ห่างหายจากห้องบางขุนพรหมไปสักพักหลังจากผิดหวังในการรีรันสารวัตรใหญ่เมื่อสิ้นปีที่ผ่านมาของช่อง วันนี้ขอมาพูดถึงช่องอีกสักครั้งหลังจากดูแผนของปี 63 ที่คิดว่าช่องต้องทบทวนและยกเครื่องขนานใหญ่ เพราะย่างเข้าปีที่ 6 ของทีวีดิจิตอล สถานีโทรทัศน์ทุกช่องคงได้รับผลกระทบทั้งทางด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีดิสรัปชั่นกันไปเต็มๆ ไม่เว้นแม้แต่เบอร์หนึ่งของไทย อย่าง Ch7HD แม้วันนี้เรตติ้งของช่องจะยังคงรั้งอันดับไว้ได้แต่ก็อยู่ในสภาวะถดถอย จากหลายๆเหตุผลที่ขอแสดงความคิดเห็นส่วนตัวดังนี้
- ความสามารถในการเลือกนิยายมาทำเป็นละคร
จะเห็นได้ว่ามีการผูกสัมพันธ์กับนักเขียนด้วยการนำกระเช้าไปมอบให้ในวันคล้ายวันเกิด แต่ไม่สามารถหยิบนิยายที่น่าสนใจหรือกำลังโด่งดังจากผู้อ่านได้เร็วเท่าคู่แข่ง ความแน่นแฟ้นหรือผลต่างตอบแทนน้อย เช่น นิยายที่แปะแบรนด์ว่ากำลังจะถูกสร้างละครช่องคู่แข่งมีความน่าสนใจต่อผู้อ่านมากกว่า ทำให้หนังสือผู้แต่งขายดีไปด้วย ดาราที่มารับบทก็เป็นที่นิยมทำให้นิยายได้ผลพลอยได้ ผู้ประพันธ์หลายรายจึงให้ใจหรือว่าอยากขายนิยายที่กำลังเขียนหรือผูกปิ่นโตให้คู่แข่งไปทำละครมากกว่า สร้างรายได้ที่มากขึ้นจากการที่ได้เพียงค่าลิขสิทธิ์นั่นก็คือชื่อเสียงที่ตามมาด้วย
- ห่างหายจากละครขึ้นหิ้งเพราะมีแต่รีเมค
ต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งเพราะการไม่กล้าหรือขออยู่ในเซฟโซนทำละครให้มีเรตติ้งตามมาตรฐานเท่านั้น ไม่เลือกเรื่องใหม่มาสร้าง กลัวสร้างแล้วไม่ตอบโจทย์เรตติ่งช่อง ก็เลยไม่พบว่าเรื่องไหนสามารถทะยานไปถึงละครขึ้นหิ้งที่จะเป็นความทรงจำในปีนั้นๆได้ แต่ก็มีเพียงบางเรื่อง เช่น มธุรสโลกันตร์ ที่เป็นละครดี มีความแปลกใหม่ สร้างกระแสได้ สามารถติดตรึงใจผู้ชมได้ แต่มันมาไม่บ่อย การพูดถึงก็เลยน้อยลง และวนลูปซ้ำๆเดิม
- ฝ่ายบริหารนักแสดงและศิลปินต้องทำงานให้หนักยิ่งขึ้น
ฝ่ายนี้เป็นฝ่ายที่เกิดขึ้นมาใหม่ไม่กี่ปี อาจจะแค่ดูแลเรื่องสัญญานักแสดงเท่านั้น ไม่ได้ดูแลหรือสร้างศิลปินให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ทีมงานน่าจะต้องมีคอนเนคชั่นกับสินค้า แบรนด์ หรือเอเจนซี่ มากขึ้นที่ให้ผลต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน เช่นให้ก่อนตัดเข้าละครของมิกค์ คนก็จะจดจำว่ามิคก์ที่โฆษณา ยากันยุง แอร์ หรือสถานให้บริการรถยนต์ อาจจะต้องคุยกับทีมขายเพื่อให้ส่วนลดหรือทำกิจกรรมร่วมกันกับแบรนด์ต่างๆ มากขึ้น ในอดีต ดาราวิดีโอก็เคยทำกับแบรนด์เสื้อผ้าที่คุณสิเรียมนำมาใส่ในละคร เหมือนต่างฝ่ายเกื้อหนุนกัน จนแบรนด์เป็นที่นรู้จักไปด้วยแต่วันนี้ฝ่ายบริหารนักแสดงยังไม่สามารถสร้างคอนเนคชั่นได้แถมสัญญานักแสดงก็ควบคุมไม่ได้อีกต่างหาก
- จำนวนนาทีโฆษณาต่อเบรคละครภาคค่ำน้อยลง
ฝ่ายขายของช่องเมื่อเปรียบเทียบกับรายการของผู้เช่าอย่างมาสเตอร์เชฟ ทำให้เห็นได้ว่าเหตุใดรายการจึงสามารถวิ่งหาโฆษณาได้มากกว่า ผู้เช่าสามารถหาโฆษณาเต็มเกือบทุกเบรค ย้อนกลับมาที่ละครที่เป็นของช่องเองโฆษณาได้ 6 เบรคเบรคละนาทีกว่าๆ เท่านั้นเอง ปัจจุบันมีแต่โฆษณารายการต่างๆของช่อง จะทำให้ได้กำไรอย่างไร ส่งผลต่อต้นทุนในการผลิตของช่องที่จะลดลง และรายได้ช่องในปีนี้แน่ๆ ต้องหาปัญหาและหาทางว่าจะแก้กันอย่างไร เบอร์โทรท้ายรายการไม่สามารถดึงดูดลูกค้าได้แน่ๆ ยักษ์ใหญ่อย่าง ยูนิลิเวอร์ พีแอนด์จี ฯลฯ ทำไมถึงไม่สนใจลงโฆษณาหนักๆเหมือนเดิม
- จำนวนตอนที่ไม่ตอบโจทย์สถานการณ์ปัจจุบัน
ทุกวันนี้ละครเรื่องนึงอย่างน้อยต้องผลิตให้ได้ 15 ตอน ซึ่ง ณ วันนี้ พฤติกรรมคนดูเปลี่ยนไปแล้วดูได้จากเรตติ้งที่คนดูจะรอชมในตอนแรกและไปรอชมอีกครั้งในตอนก่อนจบและใกล้ๆ จบ คณะกรรมการผลิตละครจากที่อาจจะตัดงบในส่วนของการผลิตไปแล้ว ควรตัดจำนวนตอนให้เหลือน้อยลงด้วย ไม่น้อยกว่า 10 ไม่มากกว่า 12 ตอนเพื่อให้กระชับมากขึ้น รวมถึงเล่นเร็วแก้ปัญหาเร็วเมื่อละครเรื่องนึงเรื่องใดไม่สามารถยึดผู้ชมให้ติดหน้าจอไว้ได้ หรือกำหนดขั้นต่ำและสามารถเพิ่มไปถึง 15 ตอนได้เมื่อละครมีกระแสหรือเรตติ้งที่ดีขึ้นและแบ่งเปอร์เซ็นต์การขายให้ผู้ผลิตในการจูงใจทำผลงานและสร้างกำไร
-ผู้ผลิตย้ายฐาน ย้ายช่อง
ปฏิเสธไม่ได้ว่าสาเหตุหลักๆของการย้าย ปัจจัยหนึ่งก็คือเงินทุนและกำไร หากการขายโฆษณาได้เบรคละนาที มีโฆษณาหกเบรค รวมประมาณหกนาทีที่ขายได้ ขายได้ที่ราคาตัดส่วนลดส่วนแบ่งเหลือเข้ากระเป๋านาทีละสามแสน ทำให้ตอนนึงจะได้เงินรายได้เข้ากระเป๋าประมาณตอนละสองล้านบาท เมื่อละครเรื่องนึงต้องผลิตให้ได้ 15 ตอน ผู้ผลิตก็ต้องบริหารงบประมาณไม่ให้เกินต้นทุน เราจึงได้เห็นดาราวิดีโอและดีด้าใช้โลเกชั่นซ้ำๆในลาดหลุมแก้ว เสื้อผ้าที่ไม่ค่อยสวย ฉากที่อาจจะดูหลอกๆ เพื่อประหยัดงบประมาณรายจ่ายลงเพื่อได้กำไรมาบ้าง จนมาถึงพอดีคำก็ใช้โรงถ่ายตัวเองบ่อยขึ้นในช่วงหลังๆเพื่อลดรายจ่ายเพื่อยังคงไว้ซึ่งกำไรจากการผลิต หรือแม้แต่โคลีเซี่ยมที่เรื่องล่าสุดยอมทุ่มงบแบบไม่หวังกำไรเพื่อให้แก้ชื่อเสียในด้านซีจี อยู่ที่ใครจะยอมควักเนื้อยอมขาดทุน หรือไปเอากำไรในเรื่องๆต่อไปหากได้ผลิตต่อ ถ้ามีทีมงานที่ต้องเลี้ยงดูเยอะบางทีการทำเท่าทุนหรือสร้างกำไรไม่เพียงพอก็อาจจะทำให้เกิดการย้ายช่องไปซบหาช่องทางที่สามารถสร้างกำไรได้มากกว่าหรือให้บริษัทได้อยู่รอดในภาวะเช่นนี้ก็เป็นปัญหาที่ผู้จ้างวานหรือช่องต้องลงมาให้คำแนะนำช่วยเหลือด้วย
- สร้างทีมใหม่แต่บุคลากรก็ยังสำคัญสุด
แม้ว่าช่องจะให้งานบริษัทลูกเยอะมากขึ้น แต่เมื่อวันนึงบุคลากรในนั้นไม่อยู่ ก็ไม่ต่างอะไรกับการสร้างทีมใหม่อยู่เรื่อยๆ ช่องพยายามที่จะไม่ยึดติดกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งแต่หากยังไม่สามารถรักษาคุณภาพให้เหมือนเดิมได้ก็จะเหมือน ดาราวิดีโอที่ค่ายยังอยู่แต่คนที่มีประสบการณ์โยกย้ายขยายเติบโตที่อื่นอยู่ดี และก็เป็นวัฏจักรให้ช่องหาคนมาทดแทนอยู่ร่ำไปและทำให้ไม่ทันต่อการผลิตใหม่ๆ
- ซิทคอมเช้าเสาร์อาทิตย์แพทเทิร์นเดิมๆ
สองสามปีมานี่เหมือนจะเปลี่ยนแค่ชื่อเรื่อง นักแสดงหรือแนวละครก็เหมือนเดิม ไม่ปรับเปลี่ยนให้มีกระแสหรือให้เป็นที่จดจำมากยิ่งขึ้น บทละครก็แทบจะทำซ้ำๆ วนเวียนอยู่ไม่กี่ประเภท หากไปดูช่องอื่นที่ผลิตซีรีย์ทำไมเขาสามารถสร้างเจนเนอเรชั่นใหม่ๆ ของช่องได้แม้เป็นช่องเล็กๆ ก็ทำให้เกิดการพูดถึงและรู้จักนักแสดงได้และสร้างฐานแฟนคลับไปในตัว
- อุดช่องโหว่ก่อนเที่ยงเสาร์อาทิตย์
จากผู้ผลิตรายเดิมที่ยกเลิกการเช่าเวลา ทำให้ช่องปล่อยเวลานี้เป็นผังว่างมานานแต่ฝ่ายรายการก็ยังคงส่งภาพยนต์มาวนให้ดูเรื่อยๆ แม้จะสร้างเรตติ้งได้ไม่ต้องลงทุนเพิ่มเติม แต่ช่องและฝ่ายรายการน่าจะปรับเปลี่ยนให้มีสีสันมากกว่าปัจจุบัน เช่นสร้างเป็นช่วงเวลาทำเงินของช่องสำหรับเสาร์อาทิตย์ด้วยการทำรายการข่าวชาวบ้านๆ เน้นจุดแข็งของช่องทำสดๆหรือจะให้ทีมข่าวมีเดียมาทำ สร้างมูลค่าของช่วงเวลานี้ให้มีเรตค่าโฆษณาที่มากขึ้น หรือว่าจะโยกละครเย็นที่เหมือนกำลังจะล้นโกดังมาออกอากาศในช่วงเวลานี้บ้าง เหมือนช่วงที่โพลีพลัสทำซิทคอมก็น่าจะทำให้ช่องได้รายได้ที่มากขึ้น
- มีเดียสตูดิโอ
ทีมงานมีเดียสตูดิโอหลังจากเข้ามาทำรายการใหม่ๆของช่องควรจะมีรายการหรือสิ่งใหม่ๆมาให้ชมได้มากกว่านี้ ให้หลากหลาย การครีเอทสร้างสรรค์รายการควรจะแสดงศักยภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ ควรจะแยกให้ชัดเจนและสร้างผลงานของตัวเองให้เป็นที่นิยมและรู้จัก ทำตัวเป็นคอนเทนต์โพรไวเดอร์ให้เป็นน้องๆเซนต์ หรือเฮลิโคเนียให้ได้ รวมถึงปรับปรุงฉากต่างๆ ของทั้งมีเดียหรือช่องเองให้ดูดีเพราะภาพ HD ชัดเจนจนเห็นหมดว่าฉากไหนผุพังหรือเสียหายเยินหมดสภาพ
สิ่งที่ผมเห็นอาจจะไม่ถูกต้องทุกอย่างเพราะอาจจะไม่รู้ทุกสิ่งเห็นทุกอย่าง ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์หรือมีปัญหาที่ไม่สามารถทำได้จริงๆ แต่ก็หวังว่า Ch7HD จะรับฟังและค่อยๆปรับตัวพลิกแพลงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงเป็นกำลังใจให้กับพนักงานเบื้องหน้าและเบื้องหลังทุกๆท่าน ให้ฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ เหล่านี้ไปได้เผื่อสร้างความสุขผ่านหน้าจอแก้วให้กับผู้ชมทีวีไทยต่อไปอีกนานเท่านาน
เมื่อยักษ์ใหญ่ด้านละครอ่อนล้า อ่อนแรง เหมือนกำลังจะหมดพลัง
- ความสามารถในการเลือกนิยายมาทำเป็นละคร
จะเห็นได้ว่ามีการผูกสัมพันธ์กับนักเขียนด้วยการนำกระเช้าไปมอบให้ในวันคล้ายวันเกิด แต่ไม่สามารถหยิบนิยายที่น่าสนใจหรือกำลังโด่งดังจากผู้อ่านได้เร็วเท่าคู่แข่ง ความแน่นแฟ้นหรือผลต่างตอบแทนน้อย เช่น นิยายที่แปะแบรนด์ว่ากำลังจะถูกสร้างละครช่องคู่แข่งมีความน่าสนใจต่อผู้อ่านมากกว่า ทำให้หนังสือผู้แต่งขายดีไปด้วย ดาราที่มารับบทก็เป็นที่นิยมทำให้นิยายได้ผลพลอยได้ ผู้ประพันธ์หลายรายจึงให้ใจหรือว่าอยากขายนิยายที่กำลังเขียนหรือผูกปิ่นโตให้คู่แข่งไปทำละครมากกว่า สร้างรายได้ที่มากขึ้นจากการที่ได้เพียงค่าลิขสิทธิ์นั่นก็คือชื่อเสียงที่ตามมาด้วย
- ห่างหายจากละครขึ้นหิ้งเพราะมีแต่รีเมค
ต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งเพราะการไม่กล้าหรือขออยู่ในเซฟโซนทำละครให้มีเรตติ้งตามมาตรฐานเท่านั้น ไม่เลือกเรื่องใหม่มาสร้าง กลัวสร้างแล้วไม่ตอบโจทย์เรตติ่งช่อง ก็เลยไม่พบว่าเรื่องไหนสามารถทะยานไปถึงละครขึ้นหิ้งที่จะเป็นความทรงจำในปีนั้นๆได้ แต่ก็มีเพียงบางเรื่อง เช่น มธุรสโลกันตร์ ที่เป็นละครดี มีความแปลกใหม่ สร้างกระแสได้ สามารถติดตรึงใจผู้ชมได้ แต่มันมาไม่บ่อย การพูดถึงก็เลยน้อยลง และวนลูปซ้ำๆเดิม
- ฝ่ายบริหารนักแสดงและศิลปินต้องทำงานให้หนักยิ่งขึ้น
ฝ่ายนี้เป็นฝ่ายที่เกิดขึ้นมาใหม่ไม่กี่ปี อาจจะแค่ดูแลเรื่องสัญญานักแสดงเท่านั้น ไม่ได้ดูแลหรือสร้างศิลปินให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ทีมงานน่าจะต้องมีคอนเนคชั่นกับสินค้า แบรนด์ หรือเอเจนซี่ มากขึ้นที่ให้ผลต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน เช่นให้ก่อนตัดเข้าละครของมิกค์ คนก็จะจดจำว่ามิคก์ที่โฆษณา ยากันยุง แอร์ หรือสถานให้บริการรถยนต์ อาจจะต้องคุยกับทีมขายเพื่อให้ส่วนลดหรือทำกิจกรรมร่วมกันกับแบรนด์ต่างๆ มากขึ้น ในอดีต ดาราวิดีโอก็เคยทำกับแบรนด์เสื้อผ้าที่คุณสิเรียมนำมาใส่ในละคร เหมือนต่างฝ่ายเกื้อหนุนกัน จนแบรนด์เป็นที่นรู้จักไปด้วยแต่วันนี้ฝ่ายบริหารนักแสดงยังไม่สามารถสร้างคอนเนคชั่นได้แถมสัญญานักแสดงก็ควบคุมไม่ได้อีกต่างหาก
- จำนวนนาทีโฆษณาต่อเบรคละครภาคค่ำน้อยลง
ฝ่ายขายของช่องเมื่อเปรียบเทียบกับรายการของผู้เช่าอย่างมาสเตอร์เชฟ ทำให้เห็นได้ว่าเหตุใดรายการจึงสามารถวิ่งหาโฆษณาได้มากกว่า ผู้เช่าสามารถหาโฆษณาเต็มเกือบทุกเบรค ย้อนกลับมาที่ละครที่เป็นของช่องเองโฆษณาได้ 6 เบรคเบรคละนาทีกว่าๆ เท่านั้นเอง ปัจจุบันมีแต่โฆษณารายการต่างๆของช่อง จะทำให้ได้กำไรอย่างไร ส่งผลต่อต้นทุนในการผลิตของช่องที่จะลดลง และรายได้ช่องในปีนี้แน่ๆ ต้องหาปัญหาและหาทางว่าจะแก้กันอย่างไร เบอร์โทรท้ายรายการไม่สามารถดึงดูดลูกค้าได้แน่ๆ ยักษ์ใหญ่อย่าง ยูนิลิเวอร์ พีแอนด์จี ฯลฯ ทำไมถึงไม่สนใจลงโฆษณาหนักๆเหมือนเดิม
- จำนวนตอนที่ไม่ตอบโจทย์สถานการณ์ปัจจุบัน
ทุกวันนี้ละครเรื่องนึงอย่างน้อยต้องผลิตให้ได้ 15 ตอน ซึ่ง ณ วันนี้ พฤติกรรมคนดูเปลี่ยนไปแล้วดูได้จากเรตติ้งที่คนดูจะรอชมในตอนแรกและไปรอชมอีกครั้งในตอนก่อนจบและใกล้ๆ จบ คณะกรรมการผลิตละครจากที่อาจจะตัดงบในส่วนของการผลิตไปแล้ว ควรตัดจำนวนตอนให้เหลือน้อยลงด้วย ไม่น้อยกว่า 10 ไม่มากกว่า 12 ตอนเพื่อให้กระชับมากขึ้น รวมถึงเล่นเร็วแก้ปัญหาเร็วเมื่อละครเรื่องนึงเรื่องใดไม่สามารถยึดผู้ชมให้ติดหน้าจอไว้ได้ หรือกำหนดขั้นต่ำและสามารถเพิ่มไปถึง 15 ตอนได้เมื่อละครมีกระแสหรือเรตติ้งที่ดีขึ้นและแบ่งเปอร์เซ็นต์การขายให้ผู้ผลิตในการจูงใจทำผลงานและสร้างกำไร
-ผู้ผลิตย้ายฐาน ย้ายช่อง
ปฏิเสธไม่ได้ว่าสาเหตุหลักๆของการย้าย ปัจจัยหนึ่งก็คือเงินทุนและกำไร หากการขายโฆษณาได้เบรคละนาที มีโฆษณาหกเบรค รวมประมาณหกนาทีที่ขายได้ ขายได้ที่ราคาตัดส่วนลดส่วนแบ่งเหลือเข้ากระเป๋านาทีละสามแสน ทำให้ตอนนึงจะได้เงินรายได้เข้ากระเป๋าประมาณตอนละสองล้านบาท เมื่อละครเรื่องนึงต้องผลิตให้ได้ 15 ตอน ผู้ผลิตก็ต้องบริหารงบประมาณไม่ให้เกินต้นทุน เราจึงได้เห็นดาราวิดีโอและดีด้าใช้โลเกชั่นซ้ำๆในลาดหลุมแก้ว เสื้อผ้าที่ไม่ค่อยสวย ฉากที่อาจจะดูหลอกๆ เพื่อประหยัดงบประมาณรายจ่ายลงเพื่อได้กำไรมาบ้าง จนมาถึงพอดีคำก็ใช้โรงถ่ายตัวเองบ่อยขึ้นในช่วงหลังๆเพื่อลดรายจ่ายเพื่อยังคงไว้ซึ่งกำไรจากการผลิต หรือแม้แต่โคลีเซี่ยมที่เรื่องล่าสุดยอมทุ่มงบแบบไม่หวังกำไรเพื่อให้แก้ชื่อเสียในด้านซีจี อยู่ที่ใครจะยอมควักเนื้อยอมขาดทุน หรือไปเอากำไรในเรื่องๆต่อไปหากได้ผลิตต่อ ถ้ามีทีมงานที่ต้องเลี้ยงดูเยอะบางทีการทำเท่าทุนหรือสร้างกำไรไม่เพียงพอก็อาจจะทำให้เกิดการย้ายช่องไปซบหาช่องทางที่สามารถสร้างกำไรได้มากกว่าหรือให้บริษัทได้อยู่รอดในภาวะเช่นนี้ก็เป็นปัญหาที่ผู้จ้างวานหรือช่องต้องลงมาให้คำแนะนำช่วยเหลือด้วย
- สร้างทีมใหม่แต่บุคลากรก็ยังสำคัญสุด
แม้ว่าช่องจะให้งานบริษัทลูกเยอะมากขึ้น แต่เมื่อวันนึงบุคลากรในนั้นไม่อยู่ ก็ไม่ต่างอะไรกับการสร้างทีมใหม่อยู่เรื่อยๆ ช่องพยายามที่จะไม่ยึดติดกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งแต่หากยังไม่สามารถรักษาคุณภาพให้เหมือนเดิมได้ก็จะเหมือน ดาราวิดีโอที่ค่ายยังอยู่แต่คนที่มีประสบการณ์โยกย้ายขยายเติบโตที่อื่นอยู่ดี และก็เป็นวัฏจักรให้ช่องหาคนมาทดแทนอยู่ร่ำไปและทำให้ไม่ทันต่อการผลิตใหม่ๆ
- ซิทคอมเช้าเสาร์อาทิตย์แพทเทิร์นเดิมๆ
สองสามปีมานี่เหมือนจะเปลี่ยนแค่ชื่อเรื่อง นักแสดงหรือแนวละครก็เหมือนเดิม ไม่ปรับเปลี่ยนให้มีกระแสหรือให้เป็นที่จดจำมากยิ่งขึ้น บทละครก็แทบจะทำซ้ำๆ วนเวียนอยู่ไม่กี่ประเภท หากไปดูช่องอื่นที่ผลิตซีรีย์ทำไมเขาสามารถสร้างเจนเนอเรชั่นใหม่ๆ ของช่องได้แม้เป็นช่องเล็กๆ ก็ทำให้เกิดการพูดถึงและรู้จักนักแสดงได้และสร้างฐานแฟนคลับไปในตัว
- อุดช่องโหว่ก่อนเที่ยงเสาร์อาทิตย์
จากผู้ผลิตรายเดิมที่ยกเลิกการเช่าเวลา ทำให้ช่องปล่อยเวลานี้เป็นผังว่างมานานแต่ฝ่ายรายการก็ยังคงส่งภาพยนต์มาวนให้ดูเรื่อยๆ แม้จะสร้างเรตติ้งได้ไม่ต้องลงทุนเพิ่มเติม แต่ช่องและฝ่ายรายการน่าจะปรับเปลี่ยนให้มีสีสันมากกว่าปัจจุบัน เช่นสร้างเป็นช่วงเวลาทำเงินของช่องสำหรับเสาร์อาทิตย์ด้วยการทำรายการข่าวชาวบ้านๆ เน้นจุดแข็งของช่องทำสดๆหรือจะให้ทีมข่าวมีเดียมาทำ สร้างมูลค่าของช่วงเวลานี้ให้มีเรตค่าโฆษณาที่มากขึ้น หรือว่าจะโยกละครเย็นที่เหมือนกำลังจะล้นโกดังมาออกอากาศในช่วงเวลานี้บ้าง เหมือนช่วงที่โพลีพลัสทำซิทคอมก็น่าจะทำให้ช่องได้รายได้ที่มากขึ้น
- มีเดียสตูดิโอ
ทีมงานมีเดียสตูดิโอหลังจากเข้ามาทำรายการใหม่ๆของช่องควรจะมีรายการหรือสิ่งใหม่ๆมาให้ชมได้มากกว่านี้ ให้หลากหลาย การครีเอทสร้างสรรค์รายการควรจะแสดงศักยภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ ควรจะแยกให้ชัดเจนและสร้างผลงานของตัวเองให้เป็นที่นิยมและรู้จัก ทำตัวเป็นคอนเทนต์โพรไวเดอร์ให้เป็นน้องๆเซนต์ หรือเฮลิโคเนียให้ได้ รวมถึงปรับปรุงฉากต่างๆ ของทั้งมีเดียหรือช่องเองให้ดูดีเพราะภาพ HD ชัดเจนจนเห็นหมดว่าฉากไหนผุพังหรือเสียหายเยินหมดสภาพ
สิ่งที่ผมเห็นอาจจะไม่ถูกต้องทุกอย่างเพราะอาจจะไม่รู้ทุกสิ่งเห็นทุกอย่าง ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์หรือมีปัญหาที่ไม่สามารถทำได้จริงๆ แต่ก็หวังว่า Ch7HD จะรับฟังและค่อยๆปรับตัวพลิกแพลงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงเป็นกำลังใจให้กับพนักงานเบื้องหน้าและเบื้องหลังทุกๆท่าน ให้ฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ เหล่านี้ไปได้เผื่อสร้างความสุขผ่านหน้าจอแก้วให้กับผู้ชมทีวีไทยต่อไปอีกนานเท่านาน