(ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
http://www.sunflowercosmos.org/068-dust.html)
ลักษณะทางกายภาพเป็นเม็ดทรายขนาดเล็กๆ สามารถพบได้ในอวกาศถูกพัดพาไปมาตามแรงดึงดูด ในช่องว่างระหว่างดาวเคราะห์ (Interplanetary Medium) และ ช่องว่าง ระหว่างดวงดาว (Interstellar Medium) มีขนาดเล็กมากสัดส่วนเป็น 1 ใน 10 ไมครอน หรือเล็กจิ๋วถึงขนาด 1 ใน 100 ไมครอน
เม็ดฝุ่นอวกาศคล้ายเซลล์ที่ตายแล้ว เพราะถูกแรงระเบิดจากดาวหมดอายุขัย (Supernova) หรือดาวยักษ์สีแดง (Red giant) ที่กำลังเผาไหม้ข้ามชั้น ผลักดันแผ่กระจายข้าม จักรวาลกระจายไปตามแรงการพัดของพายุระหว่างดวงดาว สารประกอบมักมีคาร์บอนเพิ่มเติมด้วย ซิลิคอน ออกซิเจน, ไนโตรเจน, นิกเกิล และธาตุหนักอื่น ๆ
เม็ดฝุ่นมีความสำคัญต่อการวิเคราะห์ องค์ประกอบของกาแล็คซี่ (Galaxy) และต้นกำเนิดระบบสุริยะ (Solar System) เพราะเป็นหลักฐานที่จะสืบค้นต้นตอในการก่อตัวขึ้นของ ระบบสุริยะและดาวเคราะห์ต่างๆ รวมถึงที่มาของระบบชีวิตมนุษย์ด้วย จึงได้ส่งยานสำรวจออกไปเก็บฝุ่นต่างๆจากอวกาศกลับมายังโลก
“ฝุ่นอวกาศ” ในหิมะที่แอนตาร์กติกา
(ภาพจำลองของฝุ่นอวกาศของมหาวิทยาลัยฮาวายเมื่อปี 2018)
อ้างอิงจากข้อมูลของนักวิทยาศาสตร์ ฝุ่นอวกาศที่ในครั้งนี้ถูกพบอยู่ในตัวอย่างหิมะ 500 กิโลกรัม เก็บมาจากในพื้นที่ใกล้เคียงสถานี มีสภาพค่อนข้างสดใหม่ ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงที่ฝุ่นอวกาศเหล่านี้ จะเพิ่งตกลงมาบนโลกไม่ถึง 20 ปี
โดยภาพในหิมะที่เก็บมานักวิทยาศาสตร์ได้พบกับไอโซโทปกัมมันตรังสีอ่อนๆ สองชนิด ประกอบไปด้วย “Iron-60” และ “Manganese-53”
ทั้งสองสามารถพบได้จากฝุ่นที่เกิดจากซูเปอร์โนวา จากการที่รังสีคอสมิกปะทะกับฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ และจากน้ำมือมนุษย์ในบางกรณีอย่างนิวเคลียร์
ในกรณีของฝุ่นที่ถูกพบในครั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์พบว่า Iron-60 นั้นมีปริมาณสูงกว่า Manganese-53 มากซึ่งทำให้ข้อสันนิษฐานเรื่องฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ตกไป แถมเมื่อตรวจสอบตัว Iron-60 แล้ว นักวิทยาศาสตร์ก็ค่อนข้างมั่นใจว่าไอโซโทปเหล่านี้ไม่ได้มาจากนิวเคลียร์ด้วย
ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงค่อนข้างมั่นใจว่าฝุ่นอวกาศที่พบนั้น น่าจะมีที่มาจากเมฆระหว่างดาวซึ่งเกิดจากซูเปอร์โนวาอีกที แม้ว่าพวกเขาจะยังไม่อาจฟันธงได้ว่า ซูเปอร์โนวาที่เป็นต้นเหตุของฝุ่นที่พบเกิดขึ้นเมื่อไหร่กันแน่
หากข้อสันนิษฐานของนักวิทยาศาสตร์เป็นจริง การตรวจสอบฝุ่นอวกาศที่พบต่อไปก็อาจจะสามารถช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจที่มีและลักษณะของเมฆระหว่างดาว และผลกระทบที่มีต่อระบบสุริยะอย่างที่ไม่เคยรู้มาก่อนก็เป็นได้
ที่มา space, foxnews และ sciencealert
Cr.
https://www.catdumb.tv/interstellar-dust-discovered-in-antarctica-378/ By เหมียวศรัทธา
‘ฝุ่นเพชร’ รอบดาวฤกษ์ในกาแล็กซี่ทางช้างเผือก
เป็นเวลานานหลายสิบปีแล้วที่นักดาราศาสตร์พิศวงกับแหล่งที่มาอันแน่ชัดของแสงไมโครเวฟเลือนลางที่สาดส่องมาจากหลายพื้นที่ทั่วกาแล็กซี่ทางช้างเผือก ล่าสุดนักดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์ สหราชอาณาจักร พบแล้วว่ามันเกิดจาก ‘ฝุ่นเพชร’ ที่หมุนวนอยู่รอบดาวฤกษ์เกิดใหม่อันห่างไกล
Jane Greaves นักดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์เป็นผู้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการกำเนิดของดาวเคราะห์ นานหลายปีแล้วที่เธอได้ส่องดูดาวฤกษ์ที่มีฝุ่นวงแหวนซึ่งยังไม่ได้รวมตัวเป็นดาวเคราะห์ เธอได้ไปที่หอดูดาว Green Bank ในรัฐเวสต์เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา เพื่อใช้เครื่องมือพิเศษที่มีความละเอียดสูงส่องดูจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด (Protoplanetary disk) หรือแผ่นจานสสารระหว่างดาวอัดแน่นไปด้วยแก๊สที่หมุนวนไปรอบๆดาวฤกษ์ที่กำลังก่อตัวขึ้นใหม่ แต่สิ่งที่พบสร้างความประหลาดใจให้กับเธออย่างมาก
สิ่งที่เธอพบก็คือส่วนหนึ่งของการแผ่รังสีไมโครเวฟที่ผิดปกติ (Anomalous Microwave Emissions – AME) ซึ่งเป็นที่สงสัยถึงแหล่งกำเนิดที่แท้จริงมานานปี ทีมวิจัยได้ใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุที่หอดูดาว Green Bank และกล้องโทรทรรศน์วิทยุ Australia Telescope Compact Array ในออสเตรเลียส่องหาแสง AME นี้ในระบบดาวฤกษ์เกิดใหม่จำนวน 14 แห่งทั่วกาแล็กซี่ทางช้างเผือก พวกเขาได้พบกับแสง AME ในระบบดาวฤกษ์เกิดใหม่ 3 แห่ง และมันมาจากฝุ่นและแก๊สในจานดาวเคราะห์ก่อนเกิดที่กำลังหมุนวนอยู่รอบดาวฤกษ์
นอกจากนี้ทีมวิจัยยังได้ตรวจพบแสงอินฟราเรดเฉพาะอันเป็นสัญลักษณ์ของ ‘ฝุ่นเพชร’ หรือผลึกคาร์บอนขนาดเล็กมากระดับนาโนซึ่งเล็กกว่าเม็ดทรายมาก โดยพบในระบบดาวฤกษ์ทั้ง 3 แห่งนี้เท่านั้นไม่พบที่อื่น
ผลการวิจัยนี้อาจช่วยให้นักดาราศาสตร์เข้าใจเอกภพได้มากขึ้นกว่าเดิมโดยเฉพาะในช่วงแรกเริ่ม รวมทั้งอาจทำให้นักดาราศาสตร์สามารถสร้างแบบจำลองของแสงไมโครเวฟที่มาจากกาแล็กซี่ของเราได้ดีกว่าเดิม และอาจช่วยในการศึกษาวิจัยย้อนไปถึงการระเบิดครั้งใหญ่หรือ Big Bang ที่เป็นจุดเริ่มต้นของเอกภพ
ข้อมูลและภาพจาก space, popsci
Cr.
https://www.takieng.com/stories/9824
ค้นพบเม็ดฝุ่นซึ่งติดอยู่ในอุกกาบาต "เมอร์ชิสัน" (Murchison)
(ESA/HUBBLE/NASA/JANAÍNA ÁVILA เม็ดฝุ่นที่เกิดก่อนระบบสุริยะ (ภาพเล็ก) ซึ่งนักวิจัยพบในอุกกาบาต อาจเดินทางมาจากกลุ่มดาวฤกษ์โบราณเช่นที่มีอยู่ในเนบิวลารูปไข่)
ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติค้นพบเม็ดฝุ่นชนิดหนึ่ง ซึ่งติดอยู่ในอุกกาบาต "เมอร์ชิสัน" (Murchison) ที่ตกจากห้วงอวกาศลงสู่ทวีปออสเตรเลียเมื่อปี 1969 โดยผลการตรวจสอบพบว่า หนึ่งในเม็ดฝุ่นเหล่านี้มีอายุเก่าแก่ถึง 7.5 พันล้านปี นับว่าเป็นวัสดุที่เก่าแก่ที่สุดในโลก และยังมีอายุมากกว่าระบบสุริยะหลายพันล้านปีอีกด้วย
ทีมนักวิทยาศาสตร์จากสหรัฐฯและสวิตเซอร์แลนด์ ตีพิมพ์ผลการค้นพบข้างต้นในวารสาร PNAS โดยระบุว่าเม็ดฝุ่นซิลิคอนคาร์ไบด์ (Silicon carbide) อายุเก่าแก่ดังกล่าว ก่อตัวขึ้นในดาวฤกษ์ยุคโบราณที่ถือกำเนิดขึ้นก่อนระบบสุริยะราว 3 พันล้านปี
เมื่อดาวฤกษ์ยุคโบราณสิ้นอายุขัย มวลสารต่าง ๆ ที่อยู่ภายในจะถูกเหวี่ยงด้วยแรงระเบิดออกสู่ห้วงอวกาศภายนอก กลายเป็นวัสดุสำหรับการก่อตัวของบรรดาดวงดาวกำเนิดใหม่ และบางส่วนกลายเป็นสะเก็ดดาวหรืออุกกาบาตที่ตกลงสู่โลกของเรา
มีการสกัดเอาเม็ดฝุ่นขนาดไม่กี่ไมโครเมตรออกจากชิ้นส่วนอุกกาบาตได้เป็นจำนวน 40 เม็ด โดยนักวิทยาศาสตร์บดบางส่วนของอุกกาบาตให้แตกออก จนได้วัสดุที่มีลักษณะคล้ายปูนเปียกและมีกลิ่นเหม็นเหมือนเนยถั่วเน่า จากนั้นนำเอาวัสดุดังกล่าวไปละลายในกรด ซึ่งจะแยกเอาเม็ดฝุ่นโบราณออกมาได้ทั้งหมด
สำหรับการตรวจหาอายุที่แท้จริงของเม็ดฝุ่นเหล่านี้ นักวิทยาศาสตร์ใช้วิธีการหาปริมาณของไอโซโทปฮีเลียม-3 (He-3) และนีออน-21 (Ne-21) ซึ่งจะชี้ถึงระยะเวลาที่เม็ดฝุ่นได้สัมผัสและทำปฏิกิริยากับรังสีคอสมิกในห้วงอวกาศ ยิ่งมีปริมาณของไอโซโทปเหล่านี้มากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งแสดงว่าเม็ดฝุ่นดังกล่าวมีอายุเก่าแก่มากขึ้นเท่านั้น
เม็ดฝุ่นที่สกัดได้ส่วนใหญ่มีอายุเก่าแก่ระหว่าง 4.6 - 4.9 พันล้านปี ซึ่งถือว่ามีอายุในรุ่นราวคราวเดียวกับโลกและดวงอาทิตย์ แต่เม็ดฝุ่นที่พบว่ามีความเก่าแก่มากที่สุดนั้น มีอายุถึง 7.5 พันล้านปี ทำให้นักวิทยาศาสตร์เรียกมันว่า "เม็ดฝุ่นที่เกิดก่อนระบบสุริยะ" (pre-solar grains)
(JAMES ST JOHN อุกกาบาตเมอร์ชิสันตกจากห้วงอวกาศลงสู่ทวีปออสเตรเลียเมื่อปี 1969)
(JANAÍNA N. ÁVILA จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ขยายให้เห็นเม็ดฝุ่นที่เกิดก่อนระบบสุริยะขนาด 8 ไมโครเมตร)
การค้นพบนี้ช่วยไขความกระจ่างในข้อสงสัยที่ว่า อัตราการก่อกำเนิดของดาวฤกษ์ในกาแล็กซีทางช้างเผือกนั้นคงที่เสมอไปหรือไม่ ซึ่งหลักฐานจากเม็ดฝุ่นที่พบในครั้งนี้ชี้ว่า เมื่อราว 7 พันล้านปีก่อนเป็นช่วงเวลาที่มีดาวฤกษ์เกิดขึ้นในอัตราที่สูงกว่าปัจจุบันมาก
นอกจากนี้ การที่เม็ดฝุ่นขนาดจิ๋วดังกล่าวเหลือรอดมาจากการระเบิดซูเปอร์โนวาของดาวฤกษ์โบราณ และสามารถเดินทางข้ามห้วงอวกาศมาได้เป็นเวลานานโดยไม่ถูกทำลายไปก่อนนั้น เป็นหลักฐานชี้ว่ามวลสารจากการระเบิดของดาวฤกษ์เคลื่อนที่แบบติดกันเป็นกลุ่มก้อน ทำให้เม็ดฝุ่นบอบบางที่อยู่ด้านในถูกเก็บรักษาไว้ได้
Cr.
https://www.bbc.com/thai/features-51106906 / By BBC NEWS ไทย
ฝุ่นผงที่เดินทางมาจากนอกระบบสุริยะ
ยานแคสสินี เป็นยานอวกาศพลังงานนิวเคลียร์ หน้าที่หลักของมันคือการเก็บข้อมูลต่างๆของดาวเสาร์และบริวาร ตั้งแต่ภาพถ่ายไปจนถึงการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของเศษฝุ่นอวกาศที่ตรวจจับได้
แคสสินีเดินทางถึงดาวเสาร์ในปี พ.ศ. 2551 หลังจากปล่อยยานฮอยเกนส์ลงสู่ผิวของดวงจันทร์ไททัน ก็ได้โคจรถ่ายภาพ วัดค่ารังสี สนามแม่เหล็ก ลักษณะของเศษหินฝุ่นน้ำแข็งต่างๆ และส่งข้อมูลที่มีค่ามากมายนี้กลับมาให้นักวิทยาศาสตร์บนโลก
ท่ามกลางฝุ่นผงจำนวนมากมายนับล้านที่โคจรอยู่รอบดาวเสาร์ ล่าสุดยานแคสสินีตรวจพบฝุ่นผงที่ไม่ได่รับเชิญจำนวน 36 เม็ดจากที่เดินทางมาจากต่างระบบดาว ที่แคสสินีแยกแยะได้ว่าฝุ่นไหนมาจากในระบบหรือนอกระบบ ด้วยทิศทางของฝุ่นที่พุ่งมาด้วยความเร็วมหาศาลถึง 72,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วระดับนี้ทำให้ฝุ่นทั้ง 36 เม็ดเดินทางเป็นเส้นตรงไม่ถูกแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ใดๆดึงดูดไว้
แคสสินีวิเคราะห์ธาตุที่ประกอบขึ้นมาเป็นฝุ่นแปลกหน้าพวกนี้ ซึ่งทางนักดาราศาสตร์ตั้งชื่อว่า “ฝุ่นคอสมิค” พบว่ามีส่วนประกอบของแมกนิเซียมซิลิกิน เหล็กและแคลเซียม ฝุ่นคอสมิคเหล่านี้ ทีมนักวิจัยเชื่อว่ามีต้นกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ดวงอื่นขณะที่ดับสลาย และได้สาดกระจายฝุ่นที่มีองค์ประกอบเป็นธาตุที่หนักกว่าฮีเลียมไปโดยรอบ บางส่วนได้เดินทางตรงมาทางระบบสุริยะของเรา ซึ่งแน่นอน ฝุ่นพวกนี้มีอายุเก่าแก่มาก แต่ก็เป็นประโยชน์ที่เราจะได้รู้ได้เห็นสิ่งที่อยู่ไกลแสนไกลโดยไม่ต้องเสียเวลานับหมื่นปีเดินทางไปสำรวจ
ขอบคุณข้อมูลจาก : jimmysoftwareblog | NASA
Cr.
https://universescifi.wordpress.com/2016/04/16/ยานแคสสินี-ตรวจพบฝุ่นผง/ BY ZEZA
เนบิวล่าหัวม้า กลุ่มเมฆฝุ่นในอวกาศที่แสนสวยงาม ดาวสว่างที่ม้าหันไปมองคือ 1 ใน 3 ดวงของเข็มขัดนายพราน (ดาวไถ)
กลุ่มรังสีฝุ่นหมอกอวกาศ (Nebula) คล้ายประติมากรไปแกะสลักเป็นรูปหัวม้า หลบซ่อนอยู่ในพื้นที่อันกว้างใหญ่ของกลุ่มดาวนายพราน (Orion) ห่างจากโลก 1,500 ปีแสง แท้ที่จริงแล้วเกิดจาก ลมพายุ ระหว่างดวงดาว (Stellar Wind) กระหน่ำพัดพาเมฆหมอกโมเลกุล (Molecular Cloud) ให้เกิดเป็นรูปทรงขึ้น
รูปทรงนี้มิได้อยู่ชั่วนิรันดร์ สาเหตุจากดาวขนาดใหญ่ชื่อ Sigma Orionis AB ระบบดาวคู่ 2 ดวง (Binary Star System) ในบริเวณนั้นกำลังแสดงอิทธิ์ฤทธิ์ปลดปล่อยรังสี พลังสูง ส่งผลกระทบให้เกิดพายุดวงดาวดังกล่าว และในราวไม่กี่ล้านปีข้างหน้าอิทธิพลพายุก็จะพัดเซาะกัดรูปทรงหัวม้าแปรเปลี่ยนไปจากเดิมอีก
Cr.
http://www.sunflowercosmos.org/Amazing-universe-horsehead-nebula.html
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
"ฝุ่นอวกาศ" ในระบบสุริยะ
(ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก http://www.sunflowercosmos.org/068-dust.html)
ลักษณะทางกายภาพเป็นเม็ดทรายขนาดเล็กๆ สามารถพบได้ในอวกาศถูกพัดพาไปมาตามแรงดึงดูด ในช่องว่างระหว่างดาวเคราะห์ (Interplanetary Medium) และ ช่องว่าง ระหว่างดวงดาว (Interstellar Medium) มีขนาดเล็กมากสัดส่วนเป็น 1 ใน 10 ไมครอน หรือเล็กจิ๋วถึงขนาด 1 ใน 100 ไมครอน
เม็ดฝุ่นอวกาศคล้ายเซลล์ที่ตายแล้ว เพราะถูกแรงระเบิดจากดาวหมดอายุขัย (Supernova) หรือดาวยักษ์สีแดง (Red giant) ที่กำลังเผาไหม้ข้ามชั้น ผลักดันแผ่กระจายข้าม จักรวาลกระจายไปตามแรงการพัดของพายุระหว่างดวงดาว สารประกอบมักมีคาร์บอนเพิ่มเติมด้วย ซิลิคอน ออกซิเจน, ไนโตรเจน, นิกเกิล และธาตุหนักอื่น ๆ
เม็ดฝุ่นมีความสำคัญต่อการวิเคราะห์ องค์ประกอบของกาแล็คซี่ (Galaxy) และต้นกำเนิดระบบสุริยะ (Solar System) เพราะเป็นหลักฐานที่จะสืบค้นต้นตอในการก่อตัวขึ้นของ ระบบสุริยะและดาวเคราะห์ต่างๆ รวมถึงที่มาของระบบชีวิตมนุษย์ด้วย จึงได้ส่งยานสำรวจออกไปเก็บฝุ่นต่างๆจากอวกาศกลับมายังโลก
“ฝุ่นอวกาศ” ในหิมะที่แอนตาร์กติกา
(ภาพจำลองของฝุ่นอวกาศของมหาวิทยาลัยฮาวายเมื่อปี 2018)
อ้างอิงจากข้อมูลของนักวิทยาศาสตร์ ฝุ่นอวกาศที่ในครั้งนี้ถูกพบอยู่ในตัวอย่างหิมะ 500 กิโลกรัม เก็บมาจากในพื้นที่ใกล้เคียงสถานี มีสภาพค่อนข้างสดใหม่ ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงที่ฝุ่นอวกาศเหล่านี้ จะเพิ่งตกลงมาบนโลกไม่ถึง 20 ปี
โดยภาพในหิมะที่เก็บมานักวิทยาศาสตร์ได้พบกับไอโซโทปกัมมันตรังสีอ่อนๆ สองชนิด ประกอบไปด้วย “Iron-60” และ “Manganese-53”
ทั้งสองสามารถพบได้จากฝุ่นที่เกิดจากซูเปอร์โนวา จากการที่รังสีคอสมิกปะทะกับฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ และจากน้ำมือมนุษย์ในบางกรณีอย่างนิวเคลียร์
ในกรณีของฝุ่นที่ถูกพบในครั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์พบว่า Iron-60 นั้นมีปริมาณสูงกว่า Manganese-53 มากซึ่งทำให้ข้อสันนิษฐานเรื่องฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ตกไป แถมเมื่อตรวจสอบตัว Iron-60 แล้ว นักวิทยาศาสตร์ก็ค่อนข้างมั่นใจว่าไอโซโทปเหล่านี้ไม่ได้มาจากนิวเคลียร์ด้วย
ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงค่อนข้างมั่นใจว่าฝุ่นอวกาศที่พบนั้น น่าจะมีที่มาจากเมฆระหว่างดาวซึ่งเกิดจากซูเปอร์โนวาอีกที แม้ว่าพวกเขาจะยังไม่อาจฟันธงได้ว่า ซูเปอร์โนวาที่เป็นต้นเหตุของฝุ่นที่พบเกิดขึ้นเมื่อไหร่กันแน่
หากข้อสันนิษฐานของนักวิทยาศาสตร์เป็นจริง การตรวจสอบฝุ่นอวกาศที่พบต่อไปก็อาจจะสามารถช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจที่มีและลักษณะของเมฆระหว่างดาว และผลกระทบที่มีต่อระบบสุริยะอย่างที่ไม่เคยรู้มาก่อนก็เป็นได้
ที่มา space, foxnews และ sciencealert
Cr.https://www.catdumb.tv/interstellar-dust-discovered-in-antarctica-378/ By เหมียวศรัทธา
‘ฝุ่นเพชร’ รอบดาวฤกษ์ในกาแล็กซี่ทางช้างเผือก
เป็นเวลานานหลายสิบปีแล้วที่นักดาราศาสตร์พิศวงกับแหล่งที่มาอันแน่ชัดของแสงไมโครเวฟเลือนลางที่สาดส่องมาจากหลายพื้นที่ทั่วกาแล็กซี่ทางช้างเผือก ล่าสุดนักดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์ สหราชอาณาจักร พบแล้วว่ามันเกิดจาก ‘ฝุ่นเพชร’ ที่หมุนวนอยู่รอบดาวฤกษ์เกิดใหม่อันห่างไกล
Jane Greaves นักดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์เป็นผู้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการกำเนิดของดาวเคราะห์ นานหลายปีแล้วที่เธอได้ส่องดูดาวฤกษ์ที่มีฝุ่นวงแหวนซึ่งยังไม่ได้รวมตัวเป็นดาวเคราะห์ เธอได้ไปที่หอดูดาว Green Bank ในรัฐเวสต์เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา เพื่อใช้เครื่องมือพิเศษที่มีความละเอียดสูงส่องดูจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด (Protoplanetary disk) หรือแผ่นจานสสารระหว่างดาวอัดแน่นไปด้วยแก๊สที่หมุนวนไปรอบๆดาวฤกษ์ที่กำลังก่อตัวขึ้นใหม่ แต่สิ่งที่พบสร้างความประหลาดใจให้กับเธออย่างมาก
สิ่งที่เธอพบก็คือส่วนหนึ่งของการแผ่รังสีไมโครเวฟที่ผิดปกติ (Anomalous Microwave Emissions – AME) ซึ่งเป็นที่สงสัยถึงแหล่งกำเนิดที่แท้จริงมานานปี ทีมวิจัยได้ใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุที่หอดูดาว Green Bank และกล้องโทรทรรศน์วิทยุ Australia Telescope Compact Array ในออสเตรเลียส่องหาแสง AME นี้ในระบบดาวฤกษ์เกิดใหม่จำนวน 14 แห่งทั่วกาแล็กซี่ทางช้างเผือก พวกเขาได้พบกับแสง AME ในระบบดาวฤกษ์เกิดใหม่ 3 แห่ง และมันมาจากฝุ่นและแก๊สในจานดาวเคราะห์ก่อนเกิดที่กำลังหมุนวนอยู่รอบดาวฤกษ์
นอกจากนี้ทีมวิจัยยังได้ตรวจพบแสงอินฟราเรดเฉพาะอันเป็นสัญลักษณ์ของ ‘ฝุ่นเพชร’ หรือผลึกคาร์บอนขนาดเล็กมากระดับนาโนซึ่งเล็กกว่าเม็ดทรายมาก โดยพบในระบบดาวฤกษ์ทั้ง 3 แห่งนี้เท่านั้นไม่พบที่อื่น
ผลการวิจัยนี้อาจช่วยให้นักดาราศาสตร์เข้าใจเอกภพได้มากขึ้นกว่าเดิมโดยเฉพาะในช่วงแรกเริ่ม รวมทั้งอาจทำให้นักดาราศาสตร์สามารถสร้างแบบจำลองของแสงไมโครเวฟที่มาจากกาแล็กซี่ของเราได้ดีกว่าเดิม และอาจช่วยในการศึกษาวิจัยย้อนไปถึงการระเบิดครั้งใหญ่หรือ Big Bang ที่เป็นจุดเริ่มต้นของเอกภพ
ข้อมูลและภาพจาก space, popsci
Cr. https://www.takieng.com/stories/9824
ค้นพบเม็ดฝุ่นซึ่งติดอยู่ในอุกกาบาต "เมอร์ชิสัน" (Murchison)
(ESA/HUBBLE/NASA/JANAÍNA ÁVILA เม็ดฝุ่นที่เกิดก่อนระบบสุริยะ (ภาพเล็ก) ซึ่งนักวิจัยพบในอุกกาบาต อาจเดินทางมาจากกลุ่มดาวฤกษ์โบราณเช่นที่มีอยู่ในเนบิวลารูปไข่)
ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติค้นพบเม็ดฝุ่นชนิดหนึ่ง ซึ่งติดอยู่ในอุกกาบาต "เมอร์ชิสัน" (Murchison) ที่ตกจากห้วงอวกาศลงสู่ทวีปออสเตรเลียเมื่อปี 1969 โดยผลการตรวจสอบพบว่า หนึ่งในเม็ดฝุ่นเหล่านี้มีอายุเก่าแก่ถึง 7.5 พันล้านปี นับว่าเป็นวัสดุที่เก่าแก่ที่สุดในโลก และยังมีอายุมากกว่าระบบสุริยะหลายพันล้านปีอีกด้วย
ทีมนักวิทยาศาสตร์จากสหรัฐฯและสวิตเซอร์แลนด์ ตีพิมพ์ผลการค้นพบข้างต้นในวารสาร PNAS โดยระบุว่าเม็ดฝุ่นซิลิคอนคาร์ไบด์ (Silicon carbide) อายุเก่าแก่ดังกล่าว ก่อตัวขึ้นในดาวฤกษ์ยุคโบราณที่ถือกำเนิดขึ้นก่อนระบบสุริยะราว 3 พันล้านปี
เมื่อดาวฤกษ์ยุคโบราณสิ้นอายุขัย มวลสารต่าง ๆ ที่อยู่ภายในจะถูกเหวี่ยงด้วยแรงระเบิดออกสู่ห้วงอวกาศภายนอก กลายเป็นวัสดุสำหรับการก่อตัวของบรรดาดวงดาวกำเนิดใหม่ และบางส่วนกลายเป็นสะเก็ดดาวหรืออุกกาบาตที่ตกลงสู่โลกของเรา
มีการสกัดเอาเม็ดฝุ่นขนาดไม่กี่ไมโครเมตรออกจากชิ้นส่วนอุกกาบาตได้เป็นจำนวน 40 เม็ด โดยนักวิทยาศาสตร์บดบางส่วนของอุกกาบาตให้แตกออก จนได้วัสดุที่มีลักษณะคล้ายปูนเปียกและมีกลิ่นเหม็นเหมือนเนยถั่วเน่า จากนั้นนำเอาวัสดุดังกล่าวไปละลายในกรด ซึ่งจะแยกเอาเม็ดฝุ่นโบราณออกมาได้ทั้งหมด
สำหรับการตรวจหาอายุที่แท้จริงของเม็ดฝุ่นเหล่านี้ นักวิทยาศาสตร์ใช้วิธีการหาปริมาณของไอโซโทปฮีเลียม-3 (He-3) และนีออน-21 (Ne-21) ซึ่งจะชี้ถึงระยะเวลาที่เม็ดฝุ่นได้สัมผัสและทำปฏิกิริยากับรังสีคอสมิกในห้วงอวกาศ ยิ่งมีปริมาณของไอโซโทปเหล่านี้มากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งแสดงว่าเม็ดฝุ่นดังกล่าวมีอายุเก่าแก่มากขึ้นเท่านั้น
เม็ดฝุ่นที่สกัดได้ส่วนใหญ่มีอายุเก่าแก่ระหว่าง 4.6 - 4.9 พันล้านปี ซึ่งถือว่ามีอายุในรุ่นราวคราวเดียวกับโลกและดวงอาทิตย์ แต่เม็ดฝุ่นที่พบว่ามีความเก่าแก่มากที่สุดนั้น มีอายุถึง 7.5 พันล้านปี ทำให้นักวิทยาศาสตร์เรียกมันว่า "เม็ดฝุ่นที่เกิดก่อนระบบสุริยะ" (pre-solar grains)
(JAMES ST JOHN อุกกาบาตเมอร์ชิสันตกจากห้วงอวกาศลงสู่ทวีปออสเตรเลียเมื่อปี 1969)
(JANAÍNA N. ÁVILA จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ขยายให้เห็นเม็ดฝุ่นที่เกิดก่อนระบบสุริยะขนาด 8 ไมโครเมตร)
การค้นพบนี้ช่วยไขความกระจ่างในข้อสงสัยที่ว่า อัตราการก่อกำเนิดของดาวฤกษ์ในกาแล็กซีทางช้างเผือกนั้นคงที่เสมอไปหรือไม่ ซึ่งหลักฐานจากเม็ดฝุ่นที่พบในครั้งนี้ชี้ว่า เมื่อราว 7 พันล้านปีก่อนเป็นช่วงเวลาที่มีดาวฤกษ์เกิดขึ้นในอัตราที่สูงกว่าปัจจุบันมาก
นอกจากนี้ การที่เม็ดฝุ่นขนาดจิ๋วดังกล่าวเหลือรอดมาจากการระเบิดซูเปอร์โนวาของดาวฤกษ์โบราณ และสามารถเดินทางข้ามห้วงอวกาศมาได้เป็นเวลานานโดยไม่ถูกทำลายไปก่อนนั้น เป็นหลักฐานชี้ว่ามวลสารจากการระเบิดของดาวฤกษ์เคลื่อนที่แบบติดกันเป็นกลุ่มก้อน ทำให้เม็ดฝุ่นบอบบางที่อยู่ด้านในถูกเก็บรักษาไว้ได้
Cr.https://www.bbc.com/thai/features-51106906 / By BBC NEWS ไทย
ฝุ่นผงที่เดินทางมาจากนอกระบบสุริยะ
ยานแคสสินี เป็นยานอวกาศพลังงานนิวเคลียร์ หน้าที่หลักของมันคือการเก็บข้อมูลต่างๆของดาวเสาร์และบริวาร ตั้งแต่ภาพถ่ายไปจนถึงการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของเศษฝุ่นอวกาศที่ตรวจจับได้
แคสสินีเดินทางถึงดาวเสาร์ในปี พ.ศ. 2551 หลังจากปล่อยยานฮอยเกนส์ลงสู่ผิวของดวงจันทร์ไททัน ก็ได้โคจรถ่ายภาพ วัดค่ารังสี สนามแม่เหล็ก ลักษณะของเศษหินฝุ่นน้ำแข็งต่างๆ และส่งข้อมูลที่มีค่ามากมายนี้กลับมาให้นักวิทยาศาสตร์บนโลก
ท่ามกลางฝุ่นผงจำนวนมากมายนับล้านที่โคจรอยู่รอบดาวเสาร์ ล่าสุดยานแคสสินีตรวจพบฝุ่นผงที่ไม่ได่รับเชิญจำนวน 36 เม็ดจากที่เดินทางมาจากต่างระบบดาว ที่แคสสินีแยกแยะได้ว่าฝุ่นไหนมาจากในระบบหรือนอกระบบ ด้วยทิศทางของฝุ่นที่พุ่งมาด้วยความเร็วมหาศาลถึง 72,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วระดับนี้ทำให้ฝุ่นทั้ง 36 เม็ดเดินทางเป็นเส้นตรงไม่ถูกแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ใดๆดึงดูดไว้
แคสสินีวิเคราะห์ธาตุที่ประกอบขึ้นมาเป็นฝุ่นแปลกหน้าพวกนี้ ซึ่งทางนักดาราศาสตร์ตั้งชื่อว่า “ฝุ่นคอสมิค” พบว่ามีส่วนประกอบของแมกนิเซียมซิลิกิน เหล็กและแคลเซียม ฝุ่นคอสมิคเหล่านี้ ทีมนักวิจัยเชื่อว่ามีต้นกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ดวงอื่นขณะที่ดับสลาย และได้สาดกระจายฝุ่นที่มีองค์ประกอบเป็นธาตุที่หนักกว่าฮีเลียมไปโดยรอบ บางส่วนได้เดินทางตรงมาทางระบบสุริยะของเรา ซึ่งแน่นอน ฝุ่นพวกนี้มีอายุเก่าแก่มาก แต่ก็เป็นประโยชน์ที่เราจะได้รู้ได้เห็นสิ่งที่อยู่ไกลแสนไกลโดยไม่ต้องเสียเวลานับหมื่นปีเดินทางไปสำรวจ
ขอบคุณข้อมูลจาก : jimmysoftwareblog | NASA
Cr.https://universescifi.wordpress.com/2016/04/16/ยานแคสสินี-ตรวจพบฝุ่นผง/ BY ZEZA
เนบิวล่าหัวม้า กลุ่มเมฆฝุ่นในอวกาศที่แสนสวยงาม ดาวสว่างที่ม้าหันไปมองคือ 1 ใน 3 ดวงของเข็มขัดนายพราน (ดาวไถ)
กลุ่มรังสีฝุ่นหมอกอวกาศ (Nebula) คล้ายประติมากรไปแกะสลักเป็นรูปหัวม้า หลบซ่อนอยู่ในพื้นที่อันกว้างใหญ่ของกลุ่มดาวนายพราน (Orion) ห่างจากโลก 1,500 ปีแสง แท้ที่จริงแล้วเกิดจาก ลมพายุ ระหว่างดวงดาว (Stellar Wind) กระหน่ำพัดพาเมฆหมอกโมเลกุล (Molecular Cloud) ให้เกิดเป็นรูปทรงขึ้น
รูปทรงนี้มิได้อยู่ชั่วนิรันดร์ สาเหตุจากดาวขนาดใหญ่ชื่อ Sigma Orionis AB ระบบดาวคู่ 2 ดวง (Binary Star System) ในบริเวณนั้นกำลังแสดงอิทธิ์ฤทธิ์ปลดปล่อยรังสี พลังสูง ส่งผลกระทบให้เกิดพายุดวงดาวดังกล่าว และในราวไม่กี่ล้านปีข้างหน้าอิทธิพลพายุก็จะพัดเซาะกัดรูปทรงหัวม้าแปรเปลี่ยนไปจากเดิมอีก
Cr.http://www.sunflowercosmos.org/Amazing-universe-horsehead-nebula.html
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)