COVID-19 หน้าเราก็ต้องรอด 😷😷
ช่วงนี้คนใส่ Mask กันเยอะมากๆ หลายๆคนมีปัญหา สิวขึ้นเยอะ คัน มีผื่นแดงที่หน้า ตามมา
📌 หลักๆต้องแยกเป็น 2 ประเด็น
คือ สิว กับ ผื่น
1. สิวที่จากการใส่ Mask (Acne mechanica)
เกิดจากการเสียดสี (friction) ระหว่าง Mask กับผิวหน้าทำให้ระคายเคือง เกิดเป็นสิวอุดตันหรือสิวอักเสบ ตุ่มหนองขนาดเล็กๆ ขึ้นมาได้
และการใส่เป็นเวลานานๆ ยังทำให้ผิวภายใต้ Maks อบไปด้วยความร้อน เหงื่อและละอองน้ำ (skin occluded)
2. อาการคัน และ ผื่นแดง อาจจะเป็นตามขอบๆ แก้ม ปาก คางและจมูกก็ได้
ส่วนใหญ่เกิดจากการระคายเคือง (Irritant contact dermatitis) เช่น กดทับและการขยับไปมา มากกว่าเกิดจากการแพ้สัมผัสจากส่วนประกอบของ Mask
ซึ่งการแพ้ก็เจอได้แต่น้อยมากๆ ค่ะ
ทีนี้ขอยกตัวอย่างเคสการแพ้สัมผัส (Allergic contact dermatitis)
จากการใส่ Mask มาเล่าให้ฟังนะคะ
ซึ่งจากข้อมูลงานวิจัยในช่วงนี้มีการระบาดของโรค SARS ระหว่างปี คศ 2002-2004 พบว่า
บุคลากรทางการแพทย์ 35.5% มีปัญหาผิวจากการใช้หน้ากากชนิด N95 อย่างต่อเนื่อง
โดย 59.6% เป็นสิว, 51.4% มีอาการคันหน้า และ 35.8% มีผื่นที่ใบหน้า (ใน 1 คนอาจมีหลายอาการได้)
ซึ่งในจำนวนนี้ เจอว่าคนที่ใส่ N95 ส่วนหนึ่งแพ้สารฟอร์มาลดีไฮด์ ที่อยู่ใน N95 นั่นเอง
แต่คนที่ใส่หน้ากากอนามัยแบบธรรมดาไม่ยังพบว่ามีการแพ้เกิดขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลจากรายงานเคสแพทย์ที่มีผื่นแพ้สัมผัสจากหน้ากากอนามัย
โดยมีอาการผื่นคันที่หน้าผาก เปลือกตา และแก้ม ซึ่งเป็นหลังจากช่วงที่เข้าห้องผ่าตัด
และอาการผื่นดีขึ้นในช่วงวันหยุดที่ไม่ได้ผ่าตัด
เคสนี้ได้ทดสอบการแพ้ พบว่าแพ้สารไทยูแรม (Thiauram) ซึ่งพบว่าอยู่ในส่วนที่เป็นสายคล้องหูของหน้ากากนั่นเอง ค่ะ
ซึ่งเคสผื่นแพ้สัมผัสแบบนี้เจอได้น้อยมาก
ดังนั้นอย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าแพ้ Mask นะคะ
ส่วนเรื่องการทดสอบการแพ้ (Patch test) ก็ยังไม่ได้จำเป็นต้องทำทุกคน เหมือนกัน
วิธีที่จะช่วยลดปัญหาผิวจากการใส่Maskได้ด้วยตัวเอง 😷😷
1. ล้างหน้าให้สะอาด และล้างเมื่อเวลามีเหงื่อออกมาก
โดยไม่ต้องขัดหรือ scrub ผิวหน้า
2. งดแต่งหน้า
ถ้าจำเป็นต้องแต่งจริงๆให้เว้นใบหน้าครึ่งล่างไว้ แต่งเฉพาะครึ่งบนได้
3. เลือกใช้สกินแคร์แบบที่ไม่ทำให้อุดตันหรือเป็นสิว
สังเกตตรงฉลากจะมีคำว่า oil-free, non-comedogenic, non-acnegenic, won’t clog pore เป็นต้น
4. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่อากาศร้อน ที่มีผู้คนแออัด
5. ถอด Mask บ้าง เช่น เวลาที่อยู่คนเดียว หรือ อยู่ในที่ๆอากาศถ่ายเท และคนไม่พลุกพล่าน
6. อาจจะหาทิชชู่สะอาดบางๆคั่นระหว่าง Mask กับใบหน้า ช่วยได้
7. เปลี่ยน Mask อย่างน้อยวันละครั้ง ไม่ควรใช้ซ้ำ
8. กินยาแก้แพ้ แก้คัน ช่วยลดอาการคันได้ ถ้าไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์
9. ถ้าเป็นสิว ทายาแต้มสิวได้ ถ้าเป็นเยอะหรือไม่ดีขึ้น พบแพทย์เช่นกัน
10. ระวังไม่ให้เส้นผมเข้าไปใน Mask เพราะความมันจากเส้นผมก็เป็นสาเหตุของสิวได้
11. ช่วงนี้ไม่ควรลองใช้สกินแคร์หรือเครื่องสำอางใหม่ๆ ลดโอกาสเสี่ยงที่จะแพ้ของใหม่
12. ทำความสะอาดพัฟหรือแปรงแต่งหน้าสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
13. อย่าลืมเปลี่ยนปลอกหมอนและผ้าปูที่นอนด้วย
14. ลดสาเหตุอื่นๆที่ทำให้เป็นสิว เช่น ไม่จับหน้าบ่อยๆ ไม่นอนดึก ไม่กินของหวานๆ ก็ช่วยได้ค่ะ
🚨 ถึงไวรัสจะมาแต่หน้าเราก็ต้องรอดนะคะ 🚨
บทความอ้างอิง
1. Foo CCI, Goon ATJ, Leow Y, Goh C. Adverse skin reactions to personal protective equipment against severe acute respiratory
syndrome–a descriptive study in Singapore. Contact Dermatitis 2006;55(5):291–294.
2. Kosann MK, Brancaccio R, Cohen D. Occupational allergic contact dermatitis in an obstetrics and gynecology resident. Dermatitis
2003;14(4):217–218.
3. Faisal M Al Badri. Surgical mask contact dermatitis and epidemiology of contact dermatitis in healthcare workers. Current Allergy and Clinical Immunology. 30(3):183-188.
หมอยุ้ย
เพจ Dr.Yui คุยทุกเรื่องผิว
HOW TO ใส่หน้ากากยังไงไม่ให้สิวขึ้น 😷😷
COVID-19 หน้าเราก็ต้องรอด 😷😷
ช่วงนี้คนใส่ Mask กันเยอะมากๆ หลายๆคนมีปัญหา สิวขึ้นเยอะ คัน มีผื่นแดงที่หน้า ตามมา
📌 หลักๆต้องแยกเป็น 2 ประเด็น
คือ สิว กับ ผื่น
1. สิวที่จากการใส่ Mask (Acne mechanica)
เกิดจากการเสียดสี (friction) ระหว่าง Mask กับผิวหน้าทำให้ระคายเคือง เกิดเป็นสิวอุดตันหรือสิวอักเสบ ตุ่มหนองขนาดเล็กๆ ขึ้นมาได้
และการใส่เป็นเวลานานๆ ยังทำให้ผิวภายใต้ Maks อบไปด้วยความร้อน เหงื่อและละอองน้ำ (skin occluded)
2. อาการคัน และ ผื่นแดง อาจจะเป็นตามขอบๆ แก้ม ปาก คางและจมูกก็ได้
ส่วนใหญ่เกิดจากการระคายเคือง (Irritant contact dermatitis) เช่น กดทับและการขยับไปมา มากกว่าเกิดจากการแพ้สัมผัสจากส่วนประกอบของ Mask
ซึ่งการแพ้ก็เจอได้แต่น้อยมากๆ ค่ะ
ทีนี้ขอยกตัวอย่างเคสการแพ้สัมผัส (Allergic contact dermatitis)
จากการใส่ Mask มาเล่าให้ฟังนะคะ
ซึ่งจากข้อมูลงานวิจัยในช่วงนี้มีการระบาดของโรค SARS ระหว่างปี คศ 2002-2004 พบว่า
บุคลากรทางการแพทย์ 35.5% มีปัญหาผิวจากการใช้หน้ากากชนิด N95 อย่างต่อเนื่อง
โดย 59.6% เป็นสิว, 51.4% มีอาการคันหน้า และ 35.8% มีผื่นที่ใบหน้า (ใน 1 คนอาจมีหลายอาการได้)
ซึ่งในจำนวนนี้ เจอว่าคนที่ใส่ N95 ส่วนหนึ่งแพ้สารฟอร์มาลดีไฮด์ ที่อยู่ใน N95 นั่นเอง
แต่คนที่ใส่หน้ากากอนามัยแบบธรรมดาไม่ยังพบว่ามีการแพ้เกิดขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลจากรายงานเคสแพทย์ที่มีผื่นแพ้สัมผัสจากหน้ากากอนามัย
โดยมีอาการผื่นคันที่หน้าผาก เปลือกตา และแก้ม ซึ่งเป็นหลังจากช่วงที่เข้าห้องผ่าตัด
และอาการผื่นดีขึ้นในช่วงวันหยุดที่ไม่ได้ผ่าตัด
เคสนี้ได้ทดสอบการแพ้ พบว่าแพ้สารไทยูแรม (Thiauram) ซึ่งพบว่าอยู่ในส่วนที่เป็นสายคล้องหูของหน้ากากนั่นเอง ค่ะ
ซึ่งเคสผื่นแพ้สัมผัสแบบนี้เจอได้น้อยมาก
ดังนั้นอย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าแพ้ Mask นะคะ
ส่วนเรื่องการทดสอบการแพ้ (Patch test) ก็ยังไม่ได้จำเป็นต้องทำทุกคน เหมือนกัน
วิธีที่จะช่วยลดปัญหาผิวจากการใส่Maskได้ด้วยตัวเอง 😷😷
1. ล้างหน้าให้สะอาด และล้างเมื่อเวลามีเหงื่อออกมาก
โดยไม่ต้องขัดหรือ scrub ผิวหน้า
2. งดแต่งหน้า
ถ้าจำเป็นต้องแต่งจริงๆให้เว้นใบหน้าครึ่งล่างไว้ แต่งเฉพาะครึ่งบนได้
3. เลือกใช้สกินแคร์แบบที่ไม่ทำให้อุดตันหรือเป็นสิว
สังเกตตรงฉลากจะมีคำว่า oil-free, non-comedogenic, non-acnegenic, won’t clog pore เป็นต้น
4. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่อากาศร้อน ที่มีผู้คนแออัด
5. ถอด Mask บ้าง เช่น เวลาที่อยู่คนเดียว หรือ อยู่ในที่ๆอากาศถ่ายเท และคนไม่พลุกพล่าน
6. อาจจะหาทิชชู่สะอาดบางๆคั่นระหว่าง Mask กับใบหน้า ช่วยได้
7. เปลี่ยน Mask อย่างน้อยวันละครั้ง ไม่ควรใช้ซ้ำ
8. กินยาแก้แพ้ แก้คัน ช่วยลดอาการคันได้ ถ้าไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์
9. ถ้าเป็นสิว ทายาแต้มสิวได้ ถ้าเป็นเยอะหรือไม่ดีขึ้น พบแพทย์เช่นกัน
10. ระวังไม่ให้เส้นผมเข้าไปใน Mask เพราะความมันจากเส้นผมก็เป็นสาเหตุของสิวได้
11. ช่วงนี้ไม่ควรลองใช้สกินแคร์หรือเครื่องสำอางใหม่ๆ ลดโอกาสเสี่ยงที่จะแพ้ของใหม่
12. ทำความสะอาดพัฟหรือแปรงแต่งหน้าสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
13. อย่าลืมเปลี่ยนปลอกหมอนและผ้าปูที่นอนด้วย
14. ลดสาเหตุอื่นๆที่ทำให้เป็นสิว เช่น ไม่จับหน้าบ่อยๆ ไม่นอนดึก ไม่กินของหวานๆ ก็ช่วยได้ค่ะ
🚨 ถึงไวรัสจะมาแต่หน้าเราก็ต้องรอดนะคะ 🚨
บทความอ้างอิง
1. Foo CCI, Goon ATJ, Leow Y, Goh C. Adverse skin reactions to personal protective equipment against severe acute respiratory
syndrome–a descriptive study in Singapore. Contact Dermatitis 2006;55(5):291–294.
2. Kosann MK, Brancaccio R, Cohen D. Occupational allergic contact dermatitis in an obstetrics and gynecology resident. Dermatitis
2003;14(4):217–218.
3. Faisal M Al Badri. Surgical mask contact dermatitis and epidemiology of contact dermatitis in healthcare workers. Current Allergy and Clinical Immunology. 30(3):183-188.
หมอยุ้ย
เพจ Dr.Yui คุยทุกเรื่องผิว