ทะเบียนบ้าน คือ ทะเบียนประจำบ้านของบ้านแต่ละหลัง มีเลขที่ประจำบ้านกำกับอยู่ รวมถึงรายชื่อของบุคคลทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในบ้าน โดยทะเบียนบ้านแยกออกเป็น 5 ประเภท ด้วยกัน ดังนี้
1. ทะเบียนบ้านชั่วคราว - ในกรณีที่บ้านไม่ได้ขออนุญาตปลูกสร้างบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือ เป็นบ้านที่ปลูกสร้างอยู่ในบริเวณพื้นที่สาธารณะ เขตพื้นที่ป่าสงวน พื้นที่ป่าบุกรุกโดยไม่ได้รับอนุญาติ หรือ ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในการก่อสร้าง จำเป็นจะต้องได้รับการออกทะเบียนบ้านชั่วคราวก่อน และหลังจากมีการพิสูจน์หรือดำเนินการตรวจสอบเป็นที่แล้วเสร็จแล้วจึงจะได้รับเอกสารทะเบียนบ้านฉบับปกติ
2. ทะเบียนบ้านชั่วคราวของสำนักทะเบียน - ทะเบียนบ้านที่ถูกกำหนดขึ้น เพื่อใช้ในการลงรายการชื่อของบุคคลต่าง ๆ ที่ทำการขอแจ้งย้ายทะเบียนบ้านจากที่อยู่เดิมไปยังบ้านเลขที่ใหม่ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ทำการย้ายออก สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทะเบียนบ้านชั่วคราวได้ที่นี่เลยครับ :
ทะเบียนบ้านชั่วคราวมีไว้ทำอะไร
3. ทะเบียนบ้าน (ท.ร.13) - ทะเบียนบ้านที่ใช้ลงรายการชื่อบุคคลของคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
4. ทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) - ทะเบียนบ้านที่ใช้ลงรายการชื่อบุคคลที่มีสัญชาติไทยและบุคคลต่างด้าวที่มีใบประจำตัวคนต่างด้าว
5. ทะเบียนบ้านกลาง - เอกสารที่ไม่ใช่ทะเบียนบ้าน จะใช้ลงรายการชื่อบุคคลในกรณีที่บุคคลนั้นไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้าน
ข้อควรรู้ในการขอทะเบียนบ้าน
***ข้อควรรู้ในการขอทะเบียนบ้าน***
เจ้าของบ้านจะต้องทำการดำเนินการยื่นเอกสารขอทะเบียนบ้านภายในระยะเวลา 15 วัน หลังการก่อสร้างบ้านแล้วเสร็จ (ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร์ พ.ศ. 2534) ซึ่งหากเจ้าของบ้านไม่ดำเนินการขอทะเบียนบ้านภายใน 15 วัน โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ก่อสร้างบ้านเสร็จสมบูรณ์แล้วนั้น จะถือว่ามีความผิด และมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อขอทะเบียนบ้าน
1. เอกสาร ท.ร.9 หรือใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน ออกโดยหน่วยงานท้องที่ (ผู้ใหญ่บ้าน/อบต.)
2. ใบอนุญาตก่อสร้างหรือหนังสือรับรองสิ่งปลูกสร้างตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือหนังสือสัญญาซื้อขายบ้าน (ถ้ามี)
3. โฉนดที่ดินหรือเอกสารสิทธิ์แสดงการครอบครองที่ดินที่ใช้ในการก่อสร้าง
4. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของบ้าน
5. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งขอทะเบียนบ้านหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
6. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) - หนังสือมอบอำนาจ จะใช้ในกรณีที่เจ้าของบ้านไม่สามารถติดต่อยื่นเรื่องขอเลขที่บ้านหรือทะเบียนบ้านด้วยตัวเอง และมีการมอบหมายให้บุคคลอื่นดำเนินการยื่นเรื่องขอทะเบียนบ้านแทนตน โดยจะมีเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของบ้าน พร้อมลงกำกับสำเนาถูกต้องในเอกสารสำคัญอย่างละ 1 ชุด ซึ่งใช้ประกอบในหนังสือมอบอำนาจ โดยรายละเอียดในเอกสารหนังสือมอบอำนาจ จะต้องมีพยานบุคคล จำนวน 2 คน ลงชื่อรับทราบ เพื่อเป็นพยานในการมอบอำนาจ)
7. รูปถ่ายสิ่งปลูกสร้างที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ประกอบไปด้วย 4 ด้าน คือ ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านซ้าย และด้านขวาของตัวบ้าน
ขั้นตอนในการขอทะเบียนบ้าน
1. ยื่นเรื่องติดต่อขอเลขที่บ้านและสมุดทะเบียนบ้าน ณ สำนักทะเบียนในพื้นที่ปลูกสร้าง
2. นายทะเบียนตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง
3. ออกเลขที่ประจำบ้าน รวมถึงจัดทำสมุดทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้าน
4. ส่งมอบทะเบียนบ้านให้แก่เจ้าของบ้านหรือผู้ได้รับมอบอำนาจ
ระยะเวลาในการดำเนินการยื่นขอทะเบียนบ้าน
หลังจากทำการยื่นเอกสารคำร้องขอทะเบียนบ้านภายใน 15 วัน หลังก่อสร้างบ้านแล้วเสร็จ เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบเอกสารและความถูกต้องของข้อมูลว่ามีลักษณะถูกต้องตามกฎหมายที่กำหนดหรือไม่ หากเป็นไปตามข้อกำหนด เจ้าหน้าที่จะกำหนดเลขที่ประจำบ้านและสมุดทะเบียนบ้านให้แก่ผู้แจ้งภายใน 7 วัน ในกรณีปลูกสร้างบ้านในเขตเทศบาล ไปจนถึงระยะเวลา 30 วัน ในกรณีปลูกสร้างบ้านนอกเขตเทศบาล
ค่าใช้จ่ายในการขอทะเบียนบ้าน
สามารถสอบถามได้ที่สำนักทะเบียนท้องที่ หรือ Call Center 1548
ที่มา :
https://www.ddproperty.com/คู่มือซื้อขาย/มือใหม่ต้องรู้-ขอทะเบียนบ้านอย่างไรให้ง่ายที่สุด-23054
ประเภทของทะเบียนบ้าน และขั้นตอนการขอทะเบียนบ้าน
1. ทะเบียนบ้านชั่วคราว - ในกรณีที่บ้านไม่ได้ขออนุญาตปลูกสร้างบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือ เป็นบ้านที่ปลูกสร้างอยู่ในบริเวณพื้นที่สาธารณะ เขตพื้นที่ป่าสงวน พื้นที่ป่าบุกรุกโดยไม่ได้รับอนุญาติ หรือ ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในการก่อสร้าง จำเป็นจะต้องได้รับการออกทะเบียนบ้านชั่วคราวก่อน และหลังจากมีการพิสูจน์หรือดำเนินการตรวจสอบเป็นที่แล้วเสร็จแล้วจึงจะได้รับเอกสารทะเบียนบ้านฉบับปกติ
2. ทะเบียนบ้านชั่วคราวของสำนักทะเบียน - ทะเบียนบ้านที่ถูกกำหนดขึ้น เพื่อใช้ในการลงรายการชื่อของบุคคลต่าง ๆ ที่ทำการขอแจ้งย้ายทะเบียนบ้านจากที่อยู่เดิมไปยังบ้านเลขที่ใหม่ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ทำการย้ายออก สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทะเบียนบ้านชั่วคราวได้ที่นี่เลยครับ : ทะเบียนบ้านชั่วคราวมีไว้ทำอะไร
3. ทะเบียนบ้าน (ท.ร.13) - ทะเบียนบ้านที่ใช้ลงรายการชื่อบุคคลของคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
4. ทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) - ทะเบียนบ้านที่ใช้ลงรายการชื่อบุคคลที่มีสัญชาติไทยและบุคคลต่างด้าวที่มีใบประจำตัวคนต่างด้าว
5. ทะเบียนบ้านกลาง - เอกสารที่ไม่ใช่ทะเบียนบ้าน จะใช้ลงรายการชื่อบุคคลในกรณีที่บุคคลนั้นไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้าน
ข้อควรรู้ในการขอทะเบียนบ้าน
***ข้อควรรู้ในการขอทะเบียนบ้าน***
เจ้าของบ้านจะต้องทำการดำเนินการยื่นเอกสารขอทะเบียนบ้านภายในระยะเวลา 15 วัน หลังการก่อสร้างบ้านแล้วเสร็จ (ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร์ พ.ศ. 2534) ซึ่งหากเจ้าของบ้านไม่ดำเนินการขอทะเบียนบ้านภายใน 15 วัน โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ก่อสร้างบ้านเสร็จสมบูรณ์แล้วนั้น จะถือว่ามีความผิด และมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อขอทะเบียนบ้าน
1. เอกสาร ท.ร.9 หรือใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน ออกโดยหน่วยงานท้องที่ (ผู้ใหญ่บ้าน/อบต.)
2. ใบอนุญาตก่อสร้างหรือหนังสือรับรองสิ่งปลูกสร้างตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือหนังสือสัญญาซื้อขายบ้าน (ถ้ามี)
3. โฉนดที่ดินหรือเอกสารสิทธิ์แสดงการครอบครองที่ดินที่ใช้ในการก่อสร้าง
4. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของบ้าน
5. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งขอทะเบียนบ้านหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
6. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) - หนังสือมอบอำนาจ จะใช้ในกรณีที่เจ้าของบ้านไม่สามารถติดต่อยื่นเรื่องขอเลขที่บ้านหรือทะเบียนบ้านด้วยตัวเอง และมีการมอบหมายให้บุคคลอื่นดำเนินการยื่นเรื่องขอทะเบียนบ้านแทนตน โดยจะมีเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของบ้าน พร้อมลงกำกับสำเนาถูกต้องในเอกสารสำคัญอย่างละ 1 ชุด ซึ่งใช้ประกอบในหนังสือมอบอำนาจ โดยรายละเอียดในเอกสารหนังสือมอบอำนาจ จะต้องมีพยานบุคคล จำนวน 2 คน ลงชื่อรับทราบ เพื่อเป็นพยานในการมอบอำนาจ)
7. รูปถ่ายสิ่งปลูกสร้างที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ประกอบไปด้วย 4 ด้าน คือ ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านซ้าย และด้านขวาของตัวบ้าน
ขั้นตอนในการขอทะเบียนบ้าน
1. ยื่นเรื่องติดต่อขอเลขที่บ้านและสมุดทะเบียนบ้าน ณ สำนักทะเบียนในพื้นที่ปลูกสร้าง
2. นายทะเบียนตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง
3. ออกเลขที่ประจำบ้าน รวมถึงจัดทำสมุดทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้าน
4. ส่งมอบทะเบียนบ้านให้แก่เจ้าของบ้านหรือผู้ได้รับมอบอำนาจ
ระยะเวลาในการดำเนินการยื่นขอทะเบียนบ้าน
หลังจากทำการยื่นเอกสารคำร้องขอทะเบียนบ้านภายใน 15 วัน หลังก่อสร้างบ้านแล้วเสร็จ เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบเอกสารและความถูกต้องของข้อมูลว่ามีลักษณะถูกต้องตามกฎหมายที่กำหนดหรือไม่ หากเป็นไปตามข้อกำหนด เจ้าหน้าที่จะกำหนดเลขที่ประจำบ้านและสมุดทะเบียนบ้านให้แก่ผู้แจ้งภายใน 7 วัน ในกรณีปลูกสร้างบ้านในเขตเทศบาล ไปจนถึงระยะเวลา 30 วัน ในกรณีปลูกสร้างบ้านนอกเขตเทศบาล
ค่าใช้จ่ายในการขอทะเบียนบ้าน
สามารถสอบถามได้ที่สำนักทะเบียนท้องที่ หรือ Call Center 1548
ที่มา : https://www.ddproperty.com/คู่มือซื้อขาย/มือใหม่ต้องรู้-ขอทะเบียนบ้านอย่างไรให้ง่ายที่สุด-23054