเกิน 30C เกือบทุกวัน ทั้งปี
ทำให้ สินค้าที่ใช้เวลาเดินทางเกิน 1 วัน น่าจะปลอดภัย

(1). ที่ความชื้นสัมพัทธ์ปานกลาง = 40-60%
      เชื้อ จะตายไปเหลือประมาณ = 1 ใน แสน

(2). ที่ความชื้นสัมพัทธ์สูง หรือต่ำ = ต่ำกว่า 40% หรือมากกว่า 60%
      เชื้อ น่าจะตายไปประมาณ = 99%

จาก - https://weather-and-climate.com/average-monthly-Rainfall-Temperature-Sunshine-in-Thailand
.....
ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยในไทย = 66-79% เกือบทุกวัน ทั้งปี

ทำให้ เชื้ออยู่นอกร่างกายได้นานขึ้น ใน ฤดูฝน
หรือ ที่ที่มีความชื้นสัมพัทธ์สูง ได้
แต่ ผลจากอุณหภูมิที่สูง น่าจะมีผล มากกว่า

จาก - https://www.weather-th.com/en/thailand/bangkok-climate
.....
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แนะนำว่า
จากการศึกษา

(1). การล้างมือด้วยสบู่ 30 วินาที
      ลด ปริมาณเชื้อแบคทีเรีย บนมือบุคลากรสุขภาพได้ = 58%

(2). การถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์
      ลด ปริมาณเชื้อแบคทีเรียได้ = 83%
     
การศึกษา ทำในทหารเกณฑ์(ทหารเรือ) พบว่า
การล้างมือด้วยสบู่

ทำให้ ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจลดลง = 45%
(ปริมาณเชื้อที่ลดลง ทำให้ โอกาสติดเชื้อลดลง)
.....

.....
การทดลองนี้
ช่วยอธิบายได้ว่า

ทำไม จึงพบการแพร่เชื้อ มากและเร็ว
ในจีน อิหร่าน ยุโรป อเมริกา

ซึ่ง มีอุณหภูมิต่ำ (ค่อนข้างเย็น)
และ ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ
.....
ตรงกันข้าม...
กลับ พบการแพร่เชื้อ น้อยลง
ใน ประเทศที่มีอากาศร้อน

เช่น อินเดีย ไทย
ยกเว้น การติดเชื้อผ่านห้องแอร์
.....
นอกจากนั้น
ยังพบ การแพร่เชื้อช้าลง ในจีน

เมื่อ อุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้น
.....
ขอให้ ทุกๆ ท่านมีสุขภาพดี
ช่วยกัน ล้างมือด้วยสบู่ให้ถูกวิธี 20 วินาทีขึ้นไป

และ หลีกเลี่ยง ที่ที่มีคนอยู่กันใกล้ชิด
โดยเฉพาะ ห้องแอร์

ขอบคุณ ครับ
.....
From - Effects of Air Temperature and Relative Humidity on Coronavirus Survival on Surfaces. Appl. Environ. Microbiol. American Society for Microbiology. 12 March 2010. - https://aem.asm.org/content/76/9/2712 - Lisa M. Casanova, Soyoung Jeon, William A. Rutala, David J. Weber, Mark D. Sobsey - DOI: 10.1128/AEM.02291-09

From - http://sterlingiaq.com/photos/1044922973.pdf
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่