สนามบินสุวรรณภูมิ ชงมาตรการยกระดับคัดกรอง ป้องกันแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19
เสนอให้เที่ยวบินประเทศกลุ่มเสี่ยง รวมถึงกลุ่มผีน้อย ลงอู่ตะเภา ไม่ให้ปะปนกับผู้โดยสารอื่น
เมื่อวันที่ 3 มี.ค. นาวาอากาศโทสุธีรวัฒน์ สุวรรณวัฒน์ ผู้อำนวยการสนามบินสุวรรณภูมิ ยอมรับว่า ได้มีการหารือกับ นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เพื่อขอความเห็นสำหรับมาตรการยกระดับการคัดกรองผู้โดยสารจากประเทศกลุ่มเสี่ยงที่มีการระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งความเข้มข้นของมาตรการคัดกรองนั้นสุวรรณภูมิเห็นว่า หลังจากนี้สามารถยกระดับให้เที่ยวบินที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง สามารถจัดให้เที่ยวบินเหล่านี้ลงจอดในท่าอาศยานขนาดเล็ก หรือท่าอากาศยานทหาร เช่น สนามบินอู่ตะเภา เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในมาตรการคัดกรอง โดยเที่ยวบินใดที่มีรายงานผู้โดยสารพบอาการผิดปกติ เช่น มีไข้และต้องทำการเฝ้าระวัง จะแยกไปทำการตรวจสอบ หรือเข้าสู่กระบวนการเฝ้าระวัง โดยสามารถยกระดับมาตรการสูงสุดเหมือนกับการจัดการเที่ยวบินที่เคยกลับจากเมืองอู่ฮั่น และที่สำคัญสุด การแยกท่าอากาศยานช่วยให้ไม่เกิดการปะปน
ของผู้โดยสารในพื้นที่อาคารผู้โดยสารซึ่งทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
"ความจำเป็นในการจัดท่าอากาศยานเฉพาะ เพื่อรองรับเที่ยวบินกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยงนี้ สามารถนำมาใช้รองรับการเดินทางกลับของแรงงานไทยที่ลักลอบเข้าเมือง หรือผีน้อย มีการแจ้งความประสงค์ที่จะขอเดินทางกลับประเทศกับทางการเกาหลีใต้กว่า 5,000 คนแล้ว" ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกล่าว นอกจากนี้ยังมีประเด็นสำคัญ เรื่องการแก้ไขปัญหาการเดินทางที่มีการเชื่อมต่อเส้นทาง เปลี่ยนเครื่อง โดยเที่ยวบินมีการจอดแวะในประเทศไทย (Transfer Flights) และเป็นเที่ยวบินที่ออกเดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง และเมื่อมาถึงประเทศไทย จะทำการเดินทางไปยังประเทศปลายทาง แต่ถูกประเทศปลายทางปฏิเสธการให้เข้าประเทศ ซึ่งขณะนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นแล้ว เพราะหากไม่สามารถเดินทางต่อไปยังประเทศปลายทางได้ จะเกิดภาระทางด้านสาธารณสุขกับประเทศไทย ต้องทำการเตรียมพื้นที่รองรับ และทำการกักตัว 14 วัน รอผลการวินิจฉัยโรค ถือเป็นประเด็นที่ต้องเร่งแก้ไขปัญหาเร่งด่วนและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้มีการหารือในประเด็นนี้กับ กพท.ไปแล้วเช่นกัน
ด้านนายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) กล่าวว่า ปัญหาเที่ยวบินที่มีการเปลี่ยนเครื่องในประเทศ หากมีความจำเป็นที่ต้องแก้ปัญหาโดยการไม่ให้ใบอนุญาตสำหรับเที่ยวบินที่มาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง และมาทำการเปลี่ยนเครื่องที่ไทย ในส่วนนี้จะต้องใช้ประกาศของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำการอ้างอิง หลังจากนั้นจะดำเนินการแจ้งให้สายการบินทราบว่าจะไม่ให้ใบอนุญาตสำหรับเที่ยวบินลักษณะดังกล่าว ซึ่งสายการบินจะได้นำไปเป็นแนวปฏิบัติในการให้บริการต่อไป โดยประเด็นนี้ กพท. กำลังนัดหมายเพื่อหารือกับกระทรวงสาธารณสุขโดยด่วน เพื่อกำหนดรายละเอียดของมาตรการต่อไป
ที่มา:
https://www.thairath.co.th/news/business/1785858?cx_testId=21&cx_testVariant=cx_1&cx_artPos=3#cxrecs_s
คุมเข้มโควิด-19 สุวรรณภูมิเล็งให้เที่ยวบินเสี่ยง แก๊งผีน้อย ลงอู่ตะเภา
สนามบินสุวรรณภูมิ ชงมาตรการยกระดับคัดกรอง ป้องกันแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19
เสนอให้เที่ยวบินประเทศกลุ่มเสี่ยง รวมถึงกลุ่มผีน้อย ลงอู่ตะเภา ไม่ให้ปะปนกับผู้โดยสารอื่น
เมื่อวันที่ 3 มี.ค. นาวาอากาศโทสุธีรวัฒน์ สุวรรณวัฒน์ ผู้อำนวยการสนามบินสุวรรณภูมิ ยอมรับว่า ได้มีการหารือกับ นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เพื่อขอความเห็นสำหรับมาตรการยกระดับการคัดกรองผู้โดยสารจากประเทศกลุ่มเสี่ยงที่มีการระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งความเข้มข้นของมาตรการคัดกรองนั้นสุวรรณภูมิเห็นว่า หลังจากนี้สามารถยกระดับให้เที่ยวบินที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง สามารถจัดให้เที่ยวบินเหล่านี้ลงจอดในท่าอาศยานขนาดเล็ก หรือท่าอากาศยานทหาร เช่น สนามบินอู่ตะเภา เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในมาตรการคัดกรอง โดยเที่ยวบินใดที่มีรายงานผู้โดยสารพบอาการผิดปกติ เช่น มีไข้และต้องทำการเฝ้าระวัง จะแยกไปทำการตรวจสอบ หรือเข้าสู่กระบวนการเฝ้าระวัง โดยสามารถยกระดับมาตรการสูงสุดเหมือนกับการจัดการเที่ยวบินที่เคยกลับจากเมืองอู่ฮั่น และที่สำคัญสุด การแยกท่าอากาศยานช่วยให้ไม่เกิดการปะปน
ของผู้โดยสารในพื้นที่อาคารผู้โดยสารซึ่งทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
"ความจำเป็นในการจัดท่าอากาศยานเฉพาะ เพื่อรองรับเที่ยวบินกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยงนี้ สามารถนำมาใช้รองรับการเดินทางกลับของแรงงานไทยที่ลักลอบเข้าเมือง หรือผีน้อย มีการแจ้งความประสงค์ที่จะขอเดินทางกลับประเทศกับทางการเกาหลีใต้กว่า 5,000 คนแล้ว" ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกล่าว นอกจากนี้ยังมีประเด็นสำคัญ เรื่องการแก้ไขปัญหาการเดินทางที่มีการเชื่อมต่อเส้นทาง เปลี่ยนเครื่อง โดยเที่ยวบินมีการจอดแวะในประเทศไทย (Transfer Flights) และเป็นเที่ยวบินที่ออกเดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง และเมื่อมาถึงประเทศไทย จะทำการเดินทางไปยังประเทศปลายทาง แต่ถูกประเทศปลายทางปฏิเสธการให้เข้าประเทศ ซึ่งขณะนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นแล้ว เพราะหากไม่สามารถเดินทางต่อไปยังประเทศปลายทางได้ จะเกิดภาระทางด้านสาธารณสุขกับประเทศไทย ต้องทำการเตรียมพื้นที่รองรับ และทำการกักตัว 14 วัน รอผลการวินิจฉัยโรค ถือเป็นประเด็นที่ต้องเร่งแก้ไขปัญหาเร่งด่วนและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้มีการหารือในประเด็นนี้กับ กพท.ไปแล้วเช่นกัน
ด้านนายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) กล่าวว่า ปัญหาเที่ยวบินที่มีการเปลี่ยนเครื่องในประเทศ หากมีความจำเป็นที่ต้องแก้ปัญหาโดยการไม่ให้ใบอนุญาตสำหรับเที่ยวบินที่มาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง และมาทำการเปลี่ยนเครื่องที่ไทย ในส่วนนี้จะต้องใช้ประกาศของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำการอ้างอิง หลังจากนั้นจะดำเนินการแจ้งให้สายการบินทราบว่าจะไม่ให้ใบอนุญาตสำหรับเที่ยวบินลักษณะดังกล่าว ซึ่งสายการบินจะได้นำไปเป็นแนวปฏิบัติในการให้บริการต่อไป โดยประเด็นนี้ กพท. กำลังนัดหมายเพื่อหารือกับกระทรวงสาธารณสุขโดยด่วน เพื่อกำหนดรายละเอียดของมาตรการต่อไป
ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/business/1785858?cx_testId=21&cx_testVariant=cx_1&cx_artPos=3#cxrecs_s