เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คุณต๊อบ อัยยวัฒน์ศรีวัฒนประภา ได้รับการโหวตมาเป็นอันดับ 2 ในฐานะประธานสโมสรที่ดีที่สุดของอังกฤษ
สำหรับหลายๆ คนอาจจะผ่านแล้วก็ผ่านไป อาจจะดูเป็นเรื่องปกติด้วยซ้ำ แต่สำหรับผมในฐานะที่เคยอ่านบทสัมภาษณ์ของคุณต๊อบ
เกี่ยวกับการเข้ามาทำงานตั้งแต่สมัยเป็นรองประธานสโมสรจึงทำให้รู้ว่า มันไม่ง่ายเลย ที่เข้ามาเป็นผู้แก้วิกฤติของสโมสรร่วมกับคุณวิชัย
(ในขณะที่อ่านยังมีชีวิตอยู่และดำรงตำแหน่งเป็นประธานสโมสรเลสเตอร์ฯ )
โดยย้อนอดีตกลับไป คุณต๊อบได้ให้สัมภาษณ์กับนิตยสารแพรวถึงวันที่เข้าไปทำงานตั้งแต่วันแรกว่า
“ทีมติดหนี้อยู่ 3 แสนปอนด์ เป็นเงินไทยประมาณ 15 ล้านบาท อะไรกัน นี่วันแรกก็เป็นหนี้เลยหรือ ผมถามพ่อเพื่อความมั่นใจว่า เอาจริงใช่ไหม ท่านตอบว่า เซ็นๆ ไปเถอะ ผมจำได้ไม่ลืมเลย เพราะธุรกิจแรกที่คุณพ่อมอบหมายให้ทำอายุ 25 ปีก็เป็นหนี้แล้ว ยังถามตัวเองว่าใช่หรือ”
ผมอ่านมาถึงตรงนี้ ผมเริ่มรู้สึกว่ามันน่าสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ อาจเป็นเพราะว่าวันนี้เราเห็นว่าทีมเลสเตอร์ประสบความสำเร็จมากๆ แล้ว แต่ใครจะรู้ว่าการเริ่มต้นของทีมเลสเตอร์ภายใต้การนำของตระกูลศรีวัฒนประภา มันติดลบมากมายถึงเพียงนี้ แล้วเขาทำได้อย่างไร
ผมเลยอ่านต่อ แล้วก็จับใจความได้ว่า คุณต๊อบแก “รื้อ” ครับ
รื้อระบบการจัดการ รื้อระบบบัญชี รื้อระบบสต็อก รื้อวิธีการดูแลนักกีฬา รื้อทุกอย่างเท่าที่แกจะรื้อได้ และเบื้องหลังการรื้อของเขานั้น เขาได้พาพนักงานของคิงเพาเวอร์ ที่เป็นคนไทยแท้ๆ ไปทำงานให้กับสโมสรเลสเตอร์ซิตี้ (ผมแอบคิดไปไกลถึงขั้นว่าไปสอนงานฝรั่งด้วยหรือป่าว อันนั้นไม่แน่ใจ ถ้าใช่ก็รู้สึกดีเหมือนกันนะ) รายละเอียดผมแนะนำให้ไปอ่านกันที่ลิ้งค์นี้เลย
คุณต๊อบแกให้สัมภาษณ์ไว้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว
https://praew.com/people/206668.html
จากวันที่เป็นรองประธานฯ และได้เข้ามาเป็นประธานสโมสรเลสเตอร์ซิตี้อย่างเป็นทางการ บวกกับการที่เคยอ่านประวัติตอนที่เขากอบกู้สโมสรเลสเตอร์ซิตี้มาแล้ว จึงขอบอกว่ามันเป็นสิ่งที่สมน้ำสมเนื้อมากเลยครับกับตำแหน่งที่ได้ติดท็อป 10 ประธานสโมสรที่ดีที่สุดจากการสำรวจของ "AgainstLeague3" ประกอบไปด้วย
1. แอคคริงตัน สแตนลีย์ - แอนดี โฮลท์
2. เลสเตอร์ ซิตี - อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา
3. ลูตัน ทาวน์ - สมาคม 2020 โฮลดิงส์
4. พอร์ท เวล - แครอล ชานาแฮน
5. แบล็คพูล - ไซมอน แซดเลอร์
6. ลินคอล์น ซิตี - ไคลฟ์ เนทส์
7. เบรนท์ฟอร์ด - แม็ทธิว เบแนม
8. บริสตอล ซิตี - สตีเฟน ลันส์ดาวน์
9. แอสตัน วิลลา - เอ็นเอสดับเบิลยูอี
10. ทรานเมียร์ โรเวอร์ส - มาร์ค และ นิโคลา พาลิออส
การโหวตดังกล่าว จัดทำขึ้นโดย "AgainstLeague3" ซึ่งสำรวจความคิดเห็นจากแฟนบอลมากกว่า 3,000 คนจากทีมทั้งในระบบฟุตบอลลีก และนอกลีกถึง 144 แห่ง โดยพิจารณาจากการสื่อสารกับแฟนๆ ของเจ้าของสโมสร, การจัดการด้านการเงิน, การจัดการด้านฟุตบอล, การจัดการสนาม, ความโปร่งใสในการบริหารงาน และการดูแลเหล่าแฟนบอล
ภาพรวมคคะแนนของคุณต๊อบมีดังนี้
คะแนนภาพรวม: 98.00/100
การสื่อสารกับแฟนบอล : 8.20/10
กาบริหารการเงิน : 8.90/10
การดำเนินงานด้านฟุตบอล : 8.80/10
การพัฒนาสนาม / การบำรุงรักษา : 8.30/10
การปฏิบัติต่อแฟนบอล : 9.00/10
ความโปร่งใส: 8.40/10
http://bit.ly/3bJwxEI
จริงๆ แล้วต่อให้ไม่มีการจัดอันดับนี้เกิดขึ้น ภาพและผลงานที่ออกมา การตอบรับจากแฟนบอลอังกฤษ การที่เอาทีมฟุตบอลเป็นตัวต่อยอดให้โอกาสกับสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อจากผ้ามัดย้อม หรือการนำเยาวชนไทยไปฝึกฟุตบอลที่เลสเตอร์ มันก็พอจะบ่งบอกได้ว่าฝีมือเขาไม่ธรรมดา และสิ่งที่ผมชอบใจมากที่สุด คือเขาไม่เคยลืมคนไทย
อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา กับผลโหวตประธานสโมสรฟุตบอลอังกฤษที่ดีที่สุด ลำดับที่ 2
สำหรับหลายๆ คนอาจจะผ่านแล้วก็ผ่านไป อาจจะดูเป็นเรื่องปกติด้วยซ้ำ แต่สำหรับผมในฐานะที่เคยอ่านบทสัมภาษณ์ของคุณต๊อบ
เกี่ยวกับการเข้ามาทำงานตั้งแต่สมัยเป็นรองประธานสโมสรจึงทำให้รู้ว่า มันไม่ง่ายเลย ที่เข้ามาเป็นผู้แก้วิกฤติของสโมสรร่วมกับคุณวิชัย
(ในขณะที่อ่านยังมีชีวิตอยู่และดำรงตำแหน่งเป็นประธานสโมสรเลสเตอร์ฯ )
โดยย้อนอดีตกลับไป คุณต๊อบได้ให้สัมภาษณ์กับนิตยสารแพรวถึงวันที่เข้าไปทำงานตั้งแต่วันแรกว่า
“ทีมติดหนี้อยู่ 3 แสนปอนด์ เป็นเงินไทยประมาณ 15 ล้านบาท อะไรกัน นี่วันแรกก็เป็นหนี้เลยหรือ ผมถามพ่อเพื่อความมั่นใจว่า เอาจริงใช่ไหม ท่านตอบว่า เซ็นๆ ไปเถอะ ผมจำได้ไม่ลืมเลย เพราะธุรกิจแรกที่คุณพ่อมอบหมายให้ทำอายุ 25 ปีก็เป็นหนี้แล้ว ยังถามตัวเองว่าใช่หรือ”
ผมอ่านมาถึงตรงนี้ ผมเริ่มรู้สึกว่ามันน่าสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ อาจเป็นเพราะว่าวันนี้เราเห็นว่าทีมเลสเตอร์ประสบความสำเร็จมากๆ แล้ว แต่ใครจะรู้ว่าการเริ่มต้นของทีมเลสเตอร์ภายใต้การนำของตระกูลศรีวัฒนประภา มันติดลบมากมายถึงเพียงนี้ แล้วเขาทำได้อย่างไร
ผมเลยอ่านต่อ แล้วก็จับใจความได้ว่า คุณต๊อบแก “รื้อ” ครับ
รื้อระบบการจัดการ รื้อระบบบัญชี รื้อระบบสต็อก รื้อวิธีการดูแลนักกีฬา รื้อทุกอย่างเท่าที่แกจะรื้อได้ และเบื้องหลังการรื้อของเขานั้น เขาได้พาพนักงานของคิงเพาเวอร์ ที่เป็นคนไทยแท้ๆ ไปทำงานให้กับสโมสรเลสเตอร์ซิตี้ (ผมแอบคิดไปไกลถึงขั้นว่าไปสอนงานฝรั่งด้วยหรือป่าว อันนั้นไม่แน่ใจ ถ้าใช่ก็รู้สึกดีเหมือนกันนะ) รายละเอียดผมแนะนำให้ไปอ่านกันที่ลิ้งค์นี้เลย
คุณต๊อบแกให้สัมภาษณ์ไว้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว
https://praew.com/people/206668.html
จากวันที่เป็นรองประธานฯ และได้เข้ามาเป็นประธานสโมสรเลสเตอร์ซิตี้อย่างเป็นทางการ บวกกับการที่เคยอ่านประวัติตอนที่เขากอบกู้สโมสรเลสเตอร์ซิตี้มาแล้ว จึงขอบอกว่ามันเป็นสิ่งที่สมน้ำสมเนื้อมากเลยครับกับตำแหน่งที่ได้ติดท็อป 10 ประธานสโมสรที่ดีที่สุดจากการสำรวจของ "AgainstLeague3" ประกอบไปด้วย
1. แอคคริงตัน สแตนลีย์ - แอนดี โฮลท์
2. เลสเตอร์ ซิตี - อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา
3. ลูตัน ทาวน์ - สมาคม 2020 โฮลดิงส์
4. พอร์ท เวล - แครอล ชานาแฮน
5. แบล็คพูล - ไซมอน แซดเลอร์
6. ลินคอล์น ซิตี - ไคลฟ์ เนทส์
7. เบรนท์ฟอร์ด - แม็ทธิว เบแนม
8. บริสตอล ซิตี - สตีเฟน ลันส์ดาวน์
9. แอสตัน วิลลา - เอ็นเอสดับเบิลยูอี
10. ทรานเมียร์ โรเวอร์ส - มาร์ค และ นิโคลา พาลิออส
การโหวตดังกล่าว จัดทำขึ้นโดย "AgainstLeague3" ซึ่งสำรวจความคิดเห็นจากแฟนบอลมากกว่า 3,000 คนจากทีมทั้งในระบบฟุตบอลลีก และนอกลีกถึง 144 แห่ง โดยพิจารณาจากการสื่อสารกับแฟนๆ ของเจ้าของสโมสร, การจัดการด้านการเงิน, การจัดการด้านฟุตบอล, การจัดการสนาม, ความโปร่งใสในการบริหารงาน และการดูแลเหล่าแฟนบอล
ภาพรวมคคะแนนของคุณต๊อบมีดังนี้
คะแนนภาพรวม: 98.00/100
การสื่อสารกับแฟนบอล : 8.20/10
กาบริหารการเงิน : 8.90/10
การดำเนินงานด้านฟุตบอล : 8.80/10
การพัฒนาสนาม / การบำรุงรักษา : 8.30/10
การปฏิบัติต่อแฟนบอล : 9.00/10
ความโปร่งใส: 8.40/10
http://bit.ly/3bJwxEI
จริงๆ แล้วต่อให้ไม่มีการจัดอันดับนี้เกิดขึ้น ภาพและผลงานที่ออกมา การตอบรับจากแฟนบอลอังกฤษ การที่เอาทีมฟุตบอลเป็นตัวต่อยอดให้โอกาสกับสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อจากผ้ามัดย้อม หรือการนำเยาวชนไทยไปฝึกฟุตบอลที่เลสเตอร์ มันก็พอจะบ่งบอกได้ว่าฝีมือเขาไม่ธรรมดา และสิ่งที่ผมชอบใจมากที่สุด คือเขาไม่เคยลืมคนไทย