สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 10
Developer ส่วนใหญ่ออกแบบแล้วจ้างผู้รับเหมา ผู้รับเหมาไม่สนใจว่าคอนโดนั้นราคาเท่าไหร่
แต่สนใจว่ารับเหมามาเท่าไหร่ และเงื่อนไขในการก่อสร้างเป็นอย่างไร
ส่วน Developer ขายแพงก็ไม่ใช่ว่าจะจ้างผู้รับเหมาแพง ส่วนการคุมงานก่อสร้าง ไม่ค่อยสนใจ
เท่าไหร่ คนงานก่อสร้างไม่ว่าคอนโดราคาสูงตารางเมตรละ 3 แสน up (เดินผ่านทุกวัน) หรือ
ตารางเมตรละ 3 หมื่น ก็คนงานจากประเทศเพื่อนบ้านทั้งนั้น สังเกตจากภาษาที่ติดประกาศ
ในบริเวณที่ก่อสร้าง
คอนโดราคา 1 ล้านของ Developer บางราย ที่มีบริษัทก่อสร้างเอง หรือเติบโตมาจากธุรกิจ
รับเหมาก่อสร้างให้ Developer อื่น แล้วมาสร้างเองบางรายดีกว่าคอนโดราคาแพงก็มี ผมมีคอนโด
บางแห่งสร้างมาหลายปีแล้ว รอยแตกรอยรั่วซึมน้อยมาก เคยมีน้อง ๆ ที่มีความรู้เรื่องก่อสร้าง
เห็นแล้วขอซื้อต่อก็มี ปัญหารอยแตกร้าว ผมเคยเปรียบเทียบ คอนโดเก่า ๆ สร้างมานานกลับ
ไม่ค่อยมี
ส่วนคอนโดราคาแพง ระบบเก็บเสียงดีกว่านั้น ไม่เสมอไป ลอง search ในอากู๋ ว่า คอนโดแพง ๆ
มีเสียงบ่นไม่น้อยเหมือนกัน
เรื่องคุณภาพการก่อสร้าง คนขายก็พูดโน้มน้าวไปเรื่อย ๆ ผมเคยซื้อ 2 โครงการ ผู้รับเหมารายเดียวกัน
คุณภาพของวัสดุก่อสร้าง (ไม่ใช่วัสดุตกแต่ง) ไม่น่ากัน แต่คนขายเกทับ บลัฟแหลก ผมยืนฟังเห็นคนซื้อ
บางคนก็หลงเข้าใจผิด
ปัญหาที่ต้องระวัง คือ คุณภาพของสี เพราะจะทำให้คอนโดโทรมเร็ว แต่ก็เป็นจุดที่ developer ไม่ว่าถูก หรือ
แพง ถ้าเป็น developer ที่มีประสบการณ์ จะให้ความระมัดระวังอยู่แล้ว เพราะคุณภาพของสีจะประจาน
Developer เอง (ผมเคยเจอ developer ดัง ตอนสร้างคอนโดโครงการแรก ๆ ใช้สีไม่ได้คุณภาพ ปรากฏว่า
อยู่ไปนาน ๆ คอนโดประจานสีที่ใช้เอง) ปัญหาโครงการใช้สีไม่ได้คุณภาพ จึงเป็นปัญหาของ Developer
มือใหม่ หรือ no name แต่ถ้าเป็น developer มีประสบการณ์ไม่ว่า 1 ล้าน หรือราคาแพง ส่วนใหญ่ใช้สี
มีคุณภาพ ผมเคยจะทาสีคอนโดราคา 1 ล้านใหม่ แล้วสอบถามสีที่โครงการใช้จากช่างของโครงการ ช่าง
พาไปดูสีที่ใช้ ใช้สีคุณภาพสูงระดับ top เหมือนกัน ส่วนวัสดุอื่น แล้วแต่วัสดุ บางโครงการราคา 1 ล้าน ใช้
ลามิเนตดีมาก ๆ (แต่ตอนนี้ไม่ใช่ลามิเนตแบบนั้นแล้ว) บางโครงการราคาแพง ตอนตรวจรับบ่นกันมากเกี่ยวกับ
พื้นยวบ ส่วนวัสดุอื่น ๆ เช่น สุขภัณฑ์ ส่วนใหญ่คอนโดหรูจะใช้ของดีกว่า แต่อุปกรณ์เหล่านี้ ส่วนใหญ่ผมเปลี่ยน
เช่น ก๊อกน้ำ ฝักบัว สายฉีดชำระ
ส่วนผนัง ตอนนี้ใช้อิฐมวลเบาเหมือนกันทั้งนั้น คอนโดหรูกลับมา trick คือ ติด wall paper ไม่เห็นรอยร้าว หรือ
คุณภาพของการก่อสร้าง ผมเคยซื้อโครงการของ developer ดัง ในสัญญาไม่ได้บอกว่าเป็น wall paper ต่อมา
เสนอติด wall paper ให้ ผมกับผู้ซื้ออีกหลายคนไม่เอา
ส่วนการออกแบบคอนโดหรู บางครั้งกลับทำให้มีปัญหา เพราะคอนโดหรูมีการออกแบบเฉพาะโครงการ บางครั้ง
วัสดุที่ใช้แต่ละโดรงการก็ไม่ได้วัสดุทั่ว ๆ ไป ปัญหา คือ เวลาจ้างผู้รับเหมา ก็จะซื้อวัสดุเท่าที่พอใช้สำหรับโครงการ
นั้น เพราะนำไปใช้กับโครงการอื่นไม่ได้ ปัญหาที่เคยเจอ คือ เสียแล้วซ่อมไม่ได้ เพราะวัสดุไม่มีใน stock จะสั่งซื้อ
ครั้งชิ้น 2 ชิ้นไม่ได้ หรือ type นั้นเลิกขายแล้ว ซึ่งเป็นปัญหาที่พบเห็นเรื่อย ๆ ใน pantip ว่าเสียแล้วแจ้งซ่อม ไม่เสร็จ
ซักที หรือซื้อเป็นปีแล้วเข้าอยู่ไม่ได้ เพราะไม่มีของ หาทางออกไม่ได้ก็ลากยาว แต่ถ้าซักไซร์ไล่เรียง หรือบี้มาก ๆ
ก็จะสารภาพ ส่วนคอนโดราคา 1 ล้าน ส่วนใหญ่ออกแบบเหมือนกัน ไม่ได้ออกแบบใหม่ วัสดุซื้อมาใช้ร่วมกันได้
ของเสีย ก็เบิกมาใช้ได้เลย ผมเลยไล่ตามติดงานที่ต้องแก้ไข ช่างก็ทำเบิกวัสดุให้ดูกันเลย ของมีอยู่ใน stock อยู่แล้ว
ในขณะที่เคยเจอปัญหากับ developer ดัง (น้ำท่วมห้องเพราะช่างก่อสร้างเทปูนลงท่อน้ำทิ้ง ฝนตกระบายไม่ทัน เจอ
ประจำ) ทางโครงการแจ้งว่าวัสดุต้องสั่งซื้อใหม่ รอหลายเดือนกว่าจะแก้ไขเสร็จ
แต่สนใจว่ารับเหมามาเท่าไหร่ และเงื่อนไขในการก่อสร้างเป็นอย่างไร
ส่วน Developer ขายแพงก็ไม่ใช่ว่าจะจ้างผู้รับเหมาแพง ส่วนการคุมงานก่อสร้าง ไม่ค่อยสนใจ
เท่าไหร่ คนงานก่อสร้างไม่ว่าคอนโดราคาสูงตารางเมตรละ 3 แสน up (เดินผ่านทุกวัน) หรือ
ตารางเมตรละ 3 หมื่น ก็คนงานจากประเทศเพื่อนบ้านทั้งนั้น สังเกตจากภาษาที่ติดประกาศ
ในบริเวณที่ก่อสร้าง
คอนโดราคา 1 ล้านของ Developer บางราย ที่มีบริษัทก่อสร้างเอง หรือเติบโตมาจากธุรกิจ
รับเหมาก่อสร้างให้ Developer อื่น แล้วมาสร้างเองบางรายดีกว่าคอนโดราคาแพงก็มี ผมมีคอนโด
บางแห่งสร้างมาหลายปีแล้ว รอยแตกรอยรั่วซึมน้อยมาก เคยมีน้อง ๆ ที่มีความรู้เรื่องก่อสร้าง
เห็นแล้วขอซื้อต่อก็มี ปัญหารอยแตกร้าว ผมเคยเปรียบเทียบ คอนโดเก่า ๆ สร้างมานานกลับ
ไม่ค่อยมี
ส่วนคอนโดราคาแพง ระบบเก็บเสียงดีกว่านั้น ไม่เสมอไป ลอง search ในอากู๋ ว่า คอนโดแพง ๆ
มีเสียงบ่นไม่น้อยเหมือนกัน
เรื่องคุณภาพการก่อสร้าง คนขายก็พูดโน้มน้าวไปเรื่อย ๆ ผมเคยซื้อ 2 โครงการ ผู้รับเหมารายเดียวกัน
คุณภาพของวัสดุก่อสร้าง (ไม่ใช่วัสดุตกแต่ง) ไม่น่ากัน แต่คนขายเกทับ บลัฟแหลก ผมยืนฟังเห็นคนซื้อ
บางคนก็หลงเข้าใจผิด
ปัญหาที่ต้องระวัง คือ คุณภาพของสี เพราะจะทำให้คอนโดโทรมเร็ว แต่ก็เป็นจุดที่ developer ไม่ว่าถูก หรือ
แพง ถ้าเป็น developer ที่มีประสบการณ์ จะให้ความระมัดระวังอยู่แล้ว เพราะคุณภาพของสีจะประจาน
Developer เอง (ผมเคยเจอ developer ดัง ตอนสร้างคอนโดโครงการแรก ๆ ใช้สีไม่ได้คุณภาพ ปรากฏว่า
อยู่ไปนาน ๆ คอนโดประจานสีที่ใช้เอง) ปัญหาโครงการใช้สีไม่ได้คุณภาพ จึงเป็นปัญหาของ Developer
มือใหม่ หรือ no name แต่ถ้าเป็น developer มีประสบการณ์ไม่ว่า 1 ล้าน หรือราคาแพง ส่วนใหญ่ใช้สี
มีคุณภาพ ผมเคยจะทาสีคอนโดราคา 1 ล้านใหม่ แล้วสอบถามสีที่โครงการใช้จากช่างของโครงการ ช่าง
พาไปดูสีที่ใช้ ใช้สีคุณภาพสูงระดับ top เหมือนกัน ส่วนวัสดุอื่น แล้วแต่วัสดุ บางโครงการราคา 1 ล้าน ใช้
ลามิเนตดีมาก ๆ (แต่ตอนนี้ไม่ใช่ลามิเนตแบบนั้นแล้ว) บางโครงการราคาแพง ตอนตรวจรับบ่นกันมากเกี่ยวกับ
พื้นยวบ ส่วนวัสดุอื่น ๆ เช่น สุขภัณฑ์ ส่วนใหญ่คอนโดหรูจะใช้ของดีกว่า แต่อุปกรณ์เหล่านี้ ส่วนใหญ่ผมเปลี่ยน
เช่น ก๊อกน้ำ ฝักบัว สายฉีดชำระ
ส่วนผนัง ตอนนี้ใช้อิฐมวลเบาเหมือนกันทั้งนั้น คอนโดหรูกลับมา trick คือ ติด wall paper ไม่เห็นรอยร้าว หรือ
คุณภาพของการก่อสร้าง ผมเคยซื้อโครงการของ developer ดัง ในสัญญาไม่ได้บอกว่าเป็น wall paper ต่อมา
เสนอติด wall paper ให้ ผมกับผู้ซื้ออีกหลายคนไม่เอา
ส่วนการออกแบบคอนโดหรู บางครั้งกลับทำให้มีปัญหา เพราะคอนโดหรูมีการออกแบบเฉพาะโครงการ บางครั้ง
วัสดุที่ใช้แต่ละโดรงการก็ไม่ได้วัสดุทั่ว ๆ ไป ปัญหา คือ เวลาจ้างผู้รับเหมา ก็จะซื้อวัสดุเท่าที่พอใช้สำหรับโครงการ
นั้น เพราะนำไปใช้กับโครงการอื่นไม่ได้ ปัญหาที่เคยเจอ คือ เสียแล้วซ่อมไม่ได้ เพราะวัสดุไม่มีใน stock จะสั่งซื้อ
ครั้งชิ้น 2 ชิ้นไม่ได้ หรือ type นั้นเลิกขายแล้ว ซึ่งเป็นปัญหาที่พบเห็นเรื่อย ๆ ใน pantip ว่าเสียแล้วแจ้งซ่อม ไม่เสร็จ
ซักที หรือซื้อเป็นปีแล้วเข้าอยู่ไม่ได้ เพราะไม่มีของ หาทางออกไม่ได้ก็ลากยาว แต่ถ้าซักไซร์ไล่เรียง หรือบี้มาก ๆ
ก็จะสารภาพ ส่วนคอนโดราคา 1 ล้าน ส่วนใหญ่ออกแบบเหมือนกัน ไม่ได้ออกแบบใหม่ วัสดุซื้อมาใช้ร่วมกันได้
ของเสีย ก็เบิกมาใช้ได้เลย ผมเลยไล่ตามติดงานที่ต้องแก้ไข ช่างก็ทำเบิกวัสดุให้ดูกันเลย ของมีอยู่ใน stock อยู่แล้ว
ในขณะที่เคยเจอปัญหากับ developer ดัง (น้ำท่วมห้องเพราะช่างก่อสร้างเทปูนลงท่อน้ำทิ้ง ฝนตกระบายไม่ทัน เจอ
ประจำ) ทางโครงการแจ้งว่าวัสดุต้องสั่งซื้อใหม่ รอหลายเดือนกว่าจะแก้ไขเสร็จ
ความคิดเห็นที่ 20
ไม่ได้มีความรู้เรื่องก่อสร้างนะคะ แต่เคยเป็นพนักงานทั่วไปในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง
คือจะตอบไปเลยว่า จริง หรือ ไม่จริง คำเดียวไม่ได้ค่ะ
ราคา ปูน หิน ทราย เหล็ก ต่อหน่วย คือเท่ากันอยู่แล้ว แต่มันจะมีอื่น ๆ ที่ต่างกันคือ ห้องที่เกิน 10 ล้าน ส่วนใหญ่ จะใช้สถาปนิกบริษัทดัง ๆ เพื่อออกแบบให้โดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งการคำนวณโครงสร้างจะต้องจ้างบริษัทวิศวกรผู้ออกแบบที่มีประสบการณ์สูง สองอย่างนี้ก็จะแพงกว่าละ
ถ้าจะให้คิดโดย ตัดค่าจ้างสถาปนิกกับวิศวกรโครงสร้างออก แล้วเทียบราคาเฉพาะวัสดุก่อสร้างล้วน ๆ ของห้องต่อห้อง ในขนาดพื้นที่ใช้งานที่เท่ากัน ก็จะคิดอย่างนั้นไม่ได้อีก เพราะว่า แบบพิศดารที่สถาปนิกออกแบบมานั้น หากเป็นห้องที่ยื่นออกไปนอกตัวอาคาร เหมือนลอยอยู่โดยไม่มีเสาหรือผนังชั้นล่างอีก 3 ด้านรองรับ ซึ่งอาจจะต้องใช้คอนกรีตอัดแรง(อันนี้มั่ว เพื่อยกตัวอย่างเท่านั้นนะคะ ความเป็นจริงอาจจะใช้วิธีอื่นค่ะ) ก็ต้องจ้างบริษัทคอนกรีตอัดแรงอีก หรือน้ำยาเร่งพิเศษ หรือน้ำยาบ่ม อะไรก็ว่ากันไป ซึ่งห้องราคา 1 ล้าน อาจจะไม่ต้องใช้ เพราะระยะเวลาในการแข็งตัวของคอนกรีตไม่มีผลต่อโครงสร้าง แค่ราดน้ำเปล่าเพื่อบ่มก็พอแล้ว
ห้องราคา 10 ล้านขึ้นไป จะใช้ผนัง และพื้นหนากว่าห้องราคา 1 ล้าน ก็ไม่ใช่เสมอไป เพราะห้องราคา 10 ล้านขึ้นไป ส่วนใหญ่จะเป็นตึกสูง ซึ่งต้องออกแบบรองรับแผ่นดินไหว ผนังและพื้นที่หนาเกินความจำเป็น ก็จะมีผล(เคยได้ยินเขาพูดกัน อาจจะเข้าใจผิดก็ได้) และถ้าหนา ก็จะยังเป็นภาระเรื่องน้ำหนักอาคาร ซึ่งในกรุงเทพฯ จะเป็นดินอ่อน ต้องตอกเสาเข็มลึกและถี่อยู่แล้ว ยิ่งเป็นอาคารสูง บางครั้งจะต้องสั่งเสาเข็มขนาดและวิธีการพิเศษ เสาภายในอาคาร อาจจะต้องใช้เหล็กเส้นขนาดพิเศษ คือไม่จำเป็นต้องเส้นใหญ่พิเศษ อาจจะเล็กพิเศษ แต่ใช้มากเส้นกว่า น้ำหนักเหล็กรวมแล้วมากกว่า อันนี้ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของแบบ ซึ่งพวกนี้ก็จะแพงกว่า ราคาพวกนี้หากต้องนำมาคิดเฉลี่ยกับห้องทุกห้องทั้งอาคารด้วยก็จะแพงกว่าค่ะ
และห้องที่ราคาเกิน 10 ล้าน ส่วนใหญ่จำนวนผู้อาศัยก็จะมากกว่า ต้องมีระบบสำรองน้ำใช้ตามกฎหมายอีก จำไม่ได้ว่า ต้องยังมีน้ำใช้เพียงพออย่างน้อยกี่วันหากน้ำประปาหยุดไหล ซึ่งที่เก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ต้องรองรับแรงดันน้ำจำนวนมากก็ต้องสร้างอย่างดี กันรั่วกันซึม ราคาก็อาจจะจะแพงกว่าขนาดเล็กสำหรับห้องราคา 1 ล้านด้วย และยังคุ้น ๆ (อันนี้ไม่แน่ใจ)ว่ามีกฎหมายให้อาคารสูงตัองมีที่เก็บน้ำฝนชั่วคราวเวลาฝนตกหนัก คือเฉพาะฝนที่ตกมาบนดาดฟ้าอาคาร และบริเวณพื้นที่ของโครงการเท่านั้นนะคะ ไม่ใช่รับน้ำฝนจากที่อื่น ๆ แล้วค่อยระบายออกเมื่อฝนหยุดตกไปแล้วระยะนึง เพื่อช่วยเรื่องน้ำท่วมค่ะ ค่าวัสดุก่อสร้างส่วนนี้ก็คงต้องเฉลี่ยและคิดบวกราคารวมเข้าไปด้วยอีกค่ะ
ไหนจะยังต้องมีวิศวกรไฟฟ้ากับวิศวกรเครื่องกลที่มาช่วยกันดูระบบ พวกลิฟต์ ระบบระบายอากาศ ระบายควันไฟ ฯลฯ คอนโดแพง เป็นตึกสูง ออกแบบหรูหราและสลับซับซ้อน ก็ต้องจ้างบริษัทดังอีก อันนี้หากจะว่าไม่ใช่วัสดุก่อสร้างก็ได้แต่นี่ก็เป็นค่าใช้จ่ายเหมือนกันค่ะ
คือจะตอบไปเลยว่า จริง หรือ ไม่จริง คำเดียวไม่ได้ค่ะ
ราคา ปูน หิน ทราย เหล็ก ต่อหน่วย คือเท่ากันอยู่แล้ว แต่มันจะมีอื่น ๆ ที่ต่างกันคือ ห้องที่เกิน 10 ล้าน ส่วนใหญ่ จะใช้สถาปนิกบริษัทดัง ๆ เพื่อออกแบบให้โดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งการคำนวณโครงสร้างจะต้องจ้างบริษัทวิศวกรผู้ออกแบบที่มีประสบการณ์สูง สองอย่างนี้ก็จะแพงกว่าละ
ถ้าจะให้คิดโดย ตัดค่าจ้างสถาปนิกกับวิศวกรโครงสร้างออก แล้วเทียบราคาเฉพาะวัสดุก่อสร้างล้วน ๆ ของห้องต่อห้อง ในขนาดพื้นที่ใช้งานที่เท่ากัน ก็จะคิดอย่างนั้นไม่ได้อีก เพราะว่า แบบพิศดารที่สถาปนิกออกแบบมานั้น หากเป็นห้องที่ยื่นออกไปนอกตัวอาคาร เหมือนลอยอยู่โดยไม่มีเสาหรือผนังชั้นล่างอีก 3 ด้านรองรับ ซึ่งอาจจะต้องใช้คอนกรีตอัดแรง(อันนี้มั่ว เพื่อยกตัวอย่างเท่านั้นนะคะ ความเป็นจริงอาจจะใช้วิธีอื่นค่ะ) ก็ต้องจ้างบริษัทคอนกรีตอัดแรงอีก หรือน้ำยาเร่งพิเศษ หรือน้ำยาบ่ม อะไรก็ว่ากันไป ซึ่งห้องราคา 1 ล้าน อาจจะไม่ต้องใช้ เพราะระยะเวลาในการแข็งตัวของคอนกรีตไม่มีผลต่อโครงสร้าง แค่ราดน้ำเปล่าเพื่อบ่มก็พอแล้ว
ห้องราคา 10 ล้านขึ้นไป จะใช้ผนัง และพื้นหนากว่าห้องราคา 1 ล้าน ก็ไม่ใช่เสมอไป เพราะห้องราคา 10 ล้านขึ้นไป ส่วนใหญ่จะเป็นตึกสูง ซึ่งต้องออกแบบรองรับแผ่นดินไหว ผนังและพื้นที่หนาเกินความจำเป็น ก็จะมีผล(เคยได้ยินเขาพูดกัน อาจจะเข้าใจผิดก็ได้) และถ้าหนา ก็จะยังเป็นภาระเรื่องน้ำหนักอาคาร ซึ่งในกรุงเทพฯ จะเป็นดินอ่อน ต้องตอกเสาเข็มลึกและถี่อยู่แล้ว ยิ่งเป็นอาคารสูง บางครั้งจะต้องสั่งเสาเข็มขนาดและวิธีการพิเศษ เสาภายในอาคาร อาจจะต้องใช้เหล็กเส้นขนาดพิเศษ คือไม่จำเป็นต้องเส้นใหญ่พิเศษ อาจจะเล็กพิเศษ แต่ใช้มากเส้นกว่า น้ำหนักเหล็กรวมแล้วมากกว่า อันนี้ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของแบบ ซึ่งพวกนี้ก็จะแพงกว่า ราคาพวกนี้หากต้องนำมาคิดเฉลี่ยกับห้องทุกห้องทั้งอาคารด้วยก็จะแพงกว่าค่ะ
และห้องที่ราคาเกิน 10 ล้าน ส่วนใหญ่จำนวนผู้อาศัยก็จะมากกว่า ต้องมีระบบสำรองน้ำใช้ตามกฎหมายอีก จำไม่ได้ว่า ต้องยังมีน้ำใช้เพียงพออย่างน้อยกี่วันหากน้ำประปาหยุดไหล ซึ่งที่เก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ต้องรองรับแรงดันน้ำจำนวนมากก็ต้องสร้างอย่างดี กันรั่วกันซึม ราคาก็อาจจะจะแพงกว่าขนาดเล็กสำหรับห้องราคา 1 ล้านด้วย และยังคุ้น ๆ (อันนี้ไม่แน่ใจ)ว่ามีกฎหมายให้อาคารสูงตัองมีที่เก็บน้ำฝนชั่วคราวเวลาฝนตกหนัก คือเฉพาะฝนที่ตกมาบนดาดฟ้าอาคาร และบริเวณพื้นที่ของโครงการเท่านั้นนะคะ ไม่ใช่รับน้ำฝนจากที่อื่น ๆ แล้วค่อยระบายออกเมื่อฝนหยุดตกไปแล้วระยะนึง เพื่อช่วยเรื่องน้ำท่วมค่ะ ค่าวัสดุก่อสร้างส่วนนี้ก็คงต้องเฉลี่ยและคิดบวกราคารวมเข้าไปด้วยอีกค่ะ
ไหนจะยังต้องมีวิศวกรไฟฟ้ากับวิศวกรเครื่องกลที่มาช่วยกันดูระบบ พวกลิฟต์ ระบบระบายอากาศ ระบายควันไฟ ฯลฯ คอนโดแพง เป็นตึกสูง ออกแบบหรูหราและสลับซับซ้อน ก็ต้องจ้างบริษัทดังอีก อันนี้หากจะว่าไม่ใช่วัสดุก่อสร้างก็ได้แต่นี่ก็เป็นค่าใช้จ่ายเหมือนกันค่ะ
แสดงความคิดเห็น
คอนโดห้องละ 1 ล้าน กับห้องละเกิน 10 ล้าน ใช้วัสดุก่อสร้างเหมือนกัน จริงมั้ย?
อันนี้พูดถึงวัสดุก่อสร้างจริงๆ เช่น เหล็ก อิฐ กระเบื้อง ปูน ต่างๆ
ส่วนกระจก หินหรือกระเบื้องประดับ เฟอร์นิเจอร์ หรือ interior ไม่ว่าจะในห้องหรือส่วนกลาง อันนี้ต่างกันอยู่แล้ว
แต่อยากทราบว่า วัสดุก้อสร้างจริงๆ ต่างกันรึไม่
คอนโดแพง ก่ออิฐหนากว่าคอนโดถูกรึเปล่า
คอนโดแพง ใช้เหล็กเส้นหนากว่าคอนโดถูกรึเปล่า