สวัสดีครับ
ผมเคยทำงานเกี่ยวกับ PM10 อยู่พักหนึ่ง จึงสนใจเรื่องแมสก์เป็นพิเศษ
จนตอนนี้แมสก์กลับมาฮอตอีกครั้ง เพราะ COVID-19
ผมอยากอธิบายง่ายๆ แบบไม่อิงวิชาการมากเกินไป
แมสก์ น่าจะแบ่งง่ายๆ ออกเป็นสามแบบ แต่หลายสื่อก็เรียกรวมกันว่าหน้ากากอนามัย
1. Respirator ใส่เพื่อป้องกันตัวเราเอง คือหน้ากากชั้นสูงเช่นตั้งแต่ N95 ขึ้นไป
คำว่า Respirator นี้ไม่ใช่หมายถึงเครื่องช่วยหายใจที่ใช้ใน ICU
2. Surgical mask ใส่เพื่อปกป้องคนอื่น เช่นหมอใส่เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำลายกระเด็น
ไปโดนแผลผ่าตัด คำนี้คล้ายๆกับคำว่าหน้ากากอนามัยที่แท้จริง
3. พวกนอกสารบบ เช่นหน้ากากผ้า ผ้าชุบน้ำ
Q: หน้ากากผ้า กันละอองน้ำลายได้ไหม?
A: น่าจะได้บ้าง แต่ไม่น่าเชื่อถือ
ถ้าจะทำหน้ากากผ้าใช้เอง จะต้องมีชั้นหนึ่งที่ทำด้วยวัสดุที่ไม่ถักทอ (Non Woven)
เช่นกระดาษ เพราะวัสดุถักทอ มีรูใหญ่เกินไป น้ำลายลอดได้
ความจริงไวรัสลอดได้ทุกอย่าง แต่รถโดยสารของมันคือน้ำลาย ลอดกระดาษไม่ได้
เช่นในภาพ
ผ้าสองชั้นคือสีเหลือง และน้ำเงิน ไม่สามารถกรองละอองน้ำลายหรือเสมหะ ที่เป็นเม็ดเล็กๆ ได้
ดังนั้นถ้าทำหน้ากากอนามัยกับผ้า ควรทำเป็นเหมือนถุงที่สามารถสอดกระดาษทิชชูไว้ตรงกลาง 1-2 ชั้นได้
ภาพแสดงผ้าสองชั้นมีเส้นใย (กระดาษทิชชู) ตรงกลาง
โอกาสกรองละอองน้ำลายจะมากขึ้นเยอะ
การกรองน้ำลายได้สมบูรณ์จากใยกระดาษ
Q: ควรมีแมสก์สักกี่ชิ้นจึงจะพอ
A: ถ้าอย่างหรู ควรมีสักคนละ 100 ชิ้น เผื่อระยะเวลาวิกฤติยาวถึง 3 เดือน
ซึ่งไม่น้อยทีเดียว เช่นครอบครัวหนึ่งอาจต้องมี 300 -400 ชิ้น
Q: วิธีที่ประหยัดกว่านี้มีไหม?
A: ผมแนะนำแบบไม่อิงวิชาการมากคือต้องมีกลยุทธ์การใส่หน้ากากเช่น
มีหน้ากากอนามัยใหม่เอี่ยม เก็บไว้อย่างน้อย 14 ชิ้น ต่อคน เผื่อมีการระบาดมากๆ แล้ว
ต้องออกไปเสี่ยง เช่นไปซื้ออาหาร เมื่อกลับเข้ามาให้ทิ้งเลย
มีหน้ากากผ้า ไว้ใส่เวลาไม่ค่อยมีอะไรมาก เช่นเวลานี้สัก 4 ผืน
เมื่อกลับเข้าบ้านก็เอาแช่ไฮเตอร์ แล้วซักใช้ใหม่ได้ หมุนเวียนไปเรื่อยๆ
Q: สิ่งที่ต้องทำให้ชำนาญคืออะไร?
A:
1. ควรหัดพูดทั้งที่ใส่หน้ากาก การถลกหน้ากากพูดทำให้มันปลิ้นไปสัมผัสกับหน้าได้
เท่ากับที่ทำมาสูญเปล่า
2. ถ้าคุณตัดสินใจว่าจะใส่ จะต้องให้แนบกับรอยต่อระหว่างจมูกกับแก้มเสมอ
จะต้องไม่มีเวลาใดที่มีการโผล่จมูกออกมาหรือเอาไปกองไว้ที่คอ นอกจากสูญเปล่า
ยังดูไม่สุภาพมากๆ แต่ผู้ใหญ่ในรัฐบาลหลายคนชอบทำ
Q: ใส่หน้ากากแล้วกินข้าวได้ไหม?
A: ไม่ได้ ด้านนอกหน้ากากจะมีละอองน้ำลาย
ซึ่งเราตั้งใจจะป้องกัน ติดอยู่มากมาย ไม่ควรถลกมาไว้ตรงคอ
ถ้าจะกินข้าวต้องทิ้งหน้ากากไปเลย
แต่ถ้าแบบไทยๆ ผมแนะนำให้ถอดแล้ววางไว้บนเข่า
อย่าวางบนโต๊ะกินข้าว ใส่กระเป๋าเสื้อ หรือเหน็บคอ
Q: จะทำลายหน้ากากกระดาษใช้แล้วอย่างไร
A: ถ้าคุณมีหน้ากากไม่ถึง 100 ชิ้น ในช่วงที่ระบาดไม่หนัก ไม่ควรทำลาย
สามารถแช่ไฮเตอร์แล้วมาใช้ใหม่ (แต่ห้ามเอาไปขายนะครับ)
คุณภาพก็คงไม่มีมาก คล้ายๆกับหน้ากากผ้า
ห้ามเก็บไว้ในลิ้นชัก บนโต๊ะ หรือแขวนข้างฝา
ถ้าจะทำลาย ให้เผา หรือแช่ไฮเตอร์แล้วใส่ถุง
ถ้าไม่แช้ไฮเตอร์อย่าใส่ถุง เพราะมันจะทำให้เชื้อโรคอยู่ในถุงได้นาน
มากๆ เพราะชื้นและมีผิวผ้าที่น่าอยู่ มันจะอันตรายต่อคนคุ้ยขยะ
อีกวิธีที่น่าจะได้ผลคือใส่ถุงแล้วเอาตากแดดไว้ตรงคอนโซลรถ
(ผมไม่ชัวร์ แต่ดีกว่าไม่ทำอะไร)
ขอแก้รูปหน่อย ภาพเสมหะที่ติดหน้ากากที่จริงต้องติดอยู่ด้านเหลือง
อธิบายเรื่องการใช้แมสก์แบบง่ายๆ และกลยุทธการใช้แมสก์
ผมเคยทำงานเกี่ยวกับ PM10 อยู่พักหนึ่ง จึงสนใจเรื่องแมสก์เป็นพิเศษ
จนตอนนี้แมสก์กลับมาฮอตอีกครั้ง เพราะ COVID-19
ผมอยากอธิบายง่ายๆ แบบไม่อิงวิชาการมากเกินไป
แมสก์ น่าจะแบ่งง่ายๆ ออกเป็นสามแบบ แต่หลายสื่อก็เรียกรวมกันว่าหน้ากากอนามัย
1. Respirator ใส่เพื่อป้องกันตัวเราเอง คือหน้ากากชั้นสูงเช่นตั้งแต่ N95 ขึ้นไป
คำว่า Respirator นี้ไม่ใช่หมายถึงเครื่องช่วยหายใจที่ใช้ใน ICU
2. Surgical mask ใส่เพื่อปกป้องคนอื่น เช่นหมอใส่เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำลายกระเด็น
ไปโดนแผลผ่าตัด คำนี้คล้ายๆกับคำว่าหน้ากากอนามัยที่แท้จริง
3. พวกนอกสารบบ เช่นหน้ากากผ้า ผ้าชุบน้ำ
Q: หน้ากากผ้า กันละอองน้ำลายได้ไหม?
A: น่าจะได้บ้าง แต่ไม่น่าเชื่อถือ
ถ้าจะทำหน้ากากผ้าใช้เอง จะต้องมีชั้นหนึ่งที่ทำด้วยวัสดุที่ไม่ถักทอ (Non Woven)
เช่นกระดาษ เพราะวัสดุถักทอ มีรูใหญ่เกินไป น้ำลายลอดได้
ความจริงไวรัสลอดได้ทุกอย่าง แต่รถโดยสารของมันคือน้ำลาย ลอดกระดาษไม่ได้
เช่นในภาพผ้าสองชั้นคือสีเหลือง และน้ำเงิน ไม่สามารถกรองละอองน้ำลายหรือเสมหะ ที่เป็นเม็ดเล็กๆ ได้
ดังนั้นถ้าทำหน้ากากอนามัยกับผ้า ควรทำเป็นเหมือนถุงที่สามารถสอดกระดาษทิชชูไว้ตรงกลาง 1-2 ชั้นได้
ภาพแสดงผ้าสองชั้นมีเส้นใย (กระดาษทิชชู) ตรงกลาง
โอกาสกรองละอองน้ำลายจะมากขึ้นเยอะ
การกรองน้ำลายได้สมบูรณ์จากใยกระดาษ
Q: ควรมีแมสก์สักกี่ชิ้นจึงจะพอ
A: ถ้าอย่างหรู ควรมีสักคนละ 100 ชิ้น เผื่อระยะเวลาวิกฤติยาวถึง 3 เดือน
ซึ่งไม่น้อยทีเดียว เช่นครอบครัวหนึ่งอาจต้องมี 300 -400 ชิ้น
Q: วิธีที่ประหยัดกว่านี้มีไหม?
A: ผมแนะนำแบบไม่อิงวิชาการมากคือต้องมีกลยุทธ์การใส่หน้ากากเช่น
มีหน้ากากอนามัยใหม่เอี่ยม เก็บไว้อย่างน้อย 14 ชิ้น ต่อคน เผื่อมีการระบาดมากๆ แล้ว
ต้องออกไปเสี่ยง เช่นไปซื้ออาหาร เมื่อกลับเข้ามาให้ทิ้งเลย
มีหน้ากากผ้า ไว้ใส่เวลาไม่ค่อยมีอะไรมาก เช่นเวลานี้สัก 4 ผืน
เมื่อกลับเข้าบ้านก็เอาแช่ไฮเตอร์ แล้วซักใช้ใหม่ได้ หมุนเวียนไปเรื่อยๆ
Q: สิ่งที่ต้องทำให้ชำนาญคืออะไร?
A:
1. ควรหัดพูดทั้งที่ใส่หน้ากาก การถลกหน้ากากพูดทำให้มันปลิ้นไปสัมผัสกับหน้าได้
เท่ากับที่ทำมาสูญเปล่า
2. ถ้าคุณตัดสินใจว่าจะใส่ จะต้องให้แนบกับรอยต่อระหว่างจมูกกับแก้มเสมอ
จะต้องไม่มีเวลาใดที่มีการโผล่จมูกออกมาหรือเอาไปกองไว้ที่คอ นอกจากสูญเปล่า
ยังดูไม่สุภาพมากๆ แต่ผู้ใหญ่ในรัฐบาลหลายคนชอบทำ
Q: ใส่หน้ากากแล้วกินข้าวได้ไหม?
A: ไม่ได้ ด้านนอกหน้ากากจะมีละอองน้ำลาย
ซึ่งเราตั้งใจจะป้องกัน ติดอยู่มากมาย ไม่ควรถลกมาไว้ตรงคอ
ถ้าจะกินข้าวต้องทิ้งหน้ากากไปเลย
แต่ถ้าแบบไทยๆ ผมแนะนำให้ถอดแล้ววางไว้บนเข่า
อย่าวางบนโต๊ะกินข้าว ใส่กระเป๋าเสื้อ หรือเหน็บคอ
Q: จะทำลายหน้ากากกระดาษใช้แล้วอย่างไร
A: ถ้าคุณมีหน้ากากไม่ถึง 100 ชิ้น ในช่วงที่ระบาดไม่หนัก ไม่ควรทำลาย
สามารถแช่ไฮเตอร์แล้วมาใช้ใหม่ (แต่ห้ามเอาไปขายนะครับ)
คุณภาพก็คงไม่มีมาก คล้ายๆกับหน้ากากผ้า
ห้ามเก็บไว้ในลิ้นชัก บนโต๊ะ หรือแขวนข้างฝา
ถ้าจะทำลาย ให้เผา หรือแช่ไฮเตอร์แล้วใส่ถุง
ถ้าไม่แช้ไฮเตอร์อย่าใส่ถุง เพราะมันจะทำให้เชื้อโรคอยู่ในถุงได้นาน
มากๆ เพราะชื้นและมีผิวผ้าที่น่าอยู่ มันจะอันตรายต่อคนคุ้ยขยะ
อีกวิธีที่น่าจะได้ผลคือใส่ถุงแล้วเอาตากแดดไว้ตรงคอนโซลรถ
(ผมไม่ชัวร์ แต่ดีกว่าไม่ทำอะไร)
ขอแก้รูปหน่อย ภาพเสมหะที่ติดหน้ากากที่จริงต้องติดอยู่ด้านเหลือง