เรื่องราวอวกาศ ที่ซ่อนอยู่ในเงิน
ธนบัตรนั้นกลายเป็นสิ่งที่ใช้บอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ของประเทศ แม้ว่าปัจจุบันเราจะก้าวเข้าสู่ยุคของสังคมไร้เงินสดหรือ Cashless การใช้ธนบัตรอาจจะหายไปจากชีวิตประจำวันของเรา แต่ก็ยังเชื่อว่าหลายคนยังรู้สึกถึงคุณค่าของมันที่เป็นตัวแทนบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ และมีหลายคนที่พยายามจะเก็บสะสมมันเหมือนกับที่ปัจจุบันการสะสมสแตมป์ กลายเป็นงานอดิเรก ซึ่งสแตมป์ก็เป็นตัวแทนของการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ เช่นกัน
เหรียญ Ohio Quarter ซึ่งเป็นเหรียญ 25 Cent จากรัฐ Ohio (แต่ละรัฐจะมีลายแตกต่างกันออกไป) ซึ่งสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนเหรียญนั้นสิ่งแรกก็คือเครื่องบินของสองพี่น้องตระกูล Wright ผู้สร้างเครื่องบินและบินบนฟ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก แม้ว่าที่ที่ทั้งสองคนทำการบินครั้งแรกคือ North Carolina แต่ทั้ง Orville และ Wilbur ก็มาจากรัฐ Ohio
ส่วนรูปของนักบินอวกาศนั้นคือ Neil Armstrong มนุษย์คนแรกที่ได้เหยียบดวงจันทร์ และ John Glenn ชายคนแรกที่ได้โคจรรอบโลกก็มาจาก Ohio เช่นกัน
หนึ่งในธนบัตรที่ถูกพูดถึงมากที่สุดก็คือ ธนบัตร 5 ดอลล่า ของประเทศแคนาดา แคนาดาเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความภาคภูมิใจเกี่ยวกับเรื่องอวกาศมาก และมีนักบินอวกาศที่ดังมากคนนึงก็คือ Christ Hadfield ผู้ที่ชอบเอากีตาร์ขึ้นไปเล่นดนตรีบนอวกาศ
และยังเป็นเจ้าของเทคโนโลยี Canadarm Arm ที่เป็นแขนกลที่เป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการสร้างและทำงานบนสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งผลิตมาแล้วถึง 2 รุ่นตั้งแต่ยุคกระสวยอวกาศ ปัจจุบันแขนกล Canadarm ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้การทำงานบนสถานีอวกาศง่ายขึ้น ตั้งแต่การนำยานอวกาศต่าง ๆ เข้ามาทำการ Dock ไปจนถึงการติดตั้ง Module ใหม่ ๆ ให้กับสถานีอวกาศนานาชาติ
สำหรับประเทศจีน แม้ว่าจีนจะไม่ได้มีส่วนร่วมในโครงการสถานีอวกาศนาชาติ แต่จีนก็เป็นหนึ่งในชาติที่มีความสามารถในการสร้างสถานีอวกาศของตัวเองได้สำเร็จ “เทียนกง” คือสถานีอวกาศของจีน แม้ว่าเทียนกง 1 จะเพิ่งตกลงสู่ชั้นบรรยากาศของโลกเมื่อต้นปีที่ผ่านมา แต่ก็นับเป็นความสำเร็จที่น่าจับตามอง ภาพที่ปรากฏบนธนบัตร 100 หยวน ของจีนคือภาพของยาน “เฉินโจ่ว กับสถานีเทียนกง” กำลังทำการเชื่อมต่อกัน
ในขณะที่จีนกำลังศึกษาการไปดาวอังคาร อินเดีย กลายเป็นประเทศเอเชียประเทศแรกที่สามารถส่งยานไปสำรวจดาวอังคารได้สำเร็จ ยาน “มังคลายาน” ของดินเดีย ใช้งบน้อยกว่าดาวเทียม THEOS ของเราด้วยซ้ำ มันเดินทางถึงดาวอังคารในปี 2013 และสร้างกระแสฮือฮาไปทั่วโลก ทำให้ “มังคลายาน” ได้มาปรากฏบนธนบัตร 2000 รูปี ของอินเดียแบบไม่ต้องสงสัย
ปัจจุบันอินเดียกำลังอยู่ระหว่างพัฒนายาน มังคลายาน 2 เพื่อเดินทางสู่ดาวอังคารอีกครั้ง แต่ตอนนี้อินเดียก็กลายเป็นผู้เล่นที่น่าจับตามองในธุรกิจการสำรวจอวกาศซะแล้ว เมื่อจรวด GLSV และ PLSV ของอินเดีย เคยทำสถิติการส่งดาวเทียมกว่าร้อยดวงพร้อมกัน ทำให้ ISRO (องค์การอวกาศของอินเดีย) มีความพร้อมทั้งด้านเทคโนโลยี และเม็ดเงินที่ทำให้ภาคอวกาศของอินเดียจะพัฒนาไปได้มากกว่านี้
ประเทศที่เราอาจจะไม่คุ้นชื่ออย่างอาร์เมเนีย ก็มีเรื่องราวอวกาศที่อยู่บนธนบัตรเช่นกัน แม้ว่า Victor Ambartsumian จะเป็นคนโซเวียตโดยกำเนิด แต่เขาก็ได้สัญชาติอาร์เมเนีย และตายที่นั่น Ambartsumian เป็นนักฟิสิกส์ที่นับว่าเป็นบิดาแห่ง ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ (Astrophysics)
ผลงานของเขาได้แก่ทฤษฏีต่าง ๆ และการนำหลักฟิสิกส์คณิตศาสตร์มาใช้ในการปฏิบายปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ การเกิดและดับของดวงดาว และดาราจักร รวมถึงทฤษฏีทางฟิสิกส์อนุภาคเรื่องโครงสร้างอะตอม และเขาก็เคยนั่งเก้าอี้ประธาน International Astronomical Union หรือ IAU ด้วย
รัสเซีย ชื่อนี้เป็นอันดับหนึ่งในด้านการสำรวจอวกาศมานานกว่าครึ่งศตวรรษ จากผลงานด้านอวกาศมากมาย ตั้งแต่ดาวเทียมดวงแรก นักบินอวกาศชายและหญิงคนแรก และสถานีอวกาศแรกของโลก ทำให้เรื่องราวในฝั่งอวกาศของโซเวียตปรากฏบนธนบัตรต่าง ๆ หลายครั้ง แต่ส่วนมากก็จะออกมาในกรณีพิเศษ
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดรัสเซียเพิ่งออกธนบัตรที่น่าสนใจ นั่นคือธนบัตร 2000 รูเบิล ที่ปรากฏภาพฐานปล่อยแห่งใหม่ของรัสเซีย ที่ “วอสโตชินึยี คอสโมโดรม” ฐานปล่อยฝั่งตะวันออกของรัสเซียหนึ่งในโปรเจ็คพันล้านที่ประธานาธิบดี Vladimir Putin เพิ่งเดินทางไปเปิดไม่นานมานี้ นับว่าเป็นธนบัตรที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับอวกาศที่ยังใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
สุดท้ายแล้ว ประเทศไทยของเราก็ไม่น้อยหน้าเช่นกัน ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เปิดตัวธนบัตรรุ่นใหม่ ที่ด้านหน้าเป็นรูปพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ส่วนด้านหลังนั้นเป็นรูปของพระมหากษัตริย์แห่งยุครัตนโกสินทร์ ไล่ตามกันไป
ในธนบัตร 50 บาทนั้นเป็นรูปของรัชกาลที่ 3 และ 4 ซึ่ง รัชกาลที่ 3 เราคงรู้จักกันดีในเรื่องของการค้าขายต่าง ๆ ส่วนรัชกาลที่ 4 ก็ทรงเป็นพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย รวมถึงเรื่องดาราศาสตร์ด้วย
ภาพด้านขวามือถัดจากพระองค์ก็คือภาพของพระนครคิรี หรือ “เขาวัง” จังหวัดเพชรบุรี ที่หลายคนคงเคยไปเที่ยวกับมาแล้ว แต่สิ่งนี้สำคัญกับวงการดาราศาสตร์ไทยอย่างไร สิ่งนี้คือหอชัชวาลเวียงชัย หอสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ทอดพระเนตรดาวบนท้องฟ้า
บ้างก็เรียกหอดังกล่าวว่า “หอส่องกล้อง” เนื่องจากปรากฏภาพพระเจ้าอยู่หัวทรงกล้องโทรทรรศน์ทอดพระเนตรกลุ่มดาวบ่อยครั้ นอกจากการดูดาวแล้ว และมีพระราชประสงค์ให้ใช้หอนี้เป็นหอรักษาเวลามาตรฐานของประเทศ ตามเส้นแวงที่ 105 องศาตะวันออกซึ่งพาดผ่านใกล้พระนครคีรีและพระบรมมหาราชวังพอดี ปัจจุบันหอนี้ใช้เป็นเส้นแวงหลักของระบบเวลามาตรฐานกรุงเทพฯ (พระนคร)
หอชัชวาลเวียงชัยจึงเป็นสถานที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการด้านวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านฟิสิกส์ดาราศาสตร์และการกำหนดเวลามาตรฐานของประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยก้าวสู่ความเป็นสากล
เรียบเรียงโดย ทีมงาน SPACETH.CO
Cr.
https://spaceth.co/space-story-in-bank-note/ By Nutn0n
เรื่องราวอวกาศ ที่อยู่ในแสตมป์
( นักบินอวกาศรัสเซีย 1982 กลาง สเวียตลาน่า ซาวิตสกาย่า นักบินอวกาศหญิงคนที่สอง)
ผู้หญิงรัสเซียคนแรกที่ได้รับเลือกให้บินขึ้นสู่ห้วงอวกาศไปกับยาน วอสต็อก ๖ เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ค.ศ.๑๙๖๓ มีชื่อว่าวาเลนตินา เทรชโกวา ซึ่งเป็นคนงานโรงงานทอผ้าที่บังเอิญชอบกีฬาผาดโผนอย่างการกระโดดร่ม วาเลนตินาเกิดเมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ค.ศ.๑๙๓๗
แม้รัสเซียจะมีโครงการส่งนักบินอวกาศหญิงขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง แต่หลังจากนั้นอีก ๑๙ ปี จึงมีการส่งนักบินอวกาศหญิงคนที่ ๒ คือ สเวียตลานา ซาวิตสกายา ขึ้นสู่ห้วงอวกาศกับยาน โซยุซ-ที ๗ ในปี ๑๙๘๒
สเวียตลานา ซาวิตสกายา เดินทางไปปฏิบัติภารกิจบนสถานีอวกาศ โซยุต ๗ และเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้ออกไปเดินในอวกาศ (space walk) นอกสถานีอวกาศนานถึง ๓ ชั่วโมง ๓๕ นาที
ที่มา ตัดความมาจาก นักบินอวกาศหญิงคนแรกของโลก
สกุลไทย Blog/Magazine theme ฉบับที่ 3038 โดย ขจรจันทร์
Cr.
http://oknation.nationtv.tv/blog/vinitvadee/2018/08/10/entry-1 / Posted by vinitvadee
โครงการอวกาศโซเวียต ประกอบด้วยการพัฒนา จรวด และ การสำรวจอวกาศ จากช่วงทศวรรษที่ 1930 จนถึงการสลายตัว ในปี ค.ศ. 1991
ข้อมูลจาก
https://th.wikipedia.org
Cr.
https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_22148
Cr.
http://oknation.nationtv.tv/blog/vinitvadee/2017/08/26/entry-1 / Posted by vinitvadee
("แสตมป์ธีออส พร้อมตราประทับบนซองวันแรกจำหน่าย")
แสตมป์ใช้งาน ลำดับที่ 881 เป็นรูปวาดของดาวเทียมธีออส มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "ตราไปรษณียากรชุดดาวเทียมธีออส: ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของประเทศไทย" มูลค่า 3 บาท แสตมป์ชุดนี้ออกจำหน่ายในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2552 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 9
เนื่องด้วยพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ให้ความสำคัญกับข้อมูลทางภูมิศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง และทรงนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ช่วยเหลือพสกนิกรของพระองค์ ทั้งด้านเกษตรกรรม การป้องกันปัญหาอุทกภัย ภัยแล้ง ฯลฯ
ภาพบนตราไปรษณียากร เป็นภาพวาดของดาวเทียมธีออส บนวงโคจรของโลกหนือประเทศไทย ออกแบบโดยคุณธนากร สงวนตระกูล จากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
Cr.
https://hi-in.facebook.com/gistda/posts/10154434978976265/ "สนับสนุนความรู้ดีๆ โดย จิสด้า"
“แผ่นบันทึกข้อมูลทองคำ” ในอวกาศ
(NASA แผ่นบันทึกข้อมูลทองคำที่ส่งไปกับยานวอยเอเจอร์ 1 และ 2 เมื่อกว่า 40 ปีก่อน)
แผ่นบันทึกข้อมูลนี้ทำจากแผ่นทองแดงที่เคลือบผิวด้วยทองคำ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร บันทึกข้อมูลภาพ 117 ภาพ และเสียงต่าง ๆ ที่เป็นตัวแทนของธรรมชาติบนโลกและอารยธรรมของมนุษย์ ซึ่งรวมถึงเสียงร้องเรียกของวาฬหลังค่อม เสียงคนกล่าวทักทายในภาษาต่าง ๆ 54 ภาษา และเสียงดนตรีจากวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั่วโลกนาน 90 นาที
การใส่ข้อมูลลงในแผ่นบันทึกทองคำแล้วส่งไปกับยานสำรวจอวกาศวอยเอเจอร์ นี้ก็เพื่อแสดง ให้เห็นถึงความหลากหลายของชีวิตและวัฒนธรรมบนโลก นั่นหมายความว่า หากมีสิ่งมีชีวิตที่ทรงภูมิปัญญาอยู่ในดาวดวงอื่นจริง และพวกเขาอยู่ในแนวเดียวกับที่ยานทั้งสองส่งไป ยานสำรวจอวกาศสองลำนี้อาจจะเป็นหลักฐานแรกของอารยธรรมของมนุษย์ที่พวกเขาพบก็เป็นได้
สำหรับเรื่องราวของประเทศไทยถูกบันทึกไว้ในแผนทองคำนี้ 2 ส่วน คือภาพคุณลุงช่างแกะสลักไม้จากภาคเหนือของไทย และคำกล่าวทักทายภาษาไทยที่ว่า “"สวัสดีค่ะ สหายในธรณีโพ้น พวกเราในธรณีนี้ ขอส่งมิตรจิตมาถึงท่านทุกคน"
การส่งบันทึกไปกับยานนี้ไม่ได้หวังผลว่าจะได้รับคำตอบกลับมา แต่โดยนัยยะอาจเป็นการส่งสาร ไปยังมวลมนุษยชาติว่า ควรก้าวข้ามความแตกแยกระหว่างเชื้อชาติ ศาสนา หรือประเทศ แล้วรวมกันเป็นหนึ่งเดียวนั่นเอง
ขณะนี้แผ่นบันทึกข้อมูลทองคำที่อยู่กับยานวอยเอเจอร์ 1 อยู่ห่างจากโลกไป 12,000 ล้านไมล์ และเป็นวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นซึ่งอยู่ห่างจากโลกมากที่สุด โดยต้องใช้เวลาอีกราว 40,000 ปี กว่าที่ยานนี้จะเข้าใกล้ระบบสุริยะอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ของเราได้
ขอบคุณภาพจาก
https://www.unlockmen.com/music-for-aliens/
Cr.
https://www.aagold-th.com/article/224/
Cr.
https://www.bbc.com/thai/features-44289580
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
เรื่องราวของอวกาศ
ส่วนรูปของนักบินอวกาศนั้นคือ Neil Armstrong มนุษย์คนแรกที่ได้เหยียบดวงจันทร์ และ John Glenn ชายคนแรกที่ได้โคจรรอบโลกก็มาจาก Ohio เช่นกัน
หนึ่งในธนบัตรที่ถูกพูดถึงมากที่สุดก็คือ ธนบัตร 5 ดอลล่า ของประเทศแคนาดา แคนาดาเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความภาคภูมิใจเกี่ยวกับเรื่องอวกาศมาก และมีนักบินอวกาศที่ดังมากคนนึงก็คือ Christ Hadfield ผู้ที่ชอบเอากีตาร์ขึ้นไปเล่นดนตรีบนอวกาศ
และยังเป็นเจ้าของเทคโนโลยี Canadarm Arm ที่เป็นแขนกลที่เป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการสร้างและทำงานบนสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งผลิตมาแล้วถึง 2 รุ่นตั้งแต่ยุคกระสวยอวกาศ ปัจจุบันแขนกล Canadarm ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้การทำงานบนสถานีอวกาศง่ายขึ้น ตั้งแต่การนำยานอวกาศต่าง ๆ เข้ามาทำการ Dock ไปจนถึงการติดตั้ง Module ใหม่ ๆ ให้กับสถานีอวกาศนานาชาติ
สำหรับประเทศจีน แม้ว่าจีนจะไม่ได้มีส่วนร่วมในโครงการสถานีอวกาศนาชาติ แต่จีนก็เป็นหนึ่งในชาติที่มีความสามารถในการสร้างสถานีอวกาศของตัวเองได้สำเร็จ “เทียนกง” คือสถานีอวกาศของจีน แม้ว่าเทียนกง 1 จะเพิ่งตกลงสู่ชั้นบรรยากาศของโลกเมื่อต้นปีที่ผ่านมา แต่ก็นับเป็นความสำเร็จที่น่าจับตามอง ภาพที่ปรากฏบนธนบัตร 100 หยวน ของจีนคือภาพของยาน “เฉินโจ่ว กับสถานีเทียนกง” กำลังทำการเชื่อมต่อกัน
ในขณะที่จีนกำลังศึกษาการไปดาวอังคาร อินเดีย กลายเป็นประเทศเอเชียประเทศแรกที่สามารถส่งยานไปสำรวจดาวอังคารได้สำเร็จ ยาน “มังคลายาน” ของดินเดีย ใช้งบน้อยกว่าดาวเทียม THEOS ของเราด้วยซ้ำ มันเดินทางถึงดาวอังคารในปี 2013 และสร้างกระแสฮือฮาไปทั่วโลก ทำให้ “มังคลายาน” ได้มาปรากฏบนธนบัตร 2000 รูปี ของอินเดียแบบไม่ต้องสงสัย
ปัจจุบันอินเดียกำลังอยู่ระหว่างพัฒนายาน มังคลายาน 2 เพื่อเดินทางสู่ดาวอังคารอีกครั้ง แต่ตอนนี้อินเดียก็กลายเป็นผู้เล่นที่น่าจับตามองในธุรกิจการสำรวจอวกาศซะแล้ว เมื่อจรวด GLSV และ PLSV ของอินเดีย เคยทำสถิติการส่งดาวเทียมกว่าร้อยดวงพร้อมกัน ทำให้ ISRO (องค์การอวกาศของอินเดีย) มีความพร้อมทั้งด้านเทคโนโลยี และเม็ดเงินที่ทำให้ภาคอวกาศของอินเดียจะพัฒนาไปได้มากกว่านี้
ประเทศที่เราอาจจะไม่คุ้นชื่ออย่างอาร์เมเนีย ก็มีเรื่องราวอวกาศที่อยู่บนธนบัตรเช่นกัน แม้ว่า Victor Ambartsumian จะเป็นคนโซเวียตโดยกำเนิด แต่เขาก็ได้สัญชาติอาร์เมเนีย และตายที่นั่น Ambartsumian เป็นนักฟิสิกส์ที่นับว่าเป็นบิดาแห่ง ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ (Astrophysics)
ผลงานของเขาได้แก่ทฤษฏีต่าง ๆ และการนำหลักฟิสิกส์คณิตศาสตร์มาใช้ในการปฏิบายปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ การเกิดและดับของดวงดาว และดาราจักร รวมถึงทฤษฏีทางฟิสิกส์อนุภาคเรื่องโครงสร้างอะตอม และเขาก็เคยนั่งเก้าอี้ประธาน International Astronomical Union หรือ IAU ด้วย
รัสเซีย ชื่อนี้เป็นอันดับหนึ่งในด้านการสำรวจอวกาศมานานกว่าครึ่งศตวรรษ จากผลงานด้านอวกาศมากมาย ตั้งแต่ดาวเทียมดวงแรก นักบินอวกาศชายและหญิงคนแรก และสถานีอวกาศแรกของโลก ทำให้เรื่องราวในฝั่งอวกาศของโซเวียตปรากฏบนธนบัตรต่าง ๆ หลายครั้ง แต่ส่วนมากก็จะออกมาในกรณีพิเศษ
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดรัสเซียเพิ่งออกธนบัตรที่น่าสนใจ นั่นคือธนบัตร 2000 รูเบิล ที่ปรากฏภาพฐานปล่อยแห่งใหม่ของรัสเซีย ที่ “วอสโตชินึยี คอสโมโดรม” ฐานปล่อยฝั่งตะวันออกของรัสเซียหนึ่งในโปรเจ็คพันล้านที่ประธานาธิบดี Vladimir Putin เพิ่งเดินทางไปเปิดไม่นานมานี้ นับว่าเป็นธนบัตรที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับอวกาศที่ยังใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
สุดท้ายแล้ว ประเทศไทยของเราก็ไม่น้อยหน้าเช่นกัน ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เปิดตัวธนบัตรรุ่นใหม่ ที่ด้านหน้าเป็นรูปพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ส่วนด้านหลังนั้นเป็นรูปของพระมหากษัตริย์แห่งยุครัตนโกสินทร์ ไล่ตามกันไป
ในธนบัตร 50 บาทนั้นเป็นรูปของรัชกาลที่ 3 และ 4 ซึ่ง รัชกาลที่ 3 เราคงรู้จักกันดีในเรื่องของการค้าขายต่าง ๆ ส่วนรัชกาลที่ 4 ก็ทรงเป็นพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย รวมถึงเรื่องดาราศาสตร์ด้วย
ภาพด้านขวามือถัดจากพระองค์ก็คือภาพของพระนครคิรี หรือ “เขาวัง” จังหวัดเพชรบุรี ที่หลายคนคงเคยไปเที่ยวกับมาแล้ว แต่สิ่งนี้สำคัญกับวงการดาราศาสตร์ไทยอย่างไร สิ่งนี้คือหอชัชวาลเวียงชัย หอสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ทอดพระเนตรดาวบนท้องฟ้า
บ้างก็เรียกหอดังกล่าวว่า “หอส่องกล้อง” เนื่องจากปรากฏภาพพระเจ้าอยู่หัวทรงกล้องโทรทรรศน์ทอดพระเนตรกลุ่มดาวบ่อยครั้ นอกจากการดูดาวแล้ว และมีพระราชประสงค์ให้ใช้หอนี้เป็นหอรักษาเวลามาตรฐานของประเทศ ตามเส้นแวงที่ 105 องศาตะวันออกซึ่งพาดผ่านใกล้พระนครคีรีและพระบรมมหาราชวังพอดี ปัจจุบันหอนี้ใช้เป็นเส้นแวงหลักของระบบเวลามาตรฐานกรุงเทพฯ (พระนคร)
หอชัชวาลเวียงชัยจึงเป็นสถานที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการด้านวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านฟิสิกส์ดาราศาสตร์และการกำหนดเวลามาตรฐานของประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยก้าวสู่ความเป็นสากล
เรียบเรียงโดย ทีมงาน SPACETH.CO
Cr.https://spaceth.co/space-story-in-bank-note/ By Nutn0n
แม้รัสเซียจะมีโครงการส่งนักบินอวกาศหญิงขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง แต่หลังจากนั้นอีก ๑๙ ปี จึงมีการส่งนักบินอวกาศหญิงคนที่ ๒ คือ สเวียตลานา ซาวิตสกายา ขึ้นสู่ห้วงอวกาศกับยาน โซยุซ-ที ๗ ในปี ๑๙๘๒
สเวียตลานา ซาวิตสกายา เดินทางไปปฏิบัติภารกิจบนสถานีอวกาศ โซยุต ๗ และเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้ออกไปเดินในอวกาศ (space walk) นอกสถานีอวกาศนานถึง ๓ ชั่วโมง ๓๕ นาที
ที่มา ตัดความมาจาก นักบินอวกาศหญิงคนแรกของโลก
สกุลไทย Blog/Magazine theme ฉบับที่ 3038 โดย ขจรจันทร์
Cr.http://oknation.nationtv.tv/blog/vinitvadee/2018/08/10/entry-1 / Posted by vinitvadee
ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org
Cr.https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_22148
Cr.http://oknation.nationtv.tv/blog/vinitvadee/2017/08/26/entry-1 / Posted by vinitvadee
เนื่องด้วยพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ให้ความสำคัญกับข้อมูลทางภูมิศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง และทรงนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ช่วยเหลือพสกนิกรของพระองค์ ทั้งด้านเกษตรกรรม การป้องกันปัญหาอุทกภัย ภัยแล้ง ฯลฯ
ภาพบนตราไปรษณียากร เป็นภาพวาดของดาวเทียมธีออส บนวงโคจรของโลกหนือประเทศไทย ออกแบบโดยคุณธนากร สงวนตระกูล จากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
Cr.https://hi-in.facebook.com/gistda/posts/10154434978976265/ "สนับสนุนความรู้ดีๆ โดย จิสด้า"
การใส่ข้อมูลลงในแผ่นบันทึกทองคำแล้วส่งไปกับยานสำรวจอวกาศวอยเอเจอร์ นี้ก็เพื่อแสดง ให้เห็นถึงความหลากหลายของชีวิตและวัฒนธรรมบนโลก นั่นหมายความว่า หากมีสิ่งมีชีวิตที่ทรงภูมิปัญญาอยู่ในดาวดวงอื่นจริง และพวกเขาอยู่ในแนวเดียวกับที่ยานทั้งสองส่งไป ยานสำรวจอวกาศสองลำนี้อาจจะเป็นหลักฐานแรกของอารยธรรมของมนุษย์ที่พวกเขาพบก็เป็นได้
สำหรับเรื่องราวของประเทศไทยถูกบันทึกไว้ในแผนทองคำนี้ 2 ส่วน คือภาพคุณลุงช่างแกะสลักไม้จากภาคเหนือของไทย และคำกล่าวทักทายภาษาไทยที่ว่า “"สวัสดีค่ะ สหายในธรณีโพ้น พวกเราในธรณีนี้ ขอส่งมิตรจิตมาถึงท่านทุกคน"
การส่งบันทึกไปกับยานนี้ไม่ได้หวังผลว่าจะได้รับคำตอบกลับมา แต่โดยนัยยะอาจเป็นการส่งสาร ไปยังมวลมนุษยชาติว่า ควรก้าวข้ามความแตกแยกระหว่างเชื้อชาติ ศาสนา หรือประเทศ แล้วรวมกันเป็นหนึ่งเดียวนั่นเอง
ขณะนี้แผ่นบันทึกข้อมูลทองคำที่อยู่กับยานวอยเอเจอร์ 1 อยู่ห่างจากโลกไป 12,000 ล้านไมล์ และเป็นวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นซึ่งอยู่ห่างจากโลกมากที่สุด โดยต้องใช้เวลาอีกราว 40,000 ปี กว่าที่ยานนี้จะเข้าใกล้ระบบสุริยะอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ของเราได้
ขอบคุณภาพจาก https://www.unlockmen.com/music-for-aliens/
Cr.https://www.aagold-th.com/article/224/
Cr.https://www.bbc.com/thai/features-44289580
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)